อธิบายเรื่อง Loss Aversion จิตวิทยากลัวการสูญเสีย กับกลยุทธ์การตลาด ที่เราเจอบ่อย
5 พ.ค. 2024
เคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมเราถึงตัดสินใจซื้อสินค้าได้เร็วขึ้น
โดยเฉพาะเมื่อแบรนด์จำกัดเวลาที่ได้รับส่วนลด เช่น ลดราคา 50% เพียง 3 วันเท่านั้น
โดยเฉพาะเมื่อแบรนด์จำกัดเวลาที่ได้รับส่วนลด เช่น ลดราคา 50% เพียง 3 วันเท่านั้น
หรือจำกัดจำนวนลูกค้าที่จะได้รับส่วนลด เช่น ลดราคา 50% สำหรับลูกค้า 50 ท่านแรกเท่านั้น
หรือให้โทรมาตอนนี้ เพื่อรับสินค้าราคาพิเศษ
หรือให้โทรมาตอนนี้ เพื่อรับสินค้าราคาพิเศษ
เหตุผลหนึ่งมาจากปรากฏการณ์ทางจิตวิทยาและความรู้สึก ที่ชื่อว่า “Loss Aversion”
แล้ว Loss Aversion คืออะไร ?
Loss Aversion คือ อคติทางความคิด (Cognitive Bias) รูปแบบหนึ่ง
ที่ว่าด้วยเรื่อง มนุษย์จะพยายาม “หลีกเลี่ยงการสูญเสีย” ให้ได้มากที่สุด
ที่ว่าด้วยเรื่อง มนุษย์จะพยายาม “หลีกเลี่ยงการสูญเสีย” ให้ได้มากที่สุด
โดยแนวคิดนี้มีการศึกษาทั้งในทางจิตวิทยา และเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม ตั้งแต่ปี 1979
โดยคุณ Daniel Kahneman และผู้ช่วยของเขาที่ชื่อว่าคุณ Amos Tversky
โดยคุณ Daniel Kahneman และผู้ช่วยของเขาที่ชื่อว่าคุณ Amos Tversky
ซึ่งแนวคิดนี้ อธิบายได้ง่าย ๆ ว่า
มนุษย์ให้ความสำคัญกับความทุกข์จากการสูญเสีย มากกว่าความสุขจากการได้รับมา
มนุษย์ให้ความสำคัญกับความทุกข์จากการสูญเสีย มากกว่าความสุขจากการได้รับมา
โดยงานวิจัยนี้ พบว่า ความรู้สึกเป็นทุกข์จากการสูญเสีย
มีอิทธิพลกับมนุษย์ มากกว่า ความสุขจากการได้รับ ราว 2.3 เท่า
มีอิทธิพลกับมนุษย์ มากกว่า ความสุขจากการได้รับ ราว 2.3 เท่า
อธิบายให้เห็นภาพง่าย ๆ ก็คือว่า
ถ้าเรารู้สึกเป็นทุกข์เพราะเงิน 100 บาท หายไป
ถ้าเรารู้สึกเป็นทุกข์เพราะเงิน 100 บาท หายไป
การได้เงินจำนวน 100 บาท กลับคืนมา
ไม่ได้ช่วยให้เราคลายจากความทุกข์ที่เงิน 100 บาท หายไป ได้ทั้งหมด
ไม่ได้ช่วยให้เราคลายจากความทุกข์ที่เงิน 100 บาท หายไป ได้ทั้งหมด
แต่เราต้องได้รับเงินกลับมาประมาณ 230 บาท
ถึงจะชดเชยความทุกข์ จากการที่เงิน 100 บาท หายไปได้
ถึงจะชดเชยความทุกข์ จากการที่เงิน 100 บาท หายไปได้
ด้วยเหตุนี้ มนุษย์จึงกลัวและไม่ชอบการสูญเสีย
รวมทั้ง พยายามหลีกเลี่ยงการสูญเสียให้ได้มากที่สุด
รวมทั้ง พยายามหลีกเลี่ยงการสูญเสียให้ได้มากที่สุด
ถ้าใครยังนึกภาพตามไม่ออก ลองมาดูตัวอย่างกัน..
หากเรามี 2 ตัวเลือก ในการสุ่มรางวัล โดยให้เลือกได้เพียง 1 ตัวเลือกเท่านั้น
- ตัวเลือกที่ 1 : มีโอกาส 50% ในการได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท
- ตัวเลือกที่ 2 : มีโอกาส 100% ในการได้รับเงินรางวัล 5,000 บาท
- ตัวเลือกที่ 2 : มีโอกาส 100% ในการได้รับเงินรางวัล 5,000 บาท
ถ้าเป็นคุณจะเลือกตัวเลือกข้อไหน ?
คำตอบของคนส่วนใหญ่ มักจะเลือกตัวเลือกที่ 2
เพราะเป็นตัวเลือกที่มีความแน่นอนมากกว่า และไม่เสียอะไรเลย ถึงอย่างไรแล้ว ก็ได้รับเงิน 5,000 บาท แน่ ๆ
เพราะเป็นตัวเลือกที่มีความแน่นอนมากกว่า และไม่เสียอะไรเลย ถึงอย่างไรแล้ว ก็ได้รับเงิน 5,000 บาท แน่ ๆ
แต่กลับกัน ตัวเลือกที่ 1 แม้ว่าจะมีเงินรางวัลสูงกว่าเป็นเท่าตัว
แต่ก็มีโอกาสอีก 50% ที่จะไม่ได้เงินกลับมาสักบาท คนส่วนใหญ่จึงไม่นิยมเลือกตัวเลือกนี้
แต่ก็มีโอกาสอีก 50% ที่จะไม่ได้เงินกลับมาสักบาท คนส่วนใหญ่จึงไม่นิยมเลือกตัวเลือกนี้
ทีนี้ เราลองมาดูอีกตัวอย่างหนึ่ง
มี 2 ตัวเลือก ให้เลือกได้ 1 อย่าง เช่นกัน
- ตัวเลือกที่ 1 : มีโอกาส 50% ที่จะเสียเงิน 10,000 บาท และโอกาสอีก 50% ที่จะไม่เสียเงินเลย
- ตัวเลือกที่ 2 : มีโอกาส 100% ที่จะเสียเงิน 5,000 บาท
- ตัวเลือกที่ 2 : มีโอกาส 100% ที่จะเสียเงิน 5,000 บาท
ถ้าเป็นคุณจะเลือกตัวเลือกข้อไหน ?
คราวนี้ คนส่วนใหญ่มักเลือกตัวเลือกที่ 1 มากกว่า
เพราะสมองจะตีกรอบความคิดว่า ตัวเลือกที่ 2 จะทำให้ตัวเองเสียเงินอย่างแน่นอน
เพราะสมองจะตีกรอบความคิดว่า ตัวเลือกที่ 2 จะทำให้ตัวเองเสียเงินอย่างแน่นอน
เพื่อป้องกันการสูญเสีย สมองจึงชักนำความคิดให้คนเลือกตัวเลือกที่ 1 แทน
เพราะคิดว่า ยังมีโอกาสอีกครึ่งหนึ่ง ที่ตัวเองอาจจะไม่เสียเงินเลยสักบาทเดียว
เพราะคิดว่า ยังมีโอกาสอีกครึ่งหนึ่ง ที่ตัวเองอาจจะไม่เสียเงินเลยสักบาทเดียว
นอกจากตัวอย่างข้างต้นแล้ว ยังมีตัวอย่างอีกมากมายที่บ่งบอกว่า มนุษย์กลัวการสูญเสียและพยายามหลีกเลี่ยงมัน เช่น
- คนเรามักรู้สึกเฉย ๆ หรือมีความสุขเพียงเล็กน้อย เวลาได้ของชิ้นหนึ่งมา
แต่จะรู้สึกเจ็บปวดมากกว่า เวลาทำของชิ้นเดียวกันหายไป
แต่จะรู้สึกเจ็บปวดมากกว่า เวลาทำของชิ้นเดียวกันหายไป
- คนไม่กล้าลาออกจากงาน เพราะกลัวเสียรายได้และสถานะทางสังคมที่ตัวเองเคยมี
- คนเรามักอดทนอยู่กับคนเดิม ๆ แม้ว่าความสัมพันธ์จะไม่ราบรื่นก็ตาม
เพราะเขาเหล่านั้น กลัวการสูญเสียช่วงเวลาที่ดีในอดีต หรือสิ่งที่เคยได้ทำร่วมกันมา
เพราะเขาเหล่านั้น กลัวการสูญเสียช่วงเวลาที่ดีในอดีต หรือสิ่งที่เคยได้ทำร่วมกันมา
- คนเรามักซื้อของช่วงลดราคาพิเศษ แม้จะไม่ได้ต้องการใช้ของชิ้นนั้นก็ตาม
เพราะกลัวสูญเสียโอกาสที่จะได้รับส่วนลด พร้อมกับคิดว่าสักวันหนึ่งก็คงได้ใช้
เพราะกลัวสูญเสียโอกาสที่จะได้รับส่วนลด พร้อมกับคิดว่าสักวันหนึ่งก็คงได้ใช้
แล้วถ้าสิทธิพิเศษนั้นมีเงื่อนไขจำกัดอีก เช่น จำกัดเวลา จำกัดจำนวน จำกัดสถานที่
ก็จะทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าได้เร็วขึ้นตามไปด้วย
ก็จะทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าได้เร็วขึ้นตามไปด้วย
ในจุดนี้เอง เราจึงเห็นหลายแบรนด์นำกลยุทธ์มอบสิทธิพิเศษ มาใช้ร่วมกับกลยุทธ์สร้างความขาดแคลน (Scarcity Marketing)
เพื่อให้เรารู้สึกว่า ถ้าพลาดสิทธิพิเศษครั้งนี้ไป จะต้องเสียใจในภายหลังแน่ ๆ
เพื่อให้เรารู้สึกว่า ถ้าพลาดสิทธิพิเศษครั้งนี้ไป จะต้องเสียใจในภายหลังแน่ ๆ
แล้วทำไม Loss Aversion ถึงมีผลต่อการตัดสินใจของมนุษย์มากขนาดนี้ ?
คำถามนี้ต้องย้อนกลับไปในอดีต เมื่อหลายแสนปีก่อน
ที่มนุษย์ต้องดิ้นรนเอาชีวิตรอดอยู่ตลอดเวลา
ที่มนุษย์ต้องดิ้นรนเอาชีวิตรอดอยู่ตลอดเวลา
ทั้งการต่อสู้กับมนุษย์ด้วยกันเอง ต่อสู้กับสัตว์ป่า
โรคระบาด อาหารการกิน หรือสภาพอากาศที่โหดร้าย เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตของมนุษย์
โรคระบาด อาหารการกิน หรือสภาพอากาศที่โหดร้าย เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตของมนุษย์
การตัดสินใจแต่ละครั้งของมนุษย์ จึงสำคัญอย่างมาก
เพราะราคาที่ต้องจ่ายให้กับการตัดสินใจที่ผิดพลาดเพียงครั้งเดียว อาจหมายถึงชีวิตได้เลย
เพราะราคาที่ต้องจ่ายให้กับการตัดสินใจที่ผิดพลาดเพียงครั้งเดียว อาจหมายถึงชีวิตได้เลย
ดังนั้น คนที่มีอัตรารอดชีวิตสูง จึงมักเป็นคนที่ระมัดระวังภยันตราย
กลัวการสูญเสีย และพยายามหลีกเลี่ยงการสูญเสียให้มากที่สุด
กลัวการสูญเสีย และพยายามหลีกเลี่ยงการสูญเสียให้มากที่สุด
ทำให้ลักษณะนิสัยนี้ของมนุษย์ถูกคัดเลือกโดยธรรมชาติ ให้มีการสืบทอดต่อกันมาเรื่อย ๆ ทางพันธุกรรม
และมันก็ยังคงปรากฏหลงเหลืออยู่ในลักษณะนิสัยของมนุษย์ในยุคปัจจุบัน
และมันก็ยังคงปรากฏหลงเหลืออยู่ในลักษณะนิสัยของมนุษย์ในยุคปัจจุบัน
ดังนั้น คำตอบของคำถามที่ว่า ทำไมกลยุทธ์สร้างความขาดแคลนถึงทำให้เราตัดสินใจซื้อสินค้าได้เร็วขึ้น ?
ก็เป็นเพราะว่า ลึก ๆ แล้ว มนุษย์มีสัญชาตญาณในการตอบสนองต่อสิ่งเร้า
ให้หลีกเลี่ยงการสูญเสียโดยไม่จำเป็น
ให้หลีกเลี่ยงการสูญเสียโดยไม่จำเป็น
นั่นจึงทำให้ คนที่สนใจซื้อสินค้าอยู่แล้ว
ไม่อาจปฏิเสธสิทธิพิเศษที่แบรนด์มอบให้โดยง่าย
ไม่อาจปฏิเสธสิทธิพิเศษที่แบรนด์มอบให้โดยง่าย
และถ้ายิ่งมีการจำกัดเวลา หรือจำกัดจำนวน
ก็จะยิ่งเร่งให้เกิดการตัดสินใจซื้อสินค้า ได้รวดเร็วมากขึ้นไปอีก
ก็จะยิ่งเร่งให้เกิดการตัดสินใจซื้อสินค้า ได้รวดเร็วมากขึ้นไปอีก
เพราะลึก ๆ แล้ว เราทุกคน ต่างกลัวที่จะสูญเสียโอกาสดี ๆ ที่จะได้รับส่วนลดไปนั่นเอง..
อ้างอิง:
-https://www.activecampaign.com/blog/loss-aversion-marketing
-https://www.linkedin.com/pulse/power-loss-aversion-marketing-comprehensive-guide-james-taylor-
-https://www.brax.io/blog/using-loss-aversion-in-marketing-to-gain-more-customers
-https://en.wikipedia.org/wiki/Loss_aversion
-https://www.careervisaassessment.com/th/articles/loss-aversion
-https://www.activecampaign.com/blog/loss-aversion-marketing
-https://www.linkedin.com/pulse/power-loss-aversion-marketing-comprehensive-guide-james-taylor-
-https://www.brax.io/blog/using-loss-aversion-in-marketing-to-gain-more-customers
-https://en.wikipedia.org/wiki/Loss_aversion
-https://www.careervisaassessment.com/th/articles/loss-aversion