อธิบายเรื่อง Market Research การวิจัยตลาด พื้นฐานที่สำคัญมาก ของการตลาด
12 ก.ย. 2024
Market Research หรือการวิจัยตลาด เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการตลาด
ไม่ว่าจะเป็น ตลาดเป้าหมาย (Market Target) ปริมาณความต้องการสินค้า ตัวเลือกและราคาของสินค้าชนิดเดียวกันที่มีในตลาด
ลักษณะทางประชากรศาสตร์ของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย พฤติกรรม ความรู้สึก และมุมมองของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ที่มีต่อแบรนด์และสินค้าของเรา หรือของคู่แข่ง
ลักษณะทางประชากรศาสตร์ของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย พฤติกรรม ความรู้สึก และมุมมองของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ที่มีต่อแบรนด์และสินค้าของเรา หรือของคู่แข่ง
ทำให้นักการตลาดและแบรนด์ สามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในการพัฒนาสินค้า หรือวางแผนการทำการตลาดได้อย่างเหมาะสม
โดยการทำ Market Research นิยมทำในสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น
- เมื่อต้องการพัฒนาสินค้าหรือบริการชนิดใหม่เข้าสู่ตลาด
- เมื่อต้องการทำความเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้า หรือลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ในช่วงเวลานั้น ๆ
- เมื่อต้องการปรับกลยุทธ์การตลาดใหม่
- เมื่อต้องการปรับปรุงสินค้าหรือบริการใหม่
- เมื่อต้องการทำความเข้าใจจุดอ่อน/จุดแข็ง ของสินค้าหรือบริการ ในช่วงเวลาที่มีคู่แข่งรายใหม่นำสินค้าหรือบริการชนิดเดียวกันเข้าสู่ตลาด
- เมื่อต้องการทำความเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้า หรือลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ในช่วงเวลานั้น ๆ
- เมื่อต้องการปรับกลยุทธ์การตลาดใหม่
- เมื่อต้องการปรับปรุงสินค้าหรือบริการใหม่
- เมื่อต้องการทำความเข้าใจจุดอ่อน/จุดแข็ง ของสินค้าหรือบริการ ในช่วงเวลาที่มีคู่แข่งรายใหม่นำสินค้าหรือบริการชนิดเดียวกันเข้าสู่ตลาด
แล้วทีนี้ ถ้าถามว่าเราจะทำ Market Research ได้อย่างไรบ้าง ?
โดยปกติแล้ว Market Research นั้น จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ตามหลักของการวิจัยทั่วไป ได้แก่
- การวิจัยปฐมภูมิ (Primary Research)
เป็นการวิจัยที่เราเป็นผู้เก็บข้อมูลต่าง ๆ ด้วยตัวเอง เช่น การทำแบบสำรวจข้อมูล การสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์กลุ่ม (Focus Group) และการสังเกตการณ์
- การวิจัยทุติยภูมิ (Secondary Research)
เป็นการวิจัยที่เราไม่ได้เป็นผู้เก็บข้อมูลต่าง ๆ ด้วยตัวเอง แต่อาศัยการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้ว เช่น ข่าว รายงานของบริษัท และสถิติที่หน่วยงานรัฐหรือสถาบันวิจัยต่าง ๆ เป็นผู้รวบรวม
แต่วิธีในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อทำ Market Research ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด จะมีอยู่ด้วยกัน 4 วิธี คือ
1. การทำแบบสำรวจข้อมูล (Survey)
เป็นวิธีการเก็บข้อมูลในการทำ Market Research ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ส่วนใหญ่แล้วใช้ในการถามคำถามปลายปิด เช่น คำถามที่ให้ตอบว่าใช่/ไม่ใช่ คำถามที่มีชุดคำตอบ หรือสเกล 1-10 ให้เลือกตอบ เพื่อเก็บข้อมูลที่นักการตลาดต้องการ เช่น ข้อมูลทางด้านลักษณะประชากรศาสตร์ หรือความคิดเห็นของลูกค้าที่มีต่อแบรนด์หรือสินค้า
โดยการทำแบบสำรวจข้อมูลนี้ มีข้อดีตรงที่สามารถเก็บข้อมูลได้ง่าย ด้วยการแจกแบบสำรวจผ่านอินเทอร์เน็ต และใช้งบประมาณในการทำไม่สูง
2. การสัมภาษณ์ (Interview)
การสัมภาษณ์แบบ One-on-One มีข้อดีเหนือการเก็บข้อมูลด้วยวิธีอื่น ๆ คือ การได้ข้อมูลเชิงลึก จากคนที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
หรือได้ทำความเข้าใจในความต้องการของลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริง เช่น พฤติกรรม สิ่งที่ชอบหรือไม่ชอบ ความคิดเห็นที่มีต่อสินค้าและแบรนด์ โดยใช้คำถามปลายเปิด
รวมถึงยังสามารถเก็บข้อมูลได้จากการดูภาษากาย เพื่อดูปฏิกิริยาของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้อีกด้วย
3. การสัมภาษณ์กลุ่ม (Focus Group)
คล้าย ๆ กับการสัมภาษณ์แบบ One-on-One แต่เป็นการนำลูกค้ากลุ่มเป้าหมายที่ต้องการราว ๆ 5-10 คน ด้วยแบ็กกราวนด์ที่แตกต่างกัน มานั่งรวมกันในพื้นที่เดียว แล้วให้ Moderator ทำหน้าที่ถามคำถามต่าง ๆ ในประเด็นที่แบรนด์ต้องการ ซึ่งจะทำให้เราได้ความคิดเห็นหรืออินไซต์ที่ค่อนข้างมีความหลากหลาย
แต่ข้อควรระวังอย่างหนึ่งของการสัมภาษณ์กลุ่ม ก็คือ ความคิดเห็นของคนคนหนึ่ง อาจได้รับการครอบงำจากอิทธิพลทางความคิด หรืออคติในการตอบคำถาม จากคนอื่น ๆ ในกลุ่มก็ได้
4. การสังเกตพฤติกรรม (Observation)
เป็นวิธีการเก็บข้อมูลที่แตกต่างจากวิธีอื่น ๆ โดยสิ้นเชิง เพราะอาจไม่ได้มีการตั้งคำถามให้กับผู้เข้าร่วมการสังเกตพฤติกรรมโดยตรง แต่ใช้วิธีสังเกตพฤติกรรมหรือปฏิกิริยาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแทน
เช่น นำสินค้าของเราให้ผู้เข้าร่วมการสังเกตพฤติกรรมได้ลองใช้งาน แล้วดูว่าจะมีปฏิกิริยาใดเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น
- การสังเกตสีหน้า ท่าทาง
- การสังเกตการใช้งาน ว่าผู้เข้าร่วมสามารถใช้สินค้าได้อย่างคล่องแคล่วหรือไม่
- การสังเกตว่าผู้เข้าร่วมเจอกับปัญหาในการใช้งานสินค้าอย่างไร
- การสังเกตระยะเวลาที่ผู้เข้าร่วมจดจ่ออยู่กับสินค้าของเรา
- การสังเกตการใช้งาน ว่าผู้เข้าร่วมสามารถใช้สินค้าได้อย่างคล่องแคล่วหรือไม่
- การสังเกตว่าผู้เข้าร่วมเจอกับปัญหาในการใช้งานสินค้าอย่างไร
- การสังเกตระยะเวลาที่ผู้เข้าร่วมจดจ่ออยู่กับสินค้าของเรา
ซึ่งหลังจากที่เราได้ข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้มาทั้งหมดแล้ว เราก็จะสามารถนำข้อมูลนี้ไปวิเคราะห์ต่อ เพื่อทำให้รู้ว่า ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายที่แบรนด์ต้องการมีความคิดเห็นต่อแบรนด์หรือสินค้าอย่างไร
รวมถึงวิเคราะห์ต่อว่า สินค้าของเราดีพอที่จะยอมจ่ายเงินซื้อหรือไม่ หรืออะไรคือสิ่งที่ทำให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายตัดสินใจซื้อสินค้า
ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะทำให้แบรนด์และนักการตลาด สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาสินค้า บริการ วางแผนกลยุทธ์การตลาดและการสร้างแบรนด์ได้อย่างเหมาะสม
และที่สำคัญคือ เอาไปพัฒนาสินค้าหรือบริการ ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายมากที่สุด