อธิบาย Value Pyramid วิธีแบ่ง คุณค่าของแบรนด์ 4 ระดับ เรื่องสำคัญ ของนักการตลาด
23 มี.ค. 2024
โดยปกติกระบวนการทางการตลาด ตามกลยุทธ์ STP Marketing
จะเริ่มจากการแบ่งส่วนตลาด (Segmentation) จากนั้นจึงเลือกเป้าหมายทำการตลาด (Targeting)
และสุดท้ายจึงค่อยทำการกำหนดจุดยืนของแบรนด์ (Positioning)
จะเริ่มจากการแบ่งส่วนตลาด (Segmentation) จากนั้นจึงเลือกเป้าหมายทำการตลาด (Targeting)
และสุดท้ายจึงค่อยทำการกำหนดจุดยืนของแบรนด์ (Positioning)
โดยหลังจากที่เราแบ่งส่วนตลาด และเลือกลูกค้ากลุ่มเป้าหมายที่จะทำการตลาดได้แล้ว
สิ่งสำคัญต่อมาก็คือ การมองหาจุดแข็งของแบรนด์ ผ่านเครื่องมือที่ชื่อว่า Brand Value Proposition
สิ่งสำคัญต่อมาก็คือ การมองหาจุดแข็งของแบรนด์ ผ่านเครื่องมือที่ชื่อว่า Brand Value Proposition
เพื่อค้นหาและส่งมอบคุณค่าที่ลูกค้าควรจะได้รับจากการใช้สินค้าหรือบริการของแบรนด์
และยังเป็นแต้มต่อในการแข่งขันทางธุรกิจกับสินค้าจากแบรนด์อื่น ๆ
และยังเป็นแต้มต่อในการแข่งขันทางธุรกิจกับสินค้าจากแบรนด์อื่น ๆ
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้นได้ไม่นาน ก็อาจจะพบคำถามคาใจบางอย่าง เช่น
- ไม่รู้ว่าธุรกิจของตัวเองมีข้อดีอะไรบ้าง ?
- อะไรคือสิ่งที่ลูกค้ากำลังมองหา ?
- เราจะสื่อสารข้อดีที่มีอยู่ให้ลูกค้ารับรู้ได้อย่างไรบ้าง ?
- ไม่รู้ว่าธุรกิจของตัวเองมีข้อดีอะไรบ้าง ?
- อะไรคือสิ่งที่ลูกค้ากำลังมองหา ?
- เราจะสื่อสารข้อดีที่มีอยู่ให้ลูกค้ารับรู้ได้อย่างไรบ้าง ?
ซึ่งในทางการตลาด มีเครื่องมือหนึ่งที่มาช่วยแก้ปัญหาข้างต้นได้ ชื่อว่า “The Elements of Value”
แล้วเครื่องมือ The Elements of Value คืออะไร ? เรามาดูไปพร้อมกัน
The Elements of Value แปลเป็นไทยตรง ๆ ว่า “องค์ประกอบแห่งคุณค่า”
เป็นเครื่องมือที่พัฒนาโดย Bain & Company ผ่านการเก็บข้อมูลจากชาวอเมริกัน
เป็นเครื่องมือที่พัฒนาโดย Bain & Company ผ่านการเก็บข้อมูลจากชาวอเมริกัน
โดยจากการสำรวจพบว่า แม้สินค้าและบริการจากทั่วโลกจะมีความแตกต่างกัน
แต่แท้จริงแล้ว คุณค่าที่ธุรกิจมอบให้ลูกค้านั้น มีความเป็นสากลแฝงอยู่
แต่แท้จริงแล้ว คุณค่าที่ธุรกิจมอบให้ลูกค้านั้น มีความเป็นสากลแฝงอยู่
พูดง่าย ๆ ก็คือ แม้สินค้าแต่ละแบรนด์ จะมีรายละเอียดแตกต่างกันบ้าง ไม่มากก็น้อย
แต่คุณค่าภายในของสินค้าหรือบริการทุกอย่าง ต่างมีจุดร่วมที่เหมือน ๆ กัน
แต่คุณค่าภายในของสินค้าหรือบริการทุกอย่าง ต่างมีจุดร่วมที่เหมือน ๆ กัน
Bain & Company จึงได้นำคุณค่าเหล่านี้มาจัดเรียงใหม่ให้เป็นระบบ ออกมาในรูปของพีระมิด
(Value Pyramid)
ตามทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ (Maslow’s Hierarchy of Needs)
(Value Pyramid)
ตามทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ (Maslow’s Hierarchy of Needs)
โดยแบ่งคุณค่าทั้งหมด 30 ข้อ ออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้
1. คุณค่าทางการใช้สอย (Functional Value) มีทั้งหมด 14 คุณค่า ได้แก่
- ประหยัดเวลา (Saves Times)
- ลดความซับซ้อน (Simplifies)
- สร้างรายได้ (Makes Money)
- ลดความเสี่ยง (Reduces Risk)
- จัดระบบ (Organizes)
- ช่วยประสานงาน (Integrates)
- สร้างการเชื่อมต่อ (Connects)
- ช่วยทุ่นแรง (Reduces Effort)
- ลดความยุ่งยาก (Avoids Hassles)
- ลดต้นทุนหรือช่วยประหยัดเงิน (Reduces Cost)
- มีคุณภาพ (Quality)
- มีความหลากหลาย (Variety)
- มอบประสบการณ์ผ่านประสาทสัมผัส (Sensory Appeal)
- ให้ข้อมูล (Informs)
- ลดความซับซ้อน (Simplifies)
- สร้างรายได้ (Makes Money)
- ลดความเสี่ยง (Reduces Risk)
- จัดระบบ (Organizes)
- ช่วยประสานงาน (Integrates)
- สร้างการเชื่อมต่อ (Connects)
- ช่วยทุ่นแรง (Reduces Effort)
- ลดความยุ่งยาก (Avoids Hassles)
- ลดต้นทุนหรือช่วยประหยัดเงิน (Reduces Cost)
- มีคุณภาพ (Quality)
- มีความหลากหลาย (Variety)
- มอบประสบการณ์ผ่านประสาทสัมผัส (Sensory Appeal)
- ให้ข้อมูล (Informs)
คุณค่าทางการใช้สอย เป็นคุณค่าขั้นพื้นฐานที่ธุรกิจควรจะมีและส่งมอบให้กับลูกค้าได้
ถ้าธุรกิจไม่สามารถมอบคุณค่าในระดับนี้ให้ลูกค้าได้ ก็อาจจะส่งผลกระทบร้ายแรงต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันกับธุรกิจอื่น
โดยคุณค่าพื้นฐานที่ทุกธุรกิจต้องมี คือ คุณภาพที่ดี (Quality)
ส่วนคุณค่าตั้งแต่ข้อ 2 เป็นต้นไป จะแตกต่างกันไปตามประเภทและอุตสาหกรรมของธุรกิจ
ตัวอย่างเช่น ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม คุณค่าพื้นฐานที่ควรมี คือ คุณภาพ, มีตัวเลือกหลากหลาย,
ประหยัดเงิน (ราคาสมเหตุสมผล) และมอบประสบการณ์ผ่านประสาทสัมผัส
ประหยัดเงิน (ราคาสมเหตุสมผล) และมอบประสบการณ์ผ่านประสาทสัมผัส
ซึ่งธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มที่โดดเด่นในเรื่องนี้ เช่น Mo-Mo-Paradise ชาบูสัญชาติญี่ปุ่น
ที่มีกลิ่นน้ำซุปหอม เป็นเอกลักษณ์ เตะจมูกคนที่เดินผ่านไปมา จนหลายคนอยากเข้าไปกิน
ที่มีกลิ่นน้ำซุปหอม เป็นเอกลักษณ์ เตะจมูกคนที่เดินผ่านไปมา จนหลายคนอยากเข้าไปกิน
ขณะที่ถ้าเปลี่ยนเป็นธุรกิจให้คำปรึกษา คุณค่าพื้นฐานที่ควรมีก็จะเปลี่ยนไป เป็นอย่างเช่น
คุณภาพ, ให้ข้อมูลจำเป็น, ลดความเสี่ยง, การจัดระบบ และลดความยุ่งยาก
คุณภาพ, ให้ข้อมูลจำเป็น, ลดความเสี่ยง, การจัดระบบ และลดความยุ่งยาก
2. คุณค่าทางอารมณ์ (Emotional Value) มีทั้งหมด 10 คุณค่า ได้แก่
- ลดความเครียดหรือกังวล (Reduces Anxiety)
- ให้รางวัลตัวเอง (Rewards Me)
- โหยหาอดีต (Nostalgia)
- การออกแบบที่ดี / สร้างสุนทรียภาพ (Design / Aesthetics)
- คุณค่าทางสัญลักษณ์ (Badge Value)
- คุณค่าการมีสุขภาพที่ดี (Wellness)
- คุณค่าทางการบำบัดรักษา (Therapeutic Value)
- สนุกสนาน / สร้างความบันเทิง (Fun / Entertainment)
- มีเสน่ห์ สร้างแรงดึงดูด (Attractiveness)
- เข้าถึงได้ง่าย (Provides Access)
- ให้รางวัลตัวเอง (Rewards Me)
- โหยหาอดีต (Nostalgia)
- การออกแบบที่ดี / สร้างสุนทรียภาพ (Design / Aesthetics)
- คุณค่าทางสัญลักษณ์ (Badge Value)
- คุณค่าการมีสุขภาพที่ดี (Wellness)
- คุณค่าทางการบำบัดรักษา (Therapeutic Value)
- สนุกสนาน / สร้างความบันเทิง (Fun / Entertainment)
- มีเสน่ห์ สร้างแรงดึงดูด (Attractiveness)
- เข้าถึงได้ง่าย (Provides Access)
คุณค่าทางอารมณ์ เป็นคุณค่าในขั้นถัดมา ที่ช่วยให้ธุรกิจของเราแตกต่างจากธุรกิจของคู่แข่ง
ดังนั้น ธุรกิจที่สร้างคุณค่าทางการใช้สอยแล้ว อย่างน้อยที่สุดต้องมีคุณค่าทางอารมณ์เพิ่มเติม
เพื่อให้ลูกค้าสามารถจดจำแบรนด์ได้ในระยะยาว
เพื่อให้ลูกค้าสามารถจดจำแบรนด์ได้ในระยะยาว
ตัวอย่างเช่น Disney นำการ์ตูนดังในครั้งอดีต มาทำใหม่ในรูปแบบ Live Action
ที่นอกจากจะมอบความสนุกสนานและความบันเทิง (Fun / Entertainment) แล้ว
ที่นอกจากจะมอบความสนุกสนานและความบันเทิง (Fun / Entertainment) แล้ว
ยังทำให้ผู้ใหญ่หลาย ๆ คน ได้ย้อนวันวานกลับไปในครั้งที่ตัวเองเป็นเด็ก
จนทำให้หนังใหม่หลาย ๆ เรื่องประสบความสำเร็จ และได้รับการตอบรับที่ดีจากแฟน ๆ หลายคน
จนทำให้หนังใหม่หลาย ๆ เรื่องประสบความสำเร็จ และได้รับการตอบรับที่ดีจากแฟน ๆ หลายคน
3. คุณค่าในทางเปลี่ยนแปลงชีวิต (Life-Changing Value) มีทั้งหมด 5 คุณค่า ได้แก่
- มอบความหวัง (Provides Hope)
- มอบความรู้สึกถึงความสำเร็จหรือการพัฒนาตัวเอง (Self-Actualization)
- มอบแรงบันดาลใจ (Motivation)
- เป็นมรดกให้รุ่นต่อ ๆ ไป (Heirloom)
- มอบความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม (Affiliation and Belonging)
- มอบความรู้สึกถึงความสำเร็จหรือการพัฒนาตัวเอง (Self-Actualization)
- มอบแรงบันดาลใจ (Motivation)
- เป็นมรดกให้รุ่นต่อ ๆ ไป (Heirloom)
- มอบความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม (Affiliation and Belonging)
ตัวอย่างธุรกิจที่มอบคุณค่าในทางเปลี่ยนแปลงชีวิต เช่น
แคมเปญ “Just Do It” ของ Nike ที่มอบแรงบันดาลใจให้กับนักกีฬาทั่วโลก
และผลักดันให้นักกีฬาก้าวข้ามศักยภาพของตัวเอง ไม่ว่าจะมีอุปสรรคใดขวางอยู่ก็ตาม
และผลักดันให้นักกีฬาก้าวข้ามศักยภาพของตัวเอง ไม่ว่าจะมีอุปสรรคใดขวางอยู่ก็ตาม
4. คุณค่าที่ส่งผลกระทบต่อสังคม (Social Impact) มีเพียงอย่างเดียว คือ
- ช่วยผู้อื่นหรือสังคมในวงกว้าง (Self-Transcendence)
ตัวอย่างธุรกิจที่มอบคุณค่าต่อสังคม เช่น TOMS แบรนด์รองเท้าผ้าใบ สัญชาติอเมริกัน
ที่มีการทำแคมเปญเพื่อสังคมคือ เมื่อขายรองเท้าได้ 1 คู่ จะมอบรองเท้าให้เด็ก ๆ ในประเทศยากจน 1 คู่
หรือมอบกำไรส่วนหนึ่งให้กับการรักษาสายตาแก่ผู้คนในประเทศกำลังพัฒนา
หรือมอบกำไรส่วนหนึ่งให้กับการรักษาสายตาแก่ผู้คนในประเทศกำลังพัฒนา
ทั้งหมดนี้ก็คือ Value Pyramid เครื่องมือทางการตลาดที่ช่วยให้ธุรกิจมองเห็นภาพรวมของคุณค่า
ซึ่งธุรกิจก็สามารถนำเครื่องมือนี้ ไปใช้เป็นไอเดียในการหาจุดยืนของแบรนด์ได้
โดยพิจารณาว่าธุรกิจของเราเหมาะกับคุณค่าข้อไหนบ้าง และธุรกิจของเรามีคุณค่าข้อนั้นหรือยัง
โดยพิจารณาว่าธุรกิจของเราเหมาะกับคุณค่าข้อไหนบ้าง และธุรกิจของเรามีคุณค่าข้อนั้นหรือยัง
ถ้ายังไม่มี ก็ต้องสร้างคุณค่านั้นขึ้นมา และเชื่อมโยงคุณค่าเหล่านี้ไปให้กับลูกค้าของเรา
ทั้งหมดนี้ก็เพื่อสร้างจุดขายเฉพาะให้ธุรกิจ
และสามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ อย่างยั่งยืน..
และสามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ อย่างยั่งยืน..
อ้างอิง:
-หนังสือ UNIQUE SELLING POINT ลูกค้าจำได้ ซื้อซ้ำ แค่ย้ำจุดขายเดียว โดย สโรจ เลาหศิริ
-https://media.bain.com/elements-of-value/
-https://hbr.org/2016/09/the-elements-of-value
-https://www.neobycmmu.com/post/the-elements-of-value-pyramid-application
-https://clookclick.wordpress.com/2018/07/31/cvp-30-elements/
-https://thewisdom.co/content/maslows-hierarchy-of-needs/
-หนังสือ UNIQUE SELLING POINT ลูกค้าจำได้ ซื้อซ้ำ แค่ย้ำจุดขายเดียว โดย สโรจ เลาหศิริ
-https://media.bain.com/elements-of-value/
-https://hbr.org/2016/09/the-elements-of-value
-https://www.neobycmmu.com/post/the-elements-of-value-pyramid-application
-https://clookclick.wordpress.com/2018/07/31/cvp-30-elements/
-https://thewisdom.co/content/maslows-hierarchy-of-needs/