สรุป อินฟลูเอนเซอร์ 5 ระดับ ตามยอดผู้ติดตาม พร้อมไอเดียการตลาด ใช้แต่ละระดับ ให้ทรงพลัง
21 ต.ค. 2024
อินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) มีรากศัพท์มาจากคำว่า Influence ที่แปลว่า อิทธิพล
คำว่า “อินฟลูเอนเซอร์” จึงหมายถึง บุคคลที่มีอิทธิพลหรือสามารถชักจูงใจผู้อื่นได้
คำว่า “อินฟลูเอนเซอร์” จึงหมายถึง บุคคลที่มีอิทธิพลหรือสามารถชักจูงใจผู้อื่นได้
อินฟลูเอนเซอร์ นับเป็นบุคคลสำคัญในแวดวงการตลาดและการโฆษณา
เพราะพวกเขาเหล่านี้คือบุคคลที่สามารถโน้มน้าวใจให้ผู้อื่นคล้อยตามได้ จากชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือที่สั่งสมมา
เพราะพวกเขาเหล่านี้คือบุคคลที่สามารถโน้มน้าวใจให้ผู้อื่นคล้อยตามได้ จากชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือที่สั่งสมมา
ตัวอย่างบุคคลที่เป็นอินฟลูเอนเซอร์ก็เช่น ดารา นักแสดง ศิลปิน นักร้อง หรือผู้มีชื่อเสียงในวงการต่าง ๆ
แต่รู้หรือไม่ว่า อินฟลูเอนเซอร์ไม่จำเป็นต้องมีชื่อเสียงในวงกว้างระดับประเทศก็ได้
แต่รู้หรือไม่ว่า อินฟลูเอนเซอร์ไม่จำเป็นต้องมีชื่อเสียงในวงกว้างระดับประเทศก็ได้
แล้วอินฟลูเอนเซอร์ แบ่งออกได้เป็นกี่ประเภท และมีอะไรบ้าง ? เราไปดูพร้อมกัน
จริง ๆ แล้ว การแบ่งประเภทอินฟลูเอนเซอร์มีด้วยกันหลายวิธี แล้วแต่ว่าจะใช้วิธีไหนในการแบ่งประเภท
ตัวอย่างเช่น
- แบ่งตามรูปแบบและแนวทางการทำคอนเทนต์ เช่น อินฟลูเอนเซอร์สายรีวิว อินฟลูเอนเซอร์สายบันเทิง
- แบ่งตามรูปแบบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับคอนเทนต์ เช่น อาหารและเครื่องดื่ม ไลฟ์สไตล์ ความงาม ท่องเที่ยว
- แบ่งตามรูปแบบและแนวทางการทำคอนเทนต์ เช่น อินฟลูเอนเซอร์สายรีวิว อินฟลูเอนเซอร์สายบันเทิง
- แบ่งตามรูปแบบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับคอนเทนต์ เช่น อาหารและเครื่องดื่ม ไลฟ์สไตล์ ความงาม ท่องเที่ยว
หรืออีกวิธีที่เป็นที่นิยมสำหรับนักการตลาดก็คือ การแบ่งอินฟลูเอนเซอร์ตามจำนวนผู้ติดตาม
การแบ่งตามวิธีนี้เป็นที่นิยม เนื่องจากเข้าใจง่าย เหมาะสมสำหรับการวางแผนการตลาด
และยังทำให้เห็นถึงความสามารถในการเข้าถึงผู้ติดตามได้อีกด้วย
และยังทำให้เห็นถึงความสามารถในการเข้าถึงผู้ติดตามได้อีกด้วย
ซึ่งการแบ่งอินฟลูเอนเซอร์ตามจำนวนผู้ติดตาม สามารถแบ่งออกได้ 5 ระดับ ดังนี้
1. Nano Influencer
คือ อินฟลูเอนเซอร์ที่มีผู้ติดตามตั้งแต่ 1,000 - 10,000 Followers
ส่วนใหญ่แล้ว อินฟลูเอนเซอร์ระดับนี้ ไม่ใช่คนที่มีชื่อเสียงในวงกว้าง แต่มักจะเป็นคนที่เป็นที่รู้จักดีของคนกลุ่มหนึ่ง จากความสามารถพิเศษเฉพาะตัว หรือทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นจำนวนมาก
เช่น เป็นประธานนักเรียนของรุ่น เป็นเชียร์ลีดเดอร์ หรือแม้แต่คนที่พูดเก่ง มีเพื่อนเยอะ ๆ ก็สามารถมีผู้ติดตามมากกว่า 1,000 คน และกลายเป็น Nano Influencer ได้เช่นกัน
ซึ่งข้อดีของอินฟลูเอนเซอร์ประเภทนี้ก็คือ มีความใกล้ชิดกับผู้ติดตามสูงมาก เพราะผู้ติดตามส่วนใหญ่เป็นคนใกล้ตัวของอินฟลูเอนเซอร์เอง
และยังทำให้คอนเทนต์ของอินฟลูเอนเซอร์ประเภทนี้ มีความเรียล มีความเป็นกันเองกับผู้ติดตาม จึงทำให้ผู้ติดตามเชื่อใจและคล้อยตามกับคำแนะนำของอินฟลูเอนเซอร์ค่อนข้างมาก
Nano Influencer จึงเหมาะกับแบรนด์ขนาดใหญ่ที่ต้องการทำการตลาดแบบเจาะเฉพาะกลุ่ม หรือ Niche Market ที่เป็นตลาดแบบคนใกล้ตัวอินฟลูเอนเซอร์
หรือแบรนด์ที่ต้องการเริ่มทดลองทำ Influencer Marketing และแบรนด์ขนาดเล็กที่มีงบประมาณจ้างอินฟลูเอนเซอร์จำกัด
2. Micro Influencer
คือ อินฟลูเอนเซอร์ที่มีผู้ติดตามตั้งแต่ 10,001 - 50,000 Followers
อินฟลูเอนเซอร์ระดับนี้ มักจะมีแนวทางในการทำคอนเทนต์ที่ชัดเจนมากขึ้น ตามแนวทางที่ตัวเองถนัด
เช่น บางคนถนัดพูดโน้มน้าวใจ ก็อาจจะหาสินค้าที่ดี มีคุณภาพ มาทำคอนเทนต์รีวิวสินค้า
เช่น บางคนถนัดพูดโน้มน้าวใจ ก็อาจจะหาสินค้าที่ดี มีคุณภาพ มาทำคอนเทนต์รีวิวสินค้า
หรือบางคนถนัดเรื่องเทคโนโลยี ก็อาจจะทำคอนเทนต์เกี่ยวกับความรู้ทางเทคโนโลยีและรีวิวสินค้าประเภทเทคโนโลยีที่ออกมาใหม่
เรียกได้ว่า อินฟลูเอนเซอร์กลุ่มนี้เป็นคนที่รู้ลึก รู้จริง ในขอบข่ายเรื่องราวที่ตัวเองถนัดและมีความรู้
ทำให้มีกลุ่มผู้ติดตามเฉพาะทาง ที่สนใจในเรื่องราวเดียวกันเป็นแฟนคลับอย่างเหนียวแน่น
ทำให้มีกลุ่มผู้ติดตามเฉพาะทาง ที่สนใจในเรื่องราวเดียวกันเป็นแฟนคลับอย่างเหนียวแน่น
Micro Influencer จึงเหมาะสำหรับแบรนด์ที่ต้องการทำการตลาดเฉพาะกลุ่มเช่นเดียวกับ Nano Influencer
แต่เป็นตลาดที่เป็นกลุ่มคนที่สนใจเรื่องราวเดียวกัน และมีขนาดตลาดที่ใหญ่ขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง
แต่เป็นตลาดที่เป็นกลุ่มคนที่สนใจเรื่องราวเดียวกัน และมีขนาดตลาดที่ใหญ่ขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง
3. Mid-Tier Influencer
คือ อินฟลูเอนเซอร์ที่มีผู้ติดตามตั้งแต่ 50,001 - 100,000 Followers
อินฟลูเอนเซอร์กลุ่มนี้มีความเนื้อหอมเป็นพิเศษ เนื่องจากจำนวนผู้ติดตามที่มากขึ้นจากกลุ่มก่อนหน้า ทำให้สามารถสร้างการรับรู้ต่อแบรนด์ (Brand Awareness) ได้ดีเพิ่มขึ้น
และยังเป็นอินฟลูเอนเซอร์ระดับสุดท้าย ที่ยังคงความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้ติดตามได้ดี เนื่องจากกลุ่มผู้ติดตามยังไม่ใหญ่มากจนเกินไป
Mid-Tier Influencer จึงเหมาะกับแบรนด์ที่ต้องการสร้าง Brand Awareness ในระดับหนึ่ง
แต่ยังคงเจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม และยังต้องการทำคอนเทนต์แบบเรียล ๆ เป็นกันเองกับผู้ติดตาม
แต่ยังคงเจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม และยังต้องการทำคอนเทนต์แบบเรียล ๆ เป็นกันเองกับผู้ติดตาม
4. Macro Influencer
คือ อินฟลูเอนเซอร์ที่มีผู้ติดตามตั้งแต่ 100,001 - 1,000,000 Followers
อินฟลูเอนเซอร์กลุ่มนี้ คือคนที่มีผู้ติดตามจำนวนมากในวงกว้าง เริ่มมีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักของสังคม
ส่วนใหญ่แล้ว มักจะทำงานเป็นอินฟลูเอนเซอร์แบบเต็มตัว มีแนวทางการทำคอนเทนต์แบบชัดเจนและเป็นมืออาชีพ อาจมีการทำคอนเทนต์หลากหลายสไตล์มากขึ้น ทำให้มีผู้ติดตามจากหลากหลายกลุ่ม
Macro Influencer จึงเหมาะกับแบรนด์ขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ ที่มีงบการตลาดค่อนข้างสูง
และต้องการสร้าง Brand Awareness ให้สินค้าหรือแคมเปญเป็นที่รู้จักในวงกว้าง
และต้องการสร้าง Brand Awareness ให้สินค้าหรือแคมเปญเป็นที่รู้จักในวงกว้าง
5. Mega Influencer
คือ อินฟลูเอนเซอร์ที่มีผู้ติดตามตั้งแต่ 1,000,001 Followers ขึ้นไป
อินฟลูเอนเซอร์ในกลุ่มนี้ มักจะเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในสังคม เช่น ดารา นักร้อง นักกีฬา หรืออินฟลูเอนเซอร์ที่มีชื่อเสียงมาก ๆ
การทำการตลาดแบบเจาะจงกับอินฟลูเอนเซอร์กลุ่มนี้ทำได้ยาก เพราะมีผู้ติดตามจำนวนมาก และผู้ติดตามแต่ละคนก็มีไลฟ์สไตล์ ความสนใจ ที่แตกต่างกันไป
แต่ข้อดีของอินฟลูเอนเซอร์กลุ่มนี้ก็คือ การสร้าง Brand Awareness ได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งผู้ติดตามก็มีแนวโน้มคล้อยตามคำพูดของอินฟลูเอนเซอร์มากด้วยเช่นกัน
Mega Influencer จึงเหมาะกับแบรนด์ขนาดใหญ่ที่มีงบการตลาดสูงมาก และต้องการสร้าง Brand Awareness ให้สินค้าหรือแคมเปญเป็นที่รู้จักในวงกว้างอย่างรวดเร็ว และเน้นใช้ชื่อเสียงหรือความน่าเชื่อถือของอินฟลูเอนเซอร์ระดับนี้เป็นตัวช่วย
ทั้งหมดนี้ก็คือ การแบ่งอินฟลูเอนเซอร์แต่ละประเภทตามจำนวนผู้ติดตาม และแนวทางการทำการตลาดแบบเบื้องต้น
สรุปอีกครั้ง อินฟลูเอนเซอร์แบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่ม ตามจำนวนผู้ติดตาม ได้แก่
- Nano Influencer มีผู้ติดตามตั้งแต่ 1,000 - 10,000 Followers
- Micro Influencer มีผู้ติดตามตั้งแต่ 10,001 - 50,000 Followers
- Mid-Tier Influencer มีผู้ติดตามตั้งแต่ 50,001 - 100,000 Followers
- Macro Influencer มีผู้ติดตามตั้งแต่ 100,001 - 1,000,000 Followers
- Mega Influencer มีผู้ติดตามตั้งแต่ 1,000,001 Followers ขึ้นไป
- Nano Influencer มีผู้ติดตามตั้งแต่ 1,000 - 10,000 Followers
- Micro Influencer มีผู้ติดตามตั้งแต่ 10,001 - 50,000 Followers
- Mid-Tier Influencer มีผู้ติดตามตั้งแต่ 50,001 - 100,000 Followers
- Macro Influencer มีผู้ติดตามตั้งแต่ 100,001 - 1,000,000 Followers
- Mega Influencer มีผู้ติดตามตั้งแต่ 1,000,001 Followers ขึ้นไป
และอีกเรื่องก็ต้องบอกว่า นอกจากแบรนด์หรือนักการตลาด ต้องเลือกใช้ระดับอินฟลูเอนเซอร์ในระดับที่ถูกต้อง เหมาะสมกับจุดประสงค์ หรือไอเดียของแคมเปญแล้ว
อีกเรื่องสำคัญของการตลาดสมัยนี้ คือ เลือกความเหมาะสมของ “แพลตฟอร์ม” ที่อินฟลูเอนเซอร์คนนั้น ๆ อยู่ด้วย
เพราะแต่ละแพลตฟอร์ม อย่างเช่น Facebook, Instagram, YouTube, TikTok ต่างก็มีคาแรกเตอร์ของคอนเทนต์และการสื่อสาร ที่แตกต่างกันไป ด้วยนั่นเอง..