เรียนรู้แนวคิด T.R.A.V.E.L. ของ Grab จิกซอว์ ที่ช่วยดันการท่องเที่ยว และ Soft Power ไทย ให้ทรงพลัง

เรียนรู้แนวคิด T.R.A.V.E.L. ของ Grab จิกซอว์ ที่ช่วยดันการท่องเที่ยว และ Soft Power ไทย ให้ทรงพลัง

10 มิ.ย. 2024
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้เปิดเผยข้อมูลสุดว้าว
โดยระบุว่า 4 เดือนแรกของปี 2567 ที่ผ่านมา มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมาเที่ยวไทยเกือบ 10.2 ล้านคน เพิ่มขึ้นกว่า 146.21% จากปีที่ผ่านมา
ตัวเลขนี้ พิสูจน์ให้เห็นว่าประเทศไทย ถือเป็นหนึ่งในจุดหมายที่คนทั่วโลกอยากจะมาเที่ยวกัน ทำให้ล่าสุด กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ต้องการดันให้ประเทศไทยเป็น Tourism Hub หรือศูนย์กลางการท่องเที่ยวของภูมิภาค
โดยภายในปี 2573 ประเทศไทยจะรองรับนักท่องเที่ยวกว่า 150 ล้านคน
หากทำสำเร็จ คนที่ได้ประโยชน์สูงสุด ก็น่าจะเป็นประชาชนคนไทยทั้งประเทศ ที่จะมีรายได้หลากหลาย ผ่านพฤติกรรมการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว เช่น ช็อปปิงสินค้าจากร้านค้าชุมชน, ร้านอาหาร, บริการรถโดยสาร เป็นต้น  
Grab เอง ที่เป็นเสมือน จิกซอว์ชิ้นหนึ่งในระบบเศรษฐกิจไทย ด้วยสถานะการเป็น Super App ที่มีสารพัดบริการ เช่น บริการเรียกรถ, GrabFood บริการสั่งอาหาร, GrabMart บริการรับซื้อสินค้า, GrabExpress ส่งเอกสารพัสดุแบบด่วน เป็นต้น 
Grab จึงมีไอเดียที่จะใช้ความแข็งแกร่งใน Ecosystem ตัวเอง ผ่านการใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างประสบการณ์ท่องเที่ยวและรายได้ให้แก่คนไทย 
จนทำให้เกิดงานเสวนา GrabNEXT ขับเคลื่อนการท่องเที่ยว สู่อนาคตที่ดีกว่า ที่แกร็บ ประเทศไทย ผนึกภาครัฐและเอกชน เพื่อผลักดันการท่องเที่ยวประเทศไทยให้เป็น Soft Power ที่ทรงพลังขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน 
การจะไปถึงเป้าหมายนั้น ก็ต้องมีแนวคิดไอเดียเจ๋ง ๆ ที่ผ่านการตกผลึกจากการระดมความคิด จนมาได้คำตอบเป็นกลยุทธ์เชิงรุกที่ชื่อว่า T.R.A.V.E.L.
โดยแต่ละตัวอักษร จะเป็นแม่เหล็กดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติให้มาท่องเที่ยวเมืองไทยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อช่วยให้ระบบเศรษฐกิจไทยได้ประโยชน์เกินคาด
เรามาดูกันว่าแต่ละตัวอักษรของกลยุทธ์นี้คืออะไร และช่วยให้การท่องเที่ยวมีแรงดึงดูดเพิ่มขึ้นมากแค่ไหน ? 
T - Technological Integration : เทคโนโลยีที่ทำให้การท่องเที่ยวเป็นเรื่องง่าย ๆ
ปฏิเสธไม่ได้ว่า เทคโนโลยีกับการท่องเที่ยวคือของคู่กัน เมื่อในทุกวันนี้ การซื้อตั๋วเครื่องบิน จองที่พัก เรียกรถ สั่งอาหาร ทุก ๆ อย่างที่กล่าวมา กลุ่มนักท่องเที่ยวต่างใช้งานผ่านช่องทางดิจิทัล 
Grab จึงพัฒนาเทคโนโลยีอำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยวสะดวกสบาย เช่น พัฒนาแอปฯ ให้มีหลายภาษา ทั้งอังกฤษ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี
เชื่อมต่อ Grab กับแพลตฟอร์มอื่น ๆ เช่น WeChat, Booking.com และ Trip.com เพื่อให้ User ต่างชาติสามารถใช้บริการเรียกรถของ Grab จนถึงการขยายช่องทางการชำระเงินดิจิทัลผ่าน Alipay และ Kakao Pay
R - Reliability & Safety : ความปลอดภัยคือสิ่งสำคัญที่สุด 
เพราะคำว่า “สูญเสีย” คือความเจ็บปวดที่สุด ไม่ว่าจะเป็น เงิน, ทรัพย์สิน หรือแม้แต่ชีวิต ทำให้นักท่องเที่ยวจะให้ความสำคัญกับความปลอดภัยเป็นอันดับหนึ่ง  
Grab เองก็เข้าใจเรื่องนี้อย่างลึกซึ้ง จึงพัฒนาเทคโนโลยี ด้านความปลอดภัยมากมาย เช่น Safety Centre สำหรับแจ้งขอความช่วยเหลือ, Audio Protect บันทึกเสียงระหว่างการเดินทาง, มีการคัดกรองอบรมคนขับ, รวมถึงบริการการทำประกันคุ้มครองทั้งผู้โดยสารและคนขับ 
A - Accessibility : กระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวครอบคลุมด้วยบริการ 71 จังหวัด  
เมืองรองในประเทศไทยมีหลายจังหวัดมาก ที่มีสถานที่ท่องเที่ยว ที่สวยงามและมีคุณค่า ทำให้ปัจจุบันนักท่องเที่ยวต่างชาติหันมาเที่ยวเมืองรองมากขึ้น 38%
Grab เองก็มองเห็นเทรนด์ตรงนี้ ทำให้เพิ่มบริการเรียกรถผ่านแอปฯ ครอบคลุม 71 จังหวัด ถือเป็นหนึ่งวิธีที่ช่วยกระจายรายได้ให้แก่ประชากรในจังหวัดต่าง ๆ ผ่านการท่องเที่ยวนั่นเอง 
V - Valuable Experiences : กระตุ้นการมาเที่ยวซ้ำ ด้วยความทรงจำ 
หากเราไปเที่ยวที่ไหนแล้วประทับใจ ย่อมอยากจะไปซ้ำและบอกต่อคนรู้จักหรือโพสต์ในโซเชียล​ 
Insight ตรงนี้เองที่ทำให้มีโครงการ GrabAcademy ที่เป็นเสมือนโรงเรียนฝึกทักษะคนขับครบทุกมิติ โดยเปิดหลักสูตรให้คนขับเรียนคอร์สอบรมออนไลน์
เช่น หลักสูตรการสื่อสารภาษาต่างประเทศ, ขับขี่อย่างปลอดภัย พร้อมกับมีบริการ GrabCar Premium ที่กำลังฮิตมาก ๆ ในกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติ ด้วยบริการที่ Premium ขึ้นอีกระดับ  
E - Environmentally Friendly : ท่องเที่ยวแบบรักษ์โลก
เวลานี้ทุกอุตสาหกรรมต่างเดินบนถนนที่เป็นเมกะเทรนด์โลก นั่นคือ ความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรมท่องเที่ยวก็เช่นกัน ที่จากผลสำรวจพบว่ามีนักท่องเที่ยว 90% ที่ใส่ใจเรื่องนี้  
Grab เองก็มองเป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน ทำให้มีการพัฒนาบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น โครงการ Grab EV ที่ส่งเสริมให้คนขับเปลี่ยนมาใช้รถไฟฟ้า, พัฒนาฟีเจอร์ชดเชยการปล่อยคาร์บอน ที่ผู้ใช้บริการสามารถร่วมบริจาคเงิน 2 บาทต่อการเดินทาง 
หรือ 1 บาทจากการสั่งอาหาร เพื่อนำไปปลูกต้นไม้ชดเชยคาร์บอน โดยในปี 2566 มียอดบริจาคที่สามารถนำไปปลูกต้นไม้ได้กว่า 150,000 ต้น
L - Local Touch ประสบการณ์ท้องถิ่น Soft Power ระดับชาติ 
เรื่องนี้ถือเป็นกลยุทธ์ระดับประเทศ ที่ภาครัฐต้องการขับเคลื่อน เมื่อผลสำรวจพบว่า 65% ของนักท่องเที่ยวอยากสัมผัสวัฒนธรรมท้องถิ่น เช่น เทศกาลประจำจังหวัด, อาหารพื้นบ้าน, สินค้าชุมชน เป็นต้น 
Grab เองที่ทำหน้าที่เป็น คนกลาง ระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบการรายย่อย และคนขับ ก็ต้องการผลักดัน Soft Power เหล่านี้ เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนในจังหวัดต่าง ๆ ทำให้เกิด Grab & Go ที่ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ทำหนังสือไกด์บุ๊ก รวมสถานที่ท่องเที่ยวและร้านอาหารรายย่อยที่มีรสชาติอร่อย ให้ได้ไปลองตาม
จะเห็นว่า Grab อัปเกรดทุกธุรกิจใน Ecosystem ตัวเองด้วยเทคโนโลยี เช่น บริการเรียกรถ, GrabFood บริการสั่งอาหาร เพื่อมาตอบโจทย์ความสะดวกสบาย และสร้างความประทับใจให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่จะสร้างการบอกต่อ และมาเที่ยวซ้ำ ตรงนี้เองที่จะช่วยให้จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี ที่จะมาใช้จ่ายในบ้านเรา
ผลลัพธ์ที่ตามมาก็คือ ธุรกิจชุมชน, ร้านอาหารเล็ก ๆ และคนขับรถ ก็จะมีรายได้เพิ่มขึ้นต่อเนื่องและยั่งยืน และนั่นคือเป้าหมายของ Grab ผ่านกลยุทธ์เชิงรุกที่ชื่อว่า T.R.A.V.E.L. นั่นเอง
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ grb.to/GrabNEXT2024
อ้างอิง :
- ข่าวประชาสัมพันธ์ บริษัท แกร็บ ประเทศไทย จำกัด 
- https://www.thaipbs.or.th/news/content/339016

#GrabNEXT #GrabTH #ทีมGrab 
Tag:Grab
© 2024 Marketthink. All rights reserved. Privacy Policy.