อธิบาย Nash Equilibrium เบสิกเศรษฐศาสตร์ ในทฤษฎีเกม กับไอเดียใช้ ในมุมการตลาด
30 ก.ย. 2024
Nash Equilibrium หรือ สมดุลแบบแนช คือแนวคิดเรื่องหนึ่งที่อยู่ใน ทฤษฎีเกม ซึ่งเจอได้ตามสาขาวิชาคณิตศาสตร์-เศรษฐศาสตร์
Nash Equilibrium อธิบายสถานการณ์ที่ “ผู้เล่นแต่ละคน เลือกทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับตนเอง ภายใต้เงื่อนไขการพิจารณาทางเลือกของผู้เล่นอื่นในจุดเดียวกัน
ทำให้ผู้เล่นแต่ละคนจึงไม่สามารถได้ประโยชน์มากขึ้น ด้วยการเปลี่ยนทางเลือกของตัวเองแต่เพียงฝ่ายเดียวได้ในจุดสมดุล”
ซึ่งชื่อ Nash Equilibrium ถูกตั้งตามชื่อของผู้คิดค้นทฤษฎี คือ คุณจอห์น ฟอร์บส์ แนช จูเนียร์ (John Forbes Nash Jr.) นักคณิตศาสตร์ชาวอเมริกัน
ทีนี้เรามาดูเหตุการณ์สมมติ ให้เข้าใจกลไกของทฤษฎีนี้กัน
โดยตัวอย่างเกมที่นำมาอธิบายเรื่อง Nash Equilibrium ให้เข้าใจได้ไม่ยาก
คือเกมชื่อว่า Prisoner's Dilemma (เกมการตัดสินใจของนักโทษ)
คือเกมชื่อว่า Prisoner's Dilemma (เกมการตัดสินใจของนักโทษ)
หลักการของเกม Prisoner's Dilemma คือมีนักโทษอยู่ 2 คน โดยแต่ละคนจะต้องตัดสินใจว่า จะสารภาพหรือไม่ โดยที่ไม่รู้ว่านักโทษอีกคนจะตัดสินใจอย่างไร
เกมนี้มีการสมมติเหตุการณ์ คือ มีตำรวจต้องการสอบสวนนักโทษ 2 คน ได้แก่ นาย A และ นาย B
โดยนักโทษทั้ง 2 คน จะมีตัวเลือกเพียง 2 ตัวเลือก คือ สารภาพ หรือ ไม่รับสารภาพ
ภายใต้เงื่อนไขสำคัญว่า “นักโทษทั้ง 2 คน ไม่มีโอกาสในการปรึกษากัน”
ภายใต้เงื่อนไขสำคัญว่า “นักโทษทั้ง 2 คน ไม่มีโอกาสในการปรึกษากัน”
และผลที่ได้จะออกมา 4 กรณี สรุปได้ตามตารางในรูปประกอบบทความนี้คือ
- กรณีที่ 1 : หากนาย A และ นาย B สารภาพทั้งคู่ จะต้องจำคุกคนละ 10 ปี
- กรณีที่ 2 : หากนาย A สารภาพ แต่นาย B ไม่รับสารภาพ นาย A ไม่ต้องรับโทษ แต่นาย B ต้องจำคุก 20 ปี
- กรณีที่ 3 : หากนาย B สารภาพ แต่นาย A ไม่รับสารภาพ นาย B ไม่ต้องรับโทษ แต่นาย A ต้องจำคุก 20 ปี
- กรณีที่ 4 : หากนาย A และ นาย B ไม่รับสารภาพทั้งคู่ จะต้องจำคุกคนละ 5 ปี
- กรณีที่ 1 : หากนาย A และ นาย B สารภาพทั้งคู่ จะต้องจำคุกคนละ 10 ปี
- กรณีที่ 2 : หากนาย A สารภาพ แต่นาย B ไม่รับสารภาพ นาย A ไม่ต้องรับโทษ แต่นาย B ต้องจำคุก 20 ปี
- กรณีที่ 3 : หากนาย B สารภาพ แต่นาย A ไม่รับสารภาพ นาย B ไม่ต้องรับโทษ แต่นาย A ต้องจำคุก 20 ปี
- กรณีที่ 4 : หากนาย A และ นาย B ไม่รับสารภาพทั้งคู่ จะต้องจำคุกคนละ 5 ปี
ย้ำอีกทีว่า นักโทษทั้ง 2 คน ไม่มีโอกาสปรึกษากัน
เพราะฉะนั้น ต่างฝ่ายต่างก็กังวลถึงโทษสูงสุดว่า ถ้าตัวเองไม่รับสารภาพ แต่อีกฝ่ายรับสารภาพ ต้องโดนโทษคือจำคุก 20 ปี
ส่วนถ้าตัวเองไม่รับสารภาพ และอีกฝ่ายไม่รับสารภาพเหมือนกัน ทั้งคู่จะติดคุกคนละ 5 ปี
ฉะนั้นอีกทางที่ดูจะเซฟกว่า คือการที่ทั้ง 2 คนชิงรับสารภาพไปเลย
เพราะทางเลือกนี้ หนักที่สุดคือโดนโทษจำคุกเพียง 10 ปี ถ้าอีกฝ่ายสารภาพเหมือนกัน
เพราะทางเลือกนี้ หนักที่สุดคือโดนโทษจำคุกเพียง 10 ปี ถ้าอีกฝ่ายสารภาพเหมือนกัน
หรือคนสารภาพ ไม่โดนโทษจำคุกเลย ถ้าอีกฝ่ายไม่ยอมรับสารภาพ
และสรุปตามทฤษฎีนี้ จุดที่ “นักโทษทั้ง 2 คน ยอมรับสารภาพทั้งคู่” คือจุดที่เรียกว่า “Nash Equilibrium”
ทีนี้ ถ้าเรามาลองดูไอเดียเรื่องนี้ กับตัวอย่างที่เราเห็นกันในชีวิตจริงในมุมธุรกิจและการตลาด
เชื่อว่าหลายคน เวลาเปิดตู้แช่ในร้านสะดวกซื้อ จะเห็นขวดน้ำหวานสีดำอยู่หลายแบรนด์ และราคาของแต่ละแบรนด์ต่างกันเพียงไม่กี่บาท
ภายใต้เงื่อนไขว่า เป็นขวดขนาดเดียวกัน ชื่อเสียงของแบรนด์พอ ๆ กัน
ภายใต้เงื่อนไขว่า เป็นขวดขนาดเดียวกัน ชื่อเสียงของแบรนด์พอ ๆ กัน
หากอธิบายตามแนวคิดทฤษฎีเกม จะได้ตัวเลือกดังนี้
- หากบริษัทหนึ่ง ตั้งราคาสูงกว่าอีกเจ้ามาก ๆ ผู้บริโภคก็อาจซื้อแบรนด์ที่ถูกกว่าเยอะขึ้นมาก
- หากบริษัทหนึ่ง ตั้งราคาต่ำกว่าคู่แข่งในตลาดมากไป กำไรของตัวเองจะลดลงมากเกินไป
- หากบริษัทใดบริษัทหนึ่ง ตั้งราคาสูงกว่าคู่แข่งมาก ๆ บริษัทที่ตั้งราคาต่ำกว่า ก็มีโอกาสจะได้ส่วนแบ่งการตลาดที่เพิ่มขึ้นมา
- หากบริษัทหนึ่ง ตั้งราคาสูงกว่าอีกเจ้ามาก ๆ ผู้บริโภคก็อาจซื้อแบรนด์ที่ถูกกว่าเยอะขึ้นมาก
- หากบริษัทหนึ่ง ตั้งราคาต่ำกว่าคู่แข่งในตลาดมากไป กำไรของตัวเองจะลดลงมากเกินไป
- หากบริษัทใดบริษัทหนึ่ง ตั้งราคาสูงกว่าคู่แข่งมาก ๆ บริษัทที่ตั้งราคาต่ำกว่า ก็มีโอกาสจะได้ส่วนแบ่งการตลาดที่เพิ่มขึ้นมา
เพราะฉะนั้น Nash Equilibrium คือทฤษฎีที่พยายามอธิบายปรากฏการณ์นี้ ให้ออกมาเป็นตรรกะ ที่เข้าใจได้
นอกจากนี้แนวคิด Nash Equilibrium ยังสามารถใช้ได้กับเหตุการณ์ต่าง ๆ เพื่อหาจุดที่ทำให้ทุกฝ่ายไม่มีใครได้เปรียบไปกว่าใคร
ไม่ว่าจะเป็น
- การตั้งหน้าร้านไม่ให้ห่างจากคู่แข่งมากเกินไป เพราะพื้นที่ตรงนั้นมีลูกค้าเป้าหมายผ่านไปมาเยอะ
- การตั้งเรตเงินเดือนของพนักงานในอุตสาหกรรมเดียวกัน
- รวมไปถึงการจัดโปรโมชันส่งเสริมการขาย ที่หลายแบรนด์คู่แข่ง ชอบทำเหมือน ๆ กัน
- การตั้งหน้าร้านไม่ให้ห่างจากคู่แข่งมากเกินไป เพราะพื้นที่ตรงนั้นมีลูกค้าเป้าหมายผ่านไปมาเยอะ
- การตั้งเรตเงินเดือนของพนักงานในอุตสาหกรรมเดียวกัน
- รวมไปถึงการจัดโปรโมชันส่งเสริมการขาย ที่หลายแบรนด์คู่แข่ง ชอบทำเหมือน ๆ กัน
โดยประสิทธิภาพของการปรับใช้แนวคิด Nash Equilibrium ขึ้นอยู่กับว่าเรามีข้อมูลตลาด, พฤติกรรมผู้บริโภค และข้อมูลกลยุทธ์ของคู่แข่งมากน้อยแค่ไหน
แต่ก็ต้องบอกว่า Nash Equilibrium ไม่ได้เป็นตัวตัดสินว่า เราต้องใช้กลยุทธ์แบบไหนในการสร้างยอดขาย หรือแข่งกับคู่แข่ง
เป็นเพียงไอเดียที่ช่วยให้เราสามารถเลือกกลยุทธ์ในการแข่งขัน หรือตอบโต้คู่แข่ง ได้อย่างเหมาะสม
ตามสภาพการแข่งขันของธุรกิจแต่ละแบบเท่านั้น
ตามสภาพการแข่งขันของธุรกิจแต่ละแบบเท่านั้น