ไอเดียการตลาด Mere Exposure เปลี่ยนความคุ้นเคย ของลูกค้า ให้เป็นยอดขายเรา
8 ก.ย. 2024
หลาย ๆ คน ถ้าต้องไปพูดคุยกับคนแปลกหน้าที่ไม่เคยรู้จักมาก่อนเลย ก็อาจจะมีความรู้สึกเกร็ง ๆ อยู่บ้าง หรือบางคนอาจจะไม่ชอบการเจอคนแปลกหน้าเลยก็มี
แต่ถ้าอยู่กับคนที่ตัวเองรู้จัก และคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เช่น คนในครอบครัว เพื่อนสนิท หรือแฟน
ก็คงพูดคุยกันได้เป็นปกติ และมีความรู้สึกเป็นกันเองมากกว่า
ก็คงพูดคุยกันได้เป็นปกติ และมีความรู้สึกเป็นกันเองมากกว่า
ซึ่งความรู้สึกชอบที่จะได้อยู่กับคนที่เราสนิทนี้ เป็นปรากฏการณ์ทางจิตวิทยา มีชื่อเรียกเท่ ๆ ว่า
“Mere Exposure Effect”
“Mere Exposure Effect”
และปรากฏการณ์นี้ยังเกี่ยวข้อง รวมถึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ด้านการตลาดได้อีกด้วย
Mere Exposure Effect คืออะไร ?
แล้วเกี่ยวข้องกับการตลาดอย่างไรบ้าง ? ไปดูกัน..
แล้วเกี่ยวข้องกับการตลาดอย่างไรบ้าง ? ไปดูกัน..
Mere Exposure Effect คือ อคติทางความคิดรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางจิตวิทยาที่ว่า
มนุษย์มีแนวโน้มจะชอบหรือไม่ชอบสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพียงเพราะ “ความคุ้นเคย” หรืออยู่กับมันเป็นเวลานาน
มนุษย์มีแนวโน้มจะชอบหรือไม่ชอบสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพียงเพราะ “ความคุ้นเคย” หรืออยู่กับมันเป็นเวลานาน
โดยนักจิตวิทยาชื่อว่า Robert Zajonc นักจิตวิทยาสังคม สัญชาติอเมริกัน ได้ทำการทดลองและพิสูจน์ปรากฏการณ์นี้มาแล้วหลายต่อหลายครั้ง
สิ่งหนึ่งที่เขาสังเกตเห็นก็คือ สิ่งมีชีวิตทุกชนิด มักจะเกิดอาการกลัวหรือหลีกเลี่ยงสิ่งเร้าใหม่ ๆ
แต่หลังจากที่เจอสิ่งเร้านั้นบ่อยครั้งเข้า สิ่งมีชีวิตจะมีอาการกลัวน้อยลง และเข้าหาสิ่งเร้านั้นมากขึ้น
ลองคิดถึงตอนที่เราเป็นเด็ก แล้วไปเจอสัตว์หรือแมลงแปลก ๆ ที่ไม่เคยเห็นมาก่อนเลย ตอนนั้นเรารู้สึกอย่างไร ?
หลายคนน่าจะไม่กล้าแม้แต่จะเข้าไปใกล้ เพราะเราไม่รู้ว่าสัตว์ตัวนั้นอันตรายไหม
แต่พอเจอสัตว์ตัวนั้นบ่อยครั้งเข้า เราก็จะคุ้นเคยกับมันมากขึ้น และไม่กลัวอีกต่อไป
แต่พอเจอสัตว์ตัวนั้นบ่อยครั้งเข้า เราก็จะคุ้นเคยกับมันมากขึ้น และไม่กลัวอีกต่อไป
ผลการสังเกตนี้ สามารถอธิบายเหตุผลของปรากฏการณ์ Mere Exposure Effect ได้เป็นอย่างดีว่า
ทำไมมนุษย์ถึงรู้สึกรักหรือชอบบางสิ่งบางอย่างที่ตัวเองคุ้นเคยมากกว่าสิ่งที่ไม่รู้จักมาก่อน
ทำไมมนุษย์ถึงรู้สึกรักหรือชอบบางสิ่งบางอย่างที่ตัวเองคุ้นเคยมากกว่าสิ่งที่ไม่รู้จักมาก่อน
นอกจากนี้ คุณ Robert ยังได้ทำการทดลอง โดยการให้ผู้เข้าร่วมการวิจัย (ซึ่งไม่รู้ความหมายอักษรจีน)
ดูแผ่นป้ายที่มีอักษรภาษาจีน หลังจากดูแผ่นป้ายแล้วก็ให้ผู้เข้าร่วมการวิจัยให้คะแนนความชอบ
ดูแผ่นป้ายที่มีอักษรภาษาจีน หลังจากดูแผ่นป้ายแล้วก็ให้ผู้เข้าร่วมการวิจัยให้คะแนนความชอบ
ซึ่งผลการทดลองบอกว่า คนที่เคยเห็นอักษรภาษาจีนเหล่านั้นมาก่อน จะมีมุมมองเชิงบวกกับอักษรจีน
และให้คะแนนมากกว่าคนที่ไม่เคยเห็นอักษรภาษาจีนเหล่านั้นมาก่อนเลย
และให้คะแนนมากกว่าคนที่ไม่เคยเห็นอักษรภาษาจีนเหล่านั้นมาก่อนเลย
อีกการทดลองหนึ่ง คุณ Robert เอาภาพคนรับปริญญามาให้ผู้เข้าร่วมการวิจัยหลายคนได้ดู
ตั้งแต่ 0, 1, 2, 5, 10 และ 25 ครั้ง แล้วให้คะแนนและแสดงทัศนคติว่าชอบหรือไม่
ตั้งแต่ 0, 1, 2, 5, 10 และ 25 ครั้ง แล้วให้คะแนนและแสดงทัศนคติว่าชอบหรือไม่
ผลปรากฏว่า คนที่ได้ดูรูปจำนวนครั้งมากกว่า มีแนวโน้มชื่นชอบและให้คะแนนรูปภาพมากกว่า
คนที่ดูรูปจำนวนครั้งน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญ
คนที่ดูรูปจำนวนครั้งน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญ
จากการทดลองข้างต้น คงพอเป็นข้อสรุปได้ว่า มนุษย์มีแนวโน้มจะชอบสิ่งต่าง ๆ มากขึ้นเรื่อย ๆ
เมื่อพวกเขารู้จักและคุ้นเคยกับสิ่งนั้นมากขึ้น
เมื่อพวกเขารู้จักและคุ้นเคยกับสิ่งนั้นมากขึ้น
จากปรากฏการณ์ Mere Exposure Effect นี้ ก็ได้มีการนำมาประยุกต์ใช้กับการตลาดและการโฆษณา
โดยการทำให้คนได้เห็นแบรนด์ หรือโฆษณาของแบรนด์ให้ได้มากที่สุด
โดยการทำให้คนได้เห็นแบรนด์ หรือโฆษณาของแบรนด์ให้ได้มากที่สุด
เพื่อให้คนเกิดความคุ้นเคยกับแบรนด์มากขึ้น และทำให้คนรู้สึกชอบแบรนด์มากขึ้นโดยไม่รู้ตัว
จนไปซื้อสินค้าหรือบริการของแบรนด์มาทดลองใช้บ้าง
จนไปซื้อสินค้าหรือบริการของแบรนด์มาทดลองใช้บ้าง
ซึ่งนี่ก็เป็นเหตุผลว่า ทำไมธุรกิจถึงต้องโฆษณาสินค้าให้ลูกค้าเห็นบ่อย ๆ และใช้กลยุทธ์ Retargeting
เพื่อให้คนที่สนใจสินค้าได้เห็นสินค้าอีกครั้งหนึ่ง และเพิ่มโอกาสซื้อสินค้ามากขึ้น
เพื่อให้คนที่สนใจสินค้าได้เห็นสินค้าอีกครั้งหนึ่ง และเพิ่มโอกาสซื้อสินค้ามากขึ้น
นอกจากนี้ การใช้ Music Marketing หรือการนำเพลงมาใช้ประโยชน์ในเชิงการตลาด
เช่น เพลงของแบรนด์แลคตาซอยที่ร้องว่า “แลคตาซอย 5 บาท 125 มิลลิลิตร..”
เช่น เพลงของแบรนด์แลคตาซอยที่ร้องว่า “แลคตาซอย 5 บาท 125 มิลลิลิตร..”
ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่เมื่อคนได้ฟังหลาย ๆ ครั้งเข้า ก็ทำให้เกิดความรู้สึกคุ้นเคย ชื่นชอบ
สร้างการจดจำแบรนด์ และร้องเพลงของแบรนด์แลคตาซอยตามได้โดยไม่รู้ตัว
สร้างการจดจำแบรนด์ และร้องเพลงของแบรนด์แลคตาซอยตามได้โดยไม่รู้ตัว
อย่างไรก็ตาม การใช้ประโยชน์จาก Mere Exposure Effect โดยการให้ลูกค้าเห็นอะไรซ้ำ ๆ เดิม ๆ
อาจจะทำให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกเบื่อและรำคาญได้เช่นกัน
อาจจะทำให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกเบื่อและรำคาญได้เช่นกัน
ตัวอย่างเช่น
ถ้าเรายิงโฆษณาออนไลน์ไปให้ลูกค้าคนเดิมเห็นบ่อย ๆ ลูกค้าอาจจะเกิดอาการ Ads Fatigue
หรืออาการที่เห็นโฆษณาบ่อยจนรำคาญ และไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อโฆษณาอีกต่อไปขึ้นได้
ถ้าเรายิงโฆษณาออนไลน์ไปให้ลูกค้าคนเดิมเห็นบ่อย ๆ ลูกค้าอาจจะเกิดอาการ Ads Fatigue
หรืออาการที่เห็นโฆษณาบ่อยจนรำคาญ และไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อโฆษณาอีกต่อไปขึ้นได้
ดังนั้น การยิงโฆษณาออนไลน์จึงต้องยิงด้วยความถี่ที่เหมาะสม ไม่มากเกินไปและไม่น้อยเกินไป
หรืออาจปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ที่ใช้ยิงโฆษณาก็ได้ เช่น เปลี่ยนชิ้นงานโฆษณา เปลี่ยนรูปแบบเนื้อหา
และการนำเสนอให้มีความแปลกใหม่ น่าสนใจมากขึ้น หรือเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายในการยิงโฆษณา
และการนำเสนอให้มีความแปลกใหม่ น่าสนใจมากขึ้น หรือเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายในการยิงโฆษณา
ทั้งนี้ ก็เพื่อให้ลูกค้าไม่เกิดอาการ Ads Fatigue นั่นเอง
ทั้งหมดนี้ก็คือ ปรากฏการณ์ Mere Exposure Effect และการนำไปประยุกต์ใช้ในเชิงการตลาด
ใครที่เพิ่งเปิดตัวธุรกิจ หรือสินค้าใหม่ ๆ ก็สามารถนำเทคนิคนี้ไปปรับใช้กับธุรกิจของตัวเองได้
โดยการทำให้คนที่มีโอกาสเป็นลูกค้าเกิดความรู้สึกคุ้นเคยกับแบรนด์ของเราก่อน
โดยการทำให้คนที่มีโอกาสเป็นลูกค้าเกิดความรู้สึกคุ้นเคยกับแบรนด์ของเราก่อน
ผ่านการเห็นสินค้าหรือโฆษณาหลาย ๆ ครั้งในความถี่ที่เหมาะสม
เพื่อให้ลูกค้าเกิดความคุ้นเคยและเปิดใจให้กับสินค้าของเราก่อน จนอาจเกิดความรู้สึกชอบโดยไม่รู้ตัว และในที่สุดก็ซื้อสินค้าไป..