อธิบาย การตลาดสมอเรือ จิตวิทยาสร้างอคติให้ลูกค้า ซื้อแบรนด์เรา
1 เม.ย. 2024
แบรนด์ A ขายกาแฟ 80 บาท, แบรนด์ B ขายกาแฟ 150 บาท, แบรนด์ C ขายกาแฟ 180 บาท
เห็นแบบนี้ บางคนอาจเลือกซื้อกาแฟจากแบรนด์ A
เพราะเทียบกับแบรนด์ B และ C แล้ว จะเป็นราคาที่ถูกที่สุด
เพราะเทียบกับแบรนด์ B และ C แล้ว จะเป็นราคาที่ถูกที่สุด
แต่รู้ไหมว่า บางคนอาจเลือกซื้อกาแฟจากแบรนด์ C ทั้ง ๆ ที่แพงที่สุด
เพราะปกติลูกค้าคนนั้น อาจจะเคยดื่มกาแฟแก้วละ 200 บาท ที่มีคุณภาพดี
เพราะปกติลูกค้าคนนั้น อาจจะเคยดื่มกาแฟแก้วละ 200 บาท ที่มีคุณภาพดี
ทำให้ตัดสินใจซื้อกาแฟจากแบรนด์ C ได้ เพราะต้องการคุณภาพกาแฟที่ดี แถมราคายังถูกกว่าปกติที่เคยดื่ม
พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าจากข้อมูลแบบนี้ ทำให้เกิดขึ้นได้ ด้วยการตลาดสมอเรือ ที่บิดมาจาก “Anchoring Effect”
แล้ว Anchoring Effect คืออะไร ? นำไปใช้ในการทำการตลาดได้อย่างไร ?
คำว่า Anchor หากแปลตรง ๆ คือ สมอเรือ ที่ใช้ปักหรือยึดเรือกับพื้นทะเลเวลาจอดเรือ
เมื่อมาอยู่ในคำว่า Anchoring Effect จึงหมายถึง การที่เราปักใจหรือยึดติดความเชื่ออยู่กับข้อมูลเดิมที่เรามี
จนทำให้ทุกครั้งที่ต้องตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็น ตัดสินใจซื้อสินค้า ราคา หรือข้อมูล
จะตัดสินใจโดยอ้างอิงจากข้อมูลเดิมที่เคยได้รับมา เหมือนตัวอย่างที่ยกมาอธิบายในตอนต้น
จะตัดสินใจโดยอ้างอิงจากข้อมูลเดิมที่เคยได้รับมา เหมือนตัวอย่างที่ยกมาอธิบายในตอนต้น
จุดเริ่มต้นของ Anchoring Effect เกิดจาก 2 นักจิตวิทยาเจ้าของรางวัลโนเบล อย่างคุณ Amos Tversky และคุณ Daniel Kahneman
ซึ่งทั้ง 2 คนได้ทำการทดสอบ โดยแบ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมการทดสอบออกเป็น 2 กลุ่ม และให้แต่ละกลุ่มตอบโจทย์คณิตศาสตร์ให้ได้ภายใน 5 วินาที
โจทย์กลุ่มที่ 1 คือ 1 x 2 x 3 x 4 x 5 x 6 x 7 x 8
โจทย์กลุ่มที่ 2 คือ 8 x 7 x 6 x 5 x 4 x 3 x 2 x 1
แน่นอนว่า หากมีเวลาให้คิด คำตอบที่ได้ของทั้ง 2 กลุ่มก็จะเท่ากันคือ 40,320
แต่ด้วยเวลาที่จำกัดภายใน 5 วินาที ทำให้ผู้เข้าร่วมการทดสอบไม่สามารถคำนวณได้ทัน จึงมีสิ่งเดียวที่ทำได้ นั่นก็คือ “การเดา”
ซึ่งเมื่อนำคำตอบของผู้เข้าร่วมการทดสอบแต่ละกลุ่มมาหาค่าเฉลี่ย พบว่า
- กลุ่มที่ 1 มีค่าเฉลี่ยผลลัพธ์อยู่ที่ 512
- กลุ่มที่ 2 มีค่าเฉลี่ยผลลัพธ์อยู่ที่ 2,250
- กลุ่มที่ 1 มีค่าเฉลี่ยผลลัพธ์อยู่ที่ 512
- กลุ่มที่ 2 มีค่าเฉลี่ยผลลัพธ์อยู่ที่ 2,250
จากผลการทดสอบ แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรม Anchoring Effect ของผู้เข้าร่วมการทดสอบ ว่าอย่างไร ?
ผู้เข้าร่วมการทดสอบกลุ่มที่ 1 ได้รับข้อมูลโดยเริ่มต้นจากตัวเลขน้อย จึงยึดติดกับเลขน้อย ทำให้ค่าเฉลี่ยผลลัพธ์ออกมาน้อย
ผู้เข้าร่วมการทดสอบกลุ่มที่ 1 ได้รับข้อมูลโดยเริ่มต้นจากตัวเลขน้อย จึงยึดติดกับเลขน้อย ทำให้ค่าเฉลี่ยผลลัพธ์ออกมาน้อย
ส่วนผู้เข้าร่วมการทดสอบกลุ่มที่ 2 ได้รับข้อมูลโดยเริ่มต้นจากตัวเลขมาก จึงยึดติดกับเลขมาก ทำให้ค่าเฉลี่ยผลลัพธ์ออกมาสูง
จึงสรุปได้ว่า ผู้เข้าร่วมการทดสอบเดาคำตอบ โดยยึดติดอยู่กับตัวเลขเริ่มต้นที่ได้รับมา
เมื่อรู้ความหมายของ Anchoring Effect ในทางจิตวิทยากันแล้ว
คำถามต่อมาก็คือ แล้วนักการตลาดจะนำ Anchoring Effect ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไร ?
คำถามต่อมาก็คือ แล้วนักการตลาดจะนำ Anchoring Effect ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไร ?
1. การนำ Anchoring Effect มาประยุกต์ใช้กับ “ราคาสินค้า”
เช่น
ระหว่างสินค้าแปะป้ายราคา 4,000 บาท
กับสินค้าแปะป้ายราคา 10,000 บาท แต่ขีดทิ้งแล้วลดเหลือ 4,000 บาท
ระหว่างสินค้าแปะป้ายราคา 4,000 บาท
กับสินค้าแปะป้ายราคา 10,000 บาท แต่ขีดทิ้งแล้วลดเหลือ 4,000 บาท
หลายคนไม่ลังเลที่จะเลือกซื้อสินค้าที่ลดเหลือ 4,000 บาท เพราะรู้สึกดีและคุ้มค่าที่ได้ซื้อสินค้าราคาพิเศษมากกว่าสินค้าราคาเต็ม
หรือแม้แต่บนแพลตฟอร์มออนไลน์อย่าง Lazada และ Shopee
เมื่อเรากดเข้าไปที่สินค้า จะเห็นทั้งราคาสินค้าใหม่ที่ถูกกว่า ราคาสินค้าเดิมที่แพงกว่า และเปอร์เซ็นต์การลดราคา
เมื่อเรากดเข้าไปที่สินค้า จะเห็นทั้งราคาสินค้าใหม่ที่ถูกกว่า ราคาสินค้าเดิมที่แพงกว่า และเปอร์เซ็นต์การลดราคา
ทำให้หลาย ๆ คนตัดสินใจรีบกดซื้ออย่างรวดเร็ว เพราะกลัวว่าราคาจะกลับไปเท่าเดิม
ซึ่งพฤติกรรมที่ลูกค้ารีบตัดสินใจซื้อ โดยมองว่าถูกและคุ้มค่าเหล่านี้ ก็มาจากการที่ลูกค้าเห็นราคาเก่า
ทำให้เกิด Anchoring Effect หรือยึดติดว่าสินค้ามีราคาสูง จึงต้องรีบซื้อราคาใหม่ที่ถูกกว่า
แม้ในความเป็นจริง ราคาเต็มคือ 4,000 บาทอยู่แล้ว
ส่วนราคาเดิม 10,000 บาท เป็นราคาที่แบรนด์ตั้งขึ้นมาเฉย ๆ..
ส่วนราคาเดิม 10,000 บาท เป็นราคาที่แบรนด์ตั้งขึ้นมาเฉย ๆ..
อย่างไรก็ตาม การตั้งราคาแบบนี้ แบรนด์ก็ต้องมั่นใจว่าสินค้ามีคุณภาพ
เพราะหากลูกค้าซื้อไปแล้ว แต่พบว่าสินค้าไม่มีคุณภาพ ไม่เหมาะสมกับราคา 10,000 บาท ที่ตั้งไว้หลอก ๆ ก็อาจส่งผลให้ลูกค้าไม่กลับมาซื้อซ้ำ และมีมุมมองต่อแบรนด์ในทางที่ไม่ดีไปเลยก็ได้
2. การนำ Anchoring Effect มาประยุกต์ใช้กับการสร้างภาพลักษณ์ให้แบรนด์
กรณีที่แบรนด์ต้องการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ หรือสร้างภาพลักษณ์ใหม่
แบรนด์สามารถปรับเปลี่ยนความคิดของลูกค้าที่มีต่อแบรนด์ได้ด้วย Anchoring Effect เช่น การ Co-Branding หรือออกสินค้าใหม่ร่วมกับแบรนด์อื่น
ยกตัวอย่างเช่น
- Adidas X GUCCI
ครั้งหนึ่ง Adidas เคยออกคอลเลกชันร่วมกับ GUCCI
ซึ่ง Adidas เป็นแบรนด์แฟชั่นสตรีตแวร์ ส่วน GUCCI เป็นแบรนด์หรู
ซึ่ง Adidas เป็นแบรนด์แฟชั่นสตรีตแวร์ ส่วน GUCCI เป็นแบรนด์หรู
การ Co-Branding กันในครั้งนี้ ส่งผลให้ Adidas มีภาพลักษณ์ที่หรูหราขึ้น เข้าถึงลูกค้ากลุ่มลักชัวรีได้มากขึ้น ในขณะที่ GUCCI ก็เข้าถึงกลุ่มลูกค้าสตรีตแวร์ได้มากขึ้นเช่นกัน
- Apple Watch X Nike ที่ร่วมกันออกสายนาฬิกา
และให้ผู้ใช้งาน Apple Watch ใช้งานร่วมกับแอป Nike Run Club ได้แบบง่าย ๆ
และให้ผู้ใช้งาน Apple Watch ใช้งานร่วมกับแอป Nike Run Club ได้แบบง่าย ๆ
ทำให้ Apple เข้าถึงกลุ่มลูกค้าซึ่งเป็นนักกีฬา หรือคนที่ชอบออกกำลังกายได้มากขึ้น
สรุปสั้น ๆ ว่า Anchoring Effect ก็คือ การที่เราถูกฝังด้วยข้อมูลชุดแรก หรือข้อมูลชุดเดิมที่เรามี ลงไปในความคิด ทำให้เราตัดสินใจในสิ่งต่าง ๆ โดยอ้างอิงจากข้อมูลเหล่านั้น
โดย Anchoring Effect สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการตลาดได้ เช่น การตั้งราคา ที่ทำให้ลูกค้ายึดติดกับราคาเดิม
หรือจะเป็นการ Co-Branding สร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้กับแบรนด์ เพื่อขยายฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ
อย่างไรก็ตาม Anchoring Effect ก็ใช่ว่าจะมีแต่ผลดีเสมอไป
ในมุมของลูกค้า หากไม่คิดให้ถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจซื้อ แต่เลือกซื้อเพราะเห็นว่าราคาถูก ก็อาจได้สินค้าไม่ดี ไม่มีคุณภาพมาครอบครอง
ส่วนในมุมของแบรนด์ หากใช้กลยุทธ์ Anchoring Effect เพื่อดึงดูดใจลูกค้า แต่สินค้าไม่มีคุณภาพเพียงพอ ก็อาจทำให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์เสียได้เช่นกัน..