อธิบาย “พีระมิดตัดเกรดลูกค้า” เหตุผลที่แบรนด์ให้ ความสำคัญกับลูกค้า ไม่เท่ากัน
5 มี.ค. 2024
ไม่นานมานี้ มีประเด็นบนโซเชียลมีเดียที่หลายคนตั้งข้อสงสัยว่า
ทำไมศูนย์การค้า ถึงต้องมี “ที่จอดรถ VIP” ?
ทั้งที่คนทั่วไปก็เป็นลูกค้าเหมือน ๆ กัน แต่กลับต้องวนหาที่จอดรถเอง..
ทำไมศูนย์การค้า ถึงต้องมี “ที่จอดรถ VIP” ?
ทั้งที่คนทั่วไปก็เป็นลูกค้าเหมือน ๆ กัน แต่กลับต้องวนหาที่จอดรถเอง..
ต้องบอกว่า การให้สิทธิพิเศษแบบนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นแค่กับศูนย์การค้า แต่ยังมีกรณีอื่น ๆ เช่น
- ร้านอาหาร ที่มีห้อง VIP สำหรับลูกค้าบางคน
- โรงแรม ที่มอบบริการพิเศษ เช่น เช็กอินได้ก่อนเวลา, อัปเกรดห้องพักฟรี หรือบริการรถรับ-ส่ง สำหรับลูกค้า VIP
- โรงแรม ที่มอบบริการพิเศษ เช่น เช็กอินได้ก่อนเวลา, อัปเกรดห้องพักฟรี หรือบริการรถรับ-ส่ง สำหรับลูกค้า VIP
ในมุมมองของลูกค้าทั่ว ๆ ไปที่เข้าใช้บริการ อาจมองว่าเป็นเรื่องของความไม่เท่าเทียม
แต่ในมุมของการทำธุรกิจ การให้สิทธิพิเศษเฉพาะลูกค้าบางกลุ่ม สามารถอธิบายได้ด้วย ทฤษฎีการแบ่งกลุ่มลูกค้า ที่มีชื่อว่า “Customer Pyramid”
แล้ว Customer Pyramid คืออะไร ?
ทำไมถึงเป็นเหตุผลที่แบรนด์ต่าง ๆ ต้องให้สิทธิพิเศษแก่ลูกค้า VIP ?
ทำไมถึงเป็นเหตุผลที่แบรนด์ต่าง ๆ ต้องให้สิทธิพิเศษแก่ลูกค้า VIP ?
Customer Pyramid คือ โมเดลที่ใช้ในการแบ่งกลุ่มลูกค้า
เพื่อจัดอันดับว่า ลูกค้าแต่ละคนมีความสำคัญต่อแบรนด์มากน้อยแค่ไหน
เพื่อจัดอันดับว่า ลูกค้าแต่ละคนมีความสำคัญต่อแบรนด์มากน้อยแค่ไหน
โดยพิจารณาจาก พฤติกรรมการซื้อ, ความจงรักภักดี และการสร้างผลกำไร (Profitability) ให้กับแบรนด์
โมเดลนี้ มีลักษณะเป็น “พีระมิด” ตามชื่อทฤษฎี
ซึ่งจะแบ่งกลุ่มลูกค้าออกเป็น 4 ระดับ ไล่จากฐานที่มีขนาดใหญ่สุด ไปจนถึงยอดบนสุด ซึ่งมีขนาดเล็กสุด
ซึ่งจะแบ่งกลุ่มลูกค้าออกเป็น 4 ระดับ ไล่จากฐานที่มีขนาดใหญ่สุด ไปจนถึงยอดบนสุด ซึ่งมีขนาดเล็กสุด
ได้แก่ ลูกค้าระดับ Lead, Iron, Gold และ Platinum
ความแตกต่างของลูกค้าแต่ละระดับ ได้แก่
1. Lead คือ ลูกค้าที่เพิ่งรู้จักแบรนด์ของเรา
ลูกค้ากลุ่มนี้ อยู่ส่วนฐานล่างสุดของพีระมิด เป็นกลุ่มลูกค้าที่อาจเพิ่งเคยเห็นสินค้าจากแบรนด์ของเรา
หรืออาจเป็นกลุ่มลูกค้าที่เพิ่งเคยซื้อสินค้าเป็นครั้งแรก ๆ
หรืออาจเป็นกลุ่มลูกค้าที่เพิ่งเคยซื้อสินค้าเป็นครั้งแรก ๆ
จึงเป็นกลุ่มที่ “ยังไม่ค่อยสร้างรายได้และกำไร” ให้กับแบรนด์ของเราเท่าไรนัก
ในทางกลับกัน เป็นแบรนด์ของเราเสียมากกว่า ที่เสียค่าใช้จ่ายไปกับลูกค้ากลุ่มนี้
ไม่ว่าจะเป็น การลงทุนไปกับโฆษณา และโปรโมชัน เพื่อสร้างการรับรู้แบรนด์ (Brand Awareness)
ไม่ว่าจะเป็น การลงทุนไปกับโฆษณา และโปรโมชัน เพื่อสร้างการรับรู้แบรนด์ (Brand Awareness)
ยกตัวอย่างเช่น คลินิกเสริมความงาม ที่จัดโปรโมชันให้ทดลองฟรีครั้งแรก สำหรับลูกค้าที่ยังไม่เคยใช้บริการ
โปรโมชันแบบนี้ นับว่าเป็น “ดาบสองคม” สำหรับลูกค้ากลุ่มนี้
เพราะหากลูกค้าพึงพอใจ ก็จะนำไปสู่การใช้บริการครั้งถัด ๆ ไป และขยับขึ้นเป็นลูกค้าอีกระดับ
เพราะหากลูกค้าพึงพอใจ ก็จะนำไปสู่การใช้บริการครั้งถัด ๆ ไป และขยับขึ้นเป็นลูกค้าอีกระดับ
แต่หากไม่พึงพอใจ นอกจากแบรนด์จะเสียค่าใช้จ่ายแล้ว ยังอาจเสียชื่อเสียง
เพราะลูกค้ากลุ่มนี้ ไม่รีรอที่จะนำเหตุการณ์ที่ไม่พึงพอใจ ไปบอกต่อลูกค้าคนอื่น ๆ ในเชิงลบ
เพราะลูกค้ากลุ่มนี้ ไม่รีรอที่จะนำเหตุการณ์ที่ไม่พึงพอใจ ไปบอกต่อลูกค้าคนอื่น ๆ ในเชิงลบ
2. Iron คือ ลูกค้าที่ซื้อสินค้าจากแบรนด์ของเราเป็นประจำ แต่มียอดซื้อไม่มาก
เปรียบเสมือน “ลูกค้าทั่วไป” ที่ซื้อสินค้าหรือบริการจากแบรนด์ของเราเป็นประจำ
แต่ยังมียอดซื้อ หรือมีปริมาณการซื้อ ไม่สูงมาก
แต่ยังมียอดซื้อ หรือมีปริมาณการซื้อ ไม่สูงมาก
ที่สำคัญ ยังเป็นกลุ่มลูกค้าที่มี High Price Sensitivity หรือมีความอ่อนไหวต่อราคาสินค้าสูง
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ เช่น Iron คือ กลุ่มลูกค้าที่เดินเข้า Uniqlo เป็นประจำ แต่เลือกซื้อเฉพาะสินค้าที่จำเป็น หรือเฉพาะสินค้าลดราคาเท่านั้น
และถ้าเมื่อไรที่แบรนด์คู่แข่ง เช่น H&M อยู่ในช่วงจัดโปรโมชัน ซึ่งมีราคาถูกกว่า Uniqlo
ลูกค้ากลุ่มนี้ก็พร้อมเดินออกจากร้าน Uniqlo และเลือกซื้อเสื้อผ้าจาก H&M แทน..
ลูกค้ากลุ่มนี้ก็พร้อมเดินออกจากร้าน Uniqlo และเลือกซื้อเสื้อผ้าจาก H&M แทน..
จึงเรียกได้ว่า ลูกค้ากลุ่มนี้ ไม่ได้มี Brand Loyalty หรือความจงรักภักดีต่อแบรนด์มากนัก
และยังเป็นกลุ่มลูกค้าที่สร้างรายได้และกำไรให้กับแบรนด์ในระดับ “ปานกลาง”
และยังเป็นกลุ่มลูกค้าที่สร้างรายได้และกำไรให้กับแบรนด์ในระดับ “ปานกลาง”
3. Gold คือ กลุ่มลูกค้าระดับพิเศษ ที่ซื้อสินค้าหรือบริการจากแบรนด์ของเราเป็นประจำ และมียอดซื้อค่อนข้างสูง
เปรียบเสมือนเป็นลูกค้าระดับ VIP ที่สร้างรายได้และกำไรให้กับแบรนด์ของเราค่อนข้างสูง
อย่างไรก็ตาม การที่จะดึงดูดให้ลูกค้ากลุ่มนี้ซื้อสินค้าในปริมาณมาก
แบรนด์ก็ยังต้องมีโปรโมชันต่าง ๆ รวมถึง Loyalty Program เช่น สะสมคะแนน สะสมยอดซื้อ เพื่อแลกสิทธิพิเศษต่าง ๆ
แบรนด์ก็ยังต้องมีโปรโมชันต่าง ๆ รวมถึง Loyalty Program เช่น สะสมคะแนน สะสมยอดซื้อ เพื่อแลกสิทธิพิเศษต่าง ๆ
จึงจะทำให้ลูกค้ากลุ่มนี้กลับมาซื้อสินค้าจากแบรนด์ของเราอย่างสม่ำเสมอ และไม่เปลี่ยนใจไปซื้อสินค้าจากแบรนด์ของคู่แข่ง
4. Platinum คือ กลุ่มลูกค้าระดับ VVIP ที่สร้างรายได้และกำไรให้แบรนด์ของเรา “มากที่สุด”
กลุ่มลูกค้าที่อยู่บนสุดของยอดพีระมิด เป็นกลุ่มลูกค้าที่ซื้อสินค้าจากแบรนด์ของเราเป็นประจำ มียอดซื้อสูง และมีความจงรักภักดีต่อแบรนด์สูง
ที่สำคัญ ลูกค้ากลุ่มนี้ยังเป็นกลุ่มที่ไม่ค่อยเรียกร้องในเรื่องสิทธิพิเศษ
เช่น ไม่ได้ต้องการส่วนลด แต่เป็นเพราะความชื่นชอบในแบรนด์ จึงเต็มใจที่จะจ่าย และพร้อมที่จะลองสินค้าหรือคอลเลกชันใหม่ ๆ ของแบรนด์ตลอดเวลา
นอกจากนี้ ลูกค้ากลุ่มนี้ยังเป็นกลุ่มที่ทำการตลาดให้แบรนด์แบบฟรี ๆ
โดย 86% ของลูกค้าที่มีความจงรักภักดีต่อแบรนด์ มีแนวโน้มที่จะบอกต่อแบรนด์ที่ตัวเองชื่นชอบ ให้ครอบครัวและเพื่อนของเขาได้รู้จัก
อีกทั้งยังเต็มใจที่จะเขียนรีวิวดี ๆ บนช่องทางโซเชียลมีเดีย เพื่อให้แบรนด์เป็นที่รู้จักมากขึ้นอีกด้วย
ลูกค้ากลุ่มนี้ จึงเป็นกลุ่มลูกค้าที่แบรนด์ควรให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ
เพราะเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีต้นทุนในการให้บริการต่ำ แต่กลับทำรายได้และกำไรให้แบรนด์ได้มากกว่าลูกค้ากลุ่มอื่น ๆ นั่นเอง..
เพราะเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีต้นทุนในการให้บริการต่ำ แต่กลับทำรายได้และกำไรให้แบรนด์ได้มากกว่าลูกค้ากลุ่มอื่น ๆ นั่นเอง..
ต้องบอกว่า พีระมิดดังกล่าว เป็นเพียงหนึ่งในตัวอย่างของการแบ่งระดับลูกค้า
แต่จริง ๆ แล้วการแบ่งระดับลูกค้าค่อนข้างมี “ความยืดหยุ่น” ตามแต่ละธุรกิจ เช่น
แต่จริง ๆ แล้วการแบ่งระดับลูกค้าค่อนข้างมี “ความยืดหยุ่น” ตามแต่ละธุรกิจ เช่น
- FedEx บริษัทขนส่งสัญชาติอเมริกัน แบ่งระดับลูกค้าออกเป็น The Good, The Bad และ The Ugly
- First Union อดีตธนาคารยักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกา แบ่งระดับลูกค้าออกเป็น 2 ระดับ คือ Green และ Red โดยแยกเป็นกลุ่มลูกค้าที่ทำกำไร หรือไม่ทำกำไรให้ธนาคาร
ซึ่งข้อดีของการแบ่งระดับลูกค้าว่า ลูกค้ากลุ่มไหนมีความสำคัญต่อแบรนด์มากและน้อยที่สุด ก็จะทำให้แบรนด์สามารถเลือกวางกลยุทธ์ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น
1. รู้ว่าควรทุ่มงบประมาณไปกับลูกค้ากลุ่มไหน จึงได้กำไรกลับมามากที่สุด
ซึ่งลูกค้ากลุ่มที่แบรนด์ควรให้ความสำคัญมากที่สุดคือ Platinum
จุดนี้เองที่เป็นเหตุผลว่า ทำไมตามศูนย์การค้าถึงต้องมีที่จอดรถสำหรับลูกค้า VIP, ตามร้านอาหารต้องมีห้องอาหารสำหรับลูกค้า VIP
จุดนี้เองที่เป็นเหตุผลว่า ทำไมตามศูนย์การค้าถึงต้องมีที่จอดรถสำหรับลูกค้า VIP, ตามร้านอาหารต้องมีห้องอาหารสำหรับลูกค้า VIP
นั่นก็เพราะลูกค้ากลุ่มนี้เป็นกลุ่มลูกค้าที่สร้างรายได้และกำไรให้บริษัทมากที่สุด
จึงเป็นกลุ่มลูกค้าที่แบรนด์ควรใส่ใจ และรักษาให้อยู่กับแบรนด์ไปอีกนาน ๆ
จึงเป็นกลุ่มลูกค้าที่แบรนด์ควรใส่ใจ และรักษาให้อยู่กับแบรนด์ไปอีกนาน ๆ
2. รู้ว่าควรวางกลยุทธ์แบบไหน เพื่อให้ตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกันของลูกค้าแต่ละกลุ่ม
เคยมีธนาคารแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา ทำงานวิจัยเกี่ยวกับระดับลูกค้าของตัวเอง พบว่า ลูกค้าแต่ละระดับมีความต้องการไม่เหมือนกัน
โดยลูกค้าระดับ Platinum มองว่า งานบริการที่ดีควรประกอบด้วย 3 ปัจจัย คือ พนักงานต้องมีทัศนคติที่ดี, มีความน่าเชื่อถือ และให้บริการด้วยความรวดเร็ว
ในทางกลับกัน ลูกค้าระดับ Gold และ Iron ต้องการเพียงแค่ 2 ปัจจัย คือ พนักงานต้องมีทัศนคติที่ดี และให้บริการด้วยความรวดเร็ว
เมื่อแบรนด์รู้ว่า ลูกค้าแต่ละกลุ่มมีความต้องการไม่เหมือนกัน ก็ทำให้แบรนด์สามารถออกแบบ Customer Journey ของลูกค้าแต่ละระดับให้แตกต่างกัน และตอบสนองความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มาถึงตรงนี้ คงเห็นแล้วว่าการแบ่งระดับลูกค้า โดยส่วนใหญ่แล้วจะแบ่งตามพฤติกรรมการซื้อ, ความจงรักภักดีต่อแบรนด์, การสร้างรายได้และกำไรให้กับแบรนด์
เมื่อแบรนด์สามารถแบ่งระดับลูกค้าได้แล้ว ก็จะทำให้รู้ว่า ควรให้ความสำคัญกับลูกค้ากลุ่มไหน และลูกค้าแต่ละกลุ่มเหมาะกับกลยุทธ์แบบไหนบ้าง
สุดท้ายนี้ต้องบอกว่า ต่อให้ทุก ๆ คนจะเป็นลูกค้าเหมือนกัน
แต่เพราะลูกค้าแต่ละคนมีพฤติกรรม และมีความสำคัญต่อแบรนด์แตกต่างกัน
จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้แบรนด์ใส่ใจกับลูกค้าแต่ละประเภทแตกต่างกัน นั่นเอง..
อ้างอิง:
-https://www.ahartsoe.com/blog/how-to-use-the-customer-segmentation-pyramid
-https://www.studocu.com/ph/document/capitol-university/business-finance/customer-profitability/47074329
-https://www.dataaxlegenie.com/blog/what-is-the-customer-pyramid-model/
-https://www.linkedin.com/pulse/20-customer-loyalty-statistics-how-keep-shoppers-coming-back
-https://www.ahartsoe.com/blog/how-to-use-the-customer-segmentation-pyramid
-https://www.studocu.com/ph/document/capitol-university/business-finance/customer-profitability/47074329
-https://www.dataaxlegenie.com/blog/what-is-the-customer-pyramid-model/
-https://www.linkedin.com/pulse/20-customer-loyalty-statistics-how-keep-shoppers-coming-back