กรณีศึกษา ธุรกิจที่สินค้าเหมือน ๆ กัน จะสร้าง “ความแตกต่าง” ได้อย่างไร
15 ธ.ค. 2021
เคยสงสัยไหมว่า สินค้าหรือบริการที่ “เหมือน ๆ กัน” จะสร้างจุดยืนในตลาดได้อย่างไร
ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่แบรนด์ไหน ก็เหมือน ๆ กันหมด อย่างเช่น น้ำเปล่า, น้ำปลา, น้ำตาล
ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่แบรนด์ไหน ก็เหมือน ๆ กันหมด อย่างเช่น น้ำเปล่า, น้ำปลา, น้ำตาล
หรือแม้กระทั่งการสั่งสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาขาย
แล้วถ้าสินค้าของเรา เหมือน ๆ กับร้านอื่น จะสร้างความต่างได้อย่างไรดี ?
แล้วถ้าสินค้าของเรา เหมือน ๆ กับร้านอื่น จะสร้างความต่างได้อย่างไรดี ?
คำตอบคือ เราต้องรู้จักลูกค้า และสินค้าของเราให้ดีก่อนว่า ในธุรกิจนี้ลูกค้าจะเลือกซื้อจากปัจจัยอะไรบ้าง
และเราสามารถนำเสนอสินค้าหรือบริการอย่างไร ให้เข้าถึงลูกค้าได้ตรงจุดที่สุด
ซึ่งภาษาในทางธุรกิจ เรียกว่า “ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Key Success Factors)”
และเราสามารถนำเสนอสินค้าหรือบริการอย่างไร ให้เข้าถึงลูกค้าได้ตรงจุดที่สุด
ซึ่งภาษาในทางธุรกิจ เรียกว่า “ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Key Success Factors)”
โดยตัวปัจจัยแห่งความสำเร็จนี้ ก็อาจมีได้หลายด้าน ขึ้นอยู่กับประเภทของอุตสาหกรรม หรือสินค้านั้น ๆ
ซึ่งปกติแล้วใน 1 อุตสาหกรรม จะมีประมาณ 3-5 ปัจจัย
ซึ่งปกติแล้วใน 1 อุตสาหกรรม จะมีประมาณ 3-5 ปัจจัย
ยกตัวอย่าง อุตสาหกรรมน้ำดื่ม ที่ตัวสินค้าก็คือน้ำดื่มเหมือน ๆ กัน อาจมี Key Success Factors เป็น
- ความน่าเชื่อถือ (Reliable) เช่น มาตรฐานรับรองต่าง ๆ
- การสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) เช่น ขวดรีไซเคิลได้, สามารถสะสมแต้มได้
- การออกแบบ (Product Design) เช่น การออกแบบขวดที่ลดปริมาณขยะ, ทรงขวดถือง่ายไม่หลุดมือ
- ภาพลักษณ์สินค้า (Image) เช่น โทนสีที่ใช้, พรีเซนเตอร์, แหล่งที่มาของน้ำ
- การสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) เช่น ขวดรีไซเคิลได้, สามารถสะสมแต้มได้
- การออกแบบ (Product Design) เช่น การออกแบบขวดที่ลดปริมาณขยะ, ทรงขวดถือง่ายไม่หลุดมือ
- ภาพลักษณ์สินค้า (Image) เช่น โทนสีที่ใช้, พรีเซนเตอร์, แหล่งที่มาของน้ำ
อย่างไรก็ดี ไม่ได้จำเป็นว่าทุก ๆ ปัจจัยจะต้องดีทั้งหมด อาจมีด้านที่เป็นจุดอ่อนของแบรนด์ หรือด้านที่เราไม่ควรจะไปงัดข้อสู้กับเบอร์ 1 ในตลาด แต่แน่นอนว่าจะต้องมีสัก 1-2 ด้าน ที่เป็นจุดแข็งของเราเช่นกัน
โดยแบรนด์จะต้องหาปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สามารถแข่งขันได้ มานำเสนอเป็นจุดยืนทางการตลาด หรือที่เรียกว่า Positioning ต่อไป ซึ่งก็สามารถทำได้โดยการวิจัยตลาด และสังเกตพฤติกรรมลูกค้าของเรา
ทั้งนี้ โดยทั่วไปจุดยืนทางการตลาด (Positioning) สามารถกำหนดได้จากหลากหลายปัจจัย
ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์, ด้านบริการ, ด้านบุคลากร, ด้านภาพลักษณ์
ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์, ด้านบริการ, ด้านบุคลากร, ด้านภาพลักษณ์
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ก็จะมีแบรนด์น้ำดื่มคริสตัล ที่ชูตำแหน่งทางการตลาดด้วยมาตรฐาน NSF จากสหรัฐอเมริกา และการเลือกแบรนด์แอมบาสเดอร์อย่าง นาย ณภัทร มาช่วยดึงอารมณ์ความเป็นคนรุ่นใหม่
ซึ่งหากย้อนกลับไปราว ๆ 10 ปีที่แล้ว เราอาจจะไม่ได้คิดว่าน้ำดื่มจะต้องมีเครื่องหมายอะไรมารองรับนอกจาก อย. ในประเทศ และมาตรฐานโรงงานก็เพียงพอ
แต่พอน้ำดื่มคริสตัล ออกมาสื่อสารว่าทางแบรนด์มีมาตรฐาน NSF จากสหรัฐอเมริกา เป็นรายแรกในไทย ก็ทำให้คนรู้สึกเห็นความสำคัญของมาตรฐานขึ้นมาทันตา
ทั้งนี้ NSF (National Sanitation Foundation) คือผู้นำของโลกในด้านการรับรองผลิตภัณฑ์สำหรับความปลอดภัยของอาหารของสหรัฐฯ โดยจะทดสอบผลิตภัณฑ์แบบไม่แจ้งล่วงหน้า รวมถึงประเมินทุก ๆ แง่มุมก่อนจะออกใบรับรอง
ส่วนด้านการดึง นาย ณภัทร มาเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์นั้น เห็นได้ชัดว่าเป็นจุดยืนด้าน Emotional หรือจุดยืนด้านอารมณ์ ที่จะเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ของผู้ที่ดื่มน้ำคริสตัลให้ดูมีสไตล์ เป็นคนรุ่นใหม่ เหมือนกับบุคลิกของ นาย ณภัทร
แล้วถ้าถามว่า ทำไมการชูจุดยืนการตลาดทั้ง 2 ด้านนี้ จึงนับว่าเป็นองค์ประกอบที่ลงตัว
และทำให้น้ำดื่มคริสตัล ได้รับความนิยมอย่างล้นหลามภายใต้จุดยืนทางการตลาดนี้ ?
และทำให้น้ำดื่มคริสตัล ได้รับความนิยมอย่างล้นหลามภายใต้จุดยืนทางการตลาดนี้ ?
นั่นเพราะก่อนหน้านี้ เราจะเห็นว่าไม่มีแบรนด์ไหนใช้มาตรฐาน NSF ในการสื่อสารถึงผู้บริโภคมาก่อน
น้ำดื่มคริสตัล ได้ใช้สิ่งที่เรียกว่า Positioning Gap หรือการหาจุดยืนทางการตลาดที่ยังไม่มีใครครอง ซึ่งทางน้ำดื่มคริสตัล ได้หยิบมาตรฐาน NSF มาเป็น Key Message ในการสื่อสาร เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือของตัวสินค้า
ผสมผสานกับการดึง นาย ณภัทร มาเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ ที่ช่วยผลักภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้ดูเข้าถึงคนรุ่นใหม่ได้ง่ายขึ้น
ซึ่งการวาง Positioning ทั้ง 2 ด้านนี้ จะช่วยส่งเสริมกันระหว่าง “ความน่าเชื่อถือ และภาพลักษณ์” นั่นเอง
หากมาดูแบรนด์น้ำดื่มอื่น ๆ ที่มีจุดยืนที่ชัดเจน ก็คงจะเป็นแบรนด์ “น้ำทิพย์” ที่เป็นแบรนด์น้ำดื่มแรก ๆ ในตลาด ที่ออกแบบแพ็กเกจจิงมาเพื่อตอบโจทย์คนรักสิ่งแวดล้อมในคอนเซปต์ “ขวดน้ำ Eco”
เพราะตัวขวดทำมาจากพลาสติกที่บางมาก ๆ จนสามารถบิดเป็นเกลียว และช่วยลดปริมาณขยะได้
เพราะตัวขวดทำมาจากพลาสติกที่บางมาก ๆ จนสามารถบิดเป็นเกลียว และช่วยลดปริมาณขยะได้
ซึ่งกลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ดังกล่าว คือปัจจัยแห่งความสำเร็จด้านการออกแบบ ที่เป็นเอกลักษณ์ของน้ำทิพย์ ที่ดึงจุดนี้มาเล่น และสามารถครองใจสายรักษ์โลกได้มากเลยทีเดียว
อีกทั้งยังมีกรณีของน้ำดื่มสิงห์ ที่ทางแบรนด์อาจไม่ได้ตั้งใจชูโรงในตอนแรก
แต่ดันเกิดจากลูกค้าเองที่บอกว่า น้ำสิงห์มีดีในด้านรสชาติที่ติดหวานนิด ๆ ไม่เหมือนน้ำเปล่าทั่วไป จนเกิดกลุ่มลูกค้าที่เรียกว่า “สาวกน้ำสิงห์” เนื่องจากพวกเขาติดใจในรสชาติที่ติดหวาน พร้อมกับบอกว่าดื่มแล้วสดชื่นกว่าแบรนด์อื่น ๆ
แต่ดันเกิดจากลูกค้าเองที่บอกว่า น้ำสิงห์มีดีในด้านรสชาติที่ติดหวานนิด ๆ ไม่เหมือนน้ำเปล่าทั่วไป จนเกิดกลุ่มลูกค้าที่เรียกว่า “สาวกน้ำสิงห์” เนื่องจากพวกเขาติดใจในรสชาติที่ติดหวาน พร้อมกับบอกว่าดื่มแล้วสดชื่นกว่าแบรนด์อื่น ๆ
ตรงจุดนี้เรียกว่า “Customer Voice” ที่ก็สามารถนำมาเป็นประเด็นสื่อสารในระยะยาวให้กับองค์กรได้ดีเช่นกัน
จะเห็นได้ว่าจริง ๆ แล้วการสร้างจุดยืนให้แบรนด์นั้น ไม่ใช่เรื่องยากสำหรับแบรนด์
หากแต่เราต้องหาจุดแข็งของแบรนด์ให้เจอ ว่าเรามีดีที่อะไร ที่จะเป็นตัวดึงดูดลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของเราเข้ามาได้บ้าง
หากแต่เราต้องหาจุดแข็งของแบรนด์ให้เจอ ว่าเรามีดีที่อะไร ที่จะเป็นตัวดึงดูดลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของเราเข้ามาได้บ้าง
ทีนี้ เราลองมาดูตัวอย่างที่ใกล้ตัวขึ้นอีกนิด อย่างเช่น เสื้อยืดลายเรียบ ๆ แบบธรรมดาที่เหล่าพ่อค้าแม่ค้า ต่างก็รับมาจากที่เดียวกัน ว่ามีวิธีสร้างความต่างให้ตัวเองอย่างไร
1) เสื้อยืดร้าน A ถ่ายรูปสวย ส่งเร็ว มีการพรีเซนต์ตัวเจ้าของร้านด้วยการไลฟ์สดขายสินค้าเป็นประจำ ทำให้ลูกค้าเชื่อถือ รวมถึงมีรีวิวสินค้าที่ดี ขายเสื้อยืดราคา 390 บาท
ผู้ที่เข้ามาซื้อ จึงเป็นกลุ่มคนที่ต้องการสินค้าที่มีความน่าเชื่อถือ บริการดี
คนกลุ่มนี้ อาจมีทัศนคติว่าของราคาสูงจะมีคุณภาพดี และต้องการซื้อเสื้อผ้าร้านที่ดูส่งเสริมภาพลักษณ์จากการถ่ายรูปสวย ๆ ของทางร้าน
คนกลุ่มนี้ อาจมีทัศนคติว่าของราคาสูงจะมีคุณภาพดี และต้องการซื้อเสื้อผ้าร้านที่ดูส่งเสริมภาพลักษณ์จากการถ่ายรูปสวย ๆ ของทางร้าน
หรือพูดง่าย ๆ คือ กลุ่มลูกค้าของเราเป็นผู้ที่ชอบแบรนด์ที่มีภาพลักษณ์ที่ดี
2) เสื้อยืดร้าน B ไม่เน้นการถ่ายรูปสวย เน้นการขายในช่องทางอีคอมเมิร์ซ ใช้เวลาจัดส่ง 1 อาทิตย์ ขายเสื้อยืดราคา 190 บาท
ผู้ที่เข้ามาซื้อ จึงอาจเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ไม่ได้รีบใช้สินค้า แต่ต้องการของราคาถูกมากกว่า
และอาจมีทัศนคติว่าเสื้อร้านไหนก็เหมือน ๆ กัน ซึ่งคนกลุ่มนี้จะใส่ใจในเรื่องความคุ้มค่า เปรียบเทียบราคาหลาย ๆ ร้านก่อนซื้อของสักชิ้น
และอาจมีทัศนคติว่าเสื้อร้านไหนก็เหมือน ๆ กัน ซึ่งคนกลุ่มนี้จะใส่ใจในเรื่องความคุ้มค่า เปรียบเทียบราคาหลาย ๆ ร้านก่อนซื้อของสักชิ้น
จะเห็นว่า จุดยืนทางการตลาดของร้าน A ที่นำมาสื่อสารนั้นคือ “ภาพลักษณ์ที่น่าเชื่อถือ และบริการที่รวดเร็ว (Reliable and Service)”
ส่วนจุดยืนทางการตลาดของร้าน B ก็คือด้าน “ราคา (Pricing)” ที่ถูกกว่าคู่แข่ง แต่ให้ความสำคัญกับปริมาณในการขายมาก ๆ นั่นเอง
ส่วนจุดยืนทางการตลาดของร้าน B ก็คือด้าน “ราคา (Pricing)” ที่ถูกกว่าคู่แข่ง แต่ให้ความสำคัญกับปริมาณในการขายมาก ๆ นั่นเอง
ทำให้สรุปได้ว่า แม้ทั้ง 2 ร้านขายสินค้าเหมือนกัน ไม่ว่าจะขายในรูปแบบออนไลน์ หรือออฟไลน์ ที่อาจรับสินค้ามาจากที่เดียวกันด้วยซ้ำ แต่ตั้งราคาขาย รวมถึงภาพลักษณ์สินค้านั้นต่างกันโดยสิ้นเชิง
ดังนั้น ลูกค้าร้าน A จึงไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายของร้าน B
และลูกค้าร้าน B ก็ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายของร้าน A เช่นกัน
และลูกค้าร้าน B ก็ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายของร้าน A เช่นกัน
เพราะการที่แบรนด์ จะนำเสนออะไร และอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับว่า “ลูกค้าของเราเป็นใคร”
ซึ่งเรามีหน้าที่ต้องตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ตั้งแต่ที่ลูกค้ายังไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ ว่าพวกเขาต้องการมัน
ซึ่งเรามีหน้าที่ต้องตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ตั้งแต่ที่ลูกค้ายังไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ ว่าพวกเขาต้องการมัน
สรุปได้ว่า จากที่ยกตัวอย่างมา ตัวสินค้าหลัก (Core Product) ซึ่งในบทความคือน้ำดื่ม ที่สุดท้ายแล้วใช้ดื่มดับกระหายไม่ต่างกัน และเสื้อยืด ที่ก็เป็นแบบเดียวกัน
แต่แบรนด์และร้านค้า กลับสามารถสร้างความต่างได้ด้วยมูลค่าเพิ่มของสินค้า หรือที่ภาษาการตลาดเรียกว่า Product Surround อย่างเช่น การบริการที่ดี, การจัดส่งรวดเร็ว, ภาพลักษณ์, มาตรฐานต่าง ๆ
ซึ่งก็ถึงกับมีตำราบางเล่มที่เขียนบอกไว้ว่า ลูกค้าของเราตัดสินใจซื้อสินค้าจากตัวสินค้าหลัก 20%
แต่กลับตัดสินใจซื้อ เพราะมูลค่าเพิ่มของสินค้าถึง 80% เลยทีเดียว..
แต่กลับตัดสินใจซื้อ เพราะมูลค่าเพิ่มของสินค้าถึง 80% เลยทีเดียว..
อ้างอิง :
-หนังสือ “หลักการตลาด (Principles of Marketing)” พิมพ์ครั้งที่ 9
-https://www.thebalancesmb.com/what-are-key-success-factors-2295508
-https://johnsohn.dk/2019/08/03/the-importance-of-added-values-in-branding-and-marketing/
-https://www.nchasia.com/th-th/resources/nsf-certification
-https://www.wongnai.com/food-tips/review-14-bottled-water
-หนังสือ “หลักการตลาด (Principles of Marketing)” พิมพ์ครั้งที่ 9
-https://www.thebalancesmb.com/what-are-key-success-factors-2295508
-https://johnsohn.dk/2019/08/03/the-importance-of-added-values-in-branding-and-marketing/
-https://www.nchasia.com/th-th/resources/nsf-certification
-https://www.wongnai.com/food-tips/review-14-bottled-water