รู้จัก “LEAD” คลาสสอนธุรกิจ แบบจับมือทำ ของเซ็นทรัลพัฒนา เปลี่ยน “Passion” ของนักเรียนสู่ “ธุรกิจจริง” ได้อย่างไร ?

รู้จัก “LEAD” คลาสสอนธุรกิจ แบบจับมือทำ ของเซ็นทรัลพัฒนา เปลี่ยน “Passion” ของนักเรียนสู่ “ธุรกิจจริง” ได้อย่างไร ?

27 มี.ค. 2025
GENTLEWOMAN, RAVIPA, YUEDPAO, WITH․IT, URTHE, MERGE, ENDLESS HOLIDAY และ JAPANG
เชื่อว่าหลาย ๆ คนน่าจะคุ้นชื่อของแบรนด์ที่กล่าวมาข้างต้น เพราะเป็นแบรนด์ ที่ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง จากทั้งรายได้และจำนวนสาขา
แต่หลายคนอาจจะไม่เคยรู้ว่าเจ้าของแบรนด์ดังที่ว่ามานี้ เคยเรียนเรื่องธุรกิจในคลาสสุดเข้มข้นแห่งเดียวกันชื่อว่า “LEAD” หลักสูตรรีเทล ที่บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) พัฒนาขึ้นมา 
โดยในปีล่าสุด หลักสูตร LEAD ก็ได้เดินทางมาถึงรุ่นที่ 6 แล้ว ซึ่งในรุ่นนี้ก็เต็มไปด้วยนักเรียนเก่ง ๆ ที่พกเอา Passion ของตัวเองมาเปลี่ยนให้เป็นธุรกิจ ก่อนสร้างรายได้เป็นแสนเป็นล้านบาทให้เห็นเหมือนทุก ๆ ปี 
โอกาสนี้พิเศษมาก ๆ เพราะ MarketThink ได้มีโอกาสพูดคุยกับตัวแทนนักเรียน LEAD รุ่นที่ 6 ทั้ง 4 คนว่า ตลอดระยะเวลาในคอร์ส มีเรื่องราว และมีบทเรียนอะไรบ้างที่อยากแชร์ต่อ ? 
ก่อนจะอ่านต่อขอเล่าเรื่องโครงการ LEAD ให้ทุกคนเห็นภาพตรงกันก่อน
หลักสูตร “LEAD by Central Pattana” คือ “Community of Opportunity” ที่มอบโอกาสให้ SMEs ไทยรุ่นใหม่ได้เข้ามาอยู่ใน Community แห่งโอกาส ให้เติบโตอย่างแข็งแกร่งยั่งยืน โดยเซ็นทรัลพัฒนาเป็น Business Incubator แชร์ Knowledge, Khow-how พร้อมให้โอกาสผู้เรียนได้ทำ Sandbox Workshop ในศูนย์การค้าเซ็นทรัล ทำให้ผู้เรียนมีโอกาสได้ลอง Business Model ใหม่ ๆ มีโอกาสได้ Collab กับแบรนด์อื่น ๆ ตามโจทย์ มีโอกาสได้พบกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ ได้นำข้อมูลกลับมาวิเคราะห์เพื่อสร้างให้ธุรกิจเติบโต ภายใต้คำแนะนำของกูรูด้านต่าง ๆ ที่ช่วยให้ผู้เรียนรู้ทิศทางว่าควรไปต่อตรงไหน โดยมีหลายคนที่สามารถสเกลอัปธุรกิจได้ทันที โดยไม่ต้องรอทำหลังจบหลักสูตร
หลักสูตร LEAD ช่วยปิดจุดอ่อน เสริมจุดแข็ง ทำให้ธุรกิจเติบโตจริงอย่างมีกลยุทธ์และเป็นระบบ เพราะผู้เรียนได้ทำ 360° Business Health Check ทำให้เห็นจุดอ่อนของธุรกิจตัวเอง จากการแชร์ Experience กับเพื่อน ๆ ในคอร์สเรียน พร้อมช่วยผู้เรียนเสริมจุดแข็งด้วย Retail Incubation Program ให้คิดอย่างมีกลยุทธ์ว่าตัวเองมี Competitive Edge อย่างไร เพื่อนำไปต่อยอดสู่โอกาสใหม่ ๆ ในการเติบโตทางธุรกิจอย่างเป็นระบบ
จากจุดแข็งของศูนย์การค้าเซ็นทรัลที่ไม่มีใครทำได้ ทำให้ SMEs เติบโตได้จริง ปัจจุบันศูนย์การค้าเซ็นทรัลทั่วประเทศ มี Traffic ประมาณ 1.3 ล้าน Visit ต่อวัน หรือเกือบ 500 ล้าน Visit ต่อปี เป็น Quality Shopper กลุ่มลูกค้าระดับกลางถึงระดับบน
นักเรียน LEAD ทุกรุ่น จะได้ทดลอง Workshop เปิดหน้าร้านในพื้นที่ระดับ “Prime Area” ของกลุ่มเซ็นทรัลที่แตกต่างกันไปในแต่ละปี ซึ่งในปีนี้ มีการ Workshop ทั้งหมด 2 รอบ รอบแรกคือที่ “centralwOrld” และรอบต่อมาที่ “Central EastVille” แบบฟรี ๆ 
เหมือนเป็นทางลัดให้นักเรียนได้ทดลองโมเดลธุรกิจใหม่ ๆ ว่ากลยุทธ์ของตัวเองเวิร์กแค่ไหน 
โดยนักเรียนที่จบจากหลักสูตร LEAD ในรุ่นนี้ ต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า นี่คือโครงการที่ได้อะไรกลับไปเยอะ บางคนได้เจอ Passion ใหม่ ๆ, บางคนได้พิสูจน์ตัวเอง และอีกหลาย ๆ เรื่องราวที่น่าสนใจ 
แล้วเรื่องราวบทที่ 6 ของโครงการ LEAD เป็นอย่างไร มีอะไรน่าสนใจบ้าง ? มาฟังเรื่องราวสนุก ๆ พร้อมบทเรียนของนักเรียนตัวแทนจากโครงการ LEAD รุ่นที่ 6 ทั้ง 4 คนกัน.. 
1. “ถ้าคนในครอบครัวไม่ยอมรับ ก็สร้างยอดขายให้เขายอมรับ” เรื่องราวของ คุณสมายด์-ภัสร์สร เตชะเกษมสุข เจ้าของแบรนด์รองเท้า DEBLU 
คุณสมายด์เป็นลูกสาวคนโตในบ้านเจ้าของโรงงานผลิตรองเท้าเพื่อสุขภาพชื่อดัง แม้คุณสมายด์จะอยากช่วยที่บ้าน แต่ที่ผ่านมาทางครอบครัวไม่เคยเชื่อใจการตัดสินใจของคุณสมายด์เลย เพราะไม่มีประสบการณ์
คุณสมายด์เลยพก Passion ตรงนี้เข้ามาในชั้นเรียน LEAD เพื่อเพิ่มสกิล และเอาองค์ความรู้ทางธุรกิจไปพัฒนาธุรกิจที่บ้านต่อ หวังให้ครอบครัวยอมรับให้ได้ 
โดยระหว่างเรียนคุณสมายด์ได้นำ Pain Point ของสินค้าที่บ้านมาแก้ไข เพราะปกติแล้วรองเท้าเพื่อสุขภาพ จะมีภาพลักษณ์เหมือนสินค้าสำหรับผู้สูงอายุ ทำให้ติดปัญหาคือ “ขายแพงมากไม่ได้” 
คุณสมายด์แก้ปัญหานี้โดยเอาความเป็นแบรนด์เข้ามาใส่ให้รองเท้า เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้า ก่อนออกมาเป็นแบรนด์ “DEBLU” ในรูปแบบใหม่ ที่ยังคงคุณภาพ ผลปรากฏว่าจากรองเท้าที่เคยขายได้คู่ละ 300 บาท แต่พอมีแบรนด์ที่ใช่ ต่อให้เอามาขายคู่ละ 1,500 บาท คนก็ยอมจ่าย 
ที่น่าสนใจคือใน Workshop รอบที่ 2 คุณสมายด์ได้ลองแตกแบรนด์ใหม่จาก DEBLU ไปสู่แบรนด์ de’bare ที่มีความแฟชั่นมากขึ้น พร้อมทั้งจัดกิจกรรม Workshop วาดภาพบนรองเท้า เอามาทดลองตลาดที่ Central EastVille 
ปรากฏว่ามียอดขายเป็น 100,000 บาท ตั้งแต่เปิดตัว.. คุณสมายด์เลยเอากลยุทธ์นี้มาต่อยอด ก่อนจะแตกแบรนด์รองเท้าใหม่ ๆ อีก 5 แบรนด์ ซึ่งมีฐานลูกค้าต่างกัน ได้แก่ DEBLU, DEKKER, de’bare, Wamood และ dapko
โดยคุณสมายด์ยอมรับว่าตอนนี้ยอดขายของที่บ้านเพิ่มขึ้น 30% จนต้องขยายกำลังการผลิตเพิ่ม แต่ที่เจ๋งกว่านั้นคือ กำไรกว่า 40% ของธุรกิจที่บ้าน มาจากแบรนด์ใหม่ของคุณสมายด์.. 
ซึ่งก็คงไม่ต้องถามต่อแล้วว่าตอนนี้ครอบครัวของคุณสมายด์ยอมรับในตัวลูกสาวคนนี้แล้วหรือยัง
2. “ค้นหาโอกาสในธุรกิจ Retail” เรื่องราวของ คุณปีโป้-ฤทัยชนก จงเสถียร กับการสร้างแบรนด์ไลฟ์สไตล์ใหม่ ชื่อ Morning Magnet
คุณปีโป้มาจากครอบครัวเจ้าของผลิตภัณฑ์ฟิล์มถนอมอาหารชื่อดัง และมีความสนใจในตลาด Retail เลยตัดสินใจมาหาความรู้ และโอกาสการสร้างแบรนด์ที่โครงการ LEAD
ด้วยพื้นฐานของคุณปีโป้เป็นคนพลังงานเยอะ และมีความสนใจ โดยเฉพาะกับเรื่องอาหาร และเรื่องแฟชั่นเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ทำให้คุณปีโป้เป็นนักเรียนคนเดียวในรุ่นที่สร้างธุรกิจมากถึงสองอย่างไปพร้อม ๆ กัน
ได้แก่ “ธุรกิจอาหาร” และ “ธุรกิจแฟชั่น” และได้เอาทั้งสองธุรกิจมาลองตลาดในช่วง Workshop ครั้งแรกของโครงการ LEAD ที่ centralwOrld 
แม้ว่าทั้งสองธุรกิจจะมียอดขายดีทั้งคู่ แต่การได้ลงมือทำจริงกับโครงการ LEAD ทำให้คุณปีโป้ได้รู้ว่าอะไรเหมาะกับตัวเองมากกว่า และพบว่าอยากสร้างแบรนด์ไลฟ์สไตล์ โดยตัดสินใจสร้างแบรนด์ ด้วยการเริ่มทำแบรนด์เสื้อผ้าชื่อว่า “Much May April” ออกมา 
ที่น่าสนใจคือ แบรนด์ Much May April เป็นแบรนด์ที่คิดขึ้นมาใหม่ เลยมีเวลาในการเตรียมตัวน้อยมากแค่ 21 วันเท่านั้น ก่อนที่จะเริ่ม Workshop ในรอบที่ 2 
หมายความว่าคุณปีโป้ ต้องคิดคอนเซปต์, วางระบบหลังบ้าน หรือแม้แต่ทำ Persona ของลูกค้าว่าจะขายสินค้าให้คนแบบไหน และอีกสารพัดเรื่องในระยะเวลาที่จำกัดมาก 
แต่ด้วยคำแนะนำจากอาจารย์ และความร่วมมือของเพื่อน ๆ ในคลาส ก็ช่วยให้แบรนด์ Much May April ออกมาได้ทันเวลา ก่อนจะสามารถทำยอดขายหลัก 100,000 บาท ได้สำเร็จ จากการทำ Workshop ในครั้งที่ 2 ที่ Central EastVille 
คุณปีโป้ยังบอกอีกว่าประสบการณ์จากการปั้นแบรนด์ Much May April ทำให้คุณปีโป้ตกผลึกได้ว่า จริง ๆ แล้วตลาดแฟชั่นใหญ่มาก ยังมีสินค้าอีกหลายแบบ และลูกค้าอีกหลายกลุ่มให้แบรนด์เข้าไปเล่น 
คุณปีโป้เลยวางแผนปรับให้แบรนด์ Much May April เป็นแค่คอลเลกชันหนึ่งของแบรนด์ใหม่ ที่มีกลุ่มเป้าหมายใหญ่กว่าเดิม ชื่อแบรนด์ว่า “Morning Magnet” พร้อมคอนเซปต์ว่า ทุกการตื่น (จะเวลาไหนก็ได้) ขอให้ทุกคนมีพลังดี ๆ ของวันใหม่
3. “เอาสิ่งที่เก่งอยู่แล้ว มาทำให้ดีขึ้น” เรื่องราวของ คุณเตี๊ยก-ภัทรพล ฉัตรทวีศักดิ์ เจ้าของแบรนด์เสื้อผ้า CROCODILE, “Kräke”
คุณเตี๊ยก เป็นลูกชายเจ้าของโรงงานผลิตเสื้อผ้า ให้บริการผลิตเสื้อผ้าให้กับบริษัทต่าง ๆ รวมถึงการผลิตให้แบรนด์ในเครือของตนเอง เช่น เสื้อผ้าสไตล์คลาสสิก “CROCODILE”
โดยเหตุผลที่คุณเตี๊ยกตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ LEAD เป็นเพราะว่ามีช่วงหนึ่ง โรงงานของครอบครัวต้องเผชิญกับปัญหาการระบาดของ COVID-19 
ทำให้ลูกค้าบริษัทต่าง ๆ ชะลอการสั่งซื้อลงอย่างมาก เกิดเป็น Passion ให้คุณเตี๊ยกหันมาเน้นทางการขายปลีกเพื่อเป็นทางออก แม้ว่าการค้าปลีกในวันนั้นยังไม่ได้ดีมากนัก 
ด้วยเหตุนี้คุณเตี๊ยกเลยต้องการเรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการขายปลีกมากยิ่งขึ้น การเข้าร่วมโครงการ LEAD จึงเป็นโอกาสในการพัฒนา และขยายโอกาสทางธุรกิจไปยังฝั่งค้าปลีก ซึ่งจะช่วยเพิ่มช่องทางการขายให้แบรนด์ได้ 
คุณเตี๊ยกเล่าให้ฟังว่าระหว่างโครงการก็ได้อาจารย์มาช่วยวิเคราะห์ว่า ถ้าใช้ Source เดิมจากโรงงานที่บ้านคุณเตี๊ยกมาต่อยอด ยังมีตลาดไหนบ้างที่สามารถลงไปเล่นได้ ?
ก่อนจะเจอคำตอบคือการ “ออกแบรนด์ย่อย” มาจับกลุ่มลูกค้าอีกกลุ่มหนึ่ง 
โดยคุณเตี๊ยกใช้ชื่อแบรนด์ว่า “Kräke” เป็นแบรนด์เสื้อผ้าที่สะท้อนความสนุกสนาน ขี้เล่น ซึ่งจะต่างกับความเรียบ ๆ คลาสสิก ของเสื้อผ้าแบรนด์ CROCODILE 
ที่น่าสนใจคือ คุณเตี๊ยกทำงานอยู่กับฝั่งผลิตมาตลอดตั้งแต่เรียนจบ พอได้มาทำแบรนด์เอง เลยเหมือนเริ่มใหม่ตั้งแต่ศูนย์ 
เพราะยังไม่มีระบบเก็บเงิน ไม่มีระบบหลังบ้าน มีแค่กำลังการผลิตจากที่บ้าน แถมอาจารย์ยังให้โจทย์สุดโหดว่าต้องทำแบรนด์ออกมาให้ได้ใน 3 สัปดาห์
คุณเตี๊ยกผ่านจุดนี้มาได้ด้วยการใช้ทางลัดคือการหา “Idol Brand” ว่าอยากให้แบรนด์มี Direction แบบไหน ถ้าเจอ Idol Brand แล้วค่อยทำแบรนด์ไปในทางเดียวกัน จะช่วยลดเวลาในการลองผิดลองถูกได้เยอะ 
ด้วยแนวทางนี้แบรนด์ Kräke เลยสามารถ Hit Target สร้างยอดขายระดับ 100,000 บาทได้ที่ Central EastVille ชนิดที่ว่าขายดีจนลูกค้าเดินมาถามหาสินค้า แม้จะมีเวลาสร้างแบรนด์สั้นมาก ๆ 
แถมคุณเตี๊ยกยังเจอ Product Hero โดยบังเอิญคือ “หมวก” ลายจระเข้ ที่ตอนแรกคุณเตี๊ยกคิดว่าจะขายไม่ดีอีกด้วย
4. “จากเชฟสู่นักธุรกิจ” เรื่องราวของ คุณเปเปอร์-อริสรา จงพาณิชกุล เจ้าของแบรนด์อาหารเกาหลี Bapsang 
คุณเปเปอร์มีอาชีพเป็นเชฟที่คอยออกแบบเมนูให้ร้านอาหารหลาย ๆ ร้าน
คุณเปเปอร์เล่าให้ฟังว่าตัวเองมี Passion ในเรื่องของอาหาร แต่ยังขาดประสบการณ์ในมุมธุรกิจเลยตัดสินใจเข้าร่วม LEAD เพื่อตามหาส่วนที่ขาด 
โดยในช่วงแรกคุณเปเปอร์ตัดสินใจเอาแบรนด์อาหารเกาหลีชื่อว่า Bapsang เข้ามาต่อยอดในโครงการ LEAD 
ระหว่างการเรียน คุณเปเปอร์อยากที่จะลองโปรเจกต์ใหม่ จึงตัดสินใจสร้างแบรนด์อาหารขึ้นมาใหม่ คือ “Fruitdamental” ขายผลไม้เจลลี ชีสเค้ก และอีกหลาย ๆ อย่างเกี่ยวกับผลไม้ 
โดยช่วงที่ทำ Workshop ที่ centralwOrld คุณเปเปอร์ได้เรียนรู้ว่า จริง ๆ แล้ว Traffic หลัก ๆ ของห้างก็คือ “กลุ่มนักท่องเที่ยว” เลยเกิดไอเดียเปลี่ยนสินค้าให้ดูมีความเป็นไทยขึ้น 
จากขาย ผลไม้เจลลี ชีสเค้ก ก็เปลี่ยนมาเป็นขาย “ยำผลไม้” แต่ยังใช้แบรนด์เดิมคือ Fruitdamental ก่อนจะขายดีจนของหมดสต๊อก.. 
อย่างไรก็ดีตอนนี้คุณเปเปอร์ตัดสินใจทำตาม Passion เรื่องอาหาร โดยเอาความรู้เรื่องธุรกิจที่ได้จาก LEAD ไปต่อยอดเป็นธุรกิจใหม่ชื่อว่า “แมวเป็นของเหลว” 
แบรนด์ที่วางตัวเองเป็น คอมมิวนิตีของกลุ่มคนที่รักและชื่นชอบแมว มีการขายเครื่องดื่ม และเมนูพิเศษ ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากความชอบส่วนตัวของคุณเปเปอร์ 
เช่น นมแมวเผือก, เครื่องดื่มออร์แกนิกที่ใช้วัตถุดิบจากไทย และอีกหลาย ๆ อย่าง อีกด้วย..
อ่านถึงตรงนี้หลาย ๆ คนน่าจะเข้าใจภาพรวมของ LEAD รุ่นที่ 6 มากขึ้นแล้วว่า แม้แต่ละคนจะมี Passion ที่ต่างกัน แต่ก็สามารถเปลี่ยน Passion ในแบบของตัวเองให้เป็นธุรกิจที่สร้างเงินจริง ๆ ได้ 
สุดท้ายนี้ โครงการ LEAD ครั้งที่ 7 สนใจสมัครได้ตั้งแต่วันนี้ ถึง 5 เมษายน 2568
คลิก https://www.centralpattana.co.th/en/shopping/shopping-update/event/1319/lead7
แต่ต้องบอกไว้ก่อนเลยว่า คนที่คิดจะเข้ามาเรียน ต้องเป็นคนที่มี Passion มีความตั้งใจ และอยากที่จะเติบโตอย่างก้าวกระโดด ซึ่งจะมีการทดสอบอย่างเข้มข้น ไม่ใช่ว่าใครจะเข้ามาเรียนก็ได้ 
และก็ไม่แน่ว่าธุรกิจที่มีรายได้เป็นร้อยเป็นพันล้านบาทรายต่อไป อาจจะเป็นใครสักคนที่ได้อ่านบทความนี้ แล้วไปสมัครเข้าหลักสูตร LEAD โดยเซ็นทรัลพัฒนา ในอนาคตก็ได้.. 
#LEAD7 #เรียนจริงทำจริงโตจริง #CuratingTheNewSuccess #LeadByCentralPattana
© 2025 Marketthink. All rights reserved. Privacy Policy.