ทำไม KBTG Kampus ถึงจับมือ 3 มหาวิทยาลัยชั้นนำของไทย เปิดตัวหลักสูตรระดับปริญญาโท
12 พ.ย. 2024
ใครที่ติดตามข่าวของ KBTG มาตลอด คงรู้ดีว่า นอกจาก KBTG จะเป็นหน่วยงานหนึ่งของธนาคารกสิกรไทย ที่รับหน้าที่วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ และเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการพัฒนาแอปพลิเคชันและซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ที่คนไทยใช้ เช่น K PLUS, MAKE by KBank และอีก 500 กว่าแอป ที่หลายคนน่าจะรู้จัก
อีกหนึ่งบทบาทที่ KBTG ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก คือ การยกระดับการศึกษาด้านเทคโนโลยีในประเทศไทย ด้วยการพัฒนา Tech Talent รุ่นใหม่
โดยเน้นการศึกษาและงานวิจัยเชิงลึกจากโจทย์จริงในภาคอุตสาหกรรม เพื่อสร้างความเข้มแข็งและก้าวทันความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีในปัจจุบันที่แปรผันไปอย่างรวดเร็ว
โดยล่าสุด KBTG ได้ร่วมกับ 3 มหาวิทยาลัยชั้นนำของไทย ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ออกแบบหลักสูตรระดับปริญญาโท
อะไรคือเบื้องหลังแนวคิดที่ทำให้ KBTG ผนึก 3 สถาบันการศึกษาชั้นนำ เพื่อพัฒนาบุคลากรด้าน IT
ผู้ที่จะตอบคำถามนี้ได้ดีที่สุด คือ คุณกระทิง-เรืองโรจน์ พูนผล ประธานกลุ่มบริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป
ผู้ที่จะตอบคำถามนี้ได้ดีที่สุด คือ คุณกระทิง-เรืองโรจน์ พูนผล ประธานกลุ่มบริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป
คุณกระทิง ฉายภาพให้เห็นถึงแรงบันดาลใจที่ทำให้ KBTG มุ่งมั่นกับการสร้างคนว่า
“KBTG เป็น Tech Company ที่มีแพสชันเรื่องเทคโนโลยี
“KBTG เป็น Tech Company ที่มีแพสชันเรื่องเทคโนโลยี
ดังนั้น เมื่อเห็นถึงวิวัฒนาการของเทคโนโลยีในแต่ละยุค ที่เข้ามาสร้างการเปลี่ยนแปลงกับโลกจากหน้ามือเป็นหลังมือ จนจำโลกใบเดิมแทบไม่ได้
KBTG จึงมองว่า การปรากฏตัวของเทคโนโลยี AI คืออีกหนึ่ง Wave สำคัญ
ซึ่งขณะนี้ เรากำลังอยู่หักศอกแรกของการเปลี่ยนแปลง ที่ถูกเร่งด้วย AI
และในอนาคตอันใกล้ AI จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนเรา ไม่ต่างจากกระแสไฟฟ้า หรือสมาร์ตโฟน
ซึ่งขณะนี้ เรากำลังอยู่หักศอกแรกของการเปลี่ยนแปลง ที่ถูกเร่งด้วย AI
และในอนาคตอันใกล้ AI จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนเรา ไม่ต่างจากกระแสไฟฟ้า หรือสมาร์ตโฟน
ที่น่าสนใจคือ ตอนนี้เทคโนโลยี AI ยังเหมือนอยู่บนไหล่ของยักษ์ ที่สามารถพาตัวเองไปเชื่อมโยงกับเทคโนโลยีอื่น ๆ มากมาย จนทำให้ 1 ปีที่ผ่านมา เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายบนโลกใบนี้
และเชื่อว่าอีก 10 ปีข้างหน้า จะเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาล
และเชื่อว่าอีก 10 ปีข้างหน้า จะเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาล
ทุกวันนี้มีเครื่องมือ AI ออกมาใหม่ ๆ ทุกวัน แต่สุดท้าย AI อาจจะเข้ามาเปลี่ยนวิถีการทำงาน แต่ไม่ได้มาแทนที่มนุษย์ ถ้ามนุษย์สามารถใช้ประโยชน์จาก AI ในการทำงาน จะทำให้มนุษย์ไม่มีวันตกงาน
เพราะฉะนั้น เราต้องมีแรงงาน (Workforce) ที่ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกการทำงาน
ซึ่งการจะมีแรงงานคุณภาพได้ ต้องย้อนกลับมาที่ระบบการศึกษา
ซึ่งปัจจุบัน AI ส่งผลกระทบต่อโลกการศึกษาเยอะกว่าที่เราคิด
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น นอกจากจะเข้ามาช่วย มนุษย์ไม่ควรพึ่งพา AI มากเกินไป และไม่ได้ใช้ AI เพื่อมาคิดแทนเรา
แต่มนุษย์ยังต้องมีหน้าที่ในการคิด และอยู่ในลูปของกระบวนการต่าง ๆ ที่มี AI เสมอ”
ซึ่งการจะมีแรงงานคุณภาพได้ ต้องย้อนกลับมาที่ระบบการศึกษา
ซึ่งปัจจุบัน AI ส่งผลกระทบต่อโลกการศึกษาเยอะกว่าที่เราคิด
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น นอกจากจะเข้ามาช่วย มนุษย์ไม่ควรพึ่งพา AI มากเกินไป และไม่ได้ใช้ AI เพื่อมาคิดแทนเรา
แต่มนุษย์ยังต้องมีหน้าที่ในการคิด และอยู่ในลูปของกระบวนการต่าง ๆ ที่มี AI เสมอ”
ปัจจุบันบทบาทของ AI ในโลกการศึกษา ไม่เพียงเป็นหนึ่งในเครื่องมือของนักเรียนที่ใช้ในการสรุปข้อมูลต่าง ๆ
AI ยังเป็นผู้ช่วยอาจารย์ในการสอน ทำให้อาจารย์มีเวลาไปทำงานอื่น หรือทำให้ Personalized Learning เป็นจริงได้ และทำให้คนเข้าถึงการศึกษาได้อย่างเท่าเทียม
AI ยังเป็นผู้ช่วยอาจารย์ในการสอน ทำให้อาจารย์มีเวลาไปทำงานอื่น หรือทำให้ Personalized Learning เป็นจริงได้ และทำให้คนเข้าถึงการศึกษาได้อย่างเท่าเทียม
“หัวใจสำคัญที่จะทำให้มนุษย์อยู่รอดในยุค AI คือ ต้องมี Growth Mindset
ยุคนี้ ลำพังเป็นน้ำครึ่งแก้วอาจไม่พอ ต้องเป็นน้ำแค่หนึ่งในสาม และพร้อมเทน้ำ
ละทิ้งความรู้เก่า ๆ ไปบ้าง”
ยุคนี้ ลำพังเป็นน้ำครึ่งแก้วอาจไม่พอ ต้องเป็นน้ำแค่หนึ่งในสาม และพร้อมเทน้ำ
ละทิ้งความรู้เก่า ๆ ไปบ้าง”
นี่จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมเมื่อปีที่แล้ว KBTG ถึงเปลี่ยนกลยุทธ์จาก AI First Transform มาเป็น Human First เพราะต้องการให้ AI เป็นเครื่องมือเพื่อมนุษย์
นอกจากจะขับเคลื่อนองค์กรให้พนักงานทั้งหมดมี AI Literacy ยังมุ่งสร้าง 250 AI Builders ในปี 2573
ขณะเดียวกันยังสานต่อภารกิจผลักดันด้านการศึกษา
ขณะเดียวกันยังสานต่อภารกิจผลักดันด้านการศึกษา
โดยเมื่อปี 2565 KBTG ได้เปิดตัวโครงการ KBTG Kampus เพื่อแก้ปัญหาทางการศึกษาด้านเทคโนโลยีในประเทศไทย
คุณกระทิงแชร์อินไซต์ที่น่าสนใจว่า ปัจจุบัน 80% ของบริษัทในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ขาดแคลนบุคลากรทางไอที โดยเฉพาะตำแหน่งงานด้าน Cybersecurity ที่ขาดแคลนถึง 2.5 ล้านตำแหน่ง
ขณะที่สายงาน Data Scientist และ Engineer ก็ยังคงขาดแคลน เพราะเติบโตไม่ทันการขยายตัวของการนำ GenAI มาใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ
เพื่อไม่ให้ประเทศไทยตกขบวนการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนี้ KBTG จึงมุ่งมั่น ที่จะเชื่อมต่อระหว่างภาคอุตสาหกรรมและภาคการศึกษา และเสริมสร้าง Ecosystem ของการเรียนทางด้านเทคโนโลยี (Tech Education) ให้ครบวงจรยิ่งขึ้น
สำหรับโครงการ KBTG Kampus จะประกอบไปด้วย 3 โปรแกรมหลัก คือ
- KBTG Kampus ClassNest ร่วมมือกับพันธมิตรในการออกแบบพัฒนาหลักสูตร Bootcamp สร้างบุคลากรเทคโนโลยีรุ่นใหม่
โดยคัดเลือกผู้สอนที่มีความเชี่ยวชาญเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศมาช่วยอัปสกิลคนไอทีทุกเพศทุกวัย เพื่อบ่มเพาะทักษะที่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบัน
- KBTG Kampus Apprentice เปิดให้นิสิตนักศึกษาระดับชั้นปีที่ 3-4 ได้เข้ามาเก็บเกี่ยวประสบการณ์ทำงานและพัฒนาทักษะผ่านการปฏิบัติงานจริงที่ KBTG กับผู้เชี่ยวชาญและทีมงานในช่วงระหว่างปีการศึกษา
ซึ่ง KBTG ร่วมมือกับคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง นำร่องโปรแกรม Apprentice และขยายผลไปยังคณะอื่น ๆ และมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ทดแทนการเรียนในห้องเรียน ด้วยการสัมผัสโลกการทำงานจริงเป็นเวลาร่วม 2,000 ชั่วโมง
จนถึงปัจจุบันมี Apprentice เข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 50 คน ในหลากหลายสาขาการทำงานใน KBTG
- KBTG Kampus Co-Research ต่อยอดความร่วมมือสู่การทำงานวิจัยร่วมกัน ระหว่าง KBTG และพันธมิตรมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนางานวิจัยด้านเทคโนโลยี เพื่อเปิดโอกาสในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและธุรกิจ S-Curve ใหม่ ๆ
พร้อมยกระดับขีดความสามารถและขับเคลื่อนการทำวิจัยทางด้าน Deep Tech จากรั้วมหาวิทยาลัยออกสู่โลกภายนอก พัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์และบริการที่สร้างอิมแพ็กต่อผู้ใช้งานจริงในระดับภูมิภาค
ล่าสุด KBTG Kampus ได้ต่อยอด KBTG Apprentice ในระดับปริญญาโทร่วมกับ 3 มหาวิทยาลัยเป็นหลักสูตรนำร่อง ได้แก่
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปัญญาประดิษฐ์เพื่อการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ
หรือสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
หรือสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาความมั่นคงไซเบอร์และการประกันสารสนเทศ (หลักสูตรนานาชาติ) มหาวิทยาลัยมหิดล
- หลักสูตรศิลปศาสตรและวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ทั้งนี้ในการออกแบบหลักสูตร จะเป็นการทำงานร่วมกัน เพื่อคัดสรรโจทย์จากงานวิจัยจริงมาพัฒนาหลักสูตร เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้ได้จริงในโลกอุตสาหกรรมปัจจุบันและอนาคต
รวมถึงมุ่งเน้นสาขาวิชาที่มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ตั้งแต่การพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์และพยากรณ์ข้อมูล ด้านปัญญาประดิษฐ์และนวัตกรรม ไปจนถึงด้านความปลอดภัย
งานนี้นอกจากคุณกระทิงจะเผยถึงความมุ่งมั่นของ KBTG แล้ว ภายในงานยังมีการเสวนาในหัวข้อ Thailand's Future of Higher Education ร่วมด้วยอธิการบดีจากทั้ง 3 สถาบัน
โดยทั้งสามมีมุมมองที่สอดคล้องในเรื่องการปรับตัวของมหาวิทยาลัยเพื่อให้ก้าวทันกับบริบทโลกที่เปลี่ยนแปลงไป
ในมุมของรองศาสตราจารย์ ดร.คมสัน มาลีสี อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มองว่า ในยุคที่ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงเร็วมาก การร่วมมือกัน เพื่อรับมือกับเทคโนโลยี AI เป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะปัจจุบัน การปิดกั้นการใช้ AI อาจจะไม่ใช่คำตอบ แต่ต้องหาเครื่องมือมาส่งเสริมให้ใช้ AI อย่างมีประสิทธิภาพ
ด้านศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยงที่อยู่รอบตัว ไม่ใช่แค่การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการมาของเทคโนโลยี AI แต่ยังมีความเสี่ยงจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
ดังนั้นโจทย์ของมหาวิทยาลัยในวันนี้ คือ การทำให้บุคลากรในมหาวิทยาลัยเข้าถึง AI
เพราะสุดท้ายแล้วสิ่งที่จะดิสรัปต์เราไม่ใช่ AI แต่เป็นคนที่สามารถใช้ AI ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เพราะสุดท้ายแล้วสิ่งที่จะดิสรัปต์เราไม่ใช่ AI แต่เป็นคนที่สามารถใช้ AI ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขณะที่ศาสตราจารย์ ดร.ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มองว่า โลกยุคปัจจุบันต้องการความรู้มหาศาล หัวใจสำคัญของมหาวิทยาลัย คือ จะวางตัวอยู่จุดไหนในโลก
แต่ไม่ว่าเทคโนโลยีจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโลกอย่างไร ความรู้พื้นฐานยังคงเป็นสิ่งสำคัญ
“เราไม่สามารถหลบกระแสการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีได้
ดังนั้นมนุษย์ต้องรู้เท่าทัน AI และนำ AI มาใช้เป็นเครื่องมือ เพื่อเปิดพรมแดนความรู้
ดังนั้นมนุษย์ต้องรู้เท่าทัน AI และนำ AI มาใช้เป็นเครื่องมือ เพื่อเปิดพรมแดนความรู้
แต่สิ่งที่ทิ้งไม่ได้ คือ ความรู้พื้นฐาน เพราะถ้าต่อให้ AI ก้าวหน้า แต่ถ้าคนขาดความรู้พื้นฐานก็ใช้ AI ไม่ถูก ตรรกะจะทำให้ AI ก้าวหน้าและใช้ประโยชน์ได้จริง ดังนั้น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงเลือกที่จะขยายความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้ระบบการเรียนการสอน”
ขณะที่คุณกระทิง ทิ้งท้ายอย่างน่าสนใจในงานเสวนาว่า KBTG รู้สึกยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้เป็นหนึ่งในเครื่องจักรที่ช่วยสนับสนุนการศึกษาไทย
แม้ KBTG จะเป็นหนึ่งในบริษัทย่อยของธนาคาร แต่เราให้ความสำคัญกับการสนับสนุนการสร้างการศึกษาที่นำไปสู่อนาคต และใช้งานได้จริง โดยมีทั้ง 3 มหาวิทยาลัยชั้นนำมาร่วมบุกเบิก ในการเอาเทคโนโลยีไปตอบโจทย์หลายเรื่อง ทั้ง Healthcare, Cyber Security รวมถึงการเป็นผู้ช่วยของอาจารย์
“ในโลกอนาคต มนุษย์จะรู้แค่ศาสตร์เดียวไม่ได้ แต่ต้องรู้ลึกหลาย ๆ เรื่อง และสามารถใช้ความรู้แบบข้ามศาสตร์ เราดีใจที่ได้เป็นตัวกลาง ดึงพันธมิตรระดับโลก และทำงานกับมหาวิทยาลัยหลาย ๆ แห่ง
มาร่วมนำพาการศึกษา สร้างอนาคตให้กับประเทศ ที่ไม่ใช่แค่ Education in AI แต่เป็น AI in Education
เรายังมีอีกหลายอย่างที่อยากทำ ตอนนี้คือ ZERO TO ONE เราไม่หยุดก้าวต่อไป
ปีหน้าเรามีแผนจะทำใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดอนาคตประเทศไทยในอีก 10 ปีข้างหน้า โดยที่เราไม่จำเป็นต้องเป็นพระเอก แต่เราอยากเป็นพระรอง ที่สร้างพระเอก”
ปีหน้าเรามีแผนจะทำใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดอนาคตประเทศไทยในอีก 10 ปีข้างหน้า โดยที่เราไม่จำเป็นต้องเป็นพระเอก แต่เราอยากเป็นพระรอง ที่สร้างพระเอก”
อ้างอิง:
- งานแถลงข่าว KBTG Kampus: Future of Higher Education in the Age of AI and Tech Revolution วันที่ 5 พฤศจิกายน 2567
- งานแถลงข่าว KBTG Kampus: Future of Higher Education in the Age of AI and Tech Revolution วันที่ 5 พฤศจิกายน 2567
#KBTG #KBTGKampus #BeyondEducation #AI #MAD #CyberSecurity
Tag:KBTG Kampus