วิเคราะห์ 10 กลยุทธ์การตลาดง่าย ๆ ที่ซ่อนอยู่ในซีรีส์ “สาธุ”
4 เม.ย. 2024
*คำเตือน: บทความนี้ มีการสปอยเนื้อหาซีรีส์เรื่อง สาธุ*
หากพูดถึงซีรีส์ไทยที่กำลังเป็นกระแสตอนนี้คือ ซีรีส์เรื่อง “สาธุ (The Believers)”
เล่าสั้น ๆ สาธุ เป็นเรื่องราวของเพื่อนสนิท 3 คน ได้แก่ เกม วิน เดียร์ ที่กู้เงินมาทำธุรกิจแต่เจ๊ง จึงต้องหาเงินก้อนโตมาใช้หนี้ภายในระยะเวลาสั้น ๆ
ทั้ง 3 จึงได้เข้าไปทำธุรกิจเกี่ยวกับวัด เปลี่ยนวัดภุมราม จากวัดที่ไม่มีใครสนใจ ให้กลายเป็นวัดดัง
บทความนี้ MarketThink จะมาวิเคราะห์กลยุทธ์การตลาดง่าย ๆ เบื้องหลังการปั้นวัดให้ดัง ที่ซ่อนอยู่ในซีรีส์ “สาธุ” มีอะไรบ้าง..
1. กลยุทธ์การตั้งราคาแบบแพ็กเกจ หรือ Bundle Pricing
หมายถึงการตั้งราคาแบบขายเป็นเซต
เพื่อทำให้ลูกค้ารู้สึกถึงความคุ้มค่า และยอมจ่ายเงินซื้อสินค้าแพงกว่าเดิม
เพื่อทำให้ลูกค้ารู้สึกถึงความคุ้มค่า และยอมจ่ายเงินซื้อสินค้าแพงกว่าเดิม
โดยในเนื้อเรื่องคือ ตอนที่ทั้ง 3 คน เข้าไปศึกษาเกี่ยวกับวัด แล้วพบว่า มีการจัดชุดสังฆทาน ที่มีการทำเซตในราคาต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลักหมื่นบาท
รวมไปถึงแพ็กเกจจัดงานศพ ที่มีตั้งแต่หลักหมื่นไปจนถึงหลักแสนบาท
2. การตลาดผ่านการสร้างแบรนด์ หรือ Branding
คือ การสร้างตัวตนและภาพลักษณ์ของธุรกิจ ให้เข้าไปนั่งในใจของลูกค้า
ตัวอย่างเช่น การที่ วิน เกม และเดียร์ พยายามสร้างแบรนด์ที่ชื่อว่า วัดภุมราม ขึ้นมา
เป็นตัวอย่างของการสร้างแบรนด์ในระดับ Corporate Branding
เป็นตัวอย่างของการสร้างแบรนด์ในระดับ Corporate Branding
หรือการที่เดียร์อัด Podcast พระดล ทำให้พระดลมีตัวตนบนโลกออนไลน์ ก็นับเป็นการสร้างแบรนด์รูปแบบหนึ่งในระดับ Personal Branding
3. การตลาดผ่านการจัดกิจกรรม หรือ Event Marketing
คือ การจัดกิจกรรมบางอย่าง เช่น การจัดอิเวนต์ เพื่อประโยชน์ทางการตลาดอย่าง ช่วยสร้างการรับรู้ให้แบรนด์ หรือดึงดูดให้คนมาเห็นสินค้าจริงภายในงาน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อสินค้า
ตัวอย่างเช่น ตอนที่ เดียร์ จัดงานบุญสงกรานต์ รวมถึงสร้างตลาดนัด และเวทีคอนเสิร์ต เพื่อดึงดูดคนให้มาทำบุญวันสงกรานต์ และเดินเล่นที่วัดภุมราม เพื่อสร้างรายได้เข้าวัดให้มากขึ้น
4. การตลาดแบบดั้งเดิม หรือ Traditional Marketing
คือ การทำการตลาดช่องทางที่เป็นการสื่อสารทางเดียว ที่ผู้พบเห็นไม่สามารถตอบโต้กลับมาได้ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ หรือป้ายบิลบอร์ด
อย่างในเรื่องคือ การใช้รถเครื่องเสียงประกาศเชิญชวนชาวบ้านมางานบุญ
หรือการทำป้ายบิลบอร์ดโฆษณางานบุญวันสงกรานต์ของวัดภุมราม
หรือการทำป้ายบิลบอร์ดโฆษณางานบุญวันสงกรานต์ของวัดภุมราม
5. การตลาดผ่านคอนเทนต์ หรือ Content Marketing
หมายถึง การที่แบรนด์สร้างสรรค์เนื้อหาที่มีคุณภาพ และสื่อสารออกไปถึงกลุ่มเป้าหมาย
เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความสนใจ จดจำแบรนด์ได้ และกลายเป็นลูกค้าในที่สุด
เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความสนใจ จดจำแบรนด์ได้ และกลายเป็นลูกค้าในที่สุด
ตัวอย่างเช่น เดียร์ทำ Podcast การแสดงธรรมเทศนาของพระดล
หรือการที่ตัวละครหลักทั้ง 3 คน สร้างเพจโปรโมต วัดภุมราม บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย
หรือการที่ตัวละครหลักทั้ง 3 คน สร้างเพจโปรโมต วัดภุมราม บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย
6. การตลาดผ่านการเล่าเรื่องราว หรือ Storytelling
คือ กลยุทธ์การตลาดที่นำเสนอเรื่องราวของแบรนด์ หรือสิ่งที่แบรนด์ต้องการจะสื่อผ่านการเล่าเรื่อง
ตัวอย่างเช่น วินเอารูปปั้นพระในวัดที่มีผึ้งทำรังอยู่ มาสร้างเป็นหลวงพ่อผึ้ง
โดยการเล่นคำระหว่างคำว่า “ผึ้ง” กับ “พึ่ง (ได้)” มาผูกเป็นเรื่องราวในการสร้างวัตถุมงคลของวัดภุมราม
โดยการเล่นคำระหว่างคำว่า “ผึ้ง” กับ “พึ่ง (ได้)” มาผูกเป็นเรื่องราวในการสร้างวัตถุมงคลของวัดภุมราม
7. การตลาดหน้าม้า หรือ Seeding Marketing
คือ การจ้างหน้าม้า ให้มารีวิวสินค้าลงบนสื่อออนไลน์
ซึ่งเหมาะสำหรับช่วงเริ่มต้นในการทำธุรกิจ เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้ารู้สึกอยากลองใช้สินค้า
ซึ่งเหมาะสำหรับช่วงเริ่มต้นในการทำธุรกิจ เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้ารู้สึกอยากลองใช้สินค้า
โดยในเนื้อเรื่องคือ ตอนที่ เกมและเดียร์ จ้างลุงไพรัชด้วยเงิน 200,000 บาท เพื่อให้ลุงไพรัช ช่วยบอกกับนักข่าวว่า รอดอุบัติเหตุและกลับมาเดินได้ เนื่องจากมีวัตถุมงคลอย่าง หลวงพ่อผึ้งคอยคุ้มครอง
8. สร้างความเชื่อมั่นจากปากคนอื่น หรือ Social Proof
คือ ปรากฏการณ์ทางจิตวิทยา ที่คนในสังคมมีแนวโน้มจะเชื่อการกระทำและความคิดเห็นของผู้อื่น
เช่น ผ่านการรับรองจากหน่วยงานภาครัฐ, การรีวิวสินค้าจากอินฟลูเอนเซอร์ หรือคำบอกเล่าของผู้อื่น
ตัวอย่างเช่น ลุงไพรัช ที่ประสบอุบัติเหตุรถชน ได้ให้สัมภาษณ์สื่อว่า วัตถุมงคลอย่าง “หลวงพ่อผึ้ง” ช่วยให้ตัวเองรอดตายจากอุบัติเหตุ และกลับมาเดินได้ แม้หมอจะพิจารณาว่า อาจต้องตัดขาทิ้งก็ตาม
จากคำบอกเล่าของลุงไพรัชนี้เอง ทำให้หลวงพ่อผึ้งได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม จนผลิตออกได้ถึง 4 รุ่น ซึ่งบางรุ่นมีราคาถึงหลักแสนบาทเลยทีเดียว..
9. การตลาดแบบบอกต่อ หรือ Referral Marketing
มีพื้นฐานจากแนวคิดที่ว่า ถ้าลูกค้าชื่นชอบในสินค้าและบริการของเรา ลูกค้าเหล่านั้นก็อยากที่จะบอกต่อสินค้าและบริการดี ๆ ของเราให้เป็นคนที่รู้จัก
ยกตัวอย่างเช่น หลวงพ่อผึ้งที่เมื่อได้รับการตอบรับที่ดี เนื่องจากอ้างว่าสามารถช่วยคนที่เกิดอุบัติเหตุให้รอดชีวิต และได้มีการจัดฉากที่เอาหลวงพ่อผึ้งห้อยคอไก่ แล้วใช้ปืนยิง ปรากฏว่าทำอะไรไก่ไม่ได้
จึงทำให้มีการบอกต่อถึงความพิเศษของพระรุ่นนี้กันไปเรื่อย ๆ จนทำให้ใคร ๆ ก็ต้องการมีหลวงพ่อผึ้งติดตัว
อีกเหตุการณ์หนึ่งเช่น พระดล เป็นที่ชื่นชอบของชาวบ้าน เนื่องจากมีหน้าตาดี เทศน์ดี เสียงไพเราะกังวานน่าฟัง ทำให้ชาวบ้านมีการบอกต่อ จนทำให้ฐานแฟนคลับของพระดลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
10. การตลาดแบบขาดแคลน หรือ Scarcity Marketing
มีพื้นฐานจากหลักจิตวิทยาที่ว่า ผู้คนมักจะไม่สนใจสิ่งที่อยู่อย่างเหลือเฟือ แต่มักจะต้องการสิ่งที่ขาดแคลน หรือมีจำกัด
ยกตัวอย่างจากเนื้อเรื่องคือ ตอนที่วัดภุมรามมีการผลิตหลวงพ่อผึ้งรุ่นที่ 1 แต่ขายไม่ออก
จากนั้น วินได้สั่งให้เก็บพระรุ่นนี้ขึ้นและเลิกวางจำหน่าย แต่บังเอิญที่มีข่าวทำให้พระรุ่นนี้ดัง
จากนั้น วินได้สั่งให้เก็บพระรุ่นนี้ขึ้นและเลิกวางจำหน่าย แต่บังเอิญที่มีข่าวทำให้พระรุ่นนี้ดัง
เมื่อความดัง + ความหายาก จึงทำให้ราคาของพระรุ่นนี้ “To The Moon” หรือก็คือ ทำให้ราคาเพิ่มขึ้นอย่างฉุดไม่อยู่นั่นเอง
นอกจาก 10 กลยุทธ์ที่อธิบายไปข้างต้นแล้ว ภายในซีรีส์ยังมีกลยุทธ์การตลาดอีกหลายข้อแฝงอยู่ เช่น
- Influencer Marketing หรือการใช้คนมีชื่อเสียงมาช่วยทำการตลาด เช่น การนิมนต์พระดลมาวัดภุมราม เพื่อช่วยแสดงธรรมเทศนาให้ชาวบ้านและผู้มีจิตศรัทธาได้ฟัง
- Outbound Marketing หรือการตลาดแบบผลัก เช่น การยิงแอดโปรโมตวัดภุมราม บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย
- Customer Extension หรือการขยายฐานลูกค้า เช่น ตอนที่ เกม เสนอ เดียร์ ว่า ต้องการจะทำเคสมือถือและวอลล์เปเปอร์ เพื่อจับตลาดกลุ่มวัยรุ่นเพิ่มขึ้น
เรียกได้ว่า ใครที่ได้ดูซีรีส์เรื่องนี้ นอกจากได้รับความบันเทิงไปแล้ว ยังได้ความรู้ด้านธุรกิจและการตลาดไปแบบเต็ม ๆ อีกด้วย
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
รู้หรือไม่ว่า ถ้าเปรียบวัดเป็นธุรกิจรูปแบบหนึ่ง
โมเดลการหารายได้ของวัด ในภาษาธุรกิจ จะเรียกว่า “Pay What You Want” หรือการที่ธุรกิจเก็บเงินตามความพึงพอใจในการจ่ายของลูกค้า
โมเดลการหารายได้ของวัด ในภาษาธุรกิจ จะเรียกว่า “Pay What You Want” หรือการที่ธุรกิจเก็บเงินตามความพึงพอใจในการจ่ายของลูกค้า
ซึ่งก็ตรงกับบริบทในซีรีส์ สาธุ ที่วินบอกว่า โมเดลธุรกิจวัดมีมานานกว่า 2,000 ปีแล้ว
โดยสินค้าของวัดก็คือ ความสบายใจ แลกกับการบริจาคเงินตามกำลังศรัทธาของแต่ละคนนั่นเอง..