สรุปสูตรทำ SEO จากเว็บไซต์ทางการ Google วิธีทำเว็บไซต์ให้น่าเชื่อถือ ติดอันดับการค้นหา
2 ส.ค. 2024
ใครที่ทำเว็บไซต์ แล้วต้องการให้เว็บไซต์ของตัวเองได้รับการจัดอันดับดี ๆ ถูกเจอในหน้าค้นหาแรก ๆ
ก็ต้องทำ SEO หรือ Search Engine Optimization
ก็ต้องทำ SEO หรือ Search Engine Optimization
ทุก ๆ ปี Google จะอัปเดตไกด์ไลน์การประเมินคุณภาพของเว็บไซต์
และยังเปิดเผยอีกว่า ทำเว็บไซต์ด้วยหลักการประมาณไหน ถึงจะส่งผลต่ออันดับการค้นหา
และยังเปิดเผยอีกว่า ทำเว็บไซต์ด้วยหลักการประมาณไหน ถึงจะส่งผลต่ออันดับการค้นหา
ปีนี้ Google มีหลักการ E-E-A-T เป็นเฟรมเวิร์กในการทำเว็บไซต์ให้น่าเชื่อถือ และติดอันดับการค้นหา
แล้ว E-E-A-T คืออะไร ?
E-E-A-T มาจาก 4 คำ คือ
Experience - Expertise - Authoritativeness - Trustworthiness
Experience - Expertise - Authoritativeness - Trustworthiness
ซึ่ง E-E-A-T คือ หลักการที่ Google ใช้พิจารณาความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ ว่าเว็บไซต์นั้น ๆ มีความน่าเชื่อถือมากขนาดไหน
โดยการประเมินความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ตามหลัก E-E-A-T จะทำให้เว็บไซต์ของเราได้รับการจัดอันดับดีขึ้น
ซึ่งส่งผลต่อ Organic Traffic โดยตรง และทำให้ผู้เข้าชมมีโอกาสคลิกเข้าเว็บไซต์ของเรามากขึ้น
ซึ่งส่งผลต่อ Organic Traffic โดยตรง และทำให้ผู้เข้าชมมีโอกาสคลิกเข้าเว็บไซต์ของเรามากขึ้น
แต่ถ้าเว็บไซต์ของเรามีความน่าเชื่อถือต่ำ ก็มีโอกาสถูกปิดกั้นเนื้อหาได้เช่นกัน เพื่อไม่ให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์ได้รับข้อมูลข่าวสารผิด ๆ แล้วนำไปเผยแพร่ต่อเป็นวงกว้างในภายหลัง
แล้วหลักการ E-E-A-T มีองค์ประกอบอะไรบ้าง ?
หลักการ E-E-A-T มีทั้งหมด 4 องค์ประกอบ ได้แก่
1. ประสบการณ์ (Experience)
เว็บไซต์ควรนำเสนอคอนเทนต์ที่เกี่ยวกับประสบการณ์ของผู้เขียนโดยตรง
เพราะแสดงให้เห็นว่า ผู้เขียนเคยลองทำอะไรสักอย่างในด้านนั้น ๆ มาแล้ว และรู้ข้อมูลเชิงลึกอย่างแท้จริง
เพราะแสดงให้เห็นว่า ผู้เขียนเคยลองทำอะไรสักอย่างในด้านนั้น ๆ มาแล้ว และรู้ข้อมูลเชิงลึกอย่างแท้จริง
ซึ่งอาจจะเป็นการรีวิวสินค้าที่เคยใช้จริง, ประสบการณ์การท่องเที่ยวในต่างประเทศ
รวมทั้งการมีรูปภาพหรือวิดีโอที่พิสูจน์ว่าเคยทำสิ่งนั้น ๆ มาจริงก็ได้
รวมทั้งการมีรูปภาพหรือวิดีโอที่พิสูจน์ว่าเคยทำสิ่งนั้น ๆ มาจริงก็ได้
2. ความเป็นผู้เชี่ยวชาญ (Expertise)
คอนเทนต์ในเว็บไซต์ถูกเขียนขึ้นโดยผู้มีความเชี่ยวชาญ หรือมีความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน
เช่น หากคอนเทนต์ในเว็บไซต์เกี่ยวข้องกับกฎหมาย ผู้เขียนก็ควรมีคุณสมบัติการเรียนหรือทำงานในแวดวงสายกฎหมายมาบ้าง
3. ความเป็นผู้มีอิทธิพล (Authoritativeness)
คือ ชื่อเสียงในวงการของผู้เขียน แบรนด์ หรือตัวเว็บไซต์
ยิ่งมีอิทธิพลและเป็นที่รู้จักของผู้คนมากเท่าไร ก็ยิ่งมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นเท่านั้น
ซึ่งสะท้อนออกมาผ่านการถูกอ้างถึง หรือผ่านลิงก์บนเว็บไซต์หรือแพลตฟอร์มอื่น ๆ กลับมาที่เว็บไซต์ของเรา
4. ความปลอดภัยและน่าเชื่อถือ (Trustworthiness)
เว็บไซต์ต้องมีความปลอดภัย น่าเชื่อถือ ข้อมูลภายในเว็บไซต์จึงควรระบุชื่อผู้เขียนและแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ
รวมถึงการอัปเดตเนื้อหาภายในเว็บไซต์ให้สดใหม่อย่างต่อเนื่อง และหลีกเลี่ยงการซ่อนคอนเทนต์ไว้หลังโฆษณาด้วย
นอกจากนี้ ต้องทำให้ผู้ใช้งานเชื่อมั่นว่าการทำธุรกรรมทางการเงินบนเว็บไซต์มีความปลอดภัย
ไม่โดนหลอกให้ทำธุรกรรมทางการเงิน หรือนำข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานไปใช้ในทางเสียหาย
ไม่โดนหลอกให้ทำธุรกรรมทางการเงิน หรือนำข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานไปใช้ในทางเสียหาย
แล้วมีวิธีอะไรบ้าง ในการสร้างเว็บไซต์ให้เข้าตามหลักเกณฑ์ E-E-A-T ?
- เน้นสร้างคอนเทนต์คุณภาพสูง
สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ คุณภาพของคอนเทนต์
โดยคอนเทนต์ต้องเรียบเรียงด้วยตัวเองและเป็นประโยชน์ต่อผู้ชม
รวมทั้งตอบข้อสงสัย ให้คำแนะนำหรือทริกดี ๆ กับผู้ชมได้ เพื่อทำให้ผู้ชมรู้สึกพึงพอใจ
โดยคอนเทนต์ต้องเรียบเรียงด้วยตัวเองและเป็นประโยชน์ต่อผู้ชม
รวมทั้งตอบข้อสงสัย ให้คำแนะนำหรือทริกดี ๆ กับผู้ชมได้ เพื่อทำให้ผู้ชมรู้สึกพึงพอใจ
- ใส่ข้อมูลรายละเอียดของผู้เขียน
เว็บไซต์ที่มีหน้า About Us และข้อมูลรายละเอียดของผู้เขียนครบถ้วน ชัดเจน ย่อมแสดงถึงความน่าเชื่อถือและความเชี่ยวชาญของผู้เขียนได้เป็นอย่างดี
- ใส่แหล่งข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ
การเรียบเรียงคอนเทนต์ควรใส่ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ เช่น บทความ งานวิจัย หรือแหล่งข้อมูลอื่น ๆ
รวมถึงต้องตรวจสอบด้วยว่า เว็บไซต์ที่เป็นแหล่งอ้างอิงนั้นมีความน่าเชื่อถือหรือไม่
รวมถึงต้องตรวจสอบด้วยว่า เว็บไซต์ที่เป็นแหล่งอ้างอิงนั้นมีความน่าเชื่อถือหรือไม่
ทั้งนี้ เพื่อให้ Google มองว่า คอนเทนต์ของเว็บไซต์เรามีความน่าเชื่อถือ
- สร้างชื่อเสียงของแบรนด์ในทางที่ดี
อย่างที่บอกว่า ชื่อเสียงของผู้เขียน แบรนด์ หรือตัวเว็บไซต์ มีผลต่อความน่าเชื่อถือ
แต่ชื่อเสียงนั้นต้องเป็นในแง่บวกด้วย ไม่ใช่ชื่อเสียงในแง่ลบที่อาจส่งผลต่อความน่าเชื่อถือ
แต่ชื่อเสียงนั้นต้องเป็นในแง่บวกด้วย ไม่ใช่ชื่อเสียงในแง่ลบที่อาจส่งผลต่อความน่าเชื่อถือ
ดังนั้น ถ้ามีการวิพากษ์วิจารณ์หรือพูดถึงแบรนด์ในเชิงลบ
เราก็ควรจัดการแก้ไขความเข้าใจผิดนั้นทันทีด้วยความเป็นมืออาชีพ
เราก็ควรจัดการแก้ไขความเข้าใจผิดนั้นทันทีด้วยความเป็นมืออาชีพ
- คอยตรวจสอบและใช้ประโยชน์คอนเทนต์ที่มาจากลูกค้า (User-Generated Content)
คอนเทนต์ที่มาจากลูกค้า หรือ UGC ถือเป็นส่วนหนึ่งของคอนเทนต์บนหน้าเว็บไซต์เช่นกัน
ตัวอย่าง UGC เช่น คอนเทนต์แกะกล่องสินค้า, คอนเทนต์รีวิวประสบการณ์ใช้งานสินค้า,
คอนเทนต์ในสื่อโซเชียลมีเดียที่พูดถึงแบรนด์สินค้าของเรา หรือการตั้งกระทู้ถามในพันทิป
คอนเทนต์ในสื่อโซเชียลมีเดียที่พูดถึงแบรนด์สินค้าของเรา หรือการตั้งกระทู้ถามในพันทิป
เราสามารถใช้ประโยชน์จาก UGC ได้ง่าย ๆ ด้วยการขอให้ลูกค้าถ่ายภาพ, รีวิวสินค้า, ให้ฟีดแบ็ก, คอมเมนต์ หรือทำคอนเทนต์ในรูปแบบอื่น ๆ แล้วแท็กกลับมาหาแบรนด์ของเรา
เพียงเท่านี้ นอกจากจะทำให้ธุรกิจของเราเป็นที่รู้จักมากขึ้นแล้ว
ยังทำให้เว็บไซต์ของเราได้รับการมองว่ามีชื่อเสียงและมีอิทธิพลในวงการมากขึ้นด้วย
ยังทำให้เว็บไซต์ของเราได้รับการมองว่ามีชื่อเสียงและมีอิทธิพลในวงการมากขึ้นด้วย
- สร้างลิงก์เชื่อมจากเว็บไซต์อื่น ๆ (Backlink) ที่มีความน่าเชื่อถือ
Backlink คือ การที่เว็บไซต์อื่นลิงก์กลับมาที่เว็บไซต์ของเรา
ทำให้ Google มองว่าเรามีอิทธิพลและมีชื่อเสียงได้ แม้ว่าเราจะไม่ได้มีคุณวุฒิในด้านนั้น ๆ เลยก็ตาม
ทำให้ Google มองว่าเรามีอิทธิพลและมีชื่อเสียงได้ แม้ว่าเราจะไม่ได้มีคุณวุฒิในด้านนั้น ๆ เลยก็ตาม
ซึ่ง Backlink มักเกิดจากคอนเทนต์ของเรามีคุณภาพสูง และน่าเชื่อถือ
ทำให้เว็บไซต์อื่นนำข้อมูลจากเว็บไซต์ของเรามาอ้างอิง หรือให้เครดิตเว็บไซต์ของเรานั่นเอง
ทำให้เว็บไซต์อื่นนำข้อมูลจากเว็บไซต์ของเรามาอ้างอิง หรือให้เครดิตเว็บไซต์ของเรานั่นเอง
สรุปอีกครั้ง E-E-A-T จาก Google คือ หลักการสร้างเว็บไซต์ให้น่าเชื่อถือ และได้รับการจัดอันดับดี ๆ
โดยองค์ประกอบย่อย ๆ ของหลักการนี้มีทั้งหมด 4 ข้อ ได้แก่
- E ประสบการณ์ (Experience) ควรทำคอนเทนต์โดยอาศัยประสบการณ์ตรงของผู้เขียน
- E ความเป็นผู้เชี่ยวชาญ (Expertise) แสดงถึงความเชี่ยวชาญในคอนเทนต์ที่ทำ
- A ความเป็นผู้มีอิทธิพล (Authoritativeness) มีชื่อเสียงในวงการนั้น ๆ ผ่านการอ้างถึงจากผู้อื่น
- T ความปลอดภัยและน่าเชื่อถือ (Trustworthiness) เว็บไซต์ต้องปลอดภัย ไม่หลอกลวงผู้เข้าชม
โดยองค์ประกอบย่อย ๆ ของหลักการนี้มีทั้งหมด 4 ข้อ ได้แก่
- E ประสบการณ์ (Experience) ควรทำคอนเทนต์โดยอาศัยประสบการณ์ตรงของผู้เขียน
- E ความเป็นผู้เชี่ยวชาญ (Expertise) แสดงถึงความเชี่ยวชาญในคอนเทนต์ที่ทำ
- A ความเป็นผู้มีอิทธิพล (Authoritativeness) มีชื่อเสียงในวงการนั้น ๆ ผ่านการอ้างถึงจากผู้อื่น
- T ความปลอดภัยและน่าเชื่อถือ (Trustworthiness) เว็บไซต์ต้องปลอดภัย ไม่หลอกลวงผู้เข้าชม
อ้างอิง:
- เอกสาร Search Quality Evaluator Guidelines - March 5, 2024 จาก Google
- https://www.semrush.com/blog/
- https://contentshifu.com/blog/e-e-a-t-seo
- https://backlinko.com/google-e-e-a-t
- https://nerdoptimize.com/what-are-backlinks/
- https://thedigitaltips.com/blog/marketing/ugc/
- https://nipa.co.th/th/article/seo/benefits-of-backlink-for-seo
- เอกสาร Search Quality Evaluator Guidelines - March 5, 2024 จาก Google
- https://www.semrush.com/blog/
- https://contentshifu.com/blog/e-e-a-t-seo
- https://backlinko.com/google-e-e-a-t
- https://nerdoptimize.com/what-are-backlinks/
- https://thedigitaltips.com/blog/marketing/ugc/
- https://nipa.co.th/th/article/seo/benefits-of-backlink-for-seo