อธิบาย “ลำดับฟีโบนัชชี” กับเลขมหัศจรรย์ 1.618 และวิธีปรับใช้ มุมการตลาด การสร้างแบรนด์
26 มิ.ย. 2024
รู้หรือไม่ว่า เบื้องหลังความสวยงามของงานออกแบบต่าง ๆ ของแต่ละแบรนด์ เช่น โลโก งานโฆษณา
มีจุดเชื่อมโยงกับหลักการทางคณิตศาสตร์อย่างหนึ่ง ชื่อว่า “ลำดับเลขฟีโบนัชชี”
มีจุดเชื่อมโยงกับหลักการทางคณิตศาสตร์อย่างหนึ่ง ชื่อว่า “ลำดับเลขฟีโบนัชชี”
แล้วลำดับเลขฟีโบนัชชีคืออะไร ? และเกี่ยวข้องกับการตลาด การสร้างแบรนด์ ได้ในมุมไหนบ้าง ? เรามาดูกัน..
รากฐานของลำดับเลขฟีโบนัชชี ปรากฏขึ้นมาตั้งแต่ 450-200 ปีก่อนคริสตกาล ในคณิตศาสตร์ของอินเดีย
ซึ่งในตอนนั้นความรู้เกี่ยวกับลำดับเลขฟีโบนัชชี เกี่ยวข้องกับฉันทลักษณ์ในวรรณกรรมภาษาสันสกฤต
ซึ่งในตอนนั้นความรู้เกี่ยวกับลำดับเลขฟีโบนัชชี เกี่ยวข้องกับฉันทลักษณ์ในวรรณกรรมภาษาสันสกฤต
แต่ลำดับเลขฟีโบนัชชีเริ่มเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายโดยหนังสือชื่อว่า Liber Abaci
ซึ่งเขียนขึ้นโดย Leonardo Fibonacci
ซึ่งเขียนขึ้นโดย Leonardo Fibonacci
โดยหนังสือ Liber Abaci ทำให้ชาวยุโรปที่ตอนนั้นใช้ระบบตัวเลขโรมันในชีวิตประจำวัน
ได้รู้จักกับระบบตัวเลขฮินดู-อารบิก ซึ่งประกอบไปด้วยสัญลักษณ์ตัวเลขทั้งหมด 10 ตัว
ได้รู้จักกับระบบตัวเลขฮินดู-อารบิก ซึ่งประกอบไปด้วยสัญลักษณ์ตัวเลขทั้งหมด 10 ตัว
ไล่ตั้งแต่ 0 ไปจนถึง 9 และการกำหนด “หลัก” (Positional Notation) ให้กับตัวเลข
จากความรู้ระบบตัวเลขฮินดู-อารบิก ก็ได้ส่งผลให้การคำนวณเลขในชีวิตประจำวันรวดเร็วมากขึ้น
และทำให้วงการธุรกิจ การบัญชี และการธนาคารในยุโรป มีความเจริญก้าวหน้าอย่างมาก
และทำให้วงการธุรกิจ การบัญชี และการธนาคารในยุโรป มีความเจริญก้าวหน้าอย่างมาก
นอกจากเรื่องระบบตัวเลขฮินดู-อารบิกแล้ว ภายในหนังสือยังเล่าถึงปัญหา “การเกิดของประชากรกระต่าย”
ซึ่งเกี่ยวข้องกับลำดับเลขฟีโบนัชชีที่เรากำลังจะพูดถึงกันต่อไปอีกด้วย
ซึ่งเกี่ยวข้องกับลำดับเลขฟีโบนัชชีที่เรากำลังจะพูดถึงกันต่อไปอีกด้วย
- ลำดับเลขฟีโบนัชชี มีลักษณะอย่างไร ?
ลำดับเลขฟีโบนัชชี คือ ลำดับเลขที่เกิดจากการนำตัวเลข 2 ลำดับก่อนหน้ามาบวกกัน
โดยตัวเลขในลำดับที่ 1 และลำดับที่ 2 ในลำดับเลขฟีโบนัชชี ถูกกำหนดไว้เป็นเลข “0” และ “1”
โดยตัวเลขในลำดับที่ 1 และลำดับที่ 2 ในลำดับเลขฟีโบนัชชี ถูกกำหนดไว้เป็นเลข “0” และ “1”
ดังนั้น ลำดับเลขฟีโบนัชชี จึงมีลำดับตัวเลขเริ่มจาก 0 และ 1 แล้วเรียงไปเรื่อย ๆ ดังนี้
0, 1, 1, 2, 3, 5, 8, 13, 21, 34, 55, 89, 144, 233, 377, 610, ..
0, 1, 1, 2, 3, 5, 8, 13, 21, 34, 55, 89, 144, 233, 377, 610, ..
จากลำดับตัวเลขข้างต้น ถ้าสังเกตดี ๆ จะเห็นได้ว่า ตัวเลขทุกตัวตั้งแต่ลำดับที่ 3 เป็นต้นไป
เกิดจากการนำตัวเลข 2 ลำดับก่อนหน้ามาบวกเข้าด้วยกัน
เกิดจากการนำตัวเลข 2 ลำดับก่อนหน้ามาบวกเข้าด้วยกัน
ตัวอย่างเช่น
เลข 5 เกิดจากการนำตัวเลข 2 ลำดับก่อนหน้ามาบวกกัน ก็คือ 2 + 3 = 5
เลข 89 เกิดจากการนำตัวเลข 2 ลำดับก่อนหน้ามาบวกเช่นเดียวกัน ก็คือ 34 + 55 = 89
เลข 5 เกิดจากการนำตัวเลข 2 ลำดับก่อนหน้ามาบวกกัน ก็คือ 2 + 3 = 5
เลข 89 เกิดจากการนำตัวเลข 2 ลำดับก่อนหน้ามาบวกเช่นเดียวกัน ก็คือ 34 + 55 = 89
ซึ่งความพิเศษของลำดับเลขฟีโบนัชชี คือเราสามารถพบเห็นความสัมพันธ์ในธรรมชาติรอบตัวเราเป็นลำดับแบบฟีโบนัชชี
ตัวอย่างเช่น
- จำนวนแถวของตาสับปะรด
- จำนวนและการวางเรียงซ้อนกันของใบไม้และกลีบดอกไม้ต่าง ๆ
- การจัดวางเมล็ดของดอกทานตะวัน หรือดอกเดซี่ ซึ่งเป็นการจัดวางเมล็ดแบบวงก้นหอย
- จำนวนแถวของตาสับปะรด
- จำนวนและการวางเรียงซ้อนกันของใบไม้และกลีบดอกไม้ต่าง ๆ
- การจัดวางเมล็ดของดอกทานตะวัน หรือดอกเดซี่ ซึ่งเป็นการจัดวางเมล็ดแบบวงก้นหอย
และความพิเศษของลำดับเลขฟีโบนัชชีอีกอย่างก็คือ
ถ้าเรานำตัวเลขในลำดับเลขฟีโบนัชชีมาหารด้วยตัวเลขในลำดับก่อนหน้า ค่าที่ได้จะลู่เข้าสู่จำนวนหนึ่ง
นั่นก็คือ อัตราส่วนทองคำ หรือ Golden Ratio
ถ้าเรานำตัวเลขในลำดับเลขฟีโบนัชชีมาหารด้วยตัวเลขในลำดับก่อนหน้า ค่าที่ได้จะลู่เข้าสู่จำนวนหนึ่ง
นั่นก็คือ อัตราส่วนทองคำ หรือ Golden Ratio
- อัตราส่วนทองคำ คืออะไร ?
อัตราส่วนทองคำ คือค่าคงที่ทางคณิตศาสตร์อย่างหนึ่ง มีค่าประมาณ 1.618..
ซึ่งเมื่อเรานำตัวเลขในลำดับเลขฟีโบนัชชี มาหารด้วยตัวเลขในลำดับก่อนหน้า จะได้ค่าเข้าใกล้ 1.618 ด้วย
ซึ่งเมื่อเรานำตัวเลขในลำดับเลขฟีโบนัชชี มาหารด้วยตัวเลขในลำดับก่อนหน้า จะได้ค่าเข้าใกล้ 1.618 ด้วย
ตัวอย่างเช่น
- 8 หารด้วย 5 เท่ากับ 1.6
- 13 หารด้วย 8 เท่ากับ 1.625
- 21 หารด้วย 13 เท่ากับ 1.615..
- 8 หารด้วย 5 เท่ากับ 1.6
- 13 หารด้วย 8 เท่ากับ 1.625
- 21 หารด้วย 13 เท่ากับ 1.615..
โดยอัตราส่วนทองคำนี้ ตัวอย่างการนำไปใช้ก็คือ ถูกนำไปใช้ในวงการออกแบบ
เช่น การสร้างสี่เหลี่ยมผืนผ้าทองคำให้มีอัตราส่วน ความกว้าง : ความยาว = 1 : 1.618
และถ้าเราเอาสี่เหลี่ยมผืนผ้าดังกล่าว มาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
โดยส่วนแรกเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส อีกรูปที่ได้จะกลายเป็น “สี่เหลี่ยมผืนผ้าทองคำ” โดยอัตโนมัติ
โดยส่วนแรกเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส อีกรูปที่ได้จะกลายเป็น “สี่เหลี่ยมผืนผ้าทองคำ” โดยอัตโนมัติ
โดยเราสามารถแบ่งรูปออกเป็น 2 ส่วน และได้ผลลัพธ์เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าทองคำที่เล็กลงเรื่อย ๆ ได้ไม่รู้จบ
และถ้าเราลากเส้นโค้งจากมุมหนึ่งไปบรรจบอีกมุมหนึ่งของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
เราจะได้สิ่งที่เรียกว่า “เกลียวทองคำ” หรือ Golden Spiral ที่วนต่อไปไม่รู้จบ (ตามภาพในรูปประกอบบทความนี้)
เราจะได้สิ่งที่เรียกว่า “เกลียวทองคำ” หรือ Golden Spiral ที่วนต่อไปไม่รู้จบ (ตามภาพในรูปประกอบบทความนี้)
- แล้วทำไม อัตราส่วนทองคำ Golden Ratio จึงส่งผลให้งานศิลปะมีเสน่ห์ชวนให้น่ามองมากขึ้นได้ ?
อย่างที่บอกไปว่า ลำดับเลขฟีโบนัชชี และอัตราส่วนทองคำ มีความเกี่ยวข้องกัน และสามารถพบเห็นทั่วไปได้ในธรรมชาติผ่านสัดส่วนของสิ่งต่าง ๆ
ตัวอย่างเช่น
- การจัดวางเรียงซ้อนกันของใบไม้และกลีบดอกไม้ในธรรมชาติ
- โครงสร้างการหมุนวนของเส้นโค้งก้นหอย ซึ่งเราสามารถพบเห็นได้ตั้งแต่เปลือกหอยขนาดเล็ก ไปจนถึงรูปทรงของกาแล็กซีในเอกภพ
- สัดส่วนใบหน้าของมนุษย์และกายวิภาคของสัตว์ ก็มีอัตราส่วนทองคำแฝงอยู่เช่นกัน
- การจัดวางเรียงซ้อนกันของใบไม้และกลีบดอกไม้ในธรรมชาติ
- โครงสร้างการหมุนวนของเส้นโค้งก้นหอย ซึ่งเราสามารถพบเห็นได้ตั้งแต่เปลือกหอยขนาดเล็ก ไปจนถึงรูปทรงของกาแล็กซีในเอกภพ
- สัดส่วนใบหน้าของมนุษย์และกายวิภาคของสัตว์ ก็มีอัตราส่วนทองคำแฝงอยู่เช่นกัน
เมื่ออัตราส่วนทองคำปรากฏอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ เราจึงพบเจอตัวเลขอัตราส่วนทองคำนี้ได้ทั่วไป
ผ่านสายตาของตัวเองมาตั้งแต่เราเกิดจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
ผ่านสายตาของตัวเองมาตั้งแต่เราเกิดจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
แล้วเราก็เชื่อมโยงภาพที่ได้พบเจอเป็นปกตินั้น เข้ากับความงามทางสุนทรียภาพโดยไม่รู้ตัว
ทำให้ทุกครั้งที่เราเห็นอะไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
ถ้าสิ่งนั้นมีสัดส่วนใกล้เคียงอัตราส่วนทองคำ เราจึงมีความรู้สึกว่าสิ่งนั้นมันทั้งสวยงาม สมดุล มีเสน่ห์ และชวนให้น่ามองไปโดยปริยาย
และเมื่ออัตราส่วนทองคำส่งผลอย่างมากต่อความรู้สึกในด้านความสวยงามทางสุนทรียภาพ
ในวงการงานศิลปะ จึงมีการนำเทคนิคอัตราส่วนทองคำไปใช้กันอย่างกว้างขวางมาตั้งแต่ยุคโบราณ
ในวงการงานศิลปะ จึงมีการนำเทคนิคอัตราส่วนทองคำไปใช้กันอย่างกว้างขวางมาตั้งแต่ยุคโบราณ
ตัวอย่างศิลปินในยุคโบราณที่นำอัตราส่วนทองคำมาปรับใช้ในงานศิลปะของตัวเองก็เช่น
Leonardo da Vinci ที่วาดภาพเหมือนของโมนาลิซา
Leonardo da Vinci ที่วาดภาพเหมือนของโมนาลิซา
หรือแม้แต่งานสถาปัตยกรรมในยุคโบราณ ก็มีอัตราส่วนทองคำแฝงอยู่เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น
มหาพีระมิดแห่งกีซาในอียิปต์, มหาวิหารน็อทร์-ดามในฝรั่งเศส และมหาวิหารพาร์เธนอนในกรีซ
มหาพีระมิดแห่งกีซาในอียิปต์, มหาวิหารน็อทร์-ดามในฝรั่งเศส และมหาวิหารพาร์เธนอนในกรีซ
และในปัจจุบันเองอัตราส่วนทองคำก็ถูกนำไปใช้ในการตลาดด้วยเช่นกัน
โดยใช้ผ่านงานออกแบบต่าง ๆ เช่น
- การตีวงด้วย Golden Ratio เพื่อสร้างโลโกให้แบรนด์
ตัวอย่างแบรนด์ดัง ๆ ที่ใช้ Golden Ratio ออกแบบโลโก เช่น Google, Twitter (X), Apple และ Pepsi
- การตีวงด้วย Golden Ratio เพื่อสร้างโลโกให้แบรนด์
ตัวอย่างแบรนด์ดัง ๆ ที่ใช้ Golden Ratio ออกแบบโลโก เช่น Google, Twitter (X), Apple และ Pepsi
- การออกแบบชิ้นงานโฆษณาและการออกแบบเลย์เอาต์
ชิ้นงานโฆษณาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเผยแพร่ในช่องทางออฟไลน์หรือออนไลน์ ก็สามารถนำ Golden Ratio มาประยุกต์ใช้ได้เหมือนกัน
ชิ้นงานโฆษณาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเผยแพร่ในช่องทางออฟไลน์หรือออนไลน์ ก็สามารถนำ Golden Ratio มาประยุกต์ใช้ได้เหมือนกัน
- การถ่ายภาพ
สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ ภาพบุคคล หรือภาพอื่น ๆ ก็ได้
โดยมีหลักการง่าย ๆ คือ จินตนาการภาพ เกลียวทองคำ ซ้อนทับกับภาพที่เรากำลังจะถ่าย
สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ ภาพบุคคล หรือภาพอื่น ๆ ก็ได้
โดยมีหลักการง่าย ๆ คือ จินตนาการภาพ เกลียวทองคำ ซ้อนทับกับภาพที่เรากำลังจะถ่าย
จากนั้นจัดองค์ประกอบของรูปภาพ โดยให้จุดโฟกัสอยู่ที่บริเวณกึ่งกลางของเกลียวที่เล็กลงเรื่อย ๆ
ส่วนองค์ประกอบอื่น ๆ ของภาพให้จัดตำแหน่งไปที่หางของเกลียว
ส่วนองค์ประกอบอื่น ๆ ของภาพให้จัดตำแหน่งไปที่หางของเกลียว
การจัดองค์ประกอบของรูปภาพแบบนี้ จะทำให้รูปภาพที่ได้มีจุดโฟกัสที่กลมกลืนตามธรรมชาติ
และทั้งหมดนี้ก็คือการอธิบายคอนเซปต์อย่างง่ายเกี่ยวกับ “ลำดับเลขฟีโบนัชชี” และ “อัตราส่วนทองคำ”
ที่ในมุมการตลาด ก็มีการนำหลักการทางคณิตศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในงานศิลปะและงานออกแบบ
ทำให้ลูกค้าที่ได้มาเห็นงานศิลปะหรืองานออกแบบของแบรนด์ เชื่อมโยงภาพที่ได้เห็นเข้ากับความงามทางสุนทรียภาพ
จนชวนให้เกิดแรงดึงดูดใจกับลูกค้า ได้อย่างไม่น่าเชื่อ..
#ลำดับเลขฟีโบนัชชี
#อัตราส่วนทองคำ
#GoldenRatio
#ศิลปะและงานออกแบบ
#กลยุทธ์การตลาด
_____________________
#อัตราส่วนทองคำ
#GoldenRatio
#ศิลปะและงานออกแบบ
#กลยุทธ์การตลาด
_____________________
อ้างอิง:
- https://en.wikipedia.org/wiki/Fibonacci
- https://en.wikipedia.org/wiki/Fibonacci_sequence
- https://www.fibonicci.com/fibonacci/
- https://www.facebook.com/profile/100044610421582/search/
- https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet2/knowledge_math/phibobac/phibonat.htm
- https://ngthai.com/science/43843/golden-ratio/
- https://www.shutterstock.com/th/blog/what-is-the-golden-ratio-2/
- https://en.wikipedia.org/wiki/Fibonacci
- https://en.wikipedia.org/wiki/Fibonacci_sequence
- https://www.fibonicci.com/fibonacci/
- https://www.facebook.com/profile/100044610421582/search/
- https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet2/knowledge_math/phibobac/phibonat.htm
- https://ngthai.com/science/43843/golden-ratio/
- https://www.shutterstock.com/th/blog/what-is-the-golden-ratio-2/