
Me - Too Marketing กลยุทธ์การตลาด ที่เห็นคนอื่นทำแล้ว (ขอ) ทำตามด้วยคน
25 มิ.ย. 2021
ในยุคที่ใคร ๆ ต่างมองว่า การสร้างความแตกต่าง หรือ Differentiate
คือ หนึ่งในหัวใจสำคัญ ของการปั้นแบรนด์ให้ประสบความสำเร็จ ที่ต้องจำให้ขึ้นใจ
คือ หนึ่งในหัวใจสำคัญ ของการปั้นแบรนด์ให้ประสบความสำเร็จ ที่ต้องจำให้ขึ้นใจ
เหมือนอย่างที่ Apple เจ้าของสโลแกน Think Different ทำ
จนสามารถพลิกโฉมโลกของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์การสื่อสาร ให้ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
จนสามารถพลิกโฉมโลกของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์การสื่อสาร ให้ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
แต่ก็ต้องยอมรับว่า บนโลกธุรกิจที่เต็มไปด้วยความหลากหลาย
ไม่ใช่ทุกแบรนด์ที่เลือกปูทางธุรกิจ ด้วยการสร้างความแตกต่าง
หลายแบรนด์เลือกฉีกกฎ ใช้ทางลัดในการปั้นแบรนด์
ด้วยการออกสินค้าให้มีหน้าตา, คุณสมบัติ คล้ายหรือใกล้เคียงกับผู้นำตลาด หรือ แบรนด์ที่มีจุดเด่นอยู่ในตลาด
ไม่ใช่ทุกแบรนด์ที่เลือกปูทางธุรกิจ ด้วยการสร้างความแตกต่าง
หลายแบรนด์เลือกฉีกกฎ ใช้ทางลัดในการปั้นแบรนด์
ด้วยการออกสินค้าให้มีหน้าตา, คุณสมบัติ คล้ายหรือใกล้เคียงกับผู้นำตลาด หรือ แบรนด์ที่มีจุดเด่นอยู่ในตลาด
กลยุทธ์การตลาดแบบที่ว่านี้ เรียกว่า Me - Too Marketing
หรือ กลยุทธ์การตลาด ที่เห็นคนอื่นทำ แล้ว (ขอ) ทำตามด้วยคน
ซึ่งเป็นกลยุทธ์คลาสสิกที่มีมาช้านาน โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค
ไม่ว่าจะเป็นแชมพูสระผม สบู่ เครื่องดื่ม เครื่องปรุงรส บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ไปจนถึงสินค้าประเภทขนมขบเคี้ยว
หรือ กลยุทธ์การตลาด ที่เห็นคนอื่นทำ แล้ว (ขอ) ทำตามด้วยคน
ซึ่งเป็นกลยุทธ์คลาสสิกที่มีมาช้านาน โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค
ไม่ว่าจะเป็นแชมพูสระผม สบู่ เครื่องดื่ม เครื่องปรุงรส บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ไปจนถึงสินค้าประเภทขนมขบเคี้ยว
และปัจจุบันลามมาถึง ธุรกิจที่ล้ำกว่านั้นอย่าง เทคโนโลยี, สมาร์ตโฟน, แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย, อีคอมเมิร์ซ และสตรีมมิง
ซึ่งหลายครั้งที่ผู้บริโภคเอง ก็ไม่ได้มองว่าเป็นเรื่องเสียหาย
หรือ ทำให้เกิดภาพลักษณ์ที่ไม่ดีกับแบรนด์ ที่ใช้กลยุทธ์นี้เสมอไป
แต่กลับคุ้นชินด้วยซ้ำ กับการที่มีสินค้าชนิดเดียวกันหรือมีคุณสมบัติเหมือนกัน มากมายเป็นตัวเลือก
ลองนึกภาพเวลาไปซูเปอร์มาร์เกต เพื่อซื้อปลากระป๋อง หรือ น้ำมันสักขวด
จะเห็นว่า ชั้นวางเรียงรายไปด้วยสินค้าชนิดเดียวกันมากมาย
แถมบางแบรนด์ ยังใช้กลยุทธ์ออกแบบแพกเกจจิงให้หน้าตาคล้าย ๆ กับแบรนด์ยอดนิยม
แต่ขายในราคาถูกกว่า จนถ้าไม่สังเกตให้ดี อาจเผลอหยิบผิด..
หรือ ทำให้เกิดภาพลักษณ์ที่ไม่ดีกับแบรนด์ ที่ใช้กลยุทธ์นี้เสมอไป
แต่กลับคุ้นชินด้วยซ้ำ กับการที่มีสินค้าชนิดเดียวกันหรือมีคุณสมบัติเหมือนกัน มากมายเป็นตัวเลือก
ลองนึกภาพเวลาไปซูเปอร์มาร์เกต เพื่อซื้อปลากระป๋อง หรือ น้ำมันสักขวด
จะเห็นว่า ชั้นวางเรียงรายไปด้วยสินค้าชนิดเดียวกันมากมาย
แถมบางแบรนด์ ยังใช้กลยุทธ์ออกแบบแพกเกจจิงให้หน้าตาคล้าย ๆ กับแบรนด์ยอดนิยม
แต่ขายในราคาถูกกว่า จนถ้าไม่สังเกตให้ดี อาจเผลอหยิบผิด..
หรือถ้าในโลกโซเชียลมีเดีย ฟีเชอร์ Story หรือ ฟีเชอร์อัดและแชร์คลิปวิดีโอสั้น ที่มีจุดกำเนิดมาจากแอปใดแอปหนึ่ง
ตอนนี้กลับกลายเป็นฟีเชอร์พื้นฐาน ที่หลายแพลตฟอร์มมองว่า อาจต้องมีติดไว้ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Twitter, YouTube, Instagram ฯลฯ
ตอนนี้กลับกลายเป็นฟีเชอร์พื้นฐาน ที่หลายแพลตฟอร์มมองว่า อาจต้องมีติดไว้ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Twitter, YouTube, Instagram ฯลฯ
ถามว่า ทำไมบางแบรนด์ ถึงเลือกที่ใช้กลยุทธ์ Me - Too เป็นทางลัด
มี 2 เหตุผลหลัก ๆ ด้วยกัน
มี 2 เหตุผลหลัก ๆ ด้วยกัน
1. การทำตามย่อมง่ายกว่าทำเอง
อย่าลืมว่าการจะพัฒนาสินค้าหรือฟีเชอร์ใหม่แต่ละครั้ง นอกจากจะต้องตั้งต้นจากการหา Pain Point หรือ ความต้องการของลูกค้าที่แท้จริงให้เจอ
ยังต้องวัดดวงด้วยว่า สินค้า บริการ หรือฟีเชอร์นั้น จะเป็นที่ถูกใจของตลาดหรือเปล่า
อย่าลืมว่าการจะพัฒนาสินค้าหรือฟีเชอร์ใหม่แต่ละครั้ง นอกจากจะต้องตั้งต้นจากการหา Pain Point หรือ ความต้องการของลูกค้าที่แท้จริงให้เจอ
ยังต้องวัดดวงด้วยว่า สินค้า บริการ หรือฟีเชอร์นั้น จะเป็นที่ถูกใจของตลาดหรือเปล่า
ยกตัวอย่าง ธุรกิจสตรีมมิง ถ้าย้อนไป 10 ปีที่แล้ว คงไม่มีใครเชื่อว่า
วันนี้ เราจะเข้าถึงคลังข้อมูลความบันเทิงมหาศาลแค่ปลายนิ้ว
สามารถชมหนัง-ซีรีส์ที่ถูกลิขสิทธิ์อย่างไม่จำกัด ด้วยการจ่ายค่าบริการรายเดือนหลักร้อย
วันนี้ เราจะเข้าถึงคลังข้อมูลความบันเทิงมหาศาลแค่ปลายนิ้ว
สามารถชมหนัง-ซีรีส์ที่ถูกลิขสิทธิ์อย่างไม่จำกัด ด้วยการจ่ายค่าบริการรายเดือนหลักร้อย
แต่หลังจาก Netflix เป็นเจ้าแรก ๆ ที่มาบุกตลาดจนประสบความสำเร็จ
ปัจจุบันมีฐานผู้ชมทั่วโลกกว่า 207 ล้านบัญชี
ก็มีผู้ให้บริการสตริมมิงมากมาย ตบเท้าเข้ามาชิงส่วนแบ่งการตลาด
อาทิ Disney+, WeTV, IQIYI เป็นต้น
ปัจจุบันมีฐานผู้ชมทั่วโลกกว่า 207 ล้านบัญชี
ก็มีผู้ให้บริการสตริมมิงมากมาย ตบเท้าเข้ามาชิงส่วนแบ่งการตลาด
อาทิ Disney+, WeTV, IQIYI เป็นต้น
2. เจาะตลาดได้ง่ายกว่า
เพราะอย่างน้อย ๆ ก็เห็นแล้วว่า สินค้าหรือบริการแบบไหน ที่กำลังเป็นที่ต้องการในตลาด
ดังนั้น ก็มีความเป็นไปได้ว่า ถ้าเลือกออกสินค้าหรือบริการ ที่กำลังฮิตหรือเป็นที่ต้องการในตลาด
นอกจากจะไม่ต้องเทงบการตลาดไปกับการให้ความรู้และสร้าง Brand Awareness โอกาสเสี่ยงหรือเจ็บตัวก็น้อยลง
เพราะอย่างน้อย ๆ ก็เห็นแล้วว่า สินค้าหรือบริการแบบไหน ที่กำลังเป็นที่ต้องการในตลาด
ดังนั้น ก็มีความเป็นไปได้ว่า ถ้าเลือกออกสินค้าหรือบริการ ที่กำลังฮิตหรือเป็นที่ต้องการในตลาด
นอกจากจะไม่ต้องเทงบการตลาดไปกับการให้ความรู้และสร้าง Brand Awareness โอกาสเสี่ยงหรือเจ็บตัวก็น้อยลง
เหมือนช่วงที่กระแสชาเขียวมาแรง ใคร ๆ ก็อยากเข้ามาเจาะตลาดนี้ เพราะเห็นว่ามีดีมานด์
หรือปัจจุบัน น้ำดื่มผสมวิตามิน เป็นตลาดที่กำลังร้อนแรง หลายแบรนด์ก็ต่างเข้ามาชิงส่วนแบ่งการตลาด จนตอนนี้ ถ้าเดินเข้าไปตามร้านสะดวกซื้อจะเห็นว่า มีตัวเลือกมากมาย จนหลายคนเลือกไม่ถูกเลยทีเดียว
หรือปัจจุบัน น้ำดื่มผสมวิตามิน เป็นตลาดที่กำลังร้อนแรง หลายแบรนด์ก็ต่างเข้ามาชิงส่วนแบ่งการตลาด จนตอนนี้ ถ้าเดินเข้าไปตามร้านสะดวกซื้อจะเห็นว่า มีตัวเลือกมากมาย จนหลายคนเลือกไม่ถูกเลยทีเดียว
ซึ่งบางแบรนด์ ต้องงัดสารพัดกิมมิกเพื่อแก้เกม
ไม่ว่าจะเป็น การเลือกใช้พรีเซนเตอร์เพื่อสร้างการจดจำ อัดงบโปรโมต หรือ ใช้กลยุทธ์ในการทำราคาที่ต่ำกว่า เพื่อสู้กับแบรนด์คู่แข่ง
ไม่ว่าจะเป็น การเลือกใช้พรีเซนเตอร์เพื่อสร้างการจดจำ อัดงบโปรโมต หรือ ใช้กลยุทธ์ในการทำราคาที่ต่ำกว่า เพื่อสู้กับแบรนด์คู่แข่ง
เพราะฉะนั้น ถ้าถามว่า กลยุทธ์ Me - Too Marketing มีข้อดีอย่างไร
คำตอบ คือ ดีกับตลาดและผู้บริโภคอย่างเรา ๆ
เพราะยิ่งมีการแข่งขันในตลาดมากเท่าไร หมายความว่า แต่ละแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ต้นตำรับหรือแบรนด์ที่ขอยืมไอเดียแบรนด์อื่นมาทำให้ใกล้เคียง ก็หยุดนิ่งไม่ได้
ต้องขยันพัฒนาสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ ให้ยิ่งตอบโจทย์ผู้บริโภคมากที่สุด อยู่ตลอดเวลา
คำตอบ คือ ดีกับตลาดและผู้บริโภคอย่างเรา ๆ
เพราะยิ่งมีการแข่งขันในตลาดมากเท่าไร หมายความว่า แต่ละแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ต้นตำรับหรือแบรนด์ที่ขอยืมไอเดียแบรนด์อื่นมาทำให้ใกล้เคียง ก็หยุดนิ่งไม่ได้
ต้องขยันพัฒนาสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ ให้ยิ่งตอบโจทย์ผู้บริโภคมากที่สุด อยู่ตลอดเวลา
ที่สำคัญ การที่มีผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามาในตลาดเรื่อย ๆ ก็ทำให้ตลาดยิ่งคึกคัก
ซึ่งสุดท้าย ผลดีก็ตกอยู่ที่ผู้บริโภค ทำให้มีทางเลือกที่หลากหลาย
สามารถเข้าถึงสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพ ตรงใจ ในราคาที่เข้าถึงได้
ซึ่งสุดท้าย ผลดีก็ตกอยู่ที่ผู้บริโภค ทำให้มีทางเลือกที่หลากหลาย
สามารถเข้าถึงสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพ ตรงใจ ในราคาที่เข้าถึงได้
ส่วนข้อเสียของกลยุทธ์ Me - Too
แน่นอนว่า หากแบรนด์คู่แข่งใช้กลยุทธ์นี้ ย่อมสร้างความหนักใจให้กับคนที่เป็นผู้ริเริ่มและสร้างไอเดีย
เพราะแม้ การเป็นแบรนด์ที่มาก่อน จะทำให้เกิดภาพจำในใจลูกค้า
หรือ บางแบรนด์ อาจจะมีโอกาสครองส่วนแบ่งการตลาดส่วนใหญ่ได้ก็จริง
แน่นอนว่า หากแบรนด์คู่แข่งใช้กลยุทธ์นี้ ย่อมสร้างความหนักใจให้กับคนที่เป็นผู้ริเริ่มและสร้างไอเดีย
เพราะแม้ การเป็นแบรนด์ที่มาก่อน จะทำให้เกิดภาพจำในใจลูกค้า
หรือ บางแบรนด์ อาจจะมีโอกาสครองส่วนแบ่งการตลาดส่วนใหญ่ได้ก็จริง
แต่ก็ต้องเหนื่อยกับการต่อยอดจุดแข็ง ของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ให้ยากจะลอกเลียนแบบ
หรือ คิดหารูปแบบการตลาดที่ทำให้ยังครองส่วนแบ่งการตลาดไว้ได้
หรือ คิดหารูปแบบการตลาดที่ทำให้ยังครองส่วนแบ่งการตลาดไว้ได้
ซึ่งอาจทำให้บั่นทอนกำลังใจในการทำธุรกิจ และรู้สึกว่า จะทุ่มเทสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ไปทำไม เดียวก็มีคนอื่นทำตามอยู่ดี
สู้รอทำตามคู่แข่งไปเลย อาจคุ้มค่ากว่า เสี่ยงน้อยกว่า ซึ่งถ้าทุกคนกลัวและคิดอย่างนี้ นวัตกรรมก็อาจไม่เกิดขึ้นกับวงการนั้น ๆ
สู้รอทำตามคู่แข่งไปเลย อาจคุ้มค่ากว่า เสี่ยงน้อยกว่า ซึ่งถ้าทุกคนกลัวและคิดอย่างนี้ นวัตกรรมก็อาจไม่เกิดขึ้นกับวงการนั้น ๆ
ส่วนในมุมของแบรนด์ที่เลือกเป็นผู้ตาม แม้เส้นทางการเข้าสู่ธุรกิจจะมีทางลัดก็จริง
แต่ถ้าอยากจะสลัดภาพแบรนด์ที่มาทีหลัง เป็นได้แค่ผู้ตาม
ก็ต้องไม่ปล่อยให้ตัวเอง ติดกับดักความสำเร็จที่อาศัยรากฐานจากแบรนด์อื่น
แล้วอาศัยแค่กลยุทธ์การทำราคาที่ถูกกว่า หรือ การจัดโปรโมชันเพื่อสร้างยอดขาย
เพราะจะไม่เป็นการดีต่อการสร้างแบรนด์ในระยะยาว
แต่ถ้าอยากจะสลัดภาพแบรนด์ที่มาทีหลัง เป็นได้แค่ผู้ตาม
ก็ต้องไม่ปล่อยให้ตัวเอง ติดกับดักความสำเร็จที่อาศัยรากฐานจากแบรนด์อื่น
แล้วอาศัยแค่กลยุทธ์การทำราคาที่ถูกกว่า หรือ การจัดโปรโมชันเพื่อสร้างยอดขาย
เพราะจะไม่เป็นการดีต่อการสร้างแบรนด์ในระยะยาว
ในทางกลับกัน แบรนด์อาจจะต้องศึกษา Know-How
แล้วนำมาต่อยอดพัฒนาสินค้าหรือบริการ ที่มีเอกลักษณ์หรือจุดแข็งเฉพาะตัว ของตัวเองในอนาคต
แล้วนำมาต่อยอดพัฒนาสินค้าหรือบริการ ที่มีเอกลักษณ์หรือจุดแข็งเฉพาะตัว ของตัวเองในอนาคต
มาถึงตรงนี้ คงพอสรุปได้ว่า กลยุทธ์ Me - Too Marketing ก็เหมือนเหรียญที่มีทั้งสองด้าน
มีทั้งคุณและโทษ ขึ้นอยู่กับใคร จะมองมุมไหน
มีทั้งคุณและโทษ ขึ้นอยู่กับใคร จะมองมุมไหน
อย่างน้อยตราบที่โลก ยังมีแบรนด์ที่เป็นผู้นำและผู้ตามอย่างสมดุล ก็คงไม่ใช่ปัญหา
แต่หากวันใด ทุกแบรนด์หันมาใช้กลยุทธ์นี้ โลกใบนี้คงจะน่าเบื่อ
เพราะไม่มีใครริเริ่มนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เข้ามาเปลี่ยนโลก หรือ อัปเกรดชีวิตความเป็นอยู่ ของผู้คนให้ดีขึ้น..
แต่หากวันใด ทุกแบรนด์หันมาใช้กลยุทธ์นี้ โลกใบนี้คงจะน่าเบื่อ
เพราะไม่มีใครริเริ่มนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เข้ามาเปลี่ยนโลก หรือ อัปเกรดชีวิตความเป็นอยู่ ของผู้คนให้ดีขึ้น..
อ้างอิง :
-https://www.marketing91.com/marketing-explained/
-https://radius/-global.com/blog/should-you-develop-a-me-too-product/
-https://www.marketing91.com/marketing-explained/
-https://radius/-global.com/blog/should-you-develop-a-me-too-product/