กรณีศึกษา ห้างเปิดอาจเป็น “ฝันร้าย” ธุรกิจร้านอาหาร
19 พ.ค. 2020
หลายคนคงคิดว่าการเปิดศูนย์การค้า ที่เพิ่งผ่านไป
น่าจะเป็นเสมือนการชุบชีวิตธุรกิจร้านอาหารหลังจากต้องปิดบริการไปเกือบ 2 เดือนจากมาตรการล็อกดาวน์ของรัฐบาล
น่าจะเป็นเสมือนการชุบชีวิตธุรกิจร้านอาหารหลังจากต้องปิดบริการไปเกือบ 2 เดือนจากมาตรการล็อกดาวน์ของรัฐบาล
เรื่องนี้...อาจจะไม่เป็นจริงอย่างที่คิด และต่อจากนี้ไปเราคงต้องดูกันยาวๆ
เรื่องนี้อาจพลิกล็อกจากหน้ามือเป็นหลังมือก็เป็นได้
เรื่องนี้อาจพลิกล็อกจากหน้ามือเป็นหลังมือก็เป็นได้
เพราะ ณ วันนี้ร้านอาหารในศูนย์การค้าต่างๆ ต้องเว้นระยะห่างที่นั่งลูกค้า เพื่อความปลอดภัย
ซึ่งหากในช่วงเวลาขายดีอย่างในวันหยุดที่บางเวลาลูกค้าแน่นร้านจนต้องต่อคิว
จากที่เคยจุลูกค้าได้ 70 - 80 ที่นั่ง ณ วันนี้ก็อาจจะเหลือเพียง 30 - 40 ที่นั่งเท่านั้น
อีกทั้งบางร้านยังมีการหยุดบริการ 1 ชั่วโมงต่อวันเพื่อทำความสะอาดป้องกันเชื้อ COVID-19
ซึ่งหากในช่วงเวลาขายดีอย่างในวันหยุดที่บางเวลาลูกค้าแน่นร้านจนต้องต่อคิว
จากที่เคยจุลูกค้าได้ 70 - 80 ที่นั่ง ณ วันนี้ก็อาจจะเหลือเพียง 30 - 40 ที่นั่งเท่านั้น
อีกทั้งบางร้านยังมีการหยุดบริการ 1 ชั่วโมงต่อวันเพื่อทำความสะอาดป้องกันเชื้อ COVID-19
ส่วนอีกมุมหนึ่งก็ยังมีหลายคนหวาดระแวงกับการไปกินอาหารในร้านต่างๆ
ถึงแม้...ทุกแบรนด์ร้านอาหารจะออกมาประกาศว่ามีมาตรการป้องกันที่ดีเยี่ยม
แต่ก็ใช่ว่า...ทุกคนจะไว้ใจ
ถึงแม้...ทุกแบรนด์ร้านอาหารจะออกมาประกาศว่ามีมาตรการป้องกันที่ดีเยี่ยม
แต่ก็ใช่ว่า...ทุกคนจะไว้ใจ
อุปสรรคสุดท้ายก็คือ กำลังซื้อของลูกค้านั่นเอง อย่าลืมว่าในช่วงการระบาดของ COVID-19
หลายคนถูกลดเงินเดือน และก็มีหลายคนที่ต้องโชคร้าย ตกงาน
หลายคนถูกลดเงินเดือน และก็มีหลายคนที่ต้องโชคร้าย ตกงาน
เหตุผลทั้งหมดที่กล่าวมา น่าจะทำให้ลูกค้าน้อยลงอย่างมากหากเทียบกับช่วงเวลาปกติ
ซึ่งก็กลายเป็นความลำบากใจของร้านอาหารในศูนย์การค้า
โดยเฉพาะร้านอาหารที่เน้นให้ลูกค้านั่งทานในร้าน และทานร่วมกันอย่าง สุกี้ชาบู, ปิ้งย่าง, ร้านขนมหวาน และอื่นๆ
ซึ่งก็กลายเป็นความลำบากใจของร้านอาหารในศูนย์การค้า
โดยเฉพาะร้านอาหารที่เน้นให้ลูกค้านั่งทานในร้าน และทานร่วมกันอย่าง สุกี้ชาบู, ปิ้งย่าง, ร้านขนมหวาน และอื่นๆ
และเมื่อมองแล้วว่าลูกค้าต่อสาขาน่าจะลดน้อยลงไปมาก ก็เลยทำให้หลายร้านอาหารเลือกจะลดจำนวนพนักงานลง
บางศูนย์การค้าเริ่มประกาศว่ามีนโยบายลดค่าเช่าพื้นที่นาน 2 - 3 เดือน
ทั้งหมดก็เพื่อช่วยลดต้นทุนร้านอาหาร ต่อลมหายใจในช่วงเริ่มต้นกลับสู่ทำเลศูนย์การค้าอีกครั้ง
บางศูนย์การค้าเริ่มประกาศว่ามีนโยบายลดค่าเช่าพื้นที่นาน 2 - 3 เดือน
ทั้งหมดก็เพื่อช่วยลดต้นทุนร้านอาหาร ต่อลมหายใจในช่วงเริ่มต้นกลับสู่ทำเลศูนย์การค้าอีกครั้ง
ขณะเดียวกันเหตุการณ์นี้ก็ทำให้ร้านอาหารรายเล็กๆ ในศูนย์การค้า
ที่ไม่ได้ทำสัญญาระยะยาวกับซัพพลายเออร์เหมือนร้านอาหารรายใหญ่ๆ
และยังต้องซื้อวัตถุดิบเป็นรายครั้ง ก็จะมีต้นทุนตรงนี้สูงขึ้นทันที
ที่ไม่ได้ทำสัญญาระยะยาวกับซัพพลายเออร์เหมือนร้านอาหารรายใหญ่ๆ
และยังต้องซื้อวัตถุดิบเป็นรายครั้ง ก็จะมีต้นทุนตรงนี้สูงขึ้นทันที
เพราะเมื่อลูกค้าเข้าร้านน้อยลง การสั่งซื้อวัตถุดิบก็จะน้อยลงตามไปด้วย
ซึ่งทำให้ ราคาขายต่อกิโลกรัมของซัพพลายเออร์ก็จะแพงขึ้น หากเทียบกับการซื้อในจำนวนเยอะๆ เหมือนในอดีต
ซึ่งทำให้ ราคาขายต่อกิโลกรัมของซัพพลายเออร์ก็จะแพงขึ้น หากเทียบกับการซื้อในจำนวนเยอะๆ เหมือนในอดีต
ผลที่ตามมาก็คือวัตถุดิบต่อจานที่เสิร์ฟลูกค้า แม้จะมีต้นทุนสูงขึ้น แต่ก็ไม่สามารถขยับราคาขายให้แพงขึ้นตามไปด้วย
และหากสถานการณ์นี้ยังคงกินระยะเวลายาวต่อไปเรื่อยๆ
อาจทำให้บางร้านอาหารต้องมานั่งประเมินสถานการณ์ว่า “ได้คุ้มเสียหรือไม่”
อาจทำให้บางร้านอาหารต้องมานั่งประเมินสถานการณ์ว่า “ได้คุ้มเสียหรือไม่”
อย่าลืมว่าเมื่อเปิดสาขา ต้นทุนบางอย่างที่เคยนิ่ง ก็จะกลับมามีค่าใช้จ่ายในทันที
และหากรายได้ไม่สามารถหล่อเลี้ยงต้นทุนที่เกิดขึ้นได้ในการเปิดสาขาต่างๆ ในศูนย์การค้า
ลองคิดดูหากเราเป็นเจ้าของร้านอาหาร ก็อาจต้องปิดสาขานั้นไว้ชั่วคราวเพื่อรอดูสถานการณ์ต่อไป
และหากรายได้ไม่สามารถหล่อเลี้ยงต้นทุนที่เกิดขึ้นได้ในการเปิดสาขาต่างๆ ในศูนย์การค้า
ลองคิดดูหากเราเป็นเจ้าของร้านอาหาร ก็อาจต้องปิดสาขานั้นไว้ชั่วคราวเพื่อรอดูสถานการณ์ต่อไป
ส่วนบางร้านที่อาจได้ผลกระทบในเรื่องนี้น้อยกว่าร้านอาหารประเภทอื่นๆ
ก็น่าจะเป็นร้านอาหารที่แข็งแกร่งในธุรกิจ Delivery อย่างพิซซ่า และไก่ทอด
ซึ่งการเปิดสาขาในช่วงนี้ อาจจะเป็นการเพิ่มความสะดวกในการบริการลูกค้าในพื้นที่ต่างๆ
ส่วนลูกค้าที่นั่งทานในร้านอาจเป็นเรื่องรองลงมา
ก็น่าจะเป็นร้านอาหารที่แข็งแกร่งในธุรกิจ Delivery อย่างพิซซ่า และไก่ทอด
ซึ่งการเปิดสาขาในช่วงนี้ อาจจะเป็นการเพิ่มความสะดวกในการบริการลูกค้าในพื้นที่ต่างๆ
ส่วนลูกค้าที่นั่งทานในร้านอาจเป็นเรื่องรองลงมา
สุดท้ายแล้ว หากร้านอาหารไม่สามารถยืนหยัดได้ในช่วงเริ่มต้นเปิดศูนย์การค้า
เรื่องนี้ก็อาจจะส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ตามๆ กัน
เรื่องนี้ก็อาจจะส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ตามๆ กัน
เจ้าของศูนย์การค้าก็อาจจะมีรายได้น้อยลง หากร้านอาหารเลือกจะปิดสาขาเหมือนเดิม
ส่วนซัพพลายเออร์ที่ขายวัตถุดิบต่างๆ ก็จะมีรายได้ที่ลดน้อยลงตามไปด้วย
ส่วนซัพพลายเออร์ที่ขายวัตถุดิบต่างๆ ก็จะมีรายได้ที่ลดน้อยลงตามไปด้วย
คำถามก็คือ จะดีกว่านี้ไหม หากศูนย์การค้าจะเพิ่มความช่วยเหลือ ลดค่าเช่าพื้นที่มากกว่าที่เป็นอยู่
หรือแม้แต่ช่วยโปรโมตร้านอาหารต่างๆ ในศูนย์การค้าตัวเอง
ขณะที่ ซัพพลายเออร์ อาจต้องยอมกำไรน้อยลง และขายวัตถุดิบในราคาที่ถูกลงกว่าเดิม
หรือแม้แต่ช่วยโปรโมตร้านอาหารต่างๆ ในศูนย์การค้าตัวเอง
ขณะที่ ซัพพลายเออร์ อาจต้องยอมกำไรน้อยลง และขายวัตถุดิบในราคาที่ถูกลงกว่าเดิม
เพราะสุดท้ายแล้ว ร้านอาหาร ศูนย์การค้า ซัพพลายเออร์ ก็ต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน
หากขาดใครไปคนหนึ่ง ก็ย่อมส่งผลกระทบต่ออีกคนไม่มากก็น้อย
หากขาดใครไปคนหนึ่ง ก็ย่อมส่งผลกระทบต่ออีกคนไม่มากก็น้อย