
การตลาด April Fools’ Day กลยุทธ์ดาบสองคม ที่แบรนด์สมัยนี้ ชอบใช้
1 เม.ย. 2025
- วันที่ 1 เมษายนของทุกปี คือ วัน April Fools' Day หรือวันเมษาหน้าโง่ วันพิเศษที่คนทั้งโลกพร้อมใจกันโกหกเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ กันอย่างสนุกสนาน
และในมุมการตลาด หลาย ๆ แบรนด์ก็ชอบใช้โอกาสนี้ทำคอนเทนต์โกหกตลก ๆ เพื่อเรียกเอนเกจเมนต์ให้เห็นกันเป็นประจำทุกปี
อย่างเช่นในวันนี้ 1 เมษายน 2568 หลาย ๆ แบรนด์ก็เริ่มออกมาโพสต์คอนเทนต์ April Fools' Day ให้เห็นตั้งแต่เช้า
- KFC โพสต์ว่า ถ้าลูกค้าจ่ายเงินเพิ่ม 9 บาท จะมีผงวิงซ์แซ่บให้ลูกค้าเติมได้ไม่อั้นที่สาขานอกโลก
- Dr.Pong ประกาศเปลี่ยนชื่อแบรนด์จาก “ดร.พงศ์” เป็น “ดร.ป๋อง”
- Swensen’s เปิดตัว Swenเส้น ทำไอศกรีมก๋วยเตี๋ยว ครั้งแรกของโลก
- Potato Corner ทำแคมเปญร่วมกับ Dairy Queen ว่าจะออกเมนูใหม่ “บลิซซาร์ดทอด”
- กาแฟพันธุ์ไทย เปิดตัวเมนู กาแฟใส - Crystal Clear Coffee
- Mo-Mo-Paradise เปิดตัวสเปรย์ปรับอากาศ สุกียากี้น้ำดำ
แม้จะไม่รู้ว่ากระแสคอนเทนต์โกหกในวัน April Fools' Day ของแต่ละแบรนด์ดีแค่ไหน
แต่ที่แน่ ๆ คือ ถ้าเวิร์กมาก แบรนด์ก็จะได้เอนเกจเมนต์มหาศาลไปแบบฟรี ๆ จากลูกค้าที่เข้ามาคอมเมนต์ และแชร์ต่อกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งถือว่าเป็นท่าโปรโมตแบรนด์ที่ใช้ได้ผลดีแทบทุกครั้ง
อย่างไรก็ดี กลยุทธ์แบบนี้ก็ไม่ได้มีแต่ข้อดีเสมอไป
รู้ไหมว่าการทำคอนเทนต์โกหกในวัน April Fools' Day ในบางเคสสามารถทำให้คนเข้าใจผิดจริง ๆ ได้ ซึ่งอาจทำให้แบรนด์ “เสียมากกว่าได้” ในภาพรวม เช่น
1. สร้างความผิดหวังและไม่พอใจให้กับลูกค้า
เพราะลูกค้าหลาย ๆ คนอาจจะรอลองสินค้าใหม่ ๆ ที่แบรนด์ประกาศว่า จะเปิดตัว แต่เมื่อแบรนด์ประกาศว่าเป็น April Fools' Day ก็อาจจะทำให้หลาย ๆ คนรู้สึกถูกหลอกได้
เพราะลูกค้าหลาย ๆ คนอาจจะรอลองสินค้าใหม่ ๆ ที่แบรนด์ประกาศว่า จะเปิดตัว แต่เมื่อแบรนด์ประกาศว่าเป็น April Fools' Day ก็อาจจะทำให้หลาย ๆ คนรู้สึกถูกหลอกได้
2. ทำลายความน่าเชื่อถือของแบรนด์ (Brand Trust)
ในอนาคตถ้าหลายแบรนด์ประกาศอะไรใหม่ ๆ ลูกค้าก็อาจจะลังเลได้ว่า เป็นเรื่องจริงหรือแค่ล้อเล่น
ในอนาคตถ้าหลายแบรนด์ประกาศอะไรใหม่ ๆ ลูกค้าก็อาจจะลังเลได้ว่า เป็นเรื่องจริงหรือแค่ล้อเล่น
3. กระทบต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ (Brand Image)
เมื่อลูกค้ารู้สึกผิดหวังกับแบรนด์ ก็อาจทำให้ลูกค้าหลาย ๆ คนเลิกติดตาม แสดงความคิดเห็นในเชิงลบต่อแบรนด์ รวมไปถึงเลิกซื้อสินค้าและเลิกใช้บริการจากแบรนด์ก็ได้
เมื่อลูกค้ารู้สึกผิดหวังกับแบรนด์ ก็อาจทำให้ลูกค้าหลาย ๆ คนเลิกติดตาม แสดงความคิดเห็นในเชิงลบต่อแบรนด์ รวมไปถึงเลิกซื้อสินค้าและเลิกใช้บริการจากแบรนด์ก็ได้
จึงเรียกได้ว่า กลยุทธ์การตลาดในวัน April Fools' Day ก็เปรียบเสมือนเป็น “ดาบสองคม” ที่ถ้าไม่สร้างเอนเกจเมนต์และความสนุกสนานให้กับแบรนด์ ก็อาจทำลายชื่อเสียงของแบรนด์ได้เช่นกัน..
ซึ่งที่ผ่านมาก็มีแบรนด์ระดับโลกที่เล่น April Fools' Day แต่กระแสตีกลับให้เห็นเป็นบทเรียน เช่น
- Gmail เคยเพิ่มปุ่ม “Mic Drop” ให้ผู้ใช้งานส่งอีเมลพร้อมแนบภาพตัวละคร Minions กำลังเคลื่อนไหวเป็น GIF ไว้ท้ายอีเมล ในวัน April Fools' Day ปี 2559
ผลคือมีผู้ใช้งานหลายคนเผลอส่งอีเมลทางการ เช่น อีเมลการค้า หรืออีเมลสำคัญต่าง ๆ พร้อมกับแนบภาพ Minions เคลื่อนไหวไปถึงผู้รับด้วย
ทำให้ผู้ใช้งาน Gmail หลายคนไม่พอใจกับปุ่ม Mic Drop เพราะทำให้เสียภาพลักษณ์ จนท้ายที่สุด Google ต้องออกมาแถลงขอโทษในภายหลัง
- อีลอน มัสก์ เจ้าของ Tesla เคยทวีตว่า “Tesla ล้มละลายแล้ว” ในวัน April Fools' Day ปี 2561
หลังจากที่ อีลอน มัสก์ ทวีตข้อความดังกล่าว มีรายงานว่าหุ้น Tesla ร่วงลงทันทีกว่า 5%
ทำให้นักลงทุนจำนวนมากไม่พอใจ และวิจารณ์ว่าไม่ควรเอาเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ มาล้อเล่น จนอีลอน มัสก์ ต้องออกมาแก้ข่าวในภายหลัง
อ่านถึงตรงนี้ หลายคนน่าจะเห็นภาพแล้วว่า ในมุมการตลาด การเล่นมุกโกหกในวัน April Fools' Day แม้จะเป็นท่าที่ใช้ง่ายและได้ผลดีตลอด
แต่ถ้าเล่นมุกจนเกินงามหรือสร้างความคาดหวังให้ลูกค้ามากเกินไป ก็อาจทำให้เกิดเป็นกระแสลบตีกลับมาหาแบรนด์ได้ง่าย ๆ เช่นกัน..
แต่ถ้าเล่นมุกจนเกินงามหรือสร้างความคาดหวังให้ลูกค้ามากเกินไป ก็อาจทำให้เกิดเป็นกระแสลบตีกลับมาหาแบรนด์ได้ง่าย ๆ เช่นกัน..
#AprilFoolsDay
____________________