
อธิบายคำว่า “Market Share” ทำไมหลายธุรกิจ ขอ 1% ของตลาดใหญ่ ดีกว่าได้ 50% ของตลาดเล็ก
24 มี.ค. 2025
- “ตลาดน้ำเต้าหู้ มีมูลค่า 17,000 ล้านบาท ขอ Market Share แค่ 1% ก็ 170 ล้านบาทแล้ว” คือคำพูดของเจ้าของน้ำเต้าหู้ Tofusan ในงาน The Entrepreneur Forum 2024 ของลงทุนแมน
- “ขอ Market Share 1% จากตลาดใหญ่ ดีกว่าขอ 50% จากตลาดเล็ก” คือคำพูดของผู้บริหาร XO บริษัทขายซอส-เครื่องปรุงไทย ในงาน mai FORUM 2024
รู้ไหมว่า แนวคิดของผู้ประกอบการเหล่านี้เกี่ยวกับเรื่อง “Market Share” หรือ “ส่วนแบ่งการตลาด” ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องเบสิกที่คนทำธุรกิจควรเข้าใจเอาไว้ เพื่อให้รู้ว่าตัวเองอยู่ตรงไหน และกำลังแข่งกับใครในตลาด
แล้วคำว่า Market Share คืออะไร ? ทำไมใคร ๆ ก็อยากได้ ?
MarketThink จะอธิบายเรื่องนี้ให้ฟังแบบเข้าใจง่าย ๆ
แล้วคำว่า Market Share คืออะไร ? ทำไมใคร ๆ ก็อยากได้ ?
MarketThink จะอธิบายเรื่องนี้ให้ฟังแบบเข้าใจง่าย ๆ
“Market Share” หรือที่แปลว่า “ส่วนแบ่งทางการตลาด”
คือตัวเลขที่บอกว่าแบรนด์เรามียอดขายมากแค่ไหน เมื่อเทียบกับผู้เล่นทุกคนในตลาดในรูปแบบของเปอร์เซ็นต์
คือตัวเลขที่บอกว่าแบรนด์เรามียอดขายมากแค่ไหน เมื่อเทียบกับผู้เล่นทุกคนในตลาดในรูปแบบของเปอร์เซ็นต์
โดยมีสูตรคำนวณง่าย ๆ คือ Market Share = (ยอดขายของบริษัท / ยอดขายรวมของตลาด) x 100
ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น
สมมติว่าในซอยบ้านเรา มีร้านขายหมูปิ้งรวมกัน 5 เจ้า
โดยทุก ๆ เจ้าขายได้รวมกันวันละ 10,000 บาท
สมมติว่าในซอยบ้านเรา มีร้านขายหมูปิ้งรวมกัน 5 เจ้า
โดยทุก ๆ เจ้าขายได้รวมกันวันละ 10,000 บาท
ถ้าเราเปิดร้านขายหมูปิ้งในซอยเดียวกัน แล้วขายได้วันละ 2,000 บาท
แปลว่า Market Share ร้านหมูปิ้งของเราในซอยนั้นคือ (2,000 / 10,000) x 100 = 20%
แปลว่า Market Share ร้านหมูปิ้งของเราในซอยนั้นคือ (2,000 / 10,000) x 100 = 20%
โดยปกติแล้ว ยิ่งบริษัทไหนมี Market Share ในสัดส่วนที่เยอะ จะยิ่งสะท้อนให้เห็นว่า บริษัทนั้น ๆ มีฐานลูกค้าเยอะ หรือมีความเป็นผู้นำตลาดนั่นเอง
แต่ถึงอย่างนั้นต้องหมายเหตุไว้ด้วยว่า จริง ๆ แล้ว ในสเกลใหญ่ เราอาจจะไม่สามารถหา Market Share ของตัวเองได้ชัด ๆ และง่ายเหมือนในตัวอย่าง
เช่น ถ้าอยากรู้ว่า “ตลาดกาแฟในประเทศไทย” มีมูลค่าเท่าไร และใครเป็นผู้นำของตลาดในสเกลระดับประเทศ ?
เราจะต้องลงไปเก็บข้อมูลจากผู้ประกอบการร้านกาแฟ ทั้งรายเล็กและรายใหญ่ทั่วประเทศ แล้วค่อยเอามาคำนวณตามสูตร ซึ่งในทางปฏิบัติจะเป็นไปได้ยากมาก ๆ
ทำให้ปกติแล้ว หลายบริษัทมักจะเลือกใช้บริการของบริษัทวิจัยการตลาดเฉพาะทาง เช่น Nielsen และอีกหลาย ๆ บริษัทกันมากกว่า
อย่างไรก็ตาม Market Share ก็ไม่ได้วัดได้จากแค่ยอดขายเพียงอย่างเดียว
บางอุตสาหกรรมอาจวัดจากจำนวนผู้ใช้งาน หรือวัดจากจำนวนสินค้าและบริการที่ขายได้ เช่น Google ครองส่วนแบ่งทางการตลาด 90.2% จากการเป็นเซิร์ชเอนจินที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในโลก
บางอุตสาหกรรมอาจวัดจากจำนวนผู้ใช้งาน หรือวัดจากจำนวนสินค้าและบริการที่ขายได้ เช่น Google ครองส่วนแบ่งทางการตลาด 90.2% จากการเป็นเซิร์ชเอนจินที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในโลก
นอกจากนี้ แนวคิดเรื่อง Market Share ก็ไม่ได้เป็นเครื่องมือเอาไว้จัดอันดับแค่อย่างเดียว แต่ยังสามารถเอาไปประยุกต์ใช้ได้อีกในหลาย ๆ มุมด้วย
ยกตัวอย่างเช่น
- ใช้ Market Share ช่วยตั้งเป้าหมายว่า ธุรกิจของเราควรได้ยอดขายเพิ่มเท่าไร ?
สมมติว่า ตลาดสุกี้ชาบู มีมูลค่ารวมกัน 20,000 ล้านบาท และมีการศึกษาแล้วพบว่าตลาดโตปีละ 10%
คนที่ทำธุรกิจสุกี้ชาบู ถ้าไม่อยากเสียส่วนแบ่งการตลาดให้ผู้เล่นคนอื่น อย่างน้อยที่สุดก็ควรตั้งเป้าหมายในปีนั้น ๆ ให้มียอดขายเพิ่มขึ้น 10% ซึ่งเท่ากับอัตราการเติบโตของตลาดเอาไว้ก่อน
อธิบายให้เห็นภาพชัด ๆ
ถ้าสุกี้แบรนด์ A มียอดขายปีละ 2,000 ล้านบาท จากตลาดมูลค่า 20,000 ล้านบาท แปลว่าสุกี้แบรนด์ A มี Market Share 10%
ถ้าสุกี้แบรนด์ A มียอดขายปีละ 2,000 ล้านบาท จากตลาดมูลค่า 20,000 ล้านบาท แปลว่าสุกี้แบรนด์ A มี Market Share 10%
แต่ในปีถัดมา ถ้าตลาดสุกี้ชาบูโตขึ้น 10% มีมูลค่ารวมกัน 22,000 ล้านบาท
ถ้าสุกี้แบรนด์ A ขายได้ 2,000 ล้านบาทเท่าเดิม แปลว่า Market Share จะลดลงเหลือ 9.1%
ถ้าสุกี้แบรนด์ A ขายได้ 2,000 ล้านบาทเท่าเดิม แปลว่า Market Share จะลดลงเหลือ 9.1%
ดังนั้นถ้าสุกี้แบรนด์ A อยากรักษา Market Share เอาไว้ ก็ควรตั้งเป้าให้มียอดขายอย่างน้อย 2,200 ล้านบาท เพื่อให้สัดส่วนของ Market Share ยังคงเป็น 10% เท่าเดิมนั่นเอง
- ใช้มูลค่าตลาดโดยรวมมาช่วยเลือกตลาดที่แบรนด์จะลงไปเล่น
ปกติแล้วผู้ประกอบการหลาย ๆ คน จะชอบมองหาตลาดที่มีมูลค่ารวมเยอะ ๆ และกำลังเติบโต
เพราะต่อให้ได้ Market Share ในสัดส่วนที่น้อย แต่ก็อาจจะคุ้มกว่าการลงไปเล่นในตลาดขนาดเล็กหรือตลาดที่ไม่โตแล้ว
อธิบายง่าย ๆ
สมมติว่า ตลาดกาแฟ มีมูลค่า 35,000 ล้านบาท และโตขึ้น 8% ทุกปี
ถ้าเทียบกับ ตลาดร้านหนังสือ ที่มีมูลค่า 3,000 ล้านบาท และเป็นตลาดที่ไม่เติบโตแล้ว
สมมติว่า ตลาดกาแฟ มีมูลค่า 35,000 ล้านบาท และโตขึ้น 8% ทุกปี
ถ้าเทียบกับ ตลาดร้านหนังสือ ที่มีมูลค่า 3,000 ล้านบาท และเป็นตลาดที่ไม่เติบโตแล้ว
ในกรณีนี้ ถ้าเราเลือกทำธุรกิจกาแฟ แล้วได้ Market Share แค่ 1% จากตลาดนี้ เราอาจจะมีรายได้ 350 ล้านบาท
และด้วยความที่ตลาดยังโตอยู่ ขอแค่รักษา Market Share ให้ได้สัดส่วนเท่าเดิม รายได้ของเราก็มีโอกาสจะเพิ่มขึ้นตามมูลค่าของตลาด
กลับกัน ถ้าเราเลือกทำธุรกิจร้านหนังสือ แล้วได้ Market Share 10% เราอาจจะมีรายได้ 300 ล้านบาท แต่ก็ยังน้อยกว่า Market Share 1% ของธุรกิจกาแฟอยู่ดี
รวมถึงในกรณีนี้ มูลค่าตลาดร้านหนังสือโดยรวมไม่โตแล้ว อาจหมายความว่า ต่อให้เราได้ Market Share ในสัดส่วนเท่าเดิม รายได้ของเราก็อาจจะลดลงได้ตามมูลค่าของตลาด
ดังนั้น ถ้าอยากได้รายได้เพิ่ม อาจหมายความว่า เราต้องไปแย่ง Market Share มาจากผู้เล่นคนอื่น ซึ่งอาจจะเหนื่อยกว่าการรักษา Market Share ให้ได้เท่าเดิมในตลาดที่กำลังเติบโตเสียอีก
ดังนั้น ถ้าอยากได้รายได้เพิ่ม อาจหมายความว่า เราต้องไปแย่ง Market Share มาจากผู้เล่นคนอื่น ซึ่งอาจจะเหนื่อยกว่าการรักษา Market Share ให้ได้เท่าเดิมในตลาดที่กำลังเติบโตเสียอีก
อย่างไรก็ตาม ก็ต้องหมายเหตุว่า การเข้าไปเล่นในตลาดใหญ่ที่มีการแข่งขันสูง อาจแลกมากับการใช้ทรัพยากรที่มากกว่า ไม่ว่าจะเป็น งบการตลาด ความจำเป็นในการสร้างความแตกต่างของแบรนด์เพื่อดึงดูดลูกค้า
รวมถึงการแข่งขันที่รุนแรงก็อาจทำให้การรักษา Market Share เป็นเรื่องที่ยากกว่าเช่นกัน
เพราะฉะนั้น ถึงแม้ว่าแนวคิดนี้จะใช้ได้ในหลายกรณี แต่ก็ต้องดูด้วยว่าตลาดใหญ่มีต้นทุนและการแข่งขันสูงแค่ไหน และบางธุรกิจอาจทำกำไรได้ดีกว่า แม้จะมี Market Share สูงในตลาดเล็กก็ตาม
สุดท้ายนี้ ตัวอย่างทั้งหมดที่ยกมา เป็นเพียงเคสคร่าว ๆ ของการประยุกต์ใช้แนวคิดเรื่อง Market Share ในมุมต่าง ๆ เท่านั้น
เพราะการจะได้มาซึ่ง Market Share เป้าหมายที่เราต้องการ มันพูดง่าย แต่เวลาทำจริงอาจไม่ง่ายอย่างที่คิด
รวมถึง Market Share ก็ไม่ได้บ่งบอกถึงความสำเร็จของธุรกิจเสมอไป
เพราะอย่าง Nokia ที่เคยครอง Market Share เป็นอันดับต้น ๆ ในตลาดโทรศัพท์มือถือ แต่ไม่สามารถปรับตัวให้ทันกับการมาของตลาดสมาร์ตโฟน
ท้ายที่สุดก็สูญเสียส่วนแบ่งทางการตลาดเกือบทั้งหมดให้กับแบรนด์ใหม่ ๆ อย่าง Apple และ Samsung ไป
#MarketShare
__________________________
__________________________