สรุปวิธีเขียน Storytelling Canvas ไว้สร้างคอนเทนต์โปรโมตสินค้า ให้ลูกค้าอยากซื้อ ด้วย 7 องค์ประกอบ
12 ม.ค. 2025
- Storytelling หรือ ทักษะการเล่าเรื่องราว เป็นทักษะหนึ่งที่สำคัญในการทำการตลาด และการขายสินค้า เพราะสตอรีคือสิ่งที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าหรือบริการ และกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อได้เป็นอย่างดี
ตัวอย่างที่หลาย ๆ คนน่าจะเคยเห็นกันก็เช่น โฆษณาของธุรกิจประกันชีวิต ที่มักจะเล่าเรื่องราวความไม่แน่นอนของชีวิตและเรื่องเศร้าเคล้าน้ำตา ที่ทำให้เราอินไปกับเรื่องราวนั้น ๆ ได้อย่างไม่น่าเชื่อ
และเรื่องราวดังกล่าว ก็อาจทำให้เรารู้สึกอยากทำประกันชีวิต หรือประกันสุขภาพ เก็บไว้ให้อุ่นใจสักฉบับก็ได้
แต่การถ่ายทอดเรื่องราวออกมาให้โดนใจและเป็นที่จดจำได้แบบนี้ ก็เป็นโจทย์ที่ท้าทายมากเช่นกัน
ซึ่งหนึ่งในเครื่องมือ ที่จะมาช่วยไกด์ไลน์ในเรื่องนี้ได้ ก็คือเครื่องมือที่ชื่อว่า “Storytelling Canvas”
แล้ว Storytelling Canvas คืออะไร มีความสำคัญอย่างไรในการทำการตลาดและการสร้างแบรนด์ ?
เราจะไปดูพร้อม ๆ กันในโพสต์นี้..
เราจะไปดูพร้อม ๆ กันในโพสต์นี้..
Storytelling Canvas คือ เครื่องมือที่แจกแจงองค์ประกอบของโครงสร้างเรื่องราวที่ดี ว่าควรมีอะไรบ้าง
ซึ่งเครื่องมือนี้จะช่วยให้เราเห็นภาพรวมของโครงสร้างเรื่องราวทั้งหมด ช่วยจัดระเบียบไอเดียที่แต่ละคนช่วยกันระดมความคิดให้ออกมาเป็นรูปเป็นร่าง
และช่วยให้เล่าสตอรีออกมาได้ถูกต้อง ตรงประเด็น มีลำดับการเล่าเรื่องที่ดี ไม่วกวนไปมา
โดยการเล่าเรื่องราวที่ดีใน Storytelling Canvas จะมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 7 องค์ประกอบสำคัญ ได้แก่
1. Idea - ข้อความหลักเพียงข้อความเดียวที่อยากให้ผู้ชมจดจำได้คืออะไร ?
ไอเดียคือรากฐานสำคัญของเรื่องราว เป็นการสรุปเรื่องราวที่เราจะเล่าทั้งหมดภายในข้อความหรือประโยคเพียงประโยคเดียว ซึ่งจะช่วยดึงดูดให้ใครก็ตามที่ได้เห็น เกิดความสนใจและอยากรู้รายละเอียดเพิ่มเติม
โดยลักษณะของไอเดียที่ดี จะต้องกระชับ น่าสนใจ เข้าใจได้ง่าย เป็นข้อความที่น่าจดจำ สื่อถึงความสำคัญและความเกี่ยวข้องกับเรื่องราวที่เราจะเล่า
ตัวอย่างไอเดีย สำหรับการเล่าเรื่องราว ก็อย่างเช่น
- รวม 3 ไอเดีย เก็บเงินเตรียมเกษียณ ที่มนุษย์เงินเดือนต้องรู้
- รวม 3 ไอเดีย เก็บเงินเตรียมเกษียณ ที่มนุษย์เงินเดือนต้องรู้
จะเห็นได้ว่าไอเดียนี้ เป็นประโยคสั้น ๆ แต่บ่งบอกถึงใจความทั้งหมดที่ผู้อ่านจะได้รับ และกระตุ้นให้เกิดความอยากติดตามและอ่านต่อ เพื่อให้ได้รับข้อมูลต่าง ๆ ที่จะเป็นประโยชน์กับตัวผู้อ่านเอง
2. Goals - เป้าหมาย 3 ข้อแรกที่เราต้องการ จากการแบ่งปันเรื่องราวนี้คืออะไร ?
สิ่งสำคัญข้อต่อมาก็คือ เราต้องรู้ว่าเป้าหมายที่เราต้องการจากการแบ่งปันเรื่องราวคืออะไร
โดยเป้าหมายควรมีความเฉพาะเจาะจง สามารถทำได้ เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่รับฟังเรื่องราว วัดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม
และในอีกมุมหนึ่ง ยังเป็นเหมือนการกำหนดกรอบในการเล่าเรื่องราวให้กับตัวเองแบบคร่าว ๆ ได้อีกด้วย
ตัวอย่างของการกำหนดเป้าหมาย 3 ข้อ เช่น
- แชร์วิธีการเก็บเงินง่าย ๆ ให้กับมนุษย์เงินเดือน
- สร้างแรงบันดาลใจให้กับคนที่อยากเก็บเงินเพื่อเตรียมเกษียณ
- ให้ความรู้เกี่ยวกับการบริหารการเงินส่วนบุคคลแบบเบื้องต้น
- แชร์วิธีการเก็บเงินง่าย ๆ ให้กับมนุษย์เงินเดือน
- สร้างแรงบันดาลใจให้กับคนที่อยากเก็บเงินเพื่อเตรียมเกษียณ
- ให้ความรู้เกี่ยวกับการบริหารการเงินส่วนบุคคลแบบเบื้องต้น
3. Audience - จะเล่าเรื่องราวให้ใครฟัง ?
ต่อมาคือ การระบุกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการจะเล่าให้ฟัง
ซึ่งเมื่อระบุได้แล้วก็ควรสำรวจต่อไปด้วยว่า กลุ่มเป้าหมายของเรามีค่านิยมอย่างไร ให้ความสำคัญกับอะไร มีหัวข้อใดที่เป็นเรื่องละเอียดอ่อนหรือกำลังกังวลอยู่ รวมทั้งมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่เรากำลังจะเล่าอยู่ในระดับใด
เพื่อที่ว่าเราจะได้เลือกใช้ระดับภาษา คำศัพท์ที่จะใช้สื่อสาร รายละเอียด และความยากง่ายของเนื้อหาได้อย่างเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
ตัวอย่างของการระบุกลุ่มเป้าหมาย เช่น
- กลุ่มเป้าหมายคือ มนุษย์เงินเดือนที่ต้องการเก็บเงิน เพื่อเตรียมตัวเกษียณ ซึ่งมักจะมีพฤติกรรมการใช้เงินแบบเดือนชนเดือน และไม่มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการเงินส่วนบุคคลมากเพียงพอ
4. Proof - มีหลักฐานอะไร ที่มาช่วยสนับสนุนเรื่องที่เราจะเล่า แล้วทำให้มีความน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้นบ้าง ?
ซึ่งสิ่งที่จะมาช่วยสร้างความน่าเชื่อถือ และความไว้วางใจให้กับผู้ฟังได้ก็คือ หลักฐานที่จะมาช่วยสนับสนุนเรื่องราวของเรา เช่น ข้อเท็จจริง ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ สถิติ กรณีศึกษา หรือความเห็นของผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ
และถ้าหลักฐานที่นำมามีข้อมูลเป็นจำนวนมาก การสรุปเป็นแผนภาพ แผนภูมิ หรือกราฟ ก็จะช่วยให้ข้อมูลดูน่าสนใจมากขึ้น และทำให้ผู้ชมเข้าใจข้อมูลได้ง่ายมากขึ้นอีกด้วย
ยกตัวอย่างเช่น
- นำข้อมูลจากสมาคมนักวางแผนการเงินไทย และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่บอกว่า “คนไทยกว่า 30% ไม่มีเงินเก็บเพื่อการเกษียณ และอีก 60% ที่มีเงินเก็บไม่ถึง 200,000 บาท”
- นำข้อมูลจากสมาคมนักวางแผนการเงินไทย และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่บอกว่า “คนไทยกว่า 30% ไม่มีเงินเก็บเพื่อการเกษียณ และอีก 60% ที่มีเงินเก็บไม่ถึง 200,000 บาท”
ซึ่งข้อมูลนี้ เมื่อนำมาเล่าจะเป็นการสนับสนุน ทำให้ผู้ฟังเห็นถึงปัญหาเรื่องการเงิน และเงินเก็บของคนไทยมากขึ้น
5. Emotional Connection - จะเล่าเรื่องราวอย่างไรให้เป็นที่จดจำ ?
ถ้าเรื่องราวที่เล่าเป็นเรื่องเรียบ ๆ ไม่มีความหวือหวา ผู้ฟังก็คงไม่รู้สึกตื่นเต้นและอยากฟังเท่าไรนัก
แต่เรื่องราวที่ไปกระตุ้นอารมณ์ร่วม เป็นเรื่องราวใกล้ตัวผู้ฟัง หรืออาจจะเป็นเรื่องราวที่ไกลตัว แต่ผู้เล่าสามารถเล่าเรื่องให้มีความเกี่ยวข้องหรือเชื่อมโยงกับผู้ฟังได้
เรื่องราวเหล่านั้นก็จะได้รับความสนใจ เป็นที่จดจำ และถูกแชร์ต่อไปให้คนอื่น ๆ ได้รับรู้ไปด้วย
โดยตัวอย่างของการกำหนดวิธีการเล่าเรื่องราว ก็มีทั้ง เล่าเรื่องราวส่วนตัว, เล่าแบบเปรียบเทียบ, เล่าปัญหาและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับตัวผู้ฟังได้
6. Destination - ข้อความเพียงข้อความเดียวที่ต้องการให้ผู้ฟังทำ หลังจากได้ฟังเรื่องเล่าของเราคืออะไร ?
องค์ประกอบข้อนี้เป็นเหมือนปลายทางสุดท้ายของการเล่าเรื่องราว
ซึ่งก็คือ Call to Action หรือข้อความที่เราสื่อออกไปว่าต้องการให้ผู้ฟังทำอะไรต่อไป หลังจากได้ฟังเรื่องราวของเราจบไปแล้ว
ซึ่งก็คือ Call to Action หรือข้อความที่เราสื่อออกไปว่าต้องการให้ผู้ฟังทำอะไรต่อไป หลังจากได้ฟังเรื่องราวของเราจบไปแล้ว
ซึ่งข้อความนี้จะต้องกระชับ ชัดเจน เข้าใจง่าย เพื่อกระตุ้นให้ผู้ฟังทำในสิ่งที่เราต้องการ
ตัวอย่างเช่น
- “แค่เริ่มต้นลงมือทำวันนี้ เราก็รวยกว่าเมื่อวาน และคนทั้งประเทศกว่า 30% แล้ว”
- “แค่เริ่มต้นลงมือทำวันนี้ เราก็รวยกว่าเมื่อวาน และคนทั้งประเทศกว่า 30% แล้ว”
7. Support Stories - มีตัวอย่างหรือกรณีศึกษาอะไรบ้าง ที่มาช่วยเติมเต็มเรื่องราวให้สมบูรณ์มากขึ้น ?
องค์ประกอบข้อสุดท้ายก็คือ เรื่องเล่าที่มาช่วยสนับสนุนประเด็นหลัก ได้แก่ ความท้าทาย (Challenges) และวิธีการแก้ไข (Solutions)
ซึ่งทั้งประเด็นเรื่องความท้าทายและวิธีการแก้ไข จะมาช่วยเสริมประเด็นหลัก ทำให้เรื่องเล่ามีมิติมากยิ่งขึ้น ช่วยสร้างความเชื่อมโยงกับผู้ฟัง และกระตุ้นให้ผู้ฟังต้องรีบทำตาม Call to Action ในข้อที่ 6 มากขึ้น
ตัวอย่างเช่น
- “บางคนอาจจะไม่รู้ว่าต้องเริ่มเก็บเงินจากตรงไหน เพราะไม่รู้ว่าตัวเองมีรายได้และค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง วิธีแก้ง่าย ๆ ก็คือ จดบันทึกรายรับ-รายจ่ายทุกกิจกรรมให้เป็นนิสัย
เมื่อเรารู้ว่าเรามีรายรับทางไหนบ้าง และมีค่าใช้จ่ายอะไรที่ลดได้บ้าง แค่นี้ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการเก็บเงินแล้ว..”
ซึ่ง Support Stories ข้างต้นนี้ ได้บอกวิธีการแก้ไขปัญหาทางด้านการเงิน ด้วยการจดบันทึกรายรับ-รายจ่าย แสดงให้เห็นว่าการแก้ไขปัญหาทางด้านการเงินไม่ใช่เรื่องยากที่จะทำ
ทำให้ Call to Action ที่เราต้องการให้ผู้ฟังเริ่มวางแผนด้านการเงิน เป็นสิ่งที่น่าลงมือทำมากยิ่งขึ้น และไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด
และทั้งหมดนี้ก็คือ เฟรมเวิร์กสำหรับการเล่าเรื่องราวที่ชื่อว่า Storytelling Canvas..
สรุปอีกครั้ง Storytelling Canvas มีทั้งหมด 7 องค์ประกอบ ได้แก่
- Idea - ข้อความเพียงข้อความเดียวที่อยากให้ผู้ชมจดจำคืออะไร ?
- Goals - เป้าหมาย 3 ข้อแรกที่เราต้องการจากการแบ่งปันเรื่องราวนี้คืออะไร ?
- Audience - จะเล่าเรื่องราวให้ใครฟัง และพวกเขามีค่านิยมอย่างไรบ้าง ?
- Proof - มีหลักฐานอะไร ที่มาช่วยสนับสนุนเรื่องที่เราจะเล่า แล้วทำให้มีความน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้นบ้าง ?
- Emotional Connection - จะเล่าเรื่องราวอย่างไรให้เป็นที่จดจำ ?
- Destination - ข้อความเพียงข้อความเดียวที่ต้องการให้ผู้ฟังทำ หลังจากได้ฟังเรื่องเล่าของเราคืออะไร ?
- Support Stories - มีตัวอย่างหรือกรณีศึกษาอะไรบ้าง ที่มาช่วยเติมเต็มเรื่องราวให้สมบูรณ์มากขึ้น ?
- Goals - เป้าหมาย 3 ข้อแรกที่เราต้องการจากการแบ่งปันเรื่องราวนี้คืออะไร ?
- Audience - จะเล่าเรื่องราวให้ใครฟัง และพวกเขามีค่านิยมอย่างไรบ้าง ?
- Proof - มีหลักฐานอะไร ที่มาช่วยสนับสนุนเรื่องที่เราจะเล่า แล้วทำให้มีความน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้นบ้าง ?
- Emotional Connection - จะเล่าเรื่องราวอย่างไรให้เป็นที่จดจำ ?
- Destination - ข้อความเพียงข้อความเดียวที่ต้องการให้ผู้ฟังทำ หลังจากได้ฟังเรื่องเล่าของเราคืออะไร ?
- Support Stories - มีตัวอย่างหรือกรณีศึกษาอะไรบ้าง ที่มาช่วยเติมเต็มเรื่องราวให้สมบูรณ์มากขึ้น ?
#StorytellingCanvas
#เครื่องมือการตลาด
#เล่าเรื่องราว
________________
#เครื่องมือการตลาด
#เล่าเรื่องราว
________________