สรุปวิธีเขียน Marketing Brief บรีฟการตลาดที่ดี เข้าใจง่าย ด้วย 8 องค์ประกอบสำคัญ
1 ก.ย. 2024
Marketing Brief คือเอกสารสรุปสั้น ๆ และให้ข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับแผนการตลาดและการทำแคมเปญต่าง ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้น
โดยปกติแล้ว หนึ่งแคมเปญการตลาด อาจมีทีมงานที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย
ไม่ว่าจะเป็นทีมภายในอย่าง ฝ่ายการตลาด, ทีมขาย หรือทีมภายนอกที่เข้ามาช่วยรันแคมเปญอย่าง เอเจนซีโฆษณา และอินฟลูเอนเซอร์
ไม่ว่าจะเป็นทีมภายในอย่าง ฝ่ายการตลาด, ทีมขาย หรือทีมภายนอกที่เข้ามาช่วยรันแคมเปญอย่าง เอเจนซีโฆษณา และอินฟลูเอนเซอร์
ดังนั้นแล้ว หน้าที่หลัก ๆ ของ Marketing Brief คือเป็นไฟล์ที่จะทำให้ทุกคนเข้าใจถึงที่มาที่ไป วัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย ระยะเวลาในการทำแคมเปญ
รวมไปถึงยังอาจมีโจทย์ที่ตั้งไว้ เพื่อให้ทีมต่าง ๆ ทำงานตามโจทย์ที่ได้มอบหมายไว้
อย่างไรก็ตาม ก่อนที่ทีมต่าง ๆ จะสามารถสร้างสรรค์ผลงานได้ออกมาดีและตรงตามโจทย์ที่ได้รับ ก็ต้องเริ่มจากการได้รับ “บรีฟที่ดี” เป็นอย่างแรก
แล้วการเขียนบรีฟที่ดี ต้องเขียนอย่างไร ? รวมถึงต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้าง ?
1. ข้อมูลเกี่ยวกับแบรนด์ และแคมเปญ (Project History)
ในส่วนนี้ จะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับแบรนด์ที่จัดแคมเปญ เช่น ประวัติที่มาที่ไปของการก่อตั้งแบรนด์, จุดขายของแบรนด์ที่แตกต่างจากแบรนด์อื่น ๆ (Unique Selling Point), ตำแหน่งทางการตลาดของแบรนด์ (Brand Positioning)
ข้อมูลในส่วนนี้ จะเป็นข้อมูลสำคัญที่ทำให้ทีมงานที่เกี่ยวข้องเข้าใจแบรนด์มากขึ้น
ซึ่งเมื่อเข้าใจแบรนด์ ก็จะนำไปสู่การเข้าใจวิธีการสื่อสารให้เหมาะกับแบรนด์ด้วย เพราะแบรนด์แต่ละแบรนด์ ก็เหมาะกับวิธีการสื่อสารที่แตกต่างกัน
ยกตัวอย่างเช่น แบรนด์หรูไม่ควรสื่อสารแบรนด์ด้วยวิธีที่ขัดต่อค่านิยมของแบรนด์ อย่างการเน้นไปที่ราคาถูก หรือสื่อสารด้วยอารมณ์ขัน และขี้เล่นมากจนเกินไป
2. ข้อมูลเบื้องหลัง ที่มาที่ไปของแคมเปญ (Background)
ในส่วนนี้คือ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับที่มาที่ไปของแคมเปญที่กำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งที่มาที่ไปอาจเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ในหลาย ๆ ส่วน ได้แก่
- สถานการณ์ตลาด เช่น แนวโน้มการแข่งขันที่สูงขึ้น สภาพเศรษฐกิจ
- พฤติกรรมผู้บริโภค เช่น ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายที่พฤติกรรมการซื้อเปลี่ยนแปลงไป
- โอกาสใหม่ ๆ ในตลาด เช่น เกิดเทรนด์ใหม่ที่กำลังมาแรง
- พฤติกรรมผู้บริโภค เช่น ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายที่พฤติกรรมการซื้อเปลี่ยนแปลงไป
- โอกาสใหม่ ๆ ในตลาด เช่น เกิดเทรนด์ใหม่ที่กำลังมาแรง
ยกตัวอย่างการเขียนข้อมูลเบื้องหลังของแคมเปญ เช่น
แบรนด์ A เป็นแบรนด์กาแฟ จากการทำการวิจัยตลาดพบว่า พฤติกรรมของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเปลี่ยนแปลงไป โดยหันมาชงกาแฟดื่มเองที่บ้านมากขึ้น ประกอบกับสถานการณ์เมล็ดกาแฟที่ปลูกในไทยเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น
จึงเป็นที่มาของการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่อย่าง กาแฟซอง ที่ทำให้เมล็ดกาแฟของไทย ชงดื่มได้ง่าย ๆ ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายที่เปลี่ยนแปลงไป
3. กลุ่มเป้าหมาย (Target Audience)
ข้อมูลกลุ่มเป้าหมายคือหนึ่งในข้อมูลที่สำคัญที่สุด เพราะเพียงแค่กลุ่มเป้าหมายต่างกัน วิธีการสื่อสารก็ย่อมแตกต่างกัน
ข้อมูลในส่วนนี้คือ การระบุว่า กลุ่มเป้าหมายที่แคมเปญการตลาดต้องการเข้าถึงและสื่อสารด้วยคือใคร จะช่วยให้ทีมที่ทำงานสามารถเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย นำไปสู่การหาวิธีการสื่อสารที่ตรงความต้องการ ความสนใจ และพฤติกรรมของกลุ่มลูกค้าได้
ซึ่งตามทฤษฎีการตลาดแล้ว การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
- การกำหนดตามประชากรศาสตร์ ได้แก่ อายุ, รายได้, เพศ, การศึกษา, อาชีพ, ที่อยู่
- การกำหนดตามจิตวิทยา ได้แก่ ไลฟ์สไตล์, ค่านิยม, พฤติกรรมการซื้อ, ความสนใจ และงานอดิเรก
- การกำหนดตามจิตวิทยา ได้แก่ ไลฟ์สไตล์, ค่านิยม, พฤติกรรมการซื้อ, ความสนใจ และงานอดิเรก
นอกจากนี้ หากจะระบุกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน ยังสามารถระบุเป็น กลุ่มเป้าหมายหลัก และกลุ่มเป้าหมายรองได้อีกด้วย
4. วัตถุประสงค์ (Objective)
ในส่วนนี้คือ การระบุเป้าหมายทางการตลาด ว่าวัตถุประสงค์ของแคมเปญที่กำลังจะเกิดขึ้น และโจทย์ที่มอบหมายให้แต่ละทีมคืออะไร
ซึ่งตามทฤษฎีการสื่อสาร วัตถุประสงค์ของการสื่อสารมีกันหลายประเภท เช่น การสร้างการรับรู้ (Brand Awareness), การให้ความรู้, การให้ความบันเทิง, การสร้างแรงจูงใจ หรือการเชิญชวนให้ผู้รับสารทำ
อย่างกรณีของแบรนด์ A ที่กำลังจะจัดแคมเปญเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่
วัตถุประสงค์หลักของแคมเปญ จึงเป็นการสร้างการรับรู้ให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายรู้จักกับผลิตภัณฑ์ใหม่ รวมไปถึงการให้ความรู้เกี่ยวกับเมล็ดกาแฟของไทย
วัตถุประสงค์หลักของแคมเปญ จึงเป็นการสร้างการรับรู้ให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายรู้จักกับผลิตภัณฑ์ใหม่ รวมไปถึงการให้ความรู้เกี่ยวกับเมล็ดกาแฟของไทย
ถึงแม้ว่า วัตถุประสงค์ตามทฤษฎีการสื่อสารจะมีหลากหลาย แต่การเขียนจริง ๆ ไม่ควรมีหลายข้อมากจนเกินไป เพราะอาจทำให้บรีฟขาดความชัดเจนว่าต้องการอะไรมากที่สุด
5. เป้าหมายที่ต้องการให้เกิด (Call to Action)
ในส่วนนี้นับว่าเป็นอีกส่วนสำคัญของการเขียนบรีฟ คือ การกำหนดแนวทางว่า อยากให้ผู้รับสารหรือกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ทำอะไรหลังจากที่ได้รับสารหรือข้อมูลต่าง ๆ ของแคมเปญ
ซึ่ง Call to Action ที่จะเกิดขึ้นได้ เช่น ลูกค้าสมัครสมาชิกหลังเห็นแคมเปญ, ลูกค้าสั่งซื้อสินค้าหลังเห็นแคมเปญ, ลูกค้าลงทะเบียนเพื่อรับข้อเสนอพิเศษและข่าวสารหลังแคมเปญ
อย่างกรณีของแบรนด์ A
Call to Action ที่ต้องการให้ลูกค้าทำ หลังจากรับรู้ว่ามีสินค้าใหม่ที่เพิ่งเปิดตัว คือ ให้ลูกค้าชื่นชอบในสินค้าใหม่ และเกิดการทดลองสินค้า
Call to Action ที่ต้องการให้ลูกค้าทำ หลังจากรับรู้ว่ามีสินค้าใหม่ที่เพิ่งเปิดตัว คือ ให้ลูกค้าชื่นชอบในสินค้าใหม่ และเกิดการทดลองสินค้า
เพราะ Call to Action ที่แตกต่างกัน โดยธรรมชาติแล้ว ไม่สามารถใช้วิธีการนำเสนอที่เหมือนกันได้
6. กฎระเบียบที่ต้องทำตาม (Mandatories)
ในส่วนนี้คือ กฎ ระเบียบ หรือสิ่งที่ต้องยึดถือในการสื่อสารแบรนด์ ซึ่งทางเจ้าของแบรนด์ควรแจ้งให้ชัดเจนว่ามีอะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นกฎที่เกี่ยวข้องกับตัวแบรนด์ หรือตัวแคมเปญ เช่น
- การเขียนชื่อแบรนด์ ต้องเขียนด้วยภาษาอังกฤษและใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด
- การขึ้นโลโกในงานอิเวนต์ โลโกต้องอยู่ตรงกลางเวทีเท่านั้น
- ไม่พูดชื่อหรือไม่แสดงโลโก ของแบรนด์คู่แข่ง
- การขึ้นโลโกในงานอิเวนต์ โลโกต้องอยู่ตรงกลางเวทีเท่านั้น
- ไม่พูดชื่อหรือไม่แสดงโลโก ของแบรนด์คู่แข่ง
7. ระยะเวลา (Duration)
ในส่วนนี้คือ การกำหนดกรอบระยะเวลาในการดำเนินแคมเปญตั้งแต่เริ่มต้นไปจนถึงวันสิ้นสุดแคมเปญ
ซึ่งการกำหนดระยะเวลา ควรกำหนดให้ชัดเจนตามแต่ละขั้นตอน เพื่อให้ทีมต่าง ๆ วางแผนการทำงาน และจัดสรรทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
8. งบประมาณ (Budget)
ข้อมูลในส่วนสุดท้ายคือ งบประมาณ ซึ่งการกำหนดงบประมาณในการวางแผนการสื่อสารแบรนด์ อาจจะมีทั้งงบประมาณในการผลิตสื่อ และงบประมาณในการซื้อสื่อ
ซึ่งการกำหนดงบประมาณที่ชัดเจน จะทำให้ทีมต่าง ๆ วางแผนการเลือกใช้กลยุทธ์ได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม รวมถึงยังช่วยให้ทีมควบคุมค่าใช้จ่าย ไม่ให้เกินกว่าที่บริษัทรับได้
ทั้งหมดนี้คือ 8 องค์ประกอบสำคัญ ที่ควรมีอยู่ใน Marketing Brief ซึ่งจะช่วยให้บรีฟที่ได้ ออกมาเป็น “บรีฟที่ดี”
อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจของ BetterBriefs บริษัทด้านการวิจัยและที่ปรึกษาด้านการบรีฟ สัญชาติอังกฤษ พบว่า
แม้บรีฟจะมีองค์ประกอบครบถ้วน แต่ปัญหาส่วนใหญ่ที่วงการครีเอทิฟเอเจนซีมักพบเจอ คือ การขาดความชัดเจนในหลาย ๆ ด้าน
ไม่ว่าจะเป็น การระบุวัตถุประสงค์, ผลลัพธ์ที่ต้องการ, กลยุทธ์ในการสื่อสาร หรือปัญหาที่เป็นมาของแคมเปญ
เมื่อบรีฟที่ได้มาไม่ชัดเจน นอกจากจะทำให้ผลงานไม่ตอบโจทย์ที่ตั้งไว้ ยังอาจเสียเวลา และเสียค่าใช้จ่ายในการแก้ไขงานเพิ่มเติมอีกด้วย
ดังนั้นแล้ว สิ่งสำคัญไม่แพ้กับ 8 องค์ประกอบสำคัญคือ การเขียนบรีฟที่สั้น กระชับ และชัดเจนนั่นเอง..