จิตวิทยา 9 ข้อ ช่วยเรื่องการ “ตั้งราคา” โน้มน้าวให้ลูกค้ายอม จ่ายเงินซื้อ
16 ธ.ค. 2024
เคยสังเกตไหมว่าสินค้าบางอย่างต่อให้ขึ้นราคาแค่ไหน หลายคนก็ยังยินดีที่จะจ่าย อย่างเช่น สินค้าแบรนด์เนมที่ราคาแพงและขึ้นราคาได้แทบทุกปี แต่คนก็ยังแห่ซื้อ
กลับกันสินค้าบางชนิด แค่ขึ้นราคานิดหน่อย หลายคนก็คิดว่าแพง และหันไปซื้ออย่างอื่นแทน
สิ่งนี้เรียกว่า “ความอ่อนไหวต่อราคา”
ถ้าหากว่าขึ้นราคาสินค้านิดเดียว แต่คนซื้อสินค้าน้อยลงเยอะมาก แปลว่า สินค้ามี “ความอ่อนไหวต่อราคาสูง” คือสินค้าจะขึ้นราคาได้ยาก
กลับกันถ้าขึ้นราคาสินค้า แล้วคนยังซื้อสินค้าเท่าเดิม หรือซื้อน้อยลงนิดหน่อย
แปลว่า สินค้ามี “ความอ่อนไหวต่อราคาต่ำ” คือสินค้าจะขึ้นราคาได้ง่าย
ถ้าหากว่าขึ้นราคาสินค้านิดเดียว แต่คนซื้อสินค้าน้อยลงเยอะมาก แปลว่า สินค้ามี “ความอ่อนไหวต่อราคาสูง” คือสินค้าจะขึ้นราคาได้ยาก
กลับกันถ้าขึ้นราคาสินค้า แล้วคนยังซื้อสินค้าเท่าเดิม หรือซื้อน้อยลงนิดหน่อย
แปลว่า สินค้ามี “ความอ่อนไหวต่อราคาต่ำ” คือสินค้าจะขึ้นราคาได้ง่าย
แล้วในมุมการตลาดมีเรื่องอะไรบ้างที่ส่งผลต่อความอ่อนไหวต่อราคา ?
MarketThink มีสรุป กฎความอ่อนไหวต่อราคา 9 ข้อ ที่เขียนโดย คุณจอห์น โฮแกน
และคุณโทมัส เนเจิล ในหนังสือเรื่อง “The Strategy and Tactics of Pricing”
และคุณโทมัส เนเจิล ในหนังสือเรื่อง “The Strategy and Tactics of Pricing”
1. Switching Costs Effect - คนจะอ่อนไหวกับราคาน้อยลง ถ้าหากว่าต้นทุนในการเปลี่ยนไปใช้สินค้าอื่นสูง
คนเราจะไม่ค่อยอยากย้ายค่ายมือถือ เพราะต้องใช้เอกสารเยอะ แถมมีขั้นตอนวุ่นวาย คิดเป็นต้นทุนในเรื่องของเวลา และความสะดวกสบาย
หลายคนเลยทนใช้ค่ายมือถือเดิม ต่อให้จะมีค่ายมือถือเจ้าอื่นมาเสนอโปรโมชันที่ราคาถูกกว่าก็ตาม
2. Reference Price Effect - คนจะอ่อนไหวกับราคามากขึ้น ถ้าเปรียบเทียบราคาสินค้ากับคนอื่นได้ง่าย
สมมติว่าเราไปเจอเสื้อตัวหนึ่งที่ศูนย์การค้า แต่พบว่าเสื้อตัวเดียวกัน ในแอป Shopee หรือ Lazada มีราคาถูกกว่าหรือพอ ๆ กัน
แบบนี้หลายคนจะยอมจ่ายเงินซื้อเสื้อยากขึ้น เพราะรู้ว่าถ้าไปซื้อที่อื่นจะได้ราคาถูกกว่า หรือได้สิทธิพิเศษที่ดีกว่า
3. Difficult Comparison Effect - คนจะอ่อนไหวกับราคาน้อยลง ถ้าเปรียบเทียบสินค้าเรากับคู่แข่งยาก
สมมติว่าแบรนด์ A และแบรนด์ B ขายสินค้าชิ้นเดียวกัน แต่สินค้าของแบรนด์ A ดันกลายเป็นไวรัลบน TikTok
พอมีเรื่องของชื่อเสียงและความเป็นแบรนด์เข้ามาเกี่ยว จะทำให้ลูกค้าเปรียบเทียบ ข้อดี-ข้อเสีย
และคุณสมบัติพื้นฐานของสินค้าได้ยากขึ้น
และคุณสมบัติพื้นฐานของสินค้าได้ยากขึ้น
ทำให้แบบนี้คนอาจจะยอมจ่ายเงินซื้อสินค้าของแบรนด์ A ง่ายกว่า
4. Price Quality Effect - คนจะอ่อนไหวกับราคาน้อยลง ถ้าหากว่าราคาสามารถสะท้อนถึงคุณภาพของสินค้าได้
คนเราชอบมีความเชื่อลึก ๆ ว่า ของแพง = ของดี หลายคนเลยมีแนวโน้มยอมจ่ายง่ายขึ้น ถ้ารับรู้ว่าเงินที่จ่ายไปนั้นแลกมาด้วยคุณภาพที่ดีขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น ไดร์เป่าผม Dyson ที่ขายราคาแพงกว่าไดร์เป่าผมทั่วไปหลายเท่า แต่คนก็ยอมซื้อ เพราะมั่นใจว่าจะได้สินค้าคุณภาพดีกว่า
5. Expenditure Effect - คนจะอ่อนไหวกับราคามากขึ้น ถ้าราคาสินค้าหรือราคาที่ต้องจ่าย สูงเกินรายได้
เรื่องนี้พบได้บ่อยในสินค้าราคาสูงที่ต้องผ่อนชำระ เช่น เวลาจะซื้อรถยนต์สักคัน หลายคนจะมีการคำนวณค่างวดที่ต้องผ่อนต่อเดือน โดยเทียบกับเงินเดือน ว่ามีสัดส่วนเยอะแค่ไหน
ถ้าเยอะเกินไป หลายคนก็อาจจะเลือกไม่ซื้อ หรือเปลี่ยนไปซื้อรุ่นอื่นที่ถูกกว่า
ดังนั้น ก่อนจะตั้งราคาขายก็ควรศึกษากลุ่มเป้าหมายของเราว่า กลุ่มเป้าหมายของเราเป็นใคร และมีรายได้เยอะแค่ไหน
6. End Benefit Effect - คนจะอ่อนไหวกับราคาน้อยลง ถ้าสินค้ามี “ผลประโยชน์ขั้นสุดท้าย”
ยิ่งคนเราต้องการผลประโยชน์ขั้นสุดท้ายของสินค้าสูงแค่ไหน จะยิ่งยินดีจ่ายมากขึ้นเท่านั้น
อธิบายคำว่า “ผลประโยชน์ขั้นสุดท้าย” เช่น กระเป๋าแบรนด์เนม มีฟังก์ชันการใช้งานหลัก ๆ
คือใส่สัมภาระ แต่มีผลประโยชน์ขั้นสุดท้ายคือ “ภาพลักษณ์”
คือใส่สัมภาระ แต่มีผลประโยชน์ขั้นสุดท้ายคือ “ภาพลักษณ์”
คนที่ต้องการภาพลักษณ์จากกระเป๋าแบรนด์เนม เลยจะยอมจ่ายแพงขึ้นกว่ากระเป๋าทั่วไปมาก ๆ
เพื่อซื้อภาพลักษณ์ กลับกันคนที่ไม่ได้ต้องการภาพลักษณ์ของกระเป๋า จะยอมจ่ายได้ยากกว่า
เพื่อซื้อภาพลักษณ์ กลับกันคนที่ไม่ได้ต้องการภาพลักษณ์ของกระเป๋า จะยอมจ่ายได้ยากกว่า
7. Shared Cost Effect - คนจะอ่อนไหวกับราคาน้อยลง ถ้ามีตัวหารเยอะขึ้น หรือจ่ายเงินส่วนตัวน้อยลง
ถ้าลูกค้ารับรู้ว่าราคาที่ต้องจ่ายน้อยลง จะมีแนวโน้มจ่ายเงินง่ายขึ้น กลยุทธ์แบบนี้มักเห็นได้บ่อย
ในธุรกิจประเภท Subscription รายเดือน ที่เปิดโอกาสให้ลูกค้าสามารถหารค่าบริการกันได้หลายคน
ในธุรกิจประเภท Subscription รายเดือน ที่เปิดโอกาสให้ลูกค้าสามารถหารค่าบริการกันได้หลายคน
เช่น ค่าบริการ Netflix ราคา 400 บาทต่อเดือน แต่สามารถหารได้ 4 คน เหลือเฉลี่ยคนละ 100 บาทต่อเดือน แบบนี้ราคาจะดูเข้าถึงง่ายขึ้น
8. Fairness Effect - คนจะอ่อนไหวกับราคามากขึ้น ถ้าสินค้ามีราคาที่ “สมเหตุสมผล” อยู่แล้ว
ถ้าสินค้าที่ขาย มีราคาตลาดที่ค่อนข้างชัดเจนอยู่แล้ว ส่วนใหญ่จะขึ้นราคายาก
เช่น น้ำเปล่า 1 ขวด มีราคาขายตามร้านสะดวกซื้อที่ 10 บาท แต่เอาไปขายในร้านอาหารทั่วไปที่ไม่ใช่ร้านหรู แต่ขายขวดละ 30 บาท
แบบนี้คนจะรู้สึกว่าแพง เพราะน้ำเปล่ามีราคาสมเหตุสมผลคือ 10 บาท
แบบนี้คนจะรู้สึกว่าแพง เพราะน้ำเปล่ามีราคาสมเหตุสมผลคือ 10 บาท
9. Framing Effect - คนจะอ่อนไหวกับราคาน้อยลง ถ้ารับรู้ราคาหรือคุณสมบัติของสินค้าในแง่ดี
คนเรามีแนวโน้มที่จะหลีกเลี่ยงการสูญเสีย หรือที่เรียกว่า Loss Aversion และชื่นชอบในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ที่ตัวเองจะได้รับมากกว่า
ดังนั้น ถ้าสื่อสารด้วยข้อความที่สื่อถึงผลประโยชน์ที่ลูกค้าได้รับ ลูกค้าจะยอมจ่ายเงินได้ง่ายกว่า
ยกตัวอย่างเช่น สินค้า A และสินค้า B ขายที่ราคา 90 บาท เหมือนกัน
- สินค้า A บอกว่าราคา 90 บาท
- สินค้า B บอกว่าราคา 90 บาท เหมือนกัน แต่ลดมาจาก 100 บาท
แบบนี้ต่อให้สินค้ามีคุณสมบัติและราคาเท่ากัน แต่คนจะมีแนวโน้มยอมจ่ายซื้อสิน B มากกว่า เพราะกลัวว่าจะสูญเสีย การได้ส่วนลด 10 บาท..
#กลยุทธ์ตั้งราคา
#ตั้งราคาให้คนซื้อ
#ตั้งราคาให้คนซื้อ
Tag:การตั้งราคา