สรุป ฟอนต์ 4 ประเภท สร้างแบรนด์ให้คนจำ เหมาะกับคาแรกเตอร์
27 พ.ย. 2024
“โลโก” เป็นหนึ่งใน Brand Identity หรืออัตลักษณ์ของแบรนด์
หมายถึง เป็นลักษณะเฉพาะหรือเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ ที่ถูกออกแบบและสร้างขึ้นเพื่อให้แบรนด์มีความโดดเด่น เป็นที่จดจำได้ในสายตาของลูกค้า
หมายถึง เป็นลักษณะเฉพาะหรือเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ ที่ถูกออกแบบและสร้างขึ้นเพื่อให้แบรนด์มีความโดดเด่น เป็นที่จดจำได้ในสายตาของลูกค้า
ซึ่งโลโกที่หลายแบรนด์ดังนิยมใช้กันคือแบบ Wordmarks ที่ใช้ชื่อแบรนด์แบบเต็ม ๆ มาออกแบบผ่านการเลือกใช้ฟอนต์ สี แสง และเงา ให้มีความสวยงามขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น โลโกของ Coca-Cola, Facebook, Google, Disney
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าหลายคนคงเคยเห็นวิธีการออกแบบโลโกกันมาเยอะแล้ว แต่อาจจะยังไม่ค่อยเห็นวิธีการเลือกใช้ฟอนต์ในการออกแบบโลโกกันเท่าไร
บทความนี้ MarketThink เลยจะพาไปเจาะลึกทฤษฎีการออกแบบ “ฟอนต์” หรือที่จริง ๆ แล้วมีชื่อเรียกว่า “Typeface” 4 ประเภท ที่นิยมนำมาใช้ในการออกแบบโลโกกัน
ก่อนอื่น ต้องอธิบายความแตกต่างของคำว่า Typeface และ Font กันก่อน
Typeface หมายถึง “ชื่อตระกูลของตัวอักษร”
ซึ่งแต่ละตระกูลของตัวอักษร ก็มักจะมีการออกแบบ การวางเส้น รูปแบบเส้นหนาและบาง โครงสร้างตัวอักษร และสไตล์ ที่แตกต่างกัน
ซึ่งแต่ละตระกูลของตัวอักษร ก็มักจะมีการออกแบบ การวางเส้น รูปแบบเส้นหนาและบาง โครงสร้างตัวอักษร และสไตล์ ที่แตกต่างกัน
ที่เราคุ้นหูกันดี เช่น Tahoma, Angsana New และ TH Sarabun New
หมายความว่า คำว่าฟอนต์ที่เราเรียกกันในทุกวันนี้ก็คือ Typeface
ส่วนคำว่า Font จริง ๆ แล้วเป็นสับเซตของ Typeface ใช้ในการลงรายละเอียดที่เฉพาะเจาะจง ทั้งรูปแบบ ขนาด และน้ำหนัก เช่น Tahoma ตัวหนา ขนาด 12 Point, TH Sarabun New ตัวเอียง ขนาด 10 Point
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เข้าใจตรงกันได้แบบง่าย ๆ ในบทความนี้จึงขอใช้คำว่า ฟอนต์ แทนคำว่า Typeface
ทีนี้ลองมาดูกันบ้างว่า แล้วฟอนต์ 4 ประเภทที่แบรนด์ดังนิยมใช้ในการออกแบบโลโกมีอะไรบ้าง ?
และแต่ละประเภท เหมาะกับแบรนด์ที่มีบุคลิกแบบไหน ?
และแต่ละประเภท เหมาะกับแบรนด์ที่มีบุคลิกแบบไหน ?
1. Serif
Serif คือฟอนต์ที่มีเอกลักษณ์ด้วย “เชิง” หรือเป็นขีดเล็ก ๆ บาง ๆ ยื่นออกมาบริเวณปลายตัวอักษร
ยกตัวอย่างแบรนด์ที่โลโกใช้ฟอนต์ประเภท Serif
- แบรนด์รถยนต์ เช่น Mercedes-Benz
- แบรนด์หรู เช่น ROLEX, Dior
- ธนาคาร และสื่อด้านการเงิน เช่น J.P. Morgan, Forbes
- แบรนด์รถยนต์ เช่น Mercedes-Benz
- แบรนด์หรู เช่น ROLEX, Dior
- ธนาคาร และสื่อด้านการเงิน เช่น J.P. Morgan, Forbes
ซึ่งฟอนต์ประเภทนี้ เป็นหนึ่งในฟอนต์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก คาดว่ามีขึ้นตั้งแต่สมัยโรมัน เพราะมีหลักฐานสำคัญคือ มีตัวอักษรโรมัน (ที่แตกต่างจากภาษาอังกฤษคือ ไม่มีตัว J และ U) ถูกสลักอยู่บนหินด้วยลักษณะตัวอักษรที่มีเชิงแบบ Serif
ส่วนใหญ่แล้ว Serif มักจะเป็นฟอนต์ที่สามารถใช้ได้ทั้งเป็นหัวข้อ หรือเนื้อหา ในหนังสือ หนังสือพิมพ์ หรือนิตยสาร
เพราะข้อดีของฟอนต์ Serif คือ เมื่ออยู่ติดกันเป็นประโยคยาว ๆ แล้ว ยังสามารถอ่านได้ง่าย
แต่เมื่อถูกนำมาใช้เป็นหัวข้อ ก็ยังดูโดดเด่น และสะดุดตาได้
แต่เมื่อถูกนำมาใช้เป็นหัวข้อ ก็ยังดูโดดเด่น และสะดุดตาได้
นอกจากนี้ Serif ยังเป็นหนึ่งในประเภทฟอนต์ที่ถูกนำมาใช้ในการออกแบบโลโกแบรนด์ด้วย
ซึ่งแบรนด์ที่ใช้ฟอนต์ประเภทนี้ มักจะแสดงถึงการเป็นแบรนด์ที่มีความคลาสสิก, เป็นทางการ และทำให้แบรนด์มีความน่าเชื่อถือ
2. Sans Serif
คำว่า Sans มีความหมายว่า ปราศจาก
เพราะฉะนั้น Sans Serif จึงตรงกันข้ามกับ Serif คือ เป็นฟอนต์ที่ไม่มีเชิงหรือขีดที่ปลายตัวอักษร เช่น ฟอนต์ที่เราคุ้นเคยกันดีอย่าง Tahoma, Arial
เพราะฉะนั้น Sans Serif จึงตรงกันข้ามกับ Serif คือ เป็นฟอนต์ที่ไม่มีเชิงหรือขีดที่ปลายตัวอักษร เช่น ฟอนต์ที่เราคุ้นเคยกันดีอย่าง Tahoma, Arial
ยกตัวอย่างแบรนด์ที่โลโกใช้ฟอนต์ประเภท Sans Serif เช่น
- Facebook
- Spotify
- Chanel
- Google
- Netflix
- Spotify
- Chanel
- Netflix
Sans Serif เป็นฟอนต์ที่เกิดขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 19
โดยปรากฏขึ้นครั้งแรกในฟอนต์ที่ชื่อว่า Two Lines English Egyptian ซึ่งคิดค้นขึ้นโดยคุณ William Caslon
โดยปรากฏขึ้นครั้งแรกในฟอนต์ที่ชื่อว่า Two Lines English Egyptian ซึ่งคิดค้นขึ้นโดยคุณ William Caslon
หลังจากนั้นฟอนต์ประเภท Sans Serif ก็ถูกประดิษฐ์ขึ้นอีกหลายครั้ง และเริ่มเป็นที่นิยมนำมาใช้ในงานโฆษณา และการพาดหัวในสื่อต่าง ๆ ทั้งในทวีปยุโรปและอเมริกา
โดยเฉพาะในช่วงศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา Sans Serif ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในวงการออกแบบกราฟิกและการพิมพ์
ซึ่งสาเหตุที่ฟอนต์ประเภทนี้ได้รับความนิยมอย่างมาก ก็เป็นเพราะว่า Sans Serif ไม่มีเชิงที่ปลายตัวอักษร ทำให้ดูเรียบง่าย และทันสมัย
รวมถึงแม้จะใช้เป็นตัวอักษรบนหนังสือ หรือแม้แต่บนสมาร์ตโฟนที่ตัวอักษรมีขนาดเล็ก ก็ยังคงอ่านง่าย มองเห็นได้ชัดเจน
ทีนี้ในมุมของการสร้างแบรนด์
แบรนด์ที่โลโกใช้ฟอนต์ประเภท Sans Serif จะทำให้แบรนด์ดูทันสมัย, ก้าวหน้า, สะอาด และเรียบง่าย เหมาะกับแบรนด์เทคโนโลยี และแบรนด์แฟชั่น
แบรนด์ที่โลโกใช้ฟอนต์ประเภท Sans Serif จะทำให้แบรนด์ดูทันสมัย, ก้าวหน้า, สะอาด และเรียบง่าย เหมาะกับแบรนด์เทคโนโลยี และแบรนด์แฟชั่น
3. Script หรือที่มีอีกชื่อว่า Handwritten
ฟอนต์ประเภทนี้ มีลักษณะสำคัญคือ บริเวณปลายอักษรแต่ละตัวจะมีการ “เชื่อมต่อ” กันอย่างต่อเนื่อง และมีการเล่นกับน้ำหนักของตัวอักษร ที่มีทั้งหนาและบาง คล้ายกับวิธีการเขียนตัวอักษรภาษาอังกฤษที่เราเรียกกันว่า “ตัวเขียน” หรือ Calligraphy
ยกตัวอย่างแบรนด์ที่โลโกใช้ฟอนต์ประเภท Script เช่น
- Coca-Cola
- Instagram
- Champion
- Cartier
- Coca-Cola
- Champion
- Cartier
จุดเริ่มต้นของฟอนต์แบบ Script ต้องย้อนกลับไปในช่วงศตวรรษที่ 17
ในสมัยนั้น ผู้คนมักจะนิยมเขียนและจดสิ่งต่าง ๆ ด้วยขนนกหรือพู่กัน ซึ่งวิธีการเขียนให้รวดเร็วและลื่นไหลมากที่สุด คือ การเขียนแบบลากให้ทุกตัวอักษรเชื่อมต่อกัน
ฟอนต์ประเภท Script เป็นหนึ่งในฟอนต์ที่สื่อถึงความหรูหรา สง่างาม มีเอกลักษณ์ สร้างสรรค์
ในขณะเดียวกันก็สามารถสื่อถึงความอบอุ่น ความเป็นธรรมชาติได้เช่นกัน ทำให้ฟอนต์ประเภทนี้ มักจะนิยมใช้ในการ์ดเชิญร่วมงานสำคัญ งานแต่งงาน
ส่วนในมุมของการสร้างแบรนด์
แบรนด์ที่เหมาะในการใช้ฟอนต์ Script มาออกแบบเป็นโลโก เช่น แบรนด์แฟชั่น, แบรนด์ที่ต้องการภาพลักษณ์ความหรูหรา, แบรนด์สินค้าแฮนด์เมด, ร้านดอกไม้ และธุรกิจจัดงานแต่งงาน
แบรนด์ที่เหมาะในการใช้ฟอนต์ Script มาออกแบบเป็นโลโก เช่น แบรนด์แฟชั่น, แบรนด์ที่ต้องการภาพลักษณ์ความหรูหรา, แบรนด์สินค้าแฮนด์เมด, ร้านดอกไม้ และธุรกิจจัดงานแต่งงาน
4. Display หรือที่มีอีกชื่อว่า Decorative
Display คือฟอนต์ประดิษฐ์ ที่เกิดจากการสร้างสรรค์เส้นสาย ความหนาบาง ระยะห่างของตัวอักษร ให้มีเอกลักษณ์ และโดดเด่น จึงไม่มีรูปแบบตายตัว
ยกตัวอย่างแบรนด์ที่โลโกใช้ฟอนต์ประเภท Display เช่น
- Tesla
- Grab
- Disney
- LEGO
- Tesla
- Grab
- Disney
- LEGO
ฟอนต์ประเภทนี้ มีจุดเริ่มต้นในช่วงศตวรรษที่ 19 ในสมัยนั้นมีการคิดค้นแท่นพิมพ์พลังไอน้ำ
ทำให้อุตสาหกรรมการพิมพ์เริ่มก้าวหน้ามากขึ้น สามารถผลิตสิ่งพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ได้เป็นจำนวนมาก
เมื่อเป็นแบบนี้ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร เริ่มมีคู่แข่งมากหน้าหลายตามากขึ้น แต่ละเจ้าจึงต้องมีการคิดค้นฟอนต์แปลก ๆ ที่ทำให้หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือแม้แต่ป้ายประกาศต่าง ๆ ของตัวเองโดดเด่นจากคนอื่น ๆ
ดังนั้นในมุมของการสร้างแบรนด์
แบรนด์ที่ออกแบบโลโกโดยใช้ฟอนต์ Display คือ ช่วยทำให้แบรนด์โดดเด่น เป็นจุดสนใจ และมีเอกลักษณ์เฉพาะ
แบรนด์ที่ออกแบบโลโกโดยใช้ฟอนต์ Display คือ ช่วยทำให้แบรนด์โดดเด่น เป็นจุดสนใจ และมีเอกลักษณ์เฉพาะ
ส่วนแบรนด์ที่เหมาะกับฟอนต์ประเภทนี้ คือ แบรนด์แฟชั่น, เอเจนซีโฆษณาที่เน้นความสร้างสรรค์ หรือแบรนด์ที่นำเสนอสินค้าแปลกใหม่
ทั้งหมดนี้คือ Typeface หรือ ฟอนต์ 4 ประเภท ที่แบรนด์ไหน ๆ ก็สามารถนำไปปรับใช้ให้เข้ากับบุคลิกของแบรนด์ตัวเองได้
สรุปสั้น ๆ
- Serif ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือ เป็นทางการ
- Sans Serif ช่วยสร้างภาพลักษณ์แบรนด์ให้ดูทันสมัย ก้าวหน้า
- Script ช่วยสร้างภาพลักษณ์แบรนด์ให้ดูหรูหรา มีเอกลักษณ์
- Display ช่วยสร้างภาพลักษณ์ความมีเอกลักษณ์ สร้างสรรค์
- Serif ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือ เป็นทางการ
- Sans Serif ช่วยสร้างภาพลักษณ์แบรนด์ให้ดูทันสมัย ก้าวหน้า
- Script ช่วยสร้างภาพลักษณ์แบรนด์ให้ดูหรูหรา มีเอกลักษณ์
- Display ช่วยสร้างภาพลักษณ์ความมีเอกลักษณ์ สร้างสรรค์
ปิดท้ายด้วยเรื่องที่น่าสนใจ..
รู้หรือไม่ ? อีกหนึ่ง Typeface ก็คือ “Monospaced” ที่มีเอกลักษณ์คือ เป็นฟอนต์ที่มีความกว้างเท่ากันทุกตัวอักษร
โดยฟอนต์ประเภทนี้ ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเครื่องพิมพ์ดีด ที่ตัวอักษรทุกตัวมีความกว้างเท่ากัน เพื่อให้การพิมพ์ลงบนกระดาษเป็นไปอย่างเรียบง่ายและเป็นระเบียบ
ปัจจุบัน Monospaced เป็นฟอนต์ที่นิยมใช้ในวงการ Programming เช่น เป็นฟอนต์ที่ใช้ในการเขียนโคด เพราะจะทำให้โคดที่ได้อ่านง่ายและสะอาดตา
แต่ฟอนต์ประเภทนี้ ไม่ค่อยเป็นที่นิยมในการนำมาใช้เป็นโลโกแบรนด์เท่าไรนัก อาจเป็นเพราะมีข้อจำกัดด้านการออกแบบ ตัวอักษรต้องกว้างเท่ากันทุกตัว จึงทำให้โลโกที่ออกมาไม่โดดเด่นมากพอนั่นเอง
#ฟอนต์
#โลโก
___________________
#โลโก
___________________
อ้างอิง:
-https://www.creativebloq.com/design/fonts-typography/the-history-of-the-sans-serif
-https://about.easil.com/serif-vs-sans-serif/
-https://www.threerooms.com/blog/typography-series-what-is-a-script-font
-https://en.wikipedia.org/wiki/Script_typeface
-https://en.wikipedia.org/wiki/Display_typeface
-https://www.commarts.com/columns/monospaced-fonts
-https://www.creativebloq.com/design/fonts-typography/the-history-of-the-sans-serif
-https://about.easil.com/serif-vs-sans-serif/
-https://www.threerooms.com/blog/typography-series-what-is-a-script-font
-https://en.wikipedia.org/wiki/Script_typeface
-https://en.wikipedia.org/wiki/Display_typeface
-https://www.commarts.com/columns/monospaced-fonts