เรียนการตลาด จากเคส HOTPOT MAN ร้านหม่าล่าที่ ไม่ต้องใช้งบเยอะ แต่ดึงคนได้มาก
30 ต.ค. 2024
ในช่วงหลัง ๆ ต้องยอมรับว่ากระแสของร้านหม่าล่าหม้อไฟลดลงมาก เห็นได้จากหลาย ๆ ร้านดัง ตอนนี้แทบไม่ต้องรอคิวแล้ว
อย่างไรก็ตาม มีร้านหม่าล่าหม้อไฟชื่อว่า “HOTPOT MAN” ที่คนยังแน่นร้านชนิดที่ว่าต้องต่อคิว เป็นชั่วโมงในหลายสาขา ต่างจากร้านหม่าล่าหม้อไฟแบรนด์อื่น ๆ
บทความนี้ MarketThink เลยอยากชวนทุกคนมาวิเคราะห์กลยุทธ์การตลาดของร้านนี้กัน..
HOTPOT MAN เป็นร้านหม่าล่าหม้อไฟที่ขายด้วยโมเดลแบบบุฟเฟต์ ราคาเริ่มต้นที่ 299 บาท, 399 บาท และ 499 บาท
โดยไฮไลต์ของร้านนี้ คือมีวัตถุดิบสไตล์จีน ๆ เช่น ไส้เป็ด, ลูกชิ้นกุ้งสับ, เนื้อวัว และอีกหลากหลาย
และเบื้องต้นทางร้านจะมีน้ำซุปให้เลือก 8 น้ำซุป (แต่จะไม่มีซุปหม่าล่า)
และเบื้องต้นทางร้านจะมีน้ำซุปให้เลือก 8 น้ำซุป (แต่จะไม่มีซุปหม่าล่า)
ถ้าอยากทานน้ำซุปหม่าล่าต้องซื้อเพิ่มหม้อละ 99-129 บาท
ทีเด็ดของ HOTPOT MAN เท่าที่เห็นจากคอมเมนต์บนโลกออนไลน์ หลายคนจะบอกว่า วัตถุดิบคุณภาพดี คุ้มค่ากับราคา
และอีกเรื่องคือ โดดเด่นเรื่องการบริการมาก ๆ แบบว่า ดูแลดี ฟีลแฟน
เช่น เราแค่นั่งเฉย ๆ พนักงานจะเดินมาเสิร์ฟอาหารให้แทบทุกอย่าง แทบไม่ต้องลุกจากโต๊ะ
หรือถ้าต้องการอะไร พนักงานก็จะรีบเอามาให้ มาช่วยเหลือแบบไม่ให้มีอะไรขาดตกบกพร่อง
เช่น เราแค่นั่งเฉย ๆ พนักงานจะเดินมาเสิร์ฟอาหารให้แทบทุกอย่าง แทบไม่ต้องลุกจากโต๊ะ
หรือถ้าต้องการอะไร พนักงานก็จะรีบเอามาให้ มาช่วยเหลือแบบไม่ให้มีอะไรขาดตกบกพร่อง
ถือว่าแก้ Pain Point ของการทานบุฟเฟต์ที่หลายร้านชอบให้เราลุกไปตักอาหารเองได้พอสมควร
จุดแข็งสำคัญอีกเรื่องของ HOTPOT MAN คือตัวโมเดลของธุรกิจเอง ที่ถูกจริตคนไทย คือเป็นร้านหม่าล่าหม้อไฟที่เป็นบุฟเฟต์
และในตลาดนี้ อาจจะยังไม่มีแบรนด์ไหนเป็น Top of Mind ที่นึกถึงเป็นชื่อแรก ๆ
เพราะถ้าเราดูในตลาดหม่าล่าหม้อไฟบ้านเราจะมีโมเดลการขายอยู่หลัก ๆ 3 ประเภท คือ
- ร้านหม่าล่าหม้อไฟสายพาน แบบให้เราซื้อน้ำซุป, น้ำจิ้ม และเลือกวัตถุดิบที่ไหลมาตามสายพาน ถ้าพูดถึงร้านแนวนี้ หลายคนจะนึกถึง สุกี้จินดา, อี้จาสุกี้หม่าล่า (หลัง ๆ มานี้บางสาขาปรับเป็นบุฟเฟต์)
- ร้านหม่าล่าหม้อไฟแบบ A La Carte ที่ให้เราสั่งอาหารเป็นจาน ๆ ถ้าพูดถึงร้านแนวนี้ หลายคนจะนึกถึง SHU DAXIA, CQK และ Haidilao
- ร้านชาบูทั่วไปที่เพิ่มน้ำซุปหม่าล่าเข้ามาในไลน์ เช่น สุกี้ตี๋น้อย หรือ Lucky Suki
แต่ร้านอย่าง HOTPOT MAN จะตอบโจทย์คนที่อยากทานวัตถุดิบสไตล์จีน ๆ อย่างพวก ไส้เป็ด, น้ำจิ้มงา และอีกหลายอย่างได้
ทำให้คนที่อยากกินหม่าล่าหม้อไฟสไตล์จีนจ๋า ๆ แต่จัดเต็มแบบบุฟเฟต์ จะนึกถึง HOTPOT MAN เป็นตัวเลือกแรก ๆ
ในขณะที่ถ้า HOTPOT MAN วางตัวเองเป็นร้านแนวอื่น อาจจะเจอคู่แข่งเยอะกว่านี้
อีกอย่างที่น่าสนใจของ HOTPOT MAN คือเป็นแบรนด์ที่ดูแล้วไม่ได้ใช้งบการตลาดเยอะ
เพราะ HOTPOT MAN เน้นสร้างการรับรู้ผ่านช่องทางออนไลน์ พวก TikTok, Facebook
ผ่านคลิปไวรัล เน้นสร้างเอนเกจเมนต์ให้คนรู้จักร้านเยอะ ๆ
ผ่านคลิปไวรัล เน้นสร้างเอนเกจเมนต์ให้คนรู้จักร้านเยอะ ๆ
ซึ่งคนทำคลิปก็คือ “ตัวเจ้าของร้านเอง” คือ คุณเจและคุณยุ้ย ผ่าน TikTok ชื่อบัญชีว่า jayandyui มีผู้ติดตาม 846,000 คน มียอดคนกดไลก์คลิปรวมกัน 83 ล้านครั้ง
และบัญชีของร้านชื่อว่า hotpotman26 มีผู้ติดตาม 66,000 คน มียอดคนกดไลก์คลิปรวมกัน 1.4 ล้านครั้ง
สำหรับแนวทางการทำคอนเทนต์คือไม่ได้ขายของเยอะ แต่จะเน้นถ่ายทอดเรื่องราวในชีวิตประจำวันว่าเจ้าของร้าน HOTPOT MAN แต่ละวันต้องเจออะไรบ้าง
ตั้งแต่เจอลูกค้าร้องเรียน, ตั้งร้านผิดทำเลจนต้องย้ายร้าน, ทำคลิปดูแลลูกค้าฟีลแฟน, รีวิวชีวิตคู่ในสไตล์ที่ฟังดูแล้วจริงใจและเข้าถึงง่าย
เกิดเป็นคลิปแมสจำนวนมาก ซึ่งคนก็เห็นร้าน HOTPOT MAN จากคลิปเหล่านี้ และแห่กันมาอุดหนุน
แนวทางแบบนี้ ถ้าเอาตามตำราจะเรียกว่าการทำ “Personal Branding” หรือ “CEO Marketing” แล้วแต่คนจะเรียก
โดยเจ้าของแบรนด์จะเป็นคนทำคอนเทนต์ด้วยตัวเอง เพื่อสร้างการรับรู้ว่าแบรนด์เป็นแบบไหน
ตามบุคลิกและแนวทางการทำคอนเทนต์ของเจ้าของแบรนด์
ตามบุคลิกและแนวทางการทำคอนเทนต์ของเจ้าของแบรนด์
มีข้อดีคือใช้งบน้อย เพราะไม่ต้องเสียเงินจ้างคนดังมาโปรโมต
แต่อาจจะมีข้อควรระวังเหมือนกันก็คือ ถ้าเจ้าของแบรนด์ทำอะไรพลาด ก็อาจส่งผลต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ด้วยเหมือนกัน
แต่อาจจะมีข้อควรระวังเหมือนกันก็คือ ถ้าเจ้าของแบรนด์ทำอะไรพลาด ก็อาจส่งผลต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ด้วยเหมือนกัน
ซึ่งที่ผ่านมาก็มีหลายผลสำรวจที่บอกว่า ในยุคนี้คนชอบเสพคอนเทนต์แบบเรียล ๆ และเชื่อที่ “ตัวบุคคล” มากกว่า “โฆษณาของแบรนด์”
ทำให้แนวทางนี้ได้รับความนิยมมาก ๆ สำหรับการตลาดยุคใหม่
ทำให้แนวทางนี้ได้รับความนิยมมาก ๆ สำหรับการตลาดยุคใหม่
ยกตัวอย่างเคสที่คล้าย ๆ กัน ก็เช่น ซ้อการ์ด-ณัฐชยานันท์ สุขวัฒนาพร เจ้าของแบรนด์ LOVEPOTION ที่ก็ใช้ช่องทาง TikTok ที่มีผู้ติดตามหลัก 10 ล้านคน เหมือนเป็น Free Media ของตัวเอง คือหมายถึงไม่ต้องเน้นเสียเงินจ้างคนอื่นโปรโมตสินค้าให้
อ่านมาถึงตรงนี้ ขอปิดท้ายด้วยเรื่องราวของ HOTPOT MAN ในช่วงเริ่มต้น เผื่อว่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้หลายคนได้
คือคุณเจและคุณยุ้ย เคยเล่าว่า ในช่วงเริ่มธุรกิจเจ้าของแบรนด์ HOTPOT MAN ตัวเองไม่ได้มีเงินทุนเยอะ แถมยังทำการตลาดไม่เป็น
HOTPOT MAN เลยไม่เคยจ้างคนดังมาโปรโมตร้านเลย เน้นให้ลูกค้าที่มาทานบอกต่อกันเอง จนวันหนึ่งร้านก็เริ่มกลายเป็นไวรัลขึ้นมา
ซึ่งคุณเจก็ต่อยอดกระแสนั้นด้วยการทำช่อง TikTok ของตัวเอง ก่อนที่ HOTPOT MAN จะเป็นที่รู้จักจากคลิปไวรัลมากมาย และได้พื้นที่สื่อจนคนรู้จักแบรนด์เยอะขึ้นมาจนถึงตอนนี้
เรื่องนี้นับว่าเป็นกรณีศึกษาที่ดีเลยว่า แบรนด์ใหม่ ๆ ไม่ต้องใช้งบการตลาดเยอะก็สามารถเป็นกระแสได้
ถ้าแบรนด์เข้าใจว่าลูกค้าเป้าหมายของตัวเอง ต้องการอะไร สินค้าแบบไหน บริการแบบไหน
รวมถึงต้องเข้าใจด้วยว่า จะสื่อสาร พูดคุยกับพวกเขาอย่างไร ให้พวกเขาประทับใจ และเลือกมาอุดหนุนสินค้า หรือร้านของเรา..