อธิบาย “Product Life Cycle” ด้วยกระแส ร้านหม่าล่า ล้นเมือง
8 มี.ค. 2024
ย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ ถ้าอยากกินหม่าล่าสายพาน เราคงต้องไปต่อแถวหลายชั่วโมงกว่าจะได้กิน
แต่ตัดภาพมาวันนี้ ร้านหม่าล่าสายพานหลายร้านกลับโล่งมาก แทบไม่มีคนเลย
เราสามารถเดินเข้าไปกินได้แบบสบาย ๆ ไม่ต้องต่อคิวให้เมื่อยขาอีกแล้ว
เราสามารถเดินเข้าไปกินได้แบบสบาย ๆ ไม่ต้องต่อคิวให้เมื่อยขาอีกแล้ว
แถมตอนนี้ถ้าสังเกตดี ๆ จะเห็นได้ว่า ร้านหม่าล่าสายพานทั้งหลาย ยังชอบจัดโปร ลด แลก แจก แถม
ไปจนถึงเปลี่ยนตัวเองไปเป็นบุฟเฟต์ เพื่อชูความคุ้มค่า แข่งกันเรียกลูกค้ากันแทบทุกร้าน
ชนิดที่ว่าถ้าร้านไหนไม่มีโปร.. ก็แทบจะไม่มีคนเข้าเลย
ชนิดที่ว่าถ้าร้านไหนไม่มีโปร.. ก็แทบจะไม่มีคนเข้าเลย
ด้วยปรากฏการณ์แบบนี้.. ถ้าจะบอกว่าร้านหม่าล่าสายพานกำลังอยู่ในช่วงขาลงแล้ว ก็คงจะไม่เกินไปเท่าไร
แล้วทำไมหม่าล่าที่เคยฮิต.. ถึงไม่ค่อยฮิตแล้วในวันนี้ ?
เรื่องนี้มีทฤษฎีการตลาดง่าย ๆ ที่อธิบายได้ และเราน่าจะคุ้นเคยกันดี
นั่นคือเรื่องของ “วงจรผลิตภัณฑ์” หรือ Product Life Cycle
ทฤษฎีนี้บอกว่า สินค้าทุกชิ้นจะมีเส้นทางเป็นของตัวเอง โดยแบ่งได้เป็น 4 ช่วงเวลาใหญ่ ๆ คือ
เปิดตัว > เติบโต > อิ่มตัว > ถดถอย
- ช่วงเปิดตัวผลิตภัณฑ์ (Introduction)
คือช่วงที่สินค้าถูกพัฒนาขึ้นมาใหม่ ๆ และยังไม่ค่อยมีใครรู้จักมาก ทำให้ต้องโปรโมตสินค้า และปรับเปลี่ยนรูปแบบของสินค้าเยอะในช่วงแรก
ซึ่งถ้ายังจำกันได้ กระแสร้านหม่าล่าสายพานก็มาจากความแปลกใหม่ของ “สุกี้จินดา”
ที่เปลี่ยนจากขายสุกี้หม่าล่าแบบบุฟเฟต์ทั่ว ๆ ไป มาเป็นสุกี้ที่มีวัตถุดิบไหลมาตามสายพาน
ในราคาเริ่มต้นแค่ 5 บาท ไปจนถึง 55 บาท
โดยคนกินจะต้องซื้อน้ำซุป, น้ำจิ้ม รวมไปถึงเครื่องดื่มแยกเอาเอง
ในราคาเริ่มต้นแค่ 5 บาท ไปจนถึง 55 บาท
โดยคนกินจะต้องซื้อน้ำซุป, น้ำจิ้ม รวมไปถึงเครื่องดื่มแยกเอาเอง
ถือเป็นความแปลกใหม่ในแบบที่ยังไม่ค่อยมีใครทำในไทยตอนนั้น
- ช่วงเติบโต (Growth)
เป็นช่วงที่สินค้าเริ่มเป็นที่รู้จักแล้ว ทำให้จะมีทั้งลูกค้าขาประจำและขาจร แวะเวียนกันมาอย่างสม่ำเสมอ
โดยถ้าเปรียบกับเทรนด์หม่าล่าสายพาน มันคือช่วงที่คนยอมต่อแถวกันเป็นชั่วโมง ๆ เพื่อให้ได้กินหม่าล่าสายพานกันสักครั้ง
แม้ว่าร้านหม่าล่าสายพานในยุคแรก ๆ จะแทบไม่ทำโปร ลด แลก แจก แถม เลยก็ตาม
โดยตามทฤษฎีได้บอกว่า นี่คือจุดที่สินค้าจะสามารถทำยอดขายและกำไรได้มากที่สุดเสมอ
โดยเจ้าของสุกี้จินดาเคยบอกว่า ใช้เงินลงทุนครั้งแรก 1.5 ล้านบาท ก่อนจะคืนทุนได้ใน 3 เดือน
สะท้อนให้เห็นว่านี่คือธุรกิจกำไรงามจริง ๆ
ทำให้สิ่งที่ตามมาก็คือ “คู่แข่ง” ที่จะพยายามเข้ามาเล่นเกม ด้วยนั่นเอง..
ทำให้สิ่งที่ตามมาก็คือ “คู่แข่ง” ที่จะพยายามเข้ามาเล่นเกม ด้วยนั่นเอง..
- จุดอิ่มตัว (Maturity)
นี่คือจุดที่สินค้าจะเติบโตอย่างเต็มที่แล้ว.. คล้ายกับร้านหม่าล่าที่เปิดเต็มตรอกซอกซอยของเมืองไทยตอนนี้
โดยจุดนี้จะเป็นจุดที่ยอดขายและกำไรจะเติบโตอยู่ แต่จะช้าลงมาก ถ้าเทียบกับช่วงเติบโต จากการที่มีคู่แข่งในตลาดเยอะขึ้น
ทำให้ในช่วงนี้เราจะเริ่มเห็นการ “สร้างความแตกต่าง”
ไม่ว่าจะจัดโปรโมชัน หรือหาทางเพิ่มคุณค่าในสายตาลูกค้า ในธุรกิจร้านหม่าล่าสายพานกันมากขึ้น
ไม่ว่าจะจัดโปรโมชัน หรือหาทางเพิ่มคุณค่าในสายตาลูกค้า ในธุรกิจร้านหม่าล่าสายพานกันมากขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น
- ร้านตั้งใจจุ่ม มีวัตถุดิบที่เป็นพรีเมียม เช่น หอยโฮตาเตะ, หอยเป๋าฮื้อ และเป็นร้านหม่าล่าสายพานเจ้าแรก ๆ ที่มีเครื่องทำบิงซูให้บริการ
- ร้านอี้จา เปลี่ยนหลาย ๆ สาขาให้เป็นบุฟเฟต์
- ร้านสุกี้จินดา เริ่มมีโปร ฟรีน้ำซุป และน้ำจิ้ม ในบางสาขา
น่าสนใจว่าที่ร้านหม่าล่าสายพานมาถึงจุดนี้ได้เร็วขนาดนี้
มาจากการที่ โมเดลธุรกิจมี “Barriers to Entry” หรือกำแพงป้องกันทางธุรกิจที่ต่ำมาก
มาจากการที่ โมเดลธุรกิจมี “Barriers to Entry” หรือกำแพงป้องกันทางธุรกิจที่ต่ำมาก
เพราะร้านหม่าล่าสายพาน มีต้นทุนในการเปิดไม่สูง และใช้พื้นที่ไม่เยอะ
แถมในบ้านเรายังมีธุรกิจเกี่ยวกับการจำหน่ายอุปกรณ์สายพานหม่าล่า แบบครบวงจร เกิดขึ้นมาเรื่อย ๆ
ทำให้ร้านหม่าล่าสายพานเป็นธุรกิจที่เริ่มง่ายมาก แม้ไม่ต้องมี Know-How มาก่อนก็ทำได้ไม่ยาก
- ช่วงถดถอย (Decline)
ไม่ว่าสินค้าจะดีสักแค่ไหน อย่างไรก็ต้องมีช่วงถดถอยอยู่ดี
โดยสัญญาณที่ชัดที่สุดของสินค้าในช่วงนี้เลยก็คือ ยอดขายของสินค้าจะเข้าสู่ช่วงขาลง
จากความต้องการของฝั่งผู้บริโภคที่ลดลง เพราะไม่ได้รู้สึกตื่นเต้นกับสินค้าอีกแล้ว
จากความต้องการของฝั่งผู้บริโภคที่ลดลง เพราะไม่ได้รู้สึกตื่นเต้นกับสินค้าอีกแล้ว
โดยสินค้าที่เข้าสู่ช่วงนี้ มักจะเน้นไปที่กลยุทธ์ ลด แลก แจก แถม เพื่อระบายสินค้า
และจะเน้นทำการตลาดกับกลุ่มลูกค้าที่มี Loyalty สูงกันเป็นส่วนใหญ่
และจะเน้นทำการตลาดกับกลุ่มลูกค้าที่มี Loyalty สูงกันเป็นส่วนใหญ่
ซึ่งในตอนนี้ร้านหม่าล่าสายพาน อาจจะยังมาไม่ถึงจุดนี้อย่างเต็มตัวเท่าไรนัก
แต่ภาพของร้านสายพานที่เงียบเหงาในหลาย ๆ แห่ง
ก็น่าจะพอบอกได้แล้วว่า มันใกล้ถึงจุดนี้เข้าไปทุกทีแล้ว..
ก็น่าจะพอบอกได้แล้วว่า มันใกล้ถึงจุดนี้เข้าไปทุกทีแล้ว..
อ่านมาถึงตรงนี้ ก็น่าคิดตามว่าสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับร้านหม่าล่าสายพาน
มันอาจจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาซ้ำแล้วซ้ำเล่า
มันอาจจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาซ้ำแล้วซ้ำเล่า
คล้ายกับ ร้านบิงซู > ร้านชาไข่มุก > ร้านเล้งหม้อไฟ > ร้านยำ มาจนถึงร้านหม่าล่าสายพาน
โดยทุกวันนี้ธุรกิจเหล่านี้ก็ไม่ได้หายไปไหน
แค่กลายมาเป็นตัวเลือกในชีวิตประจำวันมากกว่า ไม่ใช่อะไรที่ดูตื่นเต้นเหมือนในช่วงแรกแล้ว
แค่กลายมาเป็นตัวเลือกในชีวิตประจำวันมากกว่า ไม่ใช่อะไรที่ดูตื่นเต้นเหมือนในช่วงแรกแล้ว
และก็มีทั้งร้านที่เจ็บตัวจนต้องออกจากตลาดไป
ส่วนร้านที่อยู่รอดก็ต้องปรับตัวสู้กันไป
ในวันที่กระแสหม่าล่า มันไม่ได้เซ็กซี่ เหมือนก่อนหน้านี้แล้ว..
ในวันที่กระแสหม่าล่า มันไม่ได้เซ็กซี่ เหมือนก่อนหน้านี้แล้ว..