สรุปวิธีปรับตัว ของ Haidilao ทำอย่างไร ในวันที่ร้านหม่าล่า เต็มบ้านเต็มเมือง
20 ม.ค. 2024
“หม่าล่า” อาหารที่มาแรงสุดในไทยปีที่แล้ว และยังคงมีกระแสมาถึงทุกวันนี้
จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จะเห็นร้านหม่าล่าเกิดขึ้นเต็มเมือง
จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จะเห็นร้านหม่าล่าเกิดขึ้นเต็มเมือง
ไม่ว่าจะเป็น
- หม่าล่าหม้อไฟและชาบู เช่น CQK, สู่ต้าเสีย, Hotpot Man
- หม่าล่าสายพาน เช่น สุกี้จินดา, อี้จาสุกี้หม่าล่า
- หม่าล่า DIY แบบตักเอง เช่น ล่าเมียว
- หม่าล่าหม้อไฟและชาบู เช่น CQK, สู่ต้าเสีย, Hotpot Man
- หม่าล่าสายพาน เช่น สุกี้จินดา, อี้จาสุกี้หม่าล่า
- หม่าล่า DIY แบบตักเอง เช่น ล่าเมียว
แน่นอนว่าเรื่องนี้ น่าจะส่งผลกระทบต่อ Haidilao เชนหม้อไฟจีน ที่เข้ามาตีตลาดในไทยเมื่อ 5 ปีที่แล้วไม่น้อย
ถึงแม้ Haidilao จะวาง Brand Positioning เป็นแบรนด์พรีเมียม
เน้นเรื่องคุณภาพของอาหาร และด้านการบริการที่ใส่ใจลูกค้าตั้งแต่รอคิวไปจนถึงหลังรับประทานเสร็จ เป็นหลัก
เน้นเรื่องคุณภาพของอาหาร และด้านการบริการที่ใส่ใจลูกค้าตั้งแต่รอคิวไปจนถึงหลังรับประทานเสร็จ เป็นหลัก
แต่ต้องบอกว่า ในวันที่ลูกค้ามีตัวเลือกเต็มตลาด
หากมีกลยุทธ์สร้างความแตกต่างเพียงแค่คุณภาพและบริการอย่างเดียว อาจจะไม่เพียงพอในการดึงดูดความสนใจของลูกค้าอีกต่อไป..
หากมีกลยุทธ์สร้างความแตกต่างเพียงแค่คุณภาพและบริการอย่างเดียว อาจจะไม่เพียงพอในการดึงดูดความสนใจของลูกค้าอีกต่อไป..
เมื่อเป็นแบบนี้ Haidilao ในไทยจึงต้องมีการปรับตัว เพื่อให้เป็นแบรนด์หม่าล่าหม้อไฟ ที่ลูกค้ายังให้ความสนใจ
แล้วการปรับตัวของ Haidilao ในไทยในช่วงที่ผ่านมา มีอะไรบ้าง ?
ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า Haidilao วางตำแหน่งทางการตลาดเป็นแบรนด์พรีเมียม
ที่มีผลิตภัณฑ์หลัก คือ “หม้อไฟ” และมีกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ กลุ่มคนวัยทำงาน มีกำลังซื้อปานกลาง ถึงระดับสูง
ที่มีผลิตภัณฑ์หลัก คือ “หม้อไฟ” และมีกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ กลุ่มคนวัยทำงาน มีกำลังซื้อปานกลาง ถึงระดับสูง
หากนำผลิตภัณฑ์ และกลุ่มเป้าหมายของ Haidilao มาเปรียบเทียบกับทฤษฎีขยายธุรกิจ Ansoff Matrix
จะพบว่า
จะพบว่า
กลยุทธ์การขยายธุรกิจส่วนใหญ่ของ Haidilao ในไทย คือ การขยายธุรกิจด้วยผลิตภัณฑ์เดิม แต่เพิ่มเติมด้วยตลาดใหม่ หรือเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ
กลยุทธ์การขยายธุรกิจแบบนี้ เรียกว่า “Market Development Strategy” หรือกลยุทธ์การพัฒนาตลาด
แล้ว Haidilao ขยายธุรกิจด้วย Market Development Strategy แบบไหนบ้าง ?
1. ธุรกิจบุฟเฟต์หม้อไฟหม่าล่า
เมื่อไม่นานมานี้ Haidilao รุกธุรกิจใหม่คือ บุฟเฟต์พรีเมียม ราคา 590 บาทต่อคน
โดยเปิดให้บริการเฉพาะสาขาเซ็นทรัล พระราม 3 เวลา 10.00-17.00 น. เริ่มตั้งแต่เมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2567 ที่ผ่านมา
โดยเปิดให้บริการเฉพาะสาขาเซ็นทรัล พระราม 3 เวลา 10.00-17.00 น. เริ่มตั้งแต่เมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2567 ที่ผ่านมา
จะเห็นได้ว่า ธุรกิจใหม่ของ Haidilao ยังคงมีผลิตภัณฑ์หลักเป็นผลิตภัณฑ์เดิมคือ หม้อไฟ
แต่ที่แตกต่างไปจากเดิมคือ กลุ่มลูกค้า ที่เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้หลากหลายมากขึ้น ด้วยราคาที่เข้าถึงได้ง่ายมากกว่า
เช่น กลุ่มคนวัยทำงาน ที่มีกำลังซื้อไม่มาก ไปจนถึงปานกลาง รวมไปถึงกลุ่มคนที่ชอบทานบุฟเฟต์ด้วย
เช่น กลุ่มคนวัยทำงาน ที่มีกำลังซื้อไม่มาก ไปจนถึงปานกลาง รวมไปถึงกลุ่มคนที่ชอบทานบุฟเฟต์ด้วย
นอกจากจะเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากกว่าแล้ว ยังสอดคล้องกับพฤติกรรมของคนไทย
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา พบว่า คนไทยนิยมทานบุฟเฟต์มากขึ้น และเปลี่ยนค่านิยมจากเน้นความอิ่ม ความคุ้มค่า เป็นเน้นความหลากหลาย
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา พบว่า คนไทยนิยมทานบุฟเฟต์มากขึ้น และเปลี่ยนค่านิยมจากเน้นความอิ่ม ความคุ้มค่า เป็นเน้นความหลากหลาย
ด้วยเหตุนี้ บุฟเฟต์พรีเมียม จึงได้รับความนิยมมากขึ้น สะท้อนได้จาก
- Mo-Mo-Paradise บุฟเฟต์ชาบูญี่ปุ่น สร้างรายได้ 1,500 ล้านบาท ในปี 2565
- Copper Buffet บุฟเฟต์อาหารนานาชาติ สร้างรายได้ 314 ล้านบาท ในปี 2565
- Mo-Mo-Paradise บุฟเฟต์ชาบูญี่ปุ่น สร้างรายได้ 1,500 ล้านบาท ในปี 2565
- Copper Buffet บุฟเฟต์อาหารนานาชาติ สร้างรายได้ 314 ล้านบาท ในปี 2565
2. Pop-Up Store หม่าล่าราคาเริ่มต้น 19 บาท
หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า Haidilao มี Pop-Up Store เป็นร้านเล็ก ๆ ไม่มีที่นั่งทาน ตั้งอยู่ริมถนนบริเวณสวนหลวงสแควร์ จุฬาฯ ซอย 5
Pop-Up Store แห่งนี้ เน้นขายหม่าล่าแบบถ้วย สำหรับถือทาน ซึ่งเมนูอาหารต่าง ๆ ก็คล้ายกับ Haidilao ที่เปิดเป็นร้าน
คือมีทั้งซุปหม่าล่า, ซุปสามสหาย, ซุปมะเขือเทศ, เส้นมัน, ฟองเต้าหู้, หมูสไลซ์ และเนื้อสไลซ์ โดยมีราคาเริ่มต้นเพียง 19 บาท
จะเห็นได้ว่า Pop-Up Store ของ Haidilao ก็ยังคงเน้นขายผลิตภัณฑ์เดิมคือ หม้อไฟหม่าล่า
แต่เจาะลูกค้ากลุ่มใหม่ ทั้งด้วยราคาที่เริ่มต้นเพียงหลักสิบ และสถานที่ที่ตั้งอยู่ใกล้มหาวิทยาลัย
แต่เจาะลูกค้ากลุ่มใหม่ ทั้งด้วยราคาที่เริ่มต้นเพียงหลักสิบ และสถานที่ที่ตั้งอยู่ใกล้มหาวิทยาลัย
จึงเข้าถึงกลุ่มลูกค้าอย่าง นักเรียน นักศึกษา ได้มากกว่าเดิม
การขยายธุรกิจในกลุ่มนี้ เรียกว่า Haidilao ทำขึ้นเพื่อแย่งลูกค้าจากร้านหม่าล่าสายพาน ที่มีราคาเริ่มต้นเพียงหลักสิบนั่นเอง
3. ออกเซตเมนูกลางวัน ที่มีราคาถูกลง
หลายคนคงเคยสังเกตเห็นว่า ร้านหม่าล่า ร้านบุฟเฟต์ ส่วนใหญ่แล้วมักจะขายดีตอนเย็น ช่วงที่กลุ่มลูกค้าเลิกเรียน หรือเลิกทำงาน
ที่สำคัญ ลูกค้ายังมาทานกันเป็นกลุ่ม ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
ที่สำคัญ ลูกค้ายังมาทานกันเป็นกลุ่ม ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
ดังนั้น หนึ่งในกลยุทธ์การขยายธุรกิจที่สำคัญของ Haidilao คือ การทำให้ลูกค้าหันมาใช้บริการในช่วงเช้าและกลางวันมากขึ้น
รวมไปถึงการเข้ามารับประทานคนเดียวมากขึ้นด้วย
รวมไปถึงการเข้ามารับประทานคนเดียวมากขึ้นด้วย
พอเป็นแบบนี้ Haidilao จึงมีการออกเมนูเซต ทั้งแบบเซตทานคนเดียว ราคา 149 บาท และเซตเมนูกลางวัน ราคา 299 บาท
จะเห็นว่ากลยุทธ์นี้ก็เป็น การขยายธุรกิจด้วยผลิตภัณฑ์เดิม แต่เข้าถึงกลุ่มลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ ได้มากขึ้นเช่นกัน
มาถึงตรงนี้ คงเห็นแล้วว่า ที่ผ่านมา Haidilao ในไทยมีการปรับตัวอย่างไรบ้าง ในวันที่มีคู่แข่งอย่าง ร้านหม่าล่าเกิดขึ้นเต็มเมือง
อีกหนึ่งในกลยุทธ์ที่น่าสนใจไม่แพ้กัน นอกจากการขยายธุรกิจด้วยผลิตภัณฑ์เดิม ตลาดใหม่
นั่นก็คือ การขยายธุรกิจด้วย “ผลิตภัณฑ์ใหม่ ตลาดเดิม”
หรือที่มีชื่อเรียกว่า “Product Development Strategy” กลยุทธ์พัฒนาผลิตภัณฑ์
หรือที่มีชื่อเรียกว่า “Product Development Strategy” กลยุทธ์พัฒนาผลิตภัณฑ์
ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ว่านี้ก็คือ การพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างน้ำซุปให้อยู่ในรูปแบบซอง ที่มีทั้ง ซุปหม่าล่า, ซุปเห็ด และซุปมะเขือเทศ
ซึ่งผลิตภัณฑ์ใหม่นี้ เจาะลูกค้ากลุ่มเดิมคือ กลุ่มลูกค้าที่ชอบทานหม้อไฟ Haidilao ให้กลับไปทดลองทำทานเอง
จากทั้งหมดนี้ หากให้สรุปสั้น ๆ ต้องบอกว่า
แม้แต่ Haidilao เชนหม้อไฟยักษ์ใหญ่จากจีน ยังต้องมีการปรับตัว
ดังนั้น การจะทำธุรกิจใด ๆ ก็ตาม ก็ควรจะวางแผน ปรับตัว และปรับกลยุทธ์ให้ทันสถานการณ์
เพื่อที่จะอยู่รอดท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือดให้ได้..
อ้างอิง:
-กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
-เว็บไซต์บริษัท
-กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
-เว็บไซต์บริษัท