อินไซต์ “ชาไทย” แบรนด์ที่ถูกพูดถึงมากสุด คือ ชาตรามือ Inthanin และ Karun โดยประเทศที่พูดถึงชาไทยมากสุด คือ อินโดนีเซีย
7 ธ.ค. 2023
ชาไทย เป็นเครื่องดื่มที่นิยมแพร่หลายในหมู่ชาวไทย แถมมีชื่อเสียงโด่งดังในหมู่ชาวต่างชาติ
โดย ชาไทย ได้รับการจัดอันดับจากเว็บไซต์ “TasteAtlas” ให้เป็น 1 ใน 10 เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ที่ดีที่สุดในโลก
โดย ชาไทย ได้รับการจัดอันดับจากเว็บไซต์ “TasteAtlas” ให้เป็น 1 ใน 10 เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ที่ดีที่สุดในโลก
อีกทั้งยังเป็นอีกหนึ่งเมนูเครื่องดื่มแบบไทย ๆ ในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร ที่รัฐบาลไทย มีนโยบายผลักดันเป็น Soft Power ไม่แพ้อาหารไทยอย่าง ต้มยำกุ้ง หรือ ผัดไทย
จากกระแสความนิยมของเครื่องดื่มประเภทนี้ บริษัท ดาต้าเซ็ต จึงได้นำเครื่องมือ DXT360 มาทำ Social Listening และนำมาวิเคราะห์เพื่อเจาะตลาดของ “ชาไทย” ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา (1- 30 พ.ย. 2566)
โดยจากการสำรวจข้อมูล Social Media พบว่า ในกลุ่มประเทศ South East Asia มีการพูดถึง “Thai Tea” หรือ “Thai Milk Tea” ได้รับ Engagement (แบบรวมยอด View) จำนวน 2.25 ล้านครั้ง
และประเทศที่มีการพูดถึงชาไทยมากที่สุด คือ “อินโดนีเซีย”
ซึ่งเป็นการรีวิวเครื่องดื่มชาไทย ตามแหล่งสถานที่ต่าง ๆ ในรูปแบบคลิปวิดีโอสั้น และการสอนวิธีทำเครื่องดื่มชาไทย ด้วยตัวเอง..
ซึ่งเป็นการรีวิวเครื่องดื่มชาไทย ตามแหล่งสถานที่ต่าง ๆ ในรูปแบบคลิปวิดีโอสั้น และการสอนวิธีทำเครื่องดื่มชาไทย ด้วยตัวเอง..
นอกจากนี้ ผลจากการเก็บข้อมูลพบว่าคนไทยส่วนใหญ่ นิยมเรียก “ชาไทย” ว่า.. ชาไทย มากที่สุด
รองลงมา คือ ชาเย็น, ชานม, ชานมเย็น ตามลำดับ
รองลงมา คือ ชาเย็น, ชานม, ชานมเย็น ตามลำดับ
ทั้งนี้ ในตลาดเครื่องดื่ม มีหลายแบรนด์ที่ได้ให้ความสนใจ ในการดึงชาไทย เข้ามาเป็นตัวชูโรง หรือเครื่องตัวช่วยในเการดึงดูดผู้ที่ชื่นชอบเครื่องดื่มชาไทย ให้เข้ามาลองรสชาติใหม่ ๆ
โดยแบรนด์ที่ได้รับการกล่าวถึงสูงสุดบน Social Media ในช่วงเดือน พ.ย. คือ
ชาตรามือ รองลงมา Inthanin (อินทนิล) และ Karun (การัน) ตามลำดับ
ชาตรามือ รองลงมา Inthanin (อินทนิล) และ Karun (การัน) ตามลำดับ
อันดับ Brand Mention
1. ชาตรามือ 14.6%
2. Inthanin 12.2%
3. Karun 12.1%
4. FukuMatcha 7.6%
5. TrueCoffee 7.5%
6. Kudsan 3.2%
7. Dakasi 3.2%
8. ฉันจะกินชาเย็นทุกวัน 3.1%
9. อื่น ๆ รวมกัน 36.5%
1. ชาตรามือ 14.6%
2. Inthanin 12.2%
3. Karun 12.1%
4. FukuMatcha 7.6%
5. TrueCoffee 7.5%
6. Kudsan 3.2%
7. Dakasi 3.2%
8. ฉันจะกินชาเย็นทุกวัน 3.1%
9. อื่น ๆ รวมกัน 36.5%
ส่วนแบรนด์ที่มี Engagement หรือการมีส่วนร่วมสูงสุด คือ ชาตรามือ เช่นเดียวกัน
โดยมี Engagement สูงถึง 35.4% รองลงมา อินทนิล และ TrueCoffee ตามลำดับ
โดยมี Engagement สูงถึง 35.4% รองลงมา อินทนิล และ TrueCoffee ตามลำดับ
อันดับ Brand Engagement
1. ชาตรามือ 35.4 %
2. Inthanin 21.8 %
3. TrueCoffee 7.6 %
4. Chongdee 6.1 %
5. Karun 4.6 %
6. Kudsan 3.2%
7. เต่าบิน 2.9%
8. อื่น ๆ รวมกัน 18.4%
1. ชาตรามือ 35.4 %
2. Inthanin 21.8 %
3. TrueCoffee 7.6 %
4. Chongdee 6.1 %
5. Karun 4.6 %
6. Kudsan 3.2%
7. เต่าบิน 2.9%
8. อื่น ๆ รวมกัน 18.4%
แล้วชาไทย มักถูกนำไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์อะไรบ้าง ?
โดยชาตรามือ นับว่ามีการต่อยอดธุรกิจจากผู้จำหน่ายวัตถุดิบชา ก้าวสู่ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายชาของตัวเอง
ในด้านของผลตอบรับของผู้บริโภคจากการดู Brand ที่ได้รับ Engagement พบว่า ก็ยังคงเป็นชาตรามือที่ได้รับความสนใจ เพราะมีการโปรโมตทั้ง Drive-thru ที่จังหวัดเชียงใหม่, การทำไอศกรีมรสชาติชาไทย
จึงเป็นที่น่าศึกษาต่อไปว่า ในวันนี้ชาไทยถูกนำเสนอในรูปแบบเมนูใหม่ ๆ อย่างไรบ้าง
จึงเป็นที่น่าศึกษาต่อไปว่า ในวันนี้ชาไทยถูกนำเสนอในรูปแบบเมนูใหม่ ๆ อย่างไรบ้าง
-ประเภท Beverage 75.3% แบ่งเป็น
1. Iced 40.2%
2. Slushy 17.7%
3. เกล็ดหิมะ 11.4%
4. เวย์โปรตีน 3.7%
5. บรรจุขวด 2.3%
1. Iced 40.2%
2. Slushy 17.7%
3. เกล็ดหิมะ 11.4%
4. เวย์โปรตีน 3.7%
5. บรรจุขวด 2.3%
-ประเภท Dessert 24.2%
6. Ice cream 8.5%
7. สังขยา 5.8%
8. บิงซู 5.2%
9. ชิฟฟอน 0.8%
10. เอแคลร์ 0.8%
11. อื่น ๆ 3.1%
6. Ice cream 8.5%
7. สังขยา 5.8%
8. บิงซู 5.2%
9. ชิฟฟอน 0.8%
10. เอแคลร์ 0.8%
11. อื่น ๆ 3.1%
-ประเภท Food Coloring 0.5%
ทีนี่ มาดู 5 ท็อปปิง ชาไทยสุดฮิต
โดยในกลุ่มชาไทยแบบเย็น พบว่ามีการเพิ่มลูกเล่นให้กับเครื่องดื่มของแต่ละแบรนด์ โดยท็อปปิงที่ได้รับความสนใจมากที่สุดจากการลงโปรโมตของ Influencer/KOL สายกิน คือ
โดยในกลุ่มชาไทยแบบเย็น พบว่ามีการเพิ่มลูกเล่นให้กับเครื่องดื่มของแต่ละแบรนด์ โดยท็อปปิงที่ได้รับความสนใจมากที่สุดจากการลงโปรโมตของ Influencer/KOL สายกิน คือ
1. ไข่มุก
2. ครีมนมสด
3. ปาท่องโก๋
4. ครีมชีส
5. วิปครีม
2. ครีมนมสด
3. ปาท่องโก๋
4. ครีมชีส
5. วิปครีม
สรุปแล้ว จากข้อมูลตลาดชาไทย ที่พบใน Social Media ทำให้พบว่า วงการเครื่องดื่มอย่างชาไทย ไม่ได้หยุดอยู่แค่เพียงการพัฒนารสชาติ หรือบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะกับยุคสมัยเท่านั้น แต่ได้มีการสร้างสรรค์เมนู เพื่อเพิ่มความแปลกใหม่ และเพิ่มกลยุทธ์ดึงดูดลูกค้าให้กับธุรกิจของแต่ละผู้ประกอบการมากขึ้น
ทั้งหมดนี้คือภาพรวมอินไซต์ของเครื่องดื่มชาไทย ที่เราได้เห็นการนำเสนอของร้านค้าต่าง ๆ โดยการประยุกต์ ตั้งแต่การเพิ่มท็อปปิง, ทำเป็น Slushy หรือ เพิ่มความสะดวกสบายด้วยการทำเป็นบรรจุภัณฑ์แบบขวด
และในอนาคต เราจะได้ชิมชาไทยรูปแบบใหม่ หรือ แบรนด์ใดที่จะตอบโจทย์ความกลมกล่อม หอม หวานลงตัว.. เหล่าสาวกชาไทย คงต้องรอติดตามกันต่อไป
—--------------------------------
หมายเหตุ : ข้อมูลทั้งหมดที่นำมาวิเคราะห์หาอินไซต์ รวบรวมผ่าน DXT360 แพลตฟอร์มติดตามข่าวสารและเสียงของผู้บริโภค (Social Listening) ของบริษัท ดาต้าเซ็ต จำกัด (dataxet:infoquest) โดยเก็บข้อมูลระหว่าง 1 พ.ย. - 30 พ.ย. 2566
หมายเหตุ : ข้อมูลทั้งหมดที่นำมาวิเคราะห์หาอินไซต์ รวบรวมผ่าน DXT360 แพลตฟอร์มติดตามข่าวสารและเสียงของผู้บริโภค (Social Listening) ของบริษัท ดาต้าเซ็ต จำกัด (dataxet:infoquest) โดยเก็บข้อมูลระหว่าง 1 พ.ย. - 30 พ.ย. 2566
Tag:ชาไทย