การทำคอนเทนต์ตาม Customer Journey ยังจำเป็นอยู่ไหม ? ในยุคที่คนตัดสินใจซื้อในเสี้ยววินาที
19 ก.พ. 2022
เคยไหม ทำไมเราขายของอยู่ดี ๆ และเหมือนทุกอย่างกำลังไปได้ด้วยดี
แต่กลับโดนคู่แข่งขายตัดหน้าไปก่อนแล้ว ?
แต่กลับโดนคู่แข่งขายตัดหน้าไปก่อนแล้ว ?
ในยุคที่มีโซเชียลมีเดียเข้ามาสนับสนุนการขายของ
แต่ทำไมเรารู้สึกว่าจับลูกค้าได้ยากกว่าเดิม ?
แต่ทำไมเรารู้สึกว่าจับลูกค้าได้ยากกว่าเดิม ?
และยังมีเทคโนโลยีที่ล้ำไปไกล พฤติกรรมลูกค้าที่แปรผันรายวัน หรือแม้แต่เหตุการณ์ที่คาดเดาไม่ได้ อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้เหล่านี้ ล้วนแล้วแต่ทำให้การขายของในปัจจุบัน ทำได้ยากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะ Customer Journey ของลูกค้าเปลี่ยนไปจากเดิมมาก
แต่หลาย ๆ คนที่ไม่ได้มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจ หรือไม่เคยทำการตลาดมาก่อน คงจะสงสัยว่า “Customer Journey” คืออะไร มีความจำเป็นอย่างไร ?
Customer Journey หรือแปลง่าย ๆ ก็คือ การเดินทางของลูกค้า ตั้งแต่จุดเริ่มต้นที่ลูกค้ายังไม่รู้จักเรา > เริ่มเกิดความสนใจ > การหาข้อมูล > นำมาสู่การตัดสินใจซื้อ > และเกิดการซื้อซ้ำในที่สุด
โดยในแต่ละขั้นตอน ก็จะสามารถนำมาวิเคราะห์ เพื่อนำไปต่อยอดเป็นคอนเทนต์แต่ละแบบให้ลูกค้าเดินมาตามเส้นทาง Marketing Funnel
หรือที่เรียกกันด้วยชื่อน่ารัก ๆ อย่างโมเดล TOFU, MOFU, BOFU ซึ่งเป็นโมเดลที่อธิบายว่าในแต่ละ Stage ของลูกค้า เราต้องทำคอนเทนต์แบบไหน
หรือที่เรียกกันด้วยชื่อน่ารัก ๆ อย่างโมเดล TOFU, MOFU, BOFU ซึ่งเป็นโมเดลที่อธิบายว่าในแต่ละ Stage ของลูกค้า เราต้องทำคอนเทนต์แบบไหน
-TOFU ย่อมาจาก Top of Funnel
ลองนึกถึงภาพ “กรวยพลาสติก” ในขั้นตอนนี้ คือช่วงบนของปากกรวย ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกที่เริ่มกรอกน้ำ (ลูกค้า) ลงไปในกรวย
แน่นอนว่า นี่คือขั้นแรกที่ผู้บริโภคจะได้รู้จักเรา
ดังนั้น เราจึงต้องทำคอนเทนต์เพื่อสร้างการรับรู้ (Awareness) เป็นหลัก ผ่านช่องทางต่าง ๆ
ดังนั้น เราจึงต้องทำคอนเทนต์เพื่อสร้างการรับรู้ (Awareness) เป็นหลัก ผ่านช่องทางต่าง ๆ
ตัวอย่างเช่น การทำวิดีโอไวรัลตลก ๆ เพื่อเรียกความสนใจ หรือการทำประโยคพาดหัว ให้ตรงกับ Pain Point ที่กลุ่มเป้าหมายพบเจอ
-MOFU ย่อมาจาก Middle of Funnel
ในขั้นตอนที่ 2 นี้ ก็คือช่วงกลางกรวย จะเน้นไปที่การสร้างความสนใจ (Interest) และการประเมินเพื่อเตรียมตัดสินใจซื้อ โดยการให้ข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ ที่มากขึ้น
ตัวอย่างเช่น การทำวิดีโอรีวิวสินค้า, การยก Case Study มาเพิ่มความน่าเชื่อถือ
-BOFU ย่อมาจาก Bottom of Funnel
ในขั้นตอนสุดท้ายนี้ จะต้องเป็นคอนเทนต์ที่สร้างขึ้น เพื่อปิดการขาย (Action) หลังจากที่ทำให้ผู้บริโภคสนใจในสินค้าหรือบริการสำเร็จแล้ว
ตัวอย่างเช่น การเสนอโปรโมชันพิเศษ, ส่วนลดเฉพาะคุณ หรือประโยคกระตุ้นการตัดสินใจ อย่างเช่น เหลือเพียง XX ชิ้นเท่านั้น
ทั้งนี้ หลาย ๆ ตำราก็มักบอกกันว่า หากเราวางแผนเส้นทางเดินของลูกค้าได้อย่างตรงจุด และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้จริง ๆ ก็ย่อมทำให้แผนการตลาดของเราได้ผลดี ซึ่งก็ดูไม่ใช่เรื่องผิดอะไร..
แต่ในยุคสมัยนี้ ที่เป็นยุคแห่งความรวดเร็ว สินค้าหรือบริการบางอย่าง ลูกค้าตัดสินใจซื้อเพียงเสี้ยววินาที
ทำให้กว่าที่เราจะทำคอนเทนต์แต่ละขั้นตอนออกมา เพื่อให้ตรงกับ Journey ของลูกค้า
รู้ตัวอีกที กลุ่มลูกค้ามุ่งหวังที่ตั้งใจฟูมฟักมาอย่างดี
อาจโดนคู่แข่งในตลาด ปิดการขายปาดหน้าไปเสียแล้ว..
อาจโดนคู่แข่งในตลาด ปิดการขายปาดหน้าไปเสียแล้ว..
พอเห็นแบบนี้ หลายคนคงสงสัยเหมือนกันว่า
แล้วการทำคอนเทนต์ตาม Customer Journey ไปเรื่อย ๆ ยังจำเป็นอยู่ไหม ?
แล้วการทำคอนเทนต์ตาม Customer Journey ไปเรื่อย ๆ ยังจำเป็นอยู่ไหม ?
ก็ตอบได้เลยว่า Customer Journey นั้น “ยังจำเป็นอยู่”
แต่เราสามารถบูรณาการบางขั้นตอนเข้าด้วยกันได้ หรืออาจทำคอนเทนต์เพียง 1 คอนเทนต์ ให้สามารถปิดการขายได้เลย ซึ่งจะทำได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ได้แก่
1)มูลค่าของสินค้าหรือบริการ
มูลค่าของสินค้าหรือบริการ ถือเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่จะบอกว่า กระบวนการตัดสินใจซื้อของลูกค้า จะสามารถรวบรัดได้มากน้อยเพียงใด
เพราะถ้าหากเป็นสินค้าที่มีมูลค่าสูง หรือของที่ไม่ได้ซื้อกันบ่อย ๆ อย่างเช่น บ้าน, นาฬิกาหรู, คอร์สติวสอบ หรือรถยนต์
ถ้าเป็นแบบนี้ การที่ผู้บริโภคจะตัดสินใจซื้อ คงต้องใช้เวลาในการพิจารณาถึงความจำเป็น ความตอบโจทย์ และความคุ้มค่าให้ดีก่อน
ดังนั้น ในกรณีที่สินค้าหรือบริการมีราคาสูง การทำคอนเทนต์ตาม Customer Journey จึงยังมีความจำเป็นอยู่มาก
2)ความซับซ้อนของสินค้าหรือบริการ
สืบเนื่องจากเรื่องราคา ก็คงเป็นเรื่องความซับซ้อน
ลองคิดดูง่าย ๆ ว่า ถ้าหากเราต้องการซื้อเสื้อยืดสักตัว หรือซื้อขนมกินสักห่อ เราคงสามารถตัดสินใจซื้อได้ภายในแวบแรกที่เห็น ตามความพอใจหรือความอยาก และความสามารถในการจ่ายของเรา
ลองคิดดูง่าย ๆ ว่า ถ้าหากเราต้องการซื้อเสื้อยืดสักตัว หรือซื้อขนมกินสักห่อ เราคงสามารถตัดสินใจซื้อได้ภายในแวบแรกที่เห็น ตามความพอใจหรือความอยาก และความสามารถในการจ่ายของเรา
แต่ถ้าหากเราจะซื้อแอร์ติดผนังสักตัว รถยนต์สักคัน เครื่องซักผ้าหรือใช้บริการรักษาโรคเฉพาะทาง
คงไม่มีใครที่เดินเข้าไปแล้วจิ้มเอาตัวนี้ โดยที่ไม่ได้ดูคุณสมบัติ ข้อดี-ข้อเสีย กำลังวัตต์ไฟที่ใช้ หรือแม้กระทั่งชื่อแบรนด์หรือบุคคลที่ดูเชื่อถือได้
คงไม่มีใครที่เดินเข้าไปแล้วจิ้มเอาตัวนี้ โดยที่ไม่ได้ดูคุณสมบัติ ข้อดี-ข้อเสีย กำลังวัตต์ไฟที่ใช้ หรือแม้กระทั่งชื่อแบรนด์หรือบุคคลที่ดูเชื่อถือได้
ดังนั้น หากเราขายสินค้าที่ต้องใช้เวลาอธิบายในคุณสมบัติของสินค้า ก็ควรจะทำคอนเทนต์ตาม Customer Journey เช่นเดียวกัน
โดยของที่มีความซับซ้อนสูง แรกเริ่มอาจทำคอนเทนต์เรียกรอยยิ้ม และเรียกความสนใจก่อนได้
แต่หลังจากที่มี Awareness แล้ว ก็อาจเน้นไปที่คอนเทนต์เชิงให้ความรู้ (Educate Content) ที่แสดงถึงความเชี่ยวชาญ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือนั่นเอง
แต่หลังจากที่มี Awareness แล้ว ก็อาจเน้นไปที่คอนเทนต์เชิงให้ความรู้ (Educate Content) ที่แสดงถึงความเชี่ยวชาญ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือนั่นเอง
3)กลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ
อีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการออกแบบ Customer Journey ก็คือ “ลูกค้าของเราเป็นใคร” ชอบสื่อแบบไหน มีพฤติกรรมการเลือกซื้อของอย่างไร
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหากเราต้องการขายประกันภัยออมทรัพย์ กลุ่มเป้าหมายของเรา ย่อมเป็นผู้ที่รู้จักวางแผนชีวิตและวางแผนการเงิน
ดังนั้นเราจึงต้องค่อย ๆ นำเสนอเนื้อหาตาม Journey ที่ตรงใจลูกค้า เช่น ผลิตภัณฑ์นี้จะทำให้ลูกค้าบรรลุเป้าหมายทางการเงินได้อย่างไร, ผลตอบแทน, เงื่อนไขความคุ้มครอง ฯลฯ
แต่ถ้าเป็นการขายประกันโควิดให้กับลูกค้ากลุ่มมวลชน ที่จะชอบอะไรที่เข้าใจง่าย ๆ สนุก และไม่ซับซ้อน เราอาจนำเสนอเป็นวิดีโอสั้นเชิงสร้างสรรค์
โดยอาจให้อินฟลูเอนเซอร์ที่มีความน่าเชื่อถือมาประชาสัมพันธ์ หรือบอกช่องทางซื้อประกันภายในวิดีโอนั้นเลย และทำการเผยแพร่ผ่านช่องทางที่เข้าถึงคนเป็นวงกว้างได้
เช่น โทรทัศน์, เฟซบุ๊ก หรือ TikTok ที่เหมาะสมกับการลงวิดีโอสั้น
เช่น โทรทัศน์, เฟซบุ๊ก หรือ TikTok ที่เหมาะสมกับการลงวิดีโอสั้น
ทั้ง 3 ข้อนี้ คือปัจจัยหลัก ๆ ที่อยากให้ลองพิจารณาสินค้าหรือบริการของตนเอง ว่าจำเป็นต้องซอยจำนวนคอนเทนต์ตาม Customer Journey มากน้อยเพียงใด
แล้วคำถามต่อมาคือ ถ้าเราแค่ซื้อมา-ขายไป หรือขายสินค้าง่าย ๆ ในชีวิตประจำวัน ที่คนส่วนใหญ่ตัดสินใจซื้อกันได้ในเสี้ยววินาที จะทำคอนเทนต์อย่างไรดี ?
คำตอบก็คือ เราสามารถทำคอนเทนต์แบบที่เรียกได้ว่า All in One ซึ่งมีองค์ประกอบที่จำเป็นครบถ้วนได้
ตั้งแต่ประโยคเด็ดที่ใช้ดึงความสนใจ และสร้างการรับรู้ (Awareness) ของลูกค้า ไปจนถึงการนำเสนอข้อมูลรายละเอียด เพื่อให้เกิดความสนใจในสินค้า (Interest) และบอกช่องทางปิดการขาย (Action) ได้ในที่สุด
ซึ่งในปัจจุบันก็มีการขายสินค้าหลายรูปแบบ ที่สามารถทำองค์ประกอบได้ครบใน 1 คอนเทนต์ ไม่ว่าจะเป็นการไลฟ์สดขายสินค้า, วิดีโอสั้น, อัลบั้มรูปภาพ, การใช้อินฟลูเอนเซอร์ และอื่น ๆ
โดยหัวใจหลักที่สำคัญในการทำคอนเทนต์ก็คือ ประโยคเด็ด หรือ “Hook” ที่จะต้องเข้าหู หรือผ่านตาลูกค้าให้ได้ตั้งแต่ 5 วินาทีแรก
และคอนเทนต์ที่ดีจำเป็นจะต้อง “สั้น กระชับ เข้าใจง่าย”
ทีนี้ มาลองดูตัวอย่างการขึ้นประโยค Hook จากการขาย “ชา”
-การเริ่มต้นด้วยประโยคคำถาม ซึ่งอาจได้มาจาก Insight จริงที่ลูกค้าสงสัย
เช่น ทำไมเราถึงไม่ควรดื่มกาแฟทันทีหลังตื่นนอน ?-การเปิดเรื่องด้วย Pain Point ของลูกค้า
เช่น เคยไหม ตื่นมาแล้วรู้สึกไม่ค่อยสดใส ทั้ง ๆ ที่นอน 8 ชั่วโมง..-การใช้ตัวเลขทางสถิติ เพื่อช่วยดึงความสนใจ
เช่น คนที่ดื่มชา 5 ถ้วยต่อวัน จะลดอัตราการตายได้ถึง 26%..
เช่น ทำไมเราถึงไม่ควรดื่มกาแฟทันทีหลังตื่นนอน ?-การเปิดเรื่องด้วย Pain Point ของลูกค้า
เช่น เคยไหม ตื่นมาแล้วรู้สึกไม่ค่อยสดใส ทั้ง ๆ ที่นอน 8 ชั่วโมง..-การใช้ตัวเลขทางสถิติ เพื่อช่วยดึงความสนใจ
เช่น คนที่ดื่มชา 5 ถ้วยต่อวัน จะลดอัตราการตายได้ถึง 26%..
และอาจมีวิธีอื่น ๆ ที่น่าสนใจในการเรียกความสนใจ 5 วินาทีแรกได้อีกมาก
ซึ่งนอกจากประโยค Hook และเนื้อหาอธิบายรายละเอียดแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือ “Call To Action” หรือก็คือช่องทางปิดการขาย ที่ลูกค้าจะเข้าถึงและคลิกได้ง่ายที่สุด และต้องโดดเด่น
สิ่งสำคัญคือ พยายามหลีกเลี่ยงการให้ลูกค้าต้องเข้าไปในหลาย ๆ โฮมเพจ
เช่น เมื่อเจอคอนเทนต์ในเฟซบุ๊ก > สอบถามไปใน Messenger > ทางร้านบอกใน Messenger ว่าให้สั่งซื้อทาง Line อีกที
เช่น เมื่อเจอคอนเทนต์ในเฟซบุ๊ก > สอบถามไปใน Messenger > ทางร้านบอกใน Messenger ว่าให้สั่งซื้อทาง Line อีกที
แบบนี้ถือว่าหลายขั้นตอนเกินไป และทำให้โอกาสที่จะขายสินค้าได้ “ลดลง”
ซึ่ง Call To Action นี่เอง ที่เป็นจุดตายของหลาย ๆ ร้าน
เพราะทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่ามันยุ่งยากเกินไปจนไม่อยากซื้อแล้ว
เพราะทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่ามันยุ่งยากเกินไปจนไม่อยากซื้อแล้ว
ดังนั้น ถ้าหากจะให้สั่งซื้อทางไหน ร้านค้าก็ควรจะใส่ลิงก์ หรือ QR Code ที่ลิงก์ตรงไปยังหน้าที่สั่งซื้อได้เลย เพื่อให้ลูกค้าไม่หลุดมือไประหว่างทาง..
โดยสรุปคือ การทำคอนเทนต์ตามเส้นทางของ Customer Journey มีความจำเป็นแตกต่างกันไปตามประเภทของธุรกิจ และสถานการณ์
แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด ก็คือความใส่ใจ และจริงใจในทุก ๆ กระบวนการทำธุรกิจ ด้วยการส่งมอบ Value หรือคุณค่าที่ตรงกับที่ลูกค้าต้องการ
เพราะสิ่งนี้เอง คือหัวใจสำคัญที่จะเป็นตัวตัดสินว่า
ในระยะยาว ธุรกิจของเราจะเป็นอย่างไร..
ในระยะยาว ธุรกิจของเราจะเป็นอย่างไร..
อ้างอิง:
-https://stepstraining.co/strategy/customer-journey-to-know
-https://www.vulture.com/2021/10/binge-vs-weekly-streaming-release-strategy.html
-https://www.singlegrain.com/blog-posts/content-marketing/how-to-create-marketing-funnel/
-https://medium.com/@rvrahul300495/tofu-mofu-bofu-guide-to-content-strategy-to-sales-marketing-funnel-fcf757b93978
-https://stepstraining.co/strategy/customer-journey-to-know
-https://www.vulture.com/2021/10/binge-vs-weekly-streaming-release-strategy.html
-https://www.singlegrain.com/blog-posts/content-marketing/how-to-create-marketing-funnel/
-https://medium.com/@rvrahul300495/tofu-mofu-bofu-guide-to-content-strategy-to-sales-marketing-funnel-fcf757b93978