Nvidia ใกล้จะปิดดีลซื้อ “Arm” จาก SoftBank ด้วยมูลค่ากว่า 1.2 ล้านล้านบาท
13 ก.ย. 2020
มีข่าวลือมาสักพักแล้วที่ Nvidia ผู้ผลิต GPUs หรือ หน่วยประมวลผลกราฟิก ชั้นนำ
อยากจะเข้าซื้อกิจการ “Arm Holdings” จากกลุ่ม SoftBank บริษัทด้านโทรคมนาคมและการลงทุนของ มาซาโยชิ ซัน หนึ่งในคนที่รวยสุดในประเทศญี่ปุ่น
อยากจะเข้าซื้อกิจการ “Arm Holdings” จากกลุ่ม SoftBank บริษัทด้านโทรคมนาคมและการลงทุนของ มาซาโยชิ ซัน หนึ่งในคนที่รวยสุดในประเทศญี่ปุ่น
ล่าสุดสำนักงานข่าว Reuters และ TechCrunch รายงานว่า
การเจรจาซื้อขายกิจการกำลังอยู่ในช่วงสุดท้าย และจะมีการประกาศดีลอย่างเป็นทางการในสัปดาห์หน้า
การเจรจาซื้อขายกิจการกำลังอยู่ในช่วงสุดท้าย และจะมีการประกาศดีลอย่างเป็นทางการในสัปดาห์หน้า
มูลค่าที่ทาง Nvidia จะเข้าซื้อ Arm คือ 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1,250,800 ล้านบาท
โดย Nvidia จะจ่ายเป็น เงินสด และ หุ้น
และจะถือว่าเป็นหนึ่งในดีลซื้อขายกิจการ ที่มีมูลค่าสูงที่สุดในวงการเทคโนโลยีเลยทีเดียว
โดย Nvidia จะจ่ายเป็น เงินสด และ หุ้น
และจะถือว่าเป็นหนึ่งในดีลซื้อขายกิจการ ที่มีมูลค่าสูงที่สุดในวงการเทคโนโลยีเลยทีเดียว
ทั้งนี้ Arm เป็นบริษัทเทคโนโลยีสัญชาติอังกฤษ ทำธุรกิจผลิตลิขสิทธิ์ทางเทคโนโลยี
ตั้งแต่ เทคโนโลยี CPU บนสมาร์ตโฟน, อุปกรณ์ IoT, เทคโนโลยีเครือข่ายและช่วยเหลือการขับขี่
แล้วนำไปขายให้กับบริษัทอื่นๆ ที่ต้องการทั่วโลก เพื่อนำไปต่อยอดพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ของตัวเอง
ตั้งแต่ เทคโนโลยี CPU บนสมาร์ตโฟน, อุปกรณ์ IoT, เทคโนโลยีเครือข่ายและช่วยเหลือการขับขี่
แล้วนำไปขายให้กับบริษัทอื่นๆ ที่ต้องการทั่วโลก เพื่อนำไปต่อยอดพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ของตัวเอง
และลูกค้าของ Arm ก็มีตั้งแต่ Apple, Samsung, Qualcomm และ Nvidia เป็นต้น
ซึ่งสมาร์ตโฟนที่มี CPU ทุกๆ 100 เครื่อง จะมีโครงสร้างการออกแบบมาจาก Arm กว่า 90 เครื่อง..
โดย SoftBank ได้เข้าซื้อ Arm มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2016 ด้วยมูลค่ากว่า 32,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1,000,640 ล้านบาท
หรือก็คือ SoftBank จะได้กำไรจากการขาย Arm ให้กับ Nvidia อยู่ราว 250,160 ล้านบาท
สำหรับเหตุผลที่ Nvidia เข้าซื้อ Arm ก็เพราะว่า
ต้องการต่อยอดธุรกิจชิปในด้านต่างๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI), รถยนต์ไร้คนขับ และศูนย์ข้อมูล (Data Center), อุปกรณ์อื่นๆ
ต้องการต่อยอดธุรกิจชิปในด้านต่างๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI), รถยนต์ไร้คนขับ และศูนย์ข้อมูล (Data Center), อุปกรณ์อื่นๆ
รวมถึงชิปในซูเปอร์คอมพิวเตอร์ สำหรับการสร้างแบบจำลองต่างๆ เช่น
การคาดการณ์สภาพภูมิอากาศ และอาวุธนิวเคลียร์ เป็นต้น
การคาดการณ์สภาพภูมิอากาศ และอาวุธนิวเคลียร์ เป็นต้น
ส่วนสาเหตุที่ SoftBank จำใจต้องขาย Arm ซึ่งเป็นธุรกิจกล่องดวงใจ
ก็อาจเป็นเพราะว่า บริษัทต้องการสภาพคล่องจากเงินสด
เพื่อมาค้ำจุนธุรกิจสตาร์ตอัปต่างๆ ที่บริษัทลงทุนไป ซึ่งได้รับผลกระทบจากโควิด-19
ก็อาจเป็นเพราะว่า บริษัทต้องการสภาพคล่องจากเงินสด
เพื่อมาค้ำจุนธุรกิจสตาร์ตอัปต่างๆ ที่บริษัทลงทุนไป ซึ่งได้รับผลกระทบจากโควิด-19
เช่น แพลตฟอร์มเรียกรถ Didi, OLA, Grab, Uber
แพลตฟอร์มเช่าอาคารสำนักงาน WeWork และแพลตฟอร์มจองโรงแรม-ที่อยู่อาศัย OYO
แพลตฟอร์มเช่าอาคารสำนักงาน WeWork และแพลตฟอร์มจองโรงแรม-ที่อยู่อาศัย OYO
นอกจากนี้ การขาย Arm ยังทำให้ SoftBank ได้หุ้น Nvidia มาครอบครอง
หรือก็คือ เป็นเจ้าของทั้ง Nvidia และ Arm พร้อมกัน แต่เป็นเจ้าของในสัดส่วนที่น้อยลง
หรือก็คือ เป็นเจ้าของทั้ง Nvidia และ Arm พร้อมกัน แต่เป็นเจ้าของในสัดส่วนที่น้อยลง
ซึ่งเมื่อ Nvidia และ Arm มีการบูรณาการธุรกิจร่วมกัน
ก็อาจทำให้บริษัทต่างได้ประโยชน์ ทั้งในแง่เทคโนโลยี และความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้น
ก็อาจทำให้บริษัทต่างได้ประโยชน์ ทั้งในแง่เทคโนโลยี และความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้น
อย่างไรก็ดี อุปสรรคของดีลนี้คือ
การเข้าซื้อกิจการ Arm ของ Nvidia อาจจะเข้าขอบข่ายเรื่อง กฎหมายต่อต้านการผูกขาด
ซึ่งภาครัฐเอง ก็อาจจะไม่ยอมให้ดีลนี้เกิดขึ้นก็เป็นได้..
การเข้าซื้อกิจการ Arm ของ Nvidia อาจจะเข้าขอบข่ายเรื่อง กฎหมายต่อต้านการผูกขาด
ซึ่งภาครัฐเอง ก็อาจจะไม่ยอมให้ดีลนี้เกิดขึ้นก็เป็นได้..