
สรุปกลยุทธ์ บสย. ผู้ปลดล็อกศักยภาพ SMEs ไทย ตลอด 34 ปี ที่ผ่านมา
27 มี.ค. 2025
รู้หรือไม่ว่าในแต่ละปี ธุรกิจ SMEs หรือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นหนึ่งในฟันเฟืองชิ้นสำคัญที่ขับเคลื่อน และสร้างมูลค่าให้เศรษฐกิจไทยได้อย่างมหาศาล
แต่หนึ่งในปัญหาสำคัญที่ธุรกิจ SMEs ไทย ต้องเจอมาอย่างยาวนาน ก็คือการเข้าถึงสินเชื่อ และปัญหาหนี้สิน ซึ่งเป็นสิ่งที่ฉุดรั้งการเติบโตของธุรกิจ SMEs ไทย
คำถามคือ แล้วเราจะมีวิธีในการแก้ไขปัญหานี้อย่างไร และจะทำอย่างไรให้ธุรกิจ SMEs ไทย สามารถปลดล็อกศักยภาพการเติบโตได้ในอนาคต
MarketThink จะพาไปเจาะลึกกันในบทความนี้..
ก่อนอื่น ต้องขออธิบายก่อนว่าประเทศไทย มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs โดยเฉพาะ
ซึ่งหน่วยงานนี้มีชื่อว่า บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) นั่นเอง..
โดยหากอธิบายแบบง่าย ๆ หน้าที่ของ บสย. คือ การช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs ผ่านกลไกค้ำประกันสินเชื่อ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับสถาบันการเงินในการอนุมัติสินเชื่อ ช่วยให้ผู้ประกอบการ SMEs ที่มีศักยภาพ แต่ขาดหลักประกัน หรือมีหลักประกันไม่เพียงพอ ให้ได้รับวงเงินสินเชื่อที่เพียงพอต่อความต้องการ
จากสถิติในปี 2567 ที่ผ่านมา บสย. ได้ให้ความช่วยเหลือ SMEs ไทย ดังนี้
- ช่วยให้ SMEs ไทย เข้าถึงสินเชื่อได้มากถึง 88,472 ราย
- สร้างสินเชื่อในระบบ 58,986 ล้านบาท
- สร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้มากกว่า 220,462 ล้านบาท
- รักษาการจ้างงานได้มากถึง 487,253 ตำแหน่ง
- ให้การค้ำประกันสินเชื่อใหม่สะสมตลอดปี 2567 ด้วยมูลค่า 53,738 ล้านบาท
- สร้างสินเชื่อในระบบ 58,986 ล้านบาท
- สร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้มากกว่า 220,462 ล้านบาท
- รักษาการจ้างงานได้มากถึง 487,253 ตำแหน่ง
- ให้การค้ำประกันสินเชื่อใหม่สะสมตลอดปี 2567 ด้วยมูลค่า 53,738 ล้านบาท
จากสถิตินี้ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของ บสย. ในฐานะหน่วยงานที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ และเป็นผู้ปลดล็อกศักยภาพของ SMEs ไทย อย่างแท้จริง
เพราะสิ่งที่ บสย. ทำนั้นเป็นเหมือน “วัคซีน” ที่ช่วยแก้ไขปัญหาของ SMEs ไทยได้อย่างตรงจุด
นั่นคือ ปัญหาด้านการเข้าถึงสินเชื่อ จากการขาดหลักประกัน รวมถึงปัญหาหนี้สิน และหนี้นอกระบบ ที่กลายเป็นปัจจัยฉุดรั้งการเติบโตของธุรกิจ SMEs ไทย
ถึงแม้ว่าในความจริงแล้ว ธุรกิจ SMEs ไทยจำนวนมากจะมีศักยภาพดี แต่กลับไม่สามารถเติบโตต่อไปได้ ทำให้สูญเสียโอกาสในการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ
ทีนี้ หลังจากที่เรารู้กันแล้วว่า บสย. เป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญต่อธุรกิจ SMEs และเศรษฐกิจไทยอย่างไร เรามาเจาะลึกกันเพิ่มเติมดีกว่าว่า บสย. มีกลยุทธ์ในการปลดล็อกศักยภาพ SMEs ไทย ในปี 2568 อย่างไร
- กลยุทธ์ปลดล็อกศักยภาพ SMEs ไทย ในปี 2568 ของ บสย.
เริ่มกันด้วย กลยุทธ์การปลดล็อกศักยภาพ SMEs ไทย ผ่านการค้ำประกันสินเชื่อกันก่อน
ในปี 2568 นี้ บสย. ได้เตรียมวงเงินค้ำประกันสินเชื่อให้กับธุรกิจ SMEs ด้วยวงเงินกว่า 110,000 ล้านบาท
ในปี 2568 นี้ บสย. ได้เตรียมวงเงินค้ำประกันสินเชื่อให้กับธุรกิจ SMEs ด้วยวงเงินกว่า 110,000 ล้านบาท
ซึ่งจะสามารถช่วยเหลือธุรกิจ SMEs ให้เข้าถึงสินเชื่อได้ 165,000 ราย
รักษาการจ้างงานได้ 940,000 ตำแหน่ง
และสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้ 454,300 ล้านบาท
รักษาการจ้างงานได้ 940,000 ตำแหน่ง
และสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้ 454,300 ล้านบาท
โดยการค้ำประกันสินเชื่อให้ธุรกิจ SMEs ไทย จะแบ่งออกเป็นหลายมาตรการ เพื่อให้ครอบคลุมธุรกิจ SMEs ทุกกลุ่ม ทุกรูปแบบ ได้แก่
1. มาตรการค้ำประกันสินเชื่อเช่าซื้อ (บสย. SMEs PICK-UP)
สำหรับธุรกิจ SMEs ที่ต้องการซื้อรถกระบะคันใหม่ สำหรับขนส่งสินค้าและทำธุรกิจ ด้วยวงเงิน 5,000 ล้านบาท ในระยะแรก
สำหรับธุรกิจ SMEs ที่ต้องการซื้อรถกระบะคันใหม่ สำหรับขนส่งสินค้าและทำธุรกิจ ด้วยวงเงิน 5,000 ล้านบาท ในระยะแรก
ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้ธุรกิจ SMEs ที่ต้องการซื้อรถกระบะคันใหม่ เข้าถึงสินเชื่อได้ 6,250 ราย และสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจกว่า 21,000 ล้านบาท
รวมถึงยังสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจในภาพรวม ผ่านการกระตุ้นอุตสาหกรรมรถยนต์เชิงพาณิชย์ที่ซบเซา ให้กลับมาเติบโตได้อีกครั้ง
2. มาตรการค้ำประกันสำหรับผู้ประกอบการกลุ่ม Micro SMEs
สำหรับผู้ประกอบการรายย่อย กลุ่มเปราะบาง ผู้ที่เริ่มทำธุรกิจ และอาชีพอิสระ
สำหรับผู้ประกอบการรายย่อย กลุ่มเปราะบาง ผู้ที่เริ่มทำธุรกิจ และอาชีพอิสระ
- โครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS 11 บสย. SMEs สร้างโอกาส
เป็นโครงการที่ บสย. เน้นให้ความช่วยเหลือ SMEs ที่ไม่เคยเข้าถึงสินเชื่อในระบบ ด้วยวงเงินค้ำประกันสูงสุด 20,000 บาทต่อราย
เป็นโครงการที่ บสย. เน้นให้ความช่วยเหลือ SMEs ที่ไม่เคยเข้าถึงสินเชื่อในระบบ ด้วยวงเงินค้ำประกันสูงสุด 20,000 บาทต่อราย
- โครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS 11 บสย. SMEs มีทุน
เป็นโครงการที่ช่วยเหลือ SMEs รายย่อย และอาชีพอิสระที่มีปัญหาในการเข้าถึงสินเชื่อในระบบ ด้วยวงเงินค้ำประกันไม่เกิน 50,000 บาทต่อราย
เป็นโครงการที่ช่วยเหลือ SMEs รายย่อย และอาชีพอิสระที่มีปัญหาในการเข้าถึงสินเชื่อในระบบ ด้วยวงเงินค้ำประกันไม่เกิน 50,000 บาทต่อราย
- โครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS 11 บสย. SMEs Small Biz และโครงการ PGS 11 บสย. SMEs Smart Gen
สำหรับ SMEs ที่มีศักยภาพ และต้องการขยายธุรกิจ ด้วยวงเงินสินเชื่อที่มากขึ้น
สำหรับ SMEs ที่มีศักยภาพ และต้องการขยายธุรกิจ ด้วยวงเงินสินเชื่อที่มากขึ้น
- โครงการ PGS 11 บสย. SMEs No One Left Behind และโครงการ PGS 11 บสย. SMEs Smart Build
สำหรับ SMEs ที่กำลังเผชิญกับสถานการณ์ หรือภาวะวิกฤติ เช่น อุทกภัย หรือธุรกิจในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์
สำหรับ SMEs ที่กำลังเผชิญกับสถานการณ์ หรือภาวะวิกฤติ เช่น อุทกภัย หรือธุรกิจในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์
3. โครงการ SMEs Smart Green
สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านด้านเทคโนโลยี (Technology Transformation) หรือปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการผลิต เพื่อมุ่งสู่เศรษฐกิจสีเขียว
สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านด้านเทคโนโลยี (Technology Transformation) หรือปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการผลิต เพื่อมุ่งสู่เศรษฐกิจสีเขียว
4. PGS 11 บสย. SMEs Ignite Biz และ บสย. SMEs Ignite One
สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ใน 8 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยไปสู่อนาคต
สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ใน 8 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยไปสู่อนาคต
5. โครงการสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด และอยู่ระหว่างการฟื้นตัว
โดยผู้ประกอบการกลุ่มนี้อาจต้องการความช่วยเหลือด้านสินเชื่อ เพื่อเสริมสภาพคล่องในการทำธุรกิจ ซึ่ง บสย. จะให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการกลุ่มนี้ ผ่าน 2 โครงการด้วยกัน คือ
โดยผู้ประกอบการกลุ่มนี้อาจต้องการความช่วยเหลือด้านสินเชื่อ เพื่อเสริมสภาพคล่องในการทำธุรกิจ ซึ่ง บสย. จะให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการกลุ่มนี้ ผ่าน 2 โครงการด้วยกัน คือ
- การค้ำประกันสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ร่วมกับสถาบันการเงินของรัฐ
ให้ความช่วยเหลือ SMEs ขนาดเล็ก ทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล ที่มีรายได้ไม่เกิน 2 ล้านบาทต่อปี ด้วยอัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 3% ต่อปี และอัตราค่าธรรมเนียมค้ำประกัน 2% ต่อปี
ให้ความช่วยเหลือ SMEs ขนาดเล็ก ทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล ที่มีรายได้ไม่เกิน 2 ล้านบาทต่อปี ด้วยอัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 3% ต่อปี และอัตราค่าธรรมเนียมค้ำประกัน 2% ต่อปี
โดยผู้ประกอบการ SMEs รับภาระอัตราดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียมค้ำประกันเริ่มต้นเพียง 6% ต่อปี
- โครงการ PGS 11 บสย. SMEs Smart One
สำหรับ SMEs ทั่วไป ที่ต้องการสินเชื่อเพื่อขยายกิจการ หรือเพื่อเสริมสภาพคล่องในการทำธุรกิจ
สำหรับ SMEs ทั่วไป ที่ต้องการสินเชื่อเพื่อขยายกิจการ หรือเพื่อเสริมสภาพคล่องในการทำธุรกิจ
6. การช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ฟื้นตัวจากโควิดได้แล้ว และต้องการขยายกิจการ
โดย บสย. จะให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการกลุ่มนี้ ผ่าน 2 โครงการ คือ
โดย บสย. จะให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการกลุ่มนี้ ผ่าน 2 โครงการ คือ
- โครงการค้ำประกันสินเชื่อ อัตราค่าธรรมเนียมตามความเสี่ยง (Risk-Based Pricing)
- โครงการรายสถาบันการเงินระยะที่ 7
- โครงการรายสถาบันการเงินระยะที่ 7
ซึ่งนอกจากโครงการเหล่านี้แล้ว บสย. ยังมีการให้ความช่วยเหลือ SMEs อื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น
- ปรับเงื่อนไขมาตรการ บสย. พร้อมช่วย
ทำให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถปรับโครงสร้างหนี้ ปลดหนี้ได้เร็วขึ้น จากการปรับเงื่อนไข เพิ่มระยะเวลาการผ่อนชำระ และตัดเงินต้นให้มากขึ้น
ทำให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถปรับโครงสร้างหนี้ ปลดหนี้ได้เร็วขึ้น จากการปรับเงื่อนไข เพิ่มระยะเวลาการผ่อนชำระ และตัดเงินต้นให้มากขึ้น
- เปิดมาตรการใหม่ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มเปราะบาง
สำหรับผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มเปราะบาง ที่มียอดหนี้เงินต้นไม่เกิน 200,000 บาท ผ่อนชำระครั้งแรกเพียง 500 บาท
สำหรับผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มเปราะบาง ที่มียอดหนี้เงินต้นไม่เกิน 200,000 บาท ผ่อนชำระครั้งแรกเพียง 500 บาท
โดยสามารถผ่อนได้สูงสุดมากถึง 80 เดือน ตัดเงินต้นทั้งจำนวน อัตราดอกเบี้ย 0% และค่างวดต่ำเพียง 500-2,500 บาท พร้อมช่วยลดเงินต้นลง 30% เมื่อผ่อนชำระต่อเนื่อง 6 งวด
- จัดกิจกรรม บสย. พร้อมค้ำ พร้อมช่วย
เดินสายให้คำแนะนำด้านการปรับโครงสร้างหนี้ และการเข้าถึงสินเชื่อ ให้กับผู้ประกอบการ SMEs โดยเดินสายออกบูทที่ห้าง Lotus’s กระจายทุกภูมิภาค ทั้งหมด 12 จังหวัด ตลอดทั้งเดือนมกราคม-มีนาคม
เดินสายให้คำแนะนำด้านการปรับโครงสร้างหนี้ และการเข้าถึงสินเชื่อ ให้กับผู้ประกอบการ SMEs โดยเดินสายออกบูทที่ห้าง Lotus’s กระจายทุกภูมิภาค ทั้งหมด 12 จังหวัด ตลอดทั้งเดือนมกราคม-มีนาคม
ทั้งหมดนี้ คือกลยุทธ์ทั้งหมด ที่ บสย. ใช้เพื่อปลดล็อกศักยภาพของผู้ประกอบการ SMEs ไทยตลอดทั้งปี 2568
สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ไทยรายใด ที่กำลังต้องการความช่วยเหลือ เพื่อการเข้าถึงสินเชื่อ ปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สิน รวมถึงต้องการเงินทุนสำหรับการปลดล็อกศักยภาพการทำธุรกิจ
สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงขอคำแนะนำจาก บสย. ได้ผ่านช่องทางต่าง ๆ ดังนี้
- เว็บไซต์ https://www.tcg.or.th/
- Facebook บสย. บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม
- บสย. Call Center 02-890-9999
- LINE OA @tcgfirst
- Facebook บสย. บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม
- บสย. Call Center 02-890-9999
- LINE OA @tcgfirst
#TCGFirst
#NaCGA
#NaCGA