สรุปกลยุทธ์ ที่กลุ่มเซ็นทรัล ใช้ผลักดัน สินค้าภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย ให้ดังไปไกลทั่วโลก
11 เม.ย. 2024
เมื่อพูดถึงซอฟต์พาวเวอร์แบบไทย ๆ ที่คนทั่วโลกรู้จัก หลายคนน่าจะนึกถึง “กางเกงช้าง” กันเป็นอย่างแรก
แต่จริง ๆ แล้ว ประเทศไทยของเรายังมีผลิตภัณฑ์อื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น ทั้งในด้านคุณภาพและความสวยงาม จนอาจเรียกได้ว่า มีศักยภาพจะกลายเป็นซอฟต์พาวเวอร์ของไทย ชิ้นต่อไป
ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่เรากำลังพูดถึงอยู่นี้ ก็คือ “ผ้าขาวม้าไทย” ที่กลุ่มเซ็นทรัล นำผ้าขาวม้า ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย ไปวางจำหน่ายในศูนย์การค้าของกลุ่มเซ็นทรัล ทั่วทุกภูมิภาคกว่า 50 แห่ง
เรื่องนี้ มีความน่าสนใจอย่างไร ?
ก่อนอื่น ต้องอธิบายก่อนว่า ผ้าขาวม้า เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวสูงมาก เพราะผ้าขาวม้าจากแหล่งที่แตกต่างกัน ก็จะมีรายละเอียด และลวดลายการทอที่ต่างกัน ตามภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น
แถมผ้าขาวม้า ยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่นำไปต่อยอดได้หลากหลาย ทั้งเสื้อผ้า ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ กระเป๋า ปลอกหมอน หมวก ตุ๊กตา รวมถึงผลิตภัณฑ์อื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก
ขอเพียงแค่ผลิตภัณฑ์ชิ้นนั้น มีผ้าเป็นองค์ประกอบ ก็สามารถนำผ้าขาวม้า ไปใช้เป็นวัตถุดิบที่เพิ่มมูลค่าได้อย่างลงตัว
คำถามคือ หากเราต้องการผลักดันให้ผ้าขาวม้า กลายเป็นซอฟต์พาวเวอร์ ชิ้นต่อไป จะต้องทำอย่างไร ?
เรื่องนี้บอกเลยว่า ต้องเริ่มจากกลยุทธ์การตลาดขั้นพื้นฐาน ที่จะนำมาใช้กับผ้าขาวม้า โดยเฉพาะกลยุทธ์การตลาดที่เกี่ยวข้องกับช่องทางการจัดจำหน่าย
เพราะที่ผ่านมา แม้เราทุกคนต่างรู้ดีว่า ผ้าขาวม้าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
แต่ด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัวนี้ กลับทำให้ช่องทางการจัดจำหน่ายของผ้าขาวม้า กระจัดกระจาย จนหลายคนอาจคิดว่าผ้าขาวม้า เป็นสิ่งที่ไกลตัว และหาซื้อยาก
ซึ่งกลุ่มเซ็นทรัล และบริษัทในเครือ ได้ขานรับนโยบายส่งเสริมรายได้ชุมชนท้องถิ่นจากภาครัฐ เปิดตัวโครงการ “ฮักไทย เสน่ห์วิถีไทยสไตล์ใหม่ Thainess Station สินค้าไทย ร่วมใจเพื่อชุมชน” โดยรับซื้อสินค้าจาก 10 ชุมชนทั่วประเทศไทย นำมาจำหน่ายในศูนย์การค้าของกลุ่มเซ็นทรัล กว่า 50 แห่งทั่วประเทศ ทั้งเครื่องจักสานจากกระจูด ผ้าคราม ผ้าขาวม้า และสินค้าไทยร่วมสมัยจากแบรนด์ good goods ที่ได้มีการนำสินค้าจากชุมชนมาต่อยอดดีไซน์ให้มีความทันสมัยสามารถหยิบมาใช้ได้ในทุกวัน
มากไปกว่านั้นกลุ่มเซ็นทรัลยังได้มีโอกาสต้อนรับ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง, นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม, นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และนายจักรพล ตั้งสุทธิธรรม รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง เข้าเยี่ยมชม บูธ “ฮักไทย เสน่ห์วิถีไทยสไตล์ใหม่ Thainess Station - สินค้าไทย ร่วมใจเพื่อชุมชน” ของกลุ่มเซ็นทรัล โดยมี นางสาวบุษบา จิราธิวัฒน์ ที่ปรึกษาฝ่ายสื่อสารองค์กร กลุ่มเซ็นทรัล และนางสาวอัจฉรา วิสุทธิวงศ์รัตน์ รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายการตลาด สื่อสารองค์กรและความยั่งยืน กลุ่มเซ็นทรัล ให้การต้อนรับ ณ ชั้น 1 ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เชียงใหม่
ที่น่าสนใจก็คือ โครงการนี้ จะทำให้คนไทย รวมถึงนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย สามารถซื้อผ้าขาวม้า จาก 10 ชุมชนเหล่านี้ได้ง่ายยิ่งขึ้น
1. ชุมชน กัลยาผ้าทอ จังหวัดสุพรรณบุรี
2. อิมปานิ จังหวัดราชบุรี
3. นครราชสีมา โอทอป จังหวัดนครราชสีมา
4. วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าบ้านดอนพะทาย จังหวัดนครพนม
5. วิสาหกิจชุมชนผ้าทอไทยทรงดำบ้านหัวเขาจีน จังหวัดราชบุรี
6. วิสาหกิจชุมชนทอผ้าพุเตย จังหวัดเพชรบูรณ์
7. ผ้าขาวม้าจำปีสิรินธร จังหวัดลพบุรี
8. วิสาหกิจชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรี จังหวัดตรัง
9. ชุมชนผ้าย้อมครามบ้านกุดจิก จังหวัดสกลนคร
10. ผู้ประกอบการ OTOP สมุทรปราการ
2. อิมปานิ จังหวัดราชบุรี
3. นครราชสีมา โอทอป จังหวัดนครราชสีมา
4. วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าบ้านดอนพะทาย จังหวัดนครพนม
5. วิสาหกิจชุมชนผ้าทอไทยทรงดำบ้านหัวเขาจีน จังหวัดราชบุรี
6. วิสาหกิจชุมชนทอผ้าพุเตย จังหวัดเพชรบูรณ์
7. ผ้าขาวม้าจำปีสิรินธร จังหวัดลพบุรี
8. วิสาหกิจชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรี จังหวัดตรัง
9. ชุมชนผ้าย้อมครามบ้านกุดจิก จังหวัดสกลนคร
10. ผู้ประกอบการ OTOP สมุทรปราการ
โดยต่อไป ผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้า เครื่องจักสานจากกระจูด และผ้าคราม จะมีช่องทางการจัดจำหน่ายเพิ่ม ที่ศูนย์การค้าของกลุ่มเซ็นทรัล รวมทั้งสิ้น 50 แห่งทั่วประเทศ
แบ่งเป็น ศูนย์การค้าเซ็นทรัล 39 แห่ง
โรบินสันไลฟ์สไตล์ 3 แห่ง
ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล 6 แห่ง
ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน 2 แห่ง
โรบินสันไลฟ์สไตล์ 3 แห่ง
ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล 6 แห่ง
ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน 2 แห่ง
ซึ่งจะเริ่มวางจำหน่ายตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
รวมถึงกลุ่มเซ็นทรัล จะมีการขยายช่องทางการจัดจำหน่าย ให้กับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นเหล่านี้ เพิ่มเติมอีกในอนาคต
นอกจากนี้กลุ่มเซ็นทรัลได้มีการนำผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้า เครื่องจักสานจากกระจูด ผ้าคราม และสินค้าจากแบรนด์ good goods สินค้าไทยร่วมสมัย ไปวางจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าหรูระดับโลกในยุโรป ของกลุ่มเซ็นทรัลอีกด้วย
ไม่ว่าจะเป็น ห้างเซลฟริดเจส (Selfridges) ในประเทศอังกฤษ
ห้างรีนาเชนเต (Rinascente) ในประเทศอิตาลี
และห้างคาเดเว (KaDeWe) ในประเทศเยอรมนี
ห้างรีนาเชนเต (Rinascente) ในประเทศอิตาลี
และห้างคาเดเว (KaDeWe) ในประเทศเยอรมนี
ด้วยกลยุทธ์นี้ของกลุ่มเซ็นทรัล จะทำให้ผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย ทั้งผ้าขาวม้า เครื่องจักสานกระจูด และผ้าคราม มีโอกาสที่จะกลายเป็นหนึ่งในสินค้าเชิงวัฒนธรรมของไทย ที่คนทั่วโลกรู้จัก
หรือเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่าผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยเหล่านี้ อาจกลายเป็นซอฟต์พาวเวอร์ชิ้นต่อไป ของประเทศไทย ก็ว่าได้
จากการใช้กลยุทธ์การตลาด ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ที่ทำให้ผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย เข้าถึงฐานลูกค้าจำนวนมหาศาลอย่างที่ไม่เคยทำได้มาก่อน
ทั้งลูกค้าชาวไทย และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย รวมถึงชาวต่างชาติ ที่สามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย ได้จากห้างสรรพสินค้าหรูระดับโลกในยุโรป ของกลุ่มเซ็นทรัล
และทั้งหมดนี้ คือกลยุทธ์ที่กลุ่มเซ็นทรัล ใช้ในการผลักดันให้ผ้าขาวม้า รวมถึงผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย มีชื่อเสียงในระดับโลก
นอกจากนี้ กลุ่มเซ็นทรัล ยังมีการสนับสนุนผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยอย่างต่อเนื่อง ผ่านโครงการ “เซ็นทรัล ทำ” ทำด้วยกัน ทำด้วยใจ โครงการขับเคลื่อนด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนของกลุ่มเซ็นทรัล ที่ตั้งใจพัฒนาผลิตภัณฑ์ของท้องถิ่น รักษาภูมิปัญญาชาวบ้าน ต่อยอด เพิ่มมูลค่า เปิดพื้นที่ช่องทางการจัดจำหน่าย ทำให้ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นของไทย เติบโตและแข่งขันได้ ในระดับสากล..
สำหรับใครที่สนใจผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Facebook : Central Group หรือ centralgroup.com/thainess-station
#กลุ่มเซ็นทรัล
#เซ็นทรัลทำ
#ThainessStation
#เซ็นทรัลทำ
#ThainessStation
Tag:เซ็นทรัล