สรุปโมเดล Hero-Hub-Help ไอเดียช่วยวางแผน Content Marketing จากทีม Google
24 ธ.ค. 2024
“Content is King” ประโยคคลาสสิกที่ คุณบิลล์ เกตส์ ผู้ก่อตั้ง Microsoft เป็นผู้กล่าวไว้ตั้งแต่ปี 1996 แต่ยังสามารถใช้ได้จนถึงทุกวันนี้
ในปัจจุบัน เราอยู่ในยุคอินเทอร์เน็ต ที่สามารถเข้าถึงทุกอย่างได้แบบฟรี ๆ
ดังนั้น ท่ามกลางข้อมูลข่าวสารมากมาย วิธีที่จะทำให้แบรนด์ของเราโดดเด่นขึ้นมาคือ การสื่อสารแบรนด์ด้วยคอนเทนต์ที่มีประสิทธิภาพ
ดังนั้น ท่ามกลางข้อมูลข่าวสารมากมาย วิธีที่จะทำให้แบรนด์ของเราโดดเด่นขึ้นมาคือ การสื่อสารแบรนด์ด้วยคอนเทนต์ที่มีประสิทธิภาพ
หนึ่งในวิธีการทำคอนเทนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพคือ “Hero-Hub-Help” ซึ่งคิดค้นขึ้นโดย Google ในปี 2015
แล้ว Hero-Hub-Help คืออะไร ? ช่วยให้แบรนด์สื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร ?
เดิมที ทฤษฎีนี้ Google คิดค้นขึ้นมาสำหรับการทำคอนเทนต์วิดีโอบน YouTube โดยเฉพาะ
(คือเมื่อก่อน Google เป็นบริษัทเจ้าของ YouTube ก่อนจะปรับโครงสร้างบริษัทใหม่ กลายเป็น Google กับ YouTube อยู่ภายใต้บริษัทแม่เดียวกันชื่อ Alphabet)
แต่ต้องบอกว่า จริง ๆ แล้วทฤษฎีนี้ แบรนด์ต่าง ๆ ยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการทำคอนเทนต์เพื่อโปรโมตแบรนด์ (Content Marketing) ได้อีกด้วย
1. เริ่มกันที่ Help Content
Help Content นับเป็นคอนเทนต์ที่แบรนด์ควรทำ “ถี่ที่สุด”
คอนเทนต์ประเภทนี้คือ คอนเทนต์แนวตอบปัญหา Q&A เกี่ยวกับสินค้าและบริการ หรือแบรนด์ ที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้ความรู้กับกลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะ
รวมถึงคอนเทนต์ที่ออกแบบมาให้เหมาะกับการค้นหาบน Google หรือติด SEO นั่นเอง
ยกตัวอย่างเช่น
- บทความ How to สอนเกี่ยวกับวิธีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการจากแบรนด์ของเราอย่าง How to วิธีดูแลผิวหน้า, How to แต่งบ้านง่าย ๆ ฉบับ IKEA, คลิปวิดีโอรีวิวการใช้สินค้า
- บทความ How to สอนเกี่ยวกับวิธีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการจากแบรนด์ของเราอย่าง How to วิธีดูแลผิวหน้า, How to แต่งบ้านง่าย ๆ ฉบับ IKEA, คลิปวิดีโอรีวิวการใช้สินค้า
จุดประสงค์ของการทำ Help Content หลัก ๆ ก็คือ ช่วยให้แบรนด์ของเราถูกพบเห็น และเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น หรือก็คือช่วยสร้าง Brand Awareness
โดย Google ได้เปิดเผยทริกเล็ก ๆ สำหรับคนที่ทำคอนเทนต์วิดีโอบน YouTube ว่า ในช่วงที่เพิ่งเริ่มเปิดช่อง (Channel) แรก ๆ ควรมี Help Content อย่างน้อย 8 วิดีโอ
รวมถึงถ้าอยากรู้ว่า แบรนด์ของเราควรทำคอนเทนต์ How to ประมาณไหน
ก็สามารถนำคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ ไปดูคำค้นหาที่เกี่ยวข้อง (Related Queries) ได้บน Google Trends
ก็สามารถนำคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ ไปดูคำค้นหาที่เกี่ยวข้อง (Related Queries) ได้บน Google Trends
เช่น หากเซิร์ชคำว่า MIXUE คำค้นหาที่เกี่ยวข้องที่สามารถนำมาทำเป็น Help Content ได้ ก็อย่างเช่น MIXUE ปิดกี่โมง ?
2. Hub Content
Hub Content เป็นอีกหนึ่งคอนเทนต์ที่สามารถทำบ่อย ๆ ได้ แต่อาจไม่จำเป็นต้องบ่อยเท่า Help Content
คอนเทนต์ประเภทนี้หลัก ๆ คือ คอนเทนต์ที่จะช่วยดึงดูดให้ลูกค้าสนใจแบรนด์, ช่วยสร้าง Engagement และสร้างความสัมพันธ์อันดีงามระหว่างลูกค้ากับแบรนด์ ทำให้ลูกค้ากลับมาซื้อหรือใช้บริการจากแบรนด์ของเราบ่อย ๆ
ยกตัวอย่างเช่น
- คอนเทนต์เล่าเรื่องสินค้า อย่างเส้นทางของแบรนด์ จุดเด่น
- คอนเทนต์อัปเดตเทรนด์ เป็นรายสัปดาห์ หรือรายเดือน
- คอนเทนต์เล่าเรื่องสินค้า อย่างเส้นทางของแบรนด์ จุดเด่น
- คอนเทนต์อัปเดตเทรนด์ เป็นรายสัปดาห์ หรือรายเดือน
หรือยกตัวอย่างเป็นแบรนด์เพื่อให้เห็นภาพ เช่น
Hub Content ของ Netflix คือ คลิปเบื้องหลังการถ่ายทำ, การสัมภาษณ์นักแสดง, Trailers หรือวิดีโอตัวอย่างของซีรีส์และภาพยนตร์ที่กำลังจะเปิดตัว
Hub Content ของ Netflix คือ คลิปเบื้องหลังการถ่ายทำ, การสัมภาษณ์นักแสดง, Trailers หรือวิดีโอตัวอย่างของซีรีส์และภาพยนตร์ที่กำลังจะเปิดตัว
3. ปิดท้ายด้วย Hero Content
ขึ้นชื่อว่าคอนเทนต์ประเภท Hero หมายถึง คอนเทนต์ “ทีเด็ด” ที่สร้างขึ้นเพื่อดึงดูดความสนใจของลูกค้าในวงกว้างที่สุด
โดยมีจุดมุ่งหมายคือ นอกจากจะสร้างการรับรู้ให้แบรนด์แล้ว ยังต้องทำให้ลูกค้าประทับใจแบรนด์ที่สุดด้วย
ซึ่งคอนเทนต์ประเภทนี้ มักจะถูกใช้ในโอกาสสำคัญ ๆ จึงไม่จำเป็นต้องมีบ่อย ๆ
แต่ข้อสำคัญคือ คอนเทนต์ต้องได้รับการออกแบบให้ทรงพลัง และเป็นที่น่าจดจำมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
แต่ข้อสำคัญคือ คอนเทนต์ต้องได้รับการออกแบบให้ทรงพลัง และเป็นที่น่าจดจำมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ยกตัวอย่างเช่น
- คอนเทนต์เปิดตัวสินค้าใหม่
- คอนเทนต์เฉลิมฉลองครบรอบแบรนด์ 10 ปี
- คอนเทนต์โปรโมตแคมเปญใหญ่ ๆ ที่แบรนด์จัดขึ้น
- คอนเทนต์เปิดตัวสินค้าใหม่
- คอนเทนต์เฉลิมฉลองครบรอบแบรนด์ 10 ปี
- คอนเทนต์โปรโมตแคมเปญใหญ่ ๆ ที่แบรนด์จัดขึ้น
หรือถ้าให้ยกตัวอย่างเป็นแบรนด์เพื่อให้เห็นภาพ เช่น
Hero Content ของ Apple ในแต่ละปีคือ นอกจากจะมีอิเวนต์เปิดตัว iPhone แล้ว ก็ยังมีการเผยแพร่วิดีโอโชว์ดีเทล iPhone รุ่นใหม่ และภาพยนตร์โฆษณา เพื่อโปรโมตและทำให้เห็นฟังก์ชันใหม่ ๆ
เช่น วิดีโอโฆษณา iPhone 16 ที่ Apple ถ่ายทำในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก
ทั้งหมดนี้คือ รายละเอียดของ Hero-Hub-Help โมเดลที่ช่วยให้แบรนด์ต่าง ๆ วางแผนการทำ Content Marketing ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จาก Google
สรุปสั้น ๆ คือ หากแบรนด์คิดจะทำ Content Marketing ควรวางแผนให้มีคอนเทนต์ด้วยกัน 3 รูปแบบ ซึ่งแต่ละรูปแบบก็มีความถี่ มีจุดประสงค์ และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน ได้แก่
- Help Content คอนเทนต์ที่ช่วยตอบคำถาม และช่วยให้แบรนด์เป็นที่รู้จัก ผ่าน SEO
โดยอาจมีกลุ่มเป้าหมายคือ คนที่ยังไม่เคยเป็นลูกค้าของแบรนด์มาก่อน
โดยอาจมีกลุ่มเป้าหมายคือ คนที่ยังไม่เคยเป็นลูกค้าของแบรนด์มาก่อน
- Hub Content คอนเทนต์ที่ช่วยสร้างยอด Engagement และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้าและแบรนด์
โดยอาจมีกลุ่มเป้าหมายคือ คนที่เคยเป็นลูกค้าหรือเคยใช้บริการจากแบรนด์แล้ว ให้หันกลับมาซื้อและใช้บริการของแบรนด์บ่อย ๆ
โดยอาจมีกลุ่มเป้าหมายคือ คนที่เคยเป็นลูกค้าหรือเคยใช้บริการจากแบรนด์แล้ว ให้หันกลับมาซื้อและใช้บริการของแบรนด์บ่อย ๆ
- Help Content คอนเทนต์ที่ช่วยสร้างการรับรู้ให้แบรนด์เป็นวงกว้าง
โดยอาจมีกลุ่มเป้าหมายคือ ทั้งลูกค้าเก่าที่เคยเป็นลูกค้าของแบรนด์มาก่อน และลูกค้าใหม่ที่ไม่เคยรู้จัก หรือไม่เคยซื้อและใช้บริการเลย
โดยอาจมีกลุ่มเป้าหมายคือ ทั้งลูกค้าเก่าที่เคยเป็นลูกค้าของแบรนด์มาก่อน และลูกค้าใหม่ที่ไม่เคยรู้จัก หรือไม่เคยซื้อและใช้บริการเลย
#ContentMarketing
_______________________________
_______________________________