อธิบายกลยุทธ์ Re-Launching ผ่านเคส Medyceles นำแบรนด์ที่หายไป 3 ปี กลับมาดันยอดขายบริษัท แตะ 1,000 ล้าน
12 ธ.ค. 2024
แบรนด์ ก็เปรียบเสมือน มนุษย์
เพราะมีวงจรชีวิต ที่มีชื่อเรียกว่า Product Life Cycle คือ มีเกิด-กำลังเติบโต-เจริญรุ่งเรือง-หายไปจากตลาด ไม่แตกต่างกัน
เพราะมีวงจรชีวิต ที่มีชื่อเรียกว่า Product Life Cycle คือ มีเกิด-กำลังเติบโต-เจริญรุ่งเรือง-หายไปจากตลาด ไม่แตกต่างกัน
ทว่าในโลกของธุรกิจ บางครั้งการหายไป อาจไม่ใช่จุดจบเสมอไป..
เพราะบางแบรนด์ ก็สามารถกลับเข้าสู่ตลาดได้อีกครั้ง ด้วยกลยุทธ์ที่มีชื่อว่า “Re-Launching Strategies”
เพราะบางแบรนด์ ก็สามารถกลับเข้าสู่ตลาดได้อีกครั้ง ด้วยกลยุทธ์ที่มีชื่อว่า “Re-Launching Strategies”
แล้ว Re-Launching Strategies คืออะไร ?
บทความนี้จะอธิบายให้ฟัง พร้อมยกตัวอย่างจากเคสจริงอย่าง Medyceles ชุบชีวิตแบรนด์ในเครือที่เคยหายไป 3 ปี แต่ตอนนี้กลับมาดันยอดขายบริษัทแตะ 1,000 ล้านบาท
บทความนี้จะอธิบายให้ฟัง พร้อมยกตัวอย่างจากเคสจริงอย่าง Medyceles ชุบชีวิตแบรนด์ในเครือที่เคยหายไป 3 ปี แต่ตอนนี้กลับมาดันยอดขายบริษัทแตะ 1,000 ล้านบาท
Re-Launching Strategies คือ กลยุทธ์การเปิดตัวสินค้า บริการ หรือเปิดตัวแบรนด์ใหม่อีกครั้ง หลังจากที่เคยเปิดตัวไปแล้วในอดีต
โดยเหตุผลที่ต้องเปิดตัวใหม่อีกครั้ง ก็อาจมาจากหลายปัจจัย เช่น
- ต้องการปรับปรุงยอดขาย กระตุ้นความสนใจจากลูกค้า
- ต้องการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ของแบรนด์
- ต้องการปรับปรุงยอดขาย กระตุ้นความสนใจจากลูกค้า
- ต้องการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ของแบรนด์
ยกตัวอย่างเช่น แบรนด์หรู Burberry ที่มีเอกลักษณ์คือ ลายตาราง Burberry Check
รู้หรือไม่ว่า ในช่วงทศวรรษ 20 ทาง Burberry ได้ขายลิขสิทธิ์ลายตาราง จนทำให้ลายตารางนี้ถูกใช้ไปกับสินค้ามากมาย และท้ายที่สุด ลายตารางก็หมดความพิเศษไป
เรื่องนี้ฟังดูเหมือน Burberry กำลังเจอวิกฤติหนัก และหายไปจากตลาด
แต่ทางแบรนด์ก็แก้เกม หรือ Re-Launching แบรนด์ด้วยการไล่ซื้อลิขสิทธิ์กลับมา พร้อมกับจ้างเซเลบริตีแนวหน้า มาโฆษณาผ่านนิตยสารชื่อดัง
แต่ทางแบรนด์ก็แก้เกม หรือ Re-Launching แบรนด์ด้วยการไล่ซื้อลิขสิทธิ์กลับมา พร้อมกับจ้างเซเลบริตีแนวหน้า มาโฆษณาผ่านนิตยสารชื่อดัง
จึงทำให้ Burberry ยังคงเป็นแบรนด์หรู ที่อยู่คู่ตลาดมากว่า 168 ปี
อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหนึ่งเหตุผล ที่ทำให้บางแบรนด์ต้องเปิดตัวใหม่อีกครั้ง
นั่นก็คือ มีเหตุที่ “คาดไม่ถึง” ทำให้แบรนด์ต้องหายไป แล้วเมื่อวิกฤติผ่านไป จึงค่อยกลับมายืนในตลาดอีกครั้ง
นั่นก็คือ มีเหตุที่ “คาดไม่ถึง” ทำให้แบรนด์ต้องหายไป แล้วเมื่อวิกฤติผ่านไป จึงค่อยกลับมายืนในตลาดอีกครั้ง
ซึ่งในกรณีนี้ มีเคสที่น่าสนใจอย่าง Medyceles
เอ่ยถึง Medyceles หลายคนอาจจะไม่รู้จัก
แต่บริษัทนี้เป็นบริษัทเวชภัณฑ์ความงามของคนไทย ถือกำเนิดขึ้นจากวิสัยทัศน์ของคุณสุรวุฒิ วูวงศ์ เภสัชกรผู้ก่อตั้ง ที่มองเห็นศักยภาพของสินค้ากลุ่มความงามว่ากำลังเติบโต
แต่บริษัทนี้เป็นบริษัทเวชภัณฑ์ความงามของคนไทย ถือกำเนิดขึ้นจากวิสัยทัศน์ของคุณสุรวุฒิ วูวงศ์ เภสัชกรผู้ก่อตั้ง ที่มองเห็นศักยภาพของสินค้ากลุ่มความงามว่ากำลังเติบโต
ที่น่าสนใจคือ Medyceles เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการนำเข้าและจัดจำหน่ายเวชภัณฑ์ความงามให้กับคลินิกเสริมความงามกว่า 3,000 สาขาทั่วประเทศไทย
โดยมีสินค้าดังอย่าง สินค้านำเข้าจากเกาหลีใต้ ที่มีคุณซน เย จิน เป็นพรีเซนเตอร์นั่นเอง
ต้องบอกว่า ในช่วงแรกที่ Medyceles ตีตลาดในไทย กำลังเป็นไปด้วยดี
แต่เส้นทางการทำธุรกิจส่วนใหญ่แล้ว ก็มักจะไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบเสมอไป..
แต่เส้นทางการทำธุรกิจส่วนใหญ่แล้ว ก็มักจะไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบเสมอไป..
ในปี 2020 ทางบริษัทต้องเจอกับวิกฤติหนักจากสงครามทางการค้า ส่งผลให้สินค้าที่เป็นฮีโรโปรดักต์ ซึ่งทำรายได้หลักให้บริษัทถึง 90% ต้องโดนระงับการจำหน่ายถึง 3 ปี
ซึ่งในปี 2023 หลังวิกฤติสงครามทางการค้าได้จบลง
ประกอบกับวิสัยทัศน์ของทีมผู้บริหาร Medyceles และพนักงานกว่า 80 ชีวิต ที่ไม่เคยยอมแพ้
ประกอบกับวิสัยทัศน์ของทีมผู้บริหาร Medyceles และพนักงานกว่า 80 ชีวิต ที่ไม่เคยยอมแพ้
จึงเริ่มดำเนินกลยุทธ์ Re-Launching นำแบรนด์ที่หายไปกลับมาอีกครั้งในรอบ 3 ปีทันที
แต่โจทย์ใหญ่ที่ตามมาก็คือ การรับรู้ของแบรนด์ลดลงอย่างมาก และคู่แข่งก็เข้ามาเป็นเจ้าตลาดแทน
ดังนั้น สิ่งแรกที่ Medyceles ทำในการ Re-Launching คือ เร่งสร้างการรับรู้ และสร้างความเชื่อมั่นให้แบรนด์กลับมาครองใจลูกค้าเป็นอันดับ 1 ตามเดิม เช่น
- การดึงพรีเซนเตอร์ระดับประเทศเข้ามาช่วยเสริมความเชื่อมั่น อย่าง คุณนนกุล-ชานน สันตินธรกุล และคุณแต้ว-ณฐพร เตมีรักษ์
- จัดกิจกรรมวิชาการ ให้ความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมใหม่ ๆ ในตลาดความงาม
เพื่อต่อยอดให้แพทย์และลูกค้าได้ใช้สินค้าที่มีความปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นหนึ่งในจุดแข็ง ที่จะทำให้ลูกค้ากลับมามั่นใจในสินค้าอีกครั้ง
เพื่อต่อยอดให้แพทย์และลูกค้าได้ใช้สินค้าที่มีความปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นหนึ่งในจุดแข็ง ที่จะทำให้ลูกค้ากลับมามั่นใจในสินค้าอีกครั้ง
- ปรับกลยุทธ์เรื่องโปรโมชันให้เร้าใจกว่า 50 แคมเปญ เพื่อดึงดูดให้ลูกค้ากลับมาเปิดใจให้แบรนด์อีกครั้ง
ต้องบอกว่า นอกจากการ Re-Launching Strategies แล้ว
อีกหนึ่งกลยุทธ์ที่ทำให้บริษัทเติบโตอย่างรวดเร็วและก้าวกระโดดก็คือ “Growth Hacking Strategies”
อีกหนึ่งกลยุทธ์ที่ทำให้บริษัทเติบโตอย่างรวดเร็วและก้าวกระโดดก็คือ “Growth Hacking Strategies”
Growth Hacking Strategies เป็นกลยุทธ์ที่นิยมในหมู่สตาร์ตอัป
คือการทำให้ธุรกิจเติบโตได้รวดเร็วที่สุด ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใด ๆ ก็ตาม
ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว ก็มักจะใช้หลาย ๆ กลยุทธ์รวมกัน เช่น การทำทั้ง SEO ควบคู่ไปกับการวิจัยตลาด และพัฒนาผลิตภัณฑ์
ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว ก็มักจะใช้หลาย ๆ กลยุทธ์รวมกัน เช่น การทำทั้ง SEO ควบคู่ไปกับการวิจัยตลาด และพัฒนาผลิตภัณฑ์
ส่วนกลยุทธ์ Growth Hacking ของ Medyceles จะเน้นไปที่ 3 วิธี ได้แก่
- เน้นการตลาดเชิงสร้างสรรค์
เช่น การนำแบรนด์ในเครือไปคอลแลบกับแบรนด์อื่น อย่างการคอลแลบกับ Guss Damn Good แบรนด์คราฟต์ไอศกรีม จึงออกมาเป็นไอศกรีมรสชาติ “You Are So Beautiful และ I Miss You”
เช่น การนำแบรนด์ในเครือไปคอลแลบกับแบรนด์อื่น อย่างการคอลแลบกับ Guss Damn Good แบรนด์คราฟต์ไอศกรีม จึงออกมาเป็นไอศกรีมรสชาติ “You Are So Beautiful และ I Miss You”
หรือการเข้าไปร่วมแคมเปญกับ Grab ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่คนรุ่นใหม่และวัยทำงานใช้กันอย่างแพร่หลาย ส่งผลให้แบรนด์เกิดการรับรู้อย่างรวดเร็วขึ้น
- การเข้าถึงพฤติกรรมของลูกค้าและผู้บริโภค
ทั้งการสอบถามฟีดแบ็กจากลูกค้าโดยตรง รวมถึงเก็บข้อมูลบนโซเชียลมีเดีย และทำงานวิจัยการตลาดต่าง ๆ เพื่อทำความเข้าใจความต้องการที่แท้จริงของตลาด
ทั้งการสอบถามฟีดแบ็กจากลูกค้าโดยตรง รวมถึงเก็บข้อมูลบนโซเชียลมีเดีย และทำงานวิจัยการตลาดต่าง ๆ เพื่อทำความเข้าใจความต้องการที่แท้จริงของตลาด
- การพัฒนาระบบ CRM โดยการใช้ข้อมูลนำมาวิเคราะห์เพื่อทำการตลาดและการขายได้อย่างตอบโจทย์ลูกค้า และบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้าได้เป็นอย่างดี
ด้วยกลยุทธ์การ Re-Launching และ Growth Hacking ทั้งหมดนี้ จึงทำให้ลูกค้าเริ่มกลับมารู้จัก และเชื่อมั่นในแบรนด์ รวมถึง Medyceles อีกครั้ง
สะท้อนได้จากผลประกอบการของ บริษัท เมดิเซเลส จำกัด
ปี 2021 รายได้ 224 ล้านบาท กำไร 44 ล้านบาท
ปี 2022 รายได้ 409 ล้านบาท กำไร 79 ล้านบาท
ปี 2023 รายได้ 652 ล้านบาท กำไร 134 ล้านบาท
ปี 2022 รายได้ 409 ล้านบาท กำไร 79 ล้านบาท
ปี 2023 รายได้ 652 ล้านบาท กำไร 134 ล้านบาท
จะเห็นได้ว่า หลังจากที่ Medyceles นำแบรนด์ที่หายไป 3 ปีกลับมา ก็ช่วยดันยอดขายของบริษัทให้เติบโตได้อย่างต่อเนื่อง
ที่น่าสนใจ ในปี 2024 นี้ คาดว่าบริษัทจะมีรายได้เติบโตแตะ 1,000 ล้านบาท และกำไรกว่า 300 ล้านบาท
ซึ่งถือเป็นบริษัทคนไทยด้านเวชภัณฑ์ความงามแห่งแรก ที่มียอดขายแตะ 1,000 ล้านบาทอีกด้วย
ซึ่งถือเป็นบริษัทคนไทยด้านเวชภัณฑ์ความงามแห่งแรก ที่มียอดขายแตะ 1,000 ล้านบาทอีกด้วย
นอกจากนี้ จากอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง บวกกับความตั้งใจในการตีตลาด พร้อมกับมองหาสินค้าใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์ลูกค้าอยู่เสมอ
ทำให้ Medyceles ตั้งเป้าไว้ว่า ในปี 2025 จะเติบโตถึง 25%
พร้อมกับมองแผนระยะยาวว่า จะสามารถทำยอดขาย 3,000 ล้านบาท ภายใน 5 ปี และขึ้นเป็นบริษัทชั้นนำของคนไทยในด้านเวชภัณฑ์ความงามอีกด้วย..
#Medyceles
Tag:Medyceles