รวม 7 ไอเดีย ออกแบบโลโก ไว้ใช้สร้างแบรนด์ให้คนจำได้ พร้อมตัวอย่างแบรนด์ที่ใช้
31 ต.ค. 2024
1. Emblem = โลโกจะประกอบไปด้วยหลายองค์ประกอบ ทั้งตัวอักษร รูปภาพ และสัญลักษณ์
ถือเป็นโลโกประเภทแรก ๆ ที่ถือกำเนิดขึ้นมาบนโลกนี้ มีลักษณะคล้ายกับตราประทับขององค์กรต่าง ๆ ที่มีอายุค่อนข้างมาก
มีรายละเอียดการออกแบบค่อนข้างมาก อยู่รวมกันภายในโลโกที่มีรูปทรงเรขาคณิต ทั้งสามเหลี่ยม และสี่เหลี่ยม แต่ที่พบได้มากที่สุด คือโลโก Emblem ที่เป็นวงกลม
ตัวอย่างแบรนด์ที่ใช้ Emblem Logo เช่น
- โลโกของสถานศึกษาต่าง ๆ เช่น มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, โรงเรียนเวทมนตร์ฮอกวอตส์
- แบรนด์รถยนต์ Porsche
- แบรนด์รถมอเตอร์ไซค์ Harley-Davidson
- โลโกของสถานศึกษาต่าง ๆ เช่น มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, โรงเรียนเวทมนตร์ฮอกวอตส์
- แบรนด์รถยนต์ Porsche
- แบรนด์รถมอเตอร์ไซค์ Harley-Davidson
ไอเดียแบรนด์ที่เหมาะสม
- แบรนด์ที่มีความเก่าแก่ มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ต้องการออกแบบโลโกที่มีรายละเอียดสูง สวยงาม เหนือกาลเวลา
- แบรนด์ที่มีความเก่าแก่ มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ต้องการออกแบบโลโกที่มีรายละเอียดสูง สวยงาม เหนือกาลเวลา
และด้วยความที่โลโก Emblem มีรายละเอียดสูง ทำให้ยากที่เราจะเจอโลโกของแบรนด์อื่น ๆ มีลักษณะคล้ายกับโลโกของเรา
ข้อควรระวังในการใช้งาน
- มีรายละเอียดสูง ทั้งตัวอักษร รูปภาพ สัญลักษณ์ และเส้นสายต่าง ๆ อยู่ภายในโลโกเดียวกัน
- มีรายละเอียดสูง ทั้งตัวอักษร รูปภาพ สัญลักษณ์ และเส้นสายต่าง ๆ อยู่ภายในโลโกเดียวกัน
ทำให้อาจจะยากต่อการนำไปจัดวางในสื่อประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะหากจำเป็นต้องนำโลโกไปวางไว้ในพื้นที่ที่มีขนาดเล็ก อาจทำให้สูญเสียรายละเอียดที่ต้องการนำเสนอไป
2. Pictorial Mark = โลโกที่มีเพียงรูปภาพ หรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่แบรนด์สร้างขึ้น โดยอิงมาจากสิ่งที่มีอยู่บนโลก เพียงอย่างเดียว
เพื่อสื่อสารถึงความเป็นแบรนด์ โดยไม่มีตัวอักษร หรือข้อความใด ๆ อยู่ภายในโลโกเลย
เพื่อสื่อสารถึงความเป็นแบรนด์ โดยไม่มีตัวอักษร หรือข้อความใด ๆ อยู่ภายในโลโกเลย
ตัวอย่างแบรนด์ที่ใช้โลโก Pictorial Mark เช่น
- Apple
- Instagram
- Google Chrome
- Mastercard
- Apple
- Google Chrome
- Mastercard
ไอเดียแบรนด์ที่เหมาะสม
- โลโก Pictorial Mark เป็นโลโกที่มีความเรียบง่ายมากที่สุด เพราะมีเพียงรูปภาพ หรือสัญลักษณ์ที่แบรนด์สร้างขึ้น โดยไม่มีตัวอักษรหรือข้อความใด ๆ
จึงเหมาะกับแบรนด์ที่ต้องการสร้างภาพลักษณ์ (Brand Identity) ที่จดจำได้ง่าย
- โลโก Pictorial Mark เป็นโลโกที่มีความเรียบง่ายมากที่สุด เพราะมีเพียงรูปภาพ หรือสัญลักษณ์ที่แบรนด์สร้างขึ้น โดยไม่มีตัวอักษรหรือข้อความใด ๆ
จึงเหมาะกับแบรนด์ที่ต้องการสร้างภาพลักษณ์ (Brand Identity) ที่จดจำได้ง่าย
ข้อควรระวังในการใช้งาน
- การที่โลโก Pictorial Mark มีเพียงรูปภาพ หรือสัญลักษณ์ที่แบรนด์สร้างขึ้น จึงอาจไม่เหมาะกับแบรนด์ใหม่ ที่ภาพลักษณ์ยังไม่ชัดเจน เพราะจะทำให้กลุ่มเป้าหมายไม่รู้ว่าโลโกนี้สื่อถึงแบรนด์อะไร
- การที่โลโก Pictorial Mark มีเพียงรูปภาพ หรือสัญลักษณ์ที่แบรนด์สร้างขึ้น จึงอาจไม่เหมาะกับแบรนด์ใหม่ ที่ภาพลักษณ์ยังไม่ชัดเจน เพราะจะทำให้กลุ่มเป้าหมายไม่รู้ว่าโลโกนี้สื่อถึงแบรนด์อะไร
แบรนด์จึงควรพิจารณาเลือกใส่ชื่อแบรนด์ลงในโลโก ร่วมกับรูปภาพ และสัญลักษณ์ของแบรนด์ในช่วงระยะเวลาหนึ่งก่อน แล้วจึงนำชื่อแบรนด์ออกในภายหลังเมื่อกลุ่มเป้าหมายจดจำแบรนด์ได้
3. Wordmarks = โลโกที่มีลักษณะสำคัญคือการใช้ชื่อเต็ม ๆ ของแบรนด์เป็นโลโก โดยมีการออกแบบให้มีความสวยงามมากขึ้น เช่น การเลือกใช้ฟอนต์ สี แสง หรือเงา
ตัวอย่างแบรนด์ที่ใช้โลโก Wordmarks เช่น
- Google
- Intel
- Samsung
- Zara
- Coca-Cola
- Intel
- Samsung
- Zara
- Coca-Cola
ไอเดียแบรนด์ที่เหมาะสม
- เหมาะกับแบรนด์ใหม่ ที่เพิ่งเริ่มก่อตั้ง และต้องการทำให้ลูกค้าจำชื่อของแบรนด์ได้อย่างรวดเร็ว
เพราะข้อดีของโลโก Wordmarks คือ เป็นที่จดจำ และสร้างความเชื่อมโยงระหว่างลูกค้ากับแบรนด์ได้ง่าย
- เหมาะกับแบรนด์ใหม่ ที่เพิ่งเริ่มก่อตั้ง และต้องการทำให้ลูกค้าจำชื่อของแบรนด์ได้อย่างรวดเร็ว
เพราะข้อดีของโลโก Wordmarks คือ เป็นที่จดจำ และสร้างความเชื่อมโยงระหว่างลูกค้ากับแบรนด์ได้ง่าย
ข้อควรระวังในการใช้งาน
- เนื่องจากโลโกประเภทนี้ใช้ชื่อเต็ม ๆ ของแบรนด์ในการออกแบบโลโก
จึงไม่เหมาะกับแบรนด์ที่มีชื่อยาว ๆ รวมถึงการเลือกใช้ฟอนต์ สี แสง หรือเงา อาจดูล้าสมัยได้ง่ายกว่าโลโกประเภทอื่น ๆ
- เนื่องจากโลโกประเภทนี้ใช้ชื่อเต็ม ๆ ของแบรนด์ในการออกแบบโลโก
จึงไม่เหมาะกับแบรนด์ที่มีชื่อยาว ๆ รวมถึงการเลือกใช้ฟอนต์ สี แสง หรือเงา อาจดูล้าสมัยได้ง่ายกว่าโลโกประเภทอื่น ๆ
4. Lettermark = โลโกที่คล้ายกับโลโกประเภท Wordmarks แต่จะแตกต่างกันตรงที่จะใช้ตัวอักษรย่อของชื่อแบรนด์มาทำเป็นโลโก
โดยมีการออกแบบให้มีความสวยงามมากขึ้น เช่น การเลือกใช้ฟอนต์ สี แสง หรือเงา
โดยมีการออกแบบให้มีความสวยงามมากขึ้น เช่น การเลือกใช้ฟอนต์ สี แสง หรือเงา
ตัวอย่างแบรนด์ที่ใช้โลโก Lettermark เช่น
- NASA ที่ย่อมาจาก National Aeronautics and Space Administration
- McDonald’s ที่ใช้โลโกตัว M
- Electronic Arts ที่ใช้โลโก EA
- HBO ที่ย่อมาจาก Home Box Office
- NASA ที่ย่อมาจาก National Aeronautics and Space Administration
- McDonald’s ที่ใช้โลโกตัว M
- Electronic Arts ที่ใช้โลโก EA
- HBO ที่ย่อมาจาก Home Box Office
ไอเดียแบรนด์ที่เหมาะสม
- เหมาะกับแบรนด์ที่มีชื่อยาว ๆ แต่ต้องการทำให้ลูกค้าจดจำชื่อย่อของแบรนด์ได้ รวมถึงโลโกประเภทนี้ยังดูมีความเป็นทางการ เพราะไม่มีการใช้สัญลักษณ์ หรือรูปทรงอื่น ๆ ในโลโก
- เหมาะกับแบรนด์ที่มีชื่อยาว ๆ แต่ต้องการทำให้ลูกค้าจดจำชื่อย่อของแบรนด์ได้ รวมถึงโลโกประเภทนี้ยังดูมีความเป็นทางการ เพราะไม่มีการใช้สัญลักษณ์ หรือรูปทรงอื่น ๆ ในโลโก
ข้อควรระวังในการใช้งาน
- เนื่องจากโลโกประเภทนี้ เป็นโลโกที่มีเพียงตัวอักษรย่อของแบรนด์เท่านั้น จึงมีความเสี่ยงที่ลูกค้าอาจจดจำชื่อแบรนด์เต็ม ๆ ไม่ได้
- เนื่องจากโลโกประเภทนี้ เป็นโลโกที่มีเพียงตัวอักษรย่อของแบรนด์เท่านั้น จึงมีความเสี่ยงที่ลูกค้าอาจจดจำชื่อแบรนด์เต็ม ๆ ไม่ได้
รวมถึงไม่รู้ว่าแบรนด์ที่ตัวเองเห็นนั้น จริง ๆ แล้วย่อมาจากคำว่าอะไรกันแน่ และตัวอักษรย่อบางคำอาจยากต่อการจดจำ
5. Abstract = โลโกประเภทที่ใช้สัญลักษณ์ รูปภาพ รูปทรง หรือเส้นสาย ที่มีความเป็น “นามธรรม” ได้รับการออกแบบขึ้นมาโดยเฉพาะ เพื่อสื่อความหมายตามที่แบรนด์ต้องการ
ตัวอย่างแบรนด์ที่ใช้โลโก Abstract เช่น
- Adidas
- Nike
- ChatGPT
- Airbnb
- Adidas
- Nike
- ChatGPT
- Airbnb
ไอเดียแบรนด์ที่เหมาะสม
- เหมาะกับแบรนด์ที่ต้องการสร้างความแตกต่าง ในการสร้างการรับรู้ให้กับลูกค้า เนื่องจากแบรนด์สามารถออกแบบโลโกได้อย่างอิสระ มีความแตกต่างจากแบรนด์อื่น
- เหมาะกับแบรนด์ที่ต้องการสร้างความแตกต่าง ในการสร้างการรับรู้ให้กับลูกค้า เนื่องจากแบรนด์สามารถออกแบบโลโกได้อย่างอิสระ มีความแตกต่างจากแบรนด์อื่น
ข้อควรระวังในการใช้งาน
- เนื่องจากความเป็นนามธรรมของโลโกชนิดนี้ จึงต้องระวังว่าลูกค้าอาจไม่เข้าใจคอนเซปต์การออกแบบโลโก จนไม่สามารถจดจำแบรนด์ได้ ดังนั้นแบรนด์ที่จะใช้โลโกประเภทนี้ ต้องทำความเข้าใจกับลูกค้าให้ดี ๆ
- เนื่องจากความเป็นนามธรรมของโลโกชนิดนี้ จึงต้องระวังว่าลูกค้าอาจไม่เข้าใจคอนเซปต์การออกแบบโลโก จนไม่สามารถจดจำแบรนด์ได้ ดังนั้นแบรนด์ที่จะใช้โลโกประเภทนี้ ต้องทำความเข้าใจกับลูกค้าให้ดี ๆ
6. Mascot Logo = โลโกประเภทที่ใช้ แมสคอต เป็นองค์ประกอบหลัก โดยแมสคอตก็คือคาแรกเตอร์ ที่แบรนด์สร้างขึ้นเพื่อเลียนแบบคนหรือสัตว์ก็ได้ เพื่อสร้างการรับรู้และการจดจำให้กับลูกค้า
รวมถึงยังสร้างความรู้สึกในเชิงบวก ความสนุกสนาน และความเป็นมิตร จากความน่ารักของแมสคอตที่อยู่ในโลโก
ตัวอย่างของแบรนด์ที่ใช้โลโก Mascot เช่น
- KFC
- Michelin
- Pringles
- KFC
- Michelin
- Pringles
ไอเดียแบรนด์ที่เหมาะสม
- เหมาะกับแบรนด์ที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กและครอบครัว เพราะความน่ารักของแมสคอตที่อยู่ในโลโก จะดึงดูดลูกค้ากลุ่มนี้ได้ดี
- เหมาะกับแบรนด์ที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กและครอบครัว เพราะความน่ารักของแมสคอตที่อยู่ในโลโก จะดึงดูดลูกค้ากลุ่มนี้ได้ดี
ข้อควรระวังในการใช้งาน
- อาจไม่เหมาะกับแบรนด์ที่มีความเป็นทางการสูง เพราะความน่ารักของแมสคอต จะทำให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์ดูไม่จริงจัง จึงไม่เหมาะกับแบรนด์บางประเภท
เช่น แบรนด์ที่ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านธุรกิจ การเงิน
- อาจไม่เหมาะกับแบรนด์ที่มีความเป็นทางการสูง เพราะความน่ารักของแมสคอต จะทำให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์ดูไม่จริงจัง จึงไม่เหมาะกับแบรนด์บางประเภท
เช่น แบรนด์ที่ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านธุรกิจ การเงิน
7. Combination = โลโกที่ผสมผสานโลโกหลาย ๆ ประเภทเข้าด้วยกัน
เช่น โลโกประเภท Abstract ดูสวยงามและดูล้ำลึกก็จริง แต่กลับเข้าใจยาก จึงนำโลโกประเภท Wordmarks เข้ามาผสม เพื่อทำให้ลูกค้ารู้ได้อย่างชัดเจน ว่าโลโกนี้คือโลโกของแบรนด์อะไร
ตัวอย่างของแบรนด์ที่ใช้โลโก Combination เช่น
- Microsoft
- Lay’s
- Spotify
- Burger King
- Puma
- Microsoft
- Lay’s
- Spotify
- Burger King
- Puma
ไอเดียแบรนด์ที่เหมาะสม
- เหมาะกับแบรนด์ที่ต้องการความยืดหยุ่นในการออกแบบโลโก เลือกออกแบบโลโกได้ตามใจชอบ แต่ยังคงเข้าใจได้ง่าย ในมุมมองของลูกค้า
- เหมาะกับแบรนด์ที่ต้องการความยืดหยุ่นในการออกแบบโลโก เลือกออกแบบโลโกได้ตามใจชอบ แต่ยังคงเข้าใจได้ง่าย ในมุมมองของลูกค้า
ข้อควรระวังในการใช้งาน
- ไม่เหมาะกับแบรนด์ที่ต้องการความเรียบง่าย เพราะการผสมโลโกหลายประเภทเข้าด้วยกัน อาจทำให้โลโกดูมีองค์ประกอบมากเกินไป
- ไม่เหมาะกับแบรนด์ที่ต้องการความเรียบง่าย เพราะการผสมโลโกหลายประเภทเข้าด้วยกัน อาจทำให้โลโกดูมีองค์ประกอบมากเกินไป
ทั้งหมดนี้ คือ โลโกทั้ง 7 ประเภท ไว้ใช้เป็นไอเดียออกแบบโลโกที่เหมาะสม สำหรับการสร้างแบรนด์
แต่ต้องหมายเหตุไว้ด้วยว่า บางแบรนด์อาจมีการออกแบบโลโกไว้หลายประเภท ไว้เลือกใช้งานตามความเหมาะสม
ดังนั้นเราจึงมักเห็นหลาย ๆ แบรนด์ ที่มีทั้งโลโกแบบ Pictorial Mark, Wordmarks หรือ Combination ไว้ใช้ในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน