สรุปไอเดียสร้าง Buyer Persona วาดภาพจำลอง ว่าคนแบบไหน คือลูกค้าเรา
16 มิ.ย. 2024
สินค้าที่ดี จะขายได้ด้วยตัวมันเอง..
แล้วสินค้าที่ดีคืออะไร ? ถ้าให้ตอบง่าย ๆ สินค้าที่ดี ไม่ใช่สินค้าที่มีนวัตกรรมล้ำ ๆ หรือสินค้าที่โดดเด่นที่สุดในตลาด
แต่คือสินค้าที่ “ตอบโจทย์ความต้องการ” ของลูกค้ามากที่สุด..
แล้วสินค้าที่ดีคืออะไร ? ถ้าให้ตอบง่าย ๆ สินค้าที่ดี ไม่ใช่สินค้าที่มีนวัตกรรมล้ำ ๆ หรือสินค้าที่โดดเด่นที่สุดในตลาด
แต่คือสินค้าที่ “ตอบโจทย์ความต้องการ” ของลูกค้ามากที่สุด..
ซึ่งการที่สินค้าของเราจะเป็นแบบนั้นได้ ก่อนอื่นเราก็ต้องรู้จักและเข้าใจลูกค้าของเราให้มากที่สุด
ในทางการตลาด มีเครื่องมือที่ชื่อว่า “Buyer Persona”
เป็นเครื่องมือจำลองบุคลิกของลูกค้า ที่ช่วยทำให้เราสามารถเข้าใจลูกค้า ที่เข้ามาซื้อสินค้าและบริการจากแบรนด์ของเราได้มากขึ้น
เป็นเครื่องมือจำลองบุคลิกของลูกค้า ที่ช่วยทำให้เราสามารถเข้าใจลูกค้า ที่เข้ามาซื้อสินค้าและบริการจากแบรนด์ของเราได้มากขึ้น
แล้ว Buyer Persona ทำอย่างไร ?
บทความนี้ MarketThink จะพาทุกคนมาเรียนรู้วิธีสร้าง Buyer Persona เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจของตัวเองได้แบบง่าย ๆ กัน..
บทความนี้ MarketThink จะพาทุกคนมาเรียนรู้วิธีสร้าง Buyer Persona เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจของตัวเองได้แบบง่าย ๆ กัน..
Buyer Persona แปลตรงตัว ก็คือ “บุคลิกของผู้ซื้อ”
เป็นเครื่องมือที่ช่วยสร้างภาพจำลองของกลุ่มเป้าหมาย (Target Audience) ของแบรนด์
โดยใช้ข้อมูลทางประชากรศาสตร์, ภูมิหลัง, ความสนใจ, พฤติกรรม และความต้องการ ว่าลูกค้าของเรามีบุคลิกภาพประมาณไหน, อายุเท่าไร, ทำงานอะไร, มีศักยภาพในการซื้อสินค้าของเราได้มากน้อยแค่ไหน
ซึ่งขั้นตอนการสร้าง Buyer Persona สามารถแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนหลัก ๆ คือ
- ขั้นตอนที่ 1 : ศึกษากลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ผ่านการตั้งคำถาม
อย่างเช่น การเข้าไปถามผู้ที่เข้ามาซื้อสินค้าและบริการของเราตรง ๆ
หรือถ้าหากสินค้าและบริการของเรายังไม่วางขาย อาจใช้วิธีสอบถามลูกค้าของแบรนด์ใกล้เคียงที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน
หรือถ้าหากสินค้าและบริการของเรายังไม่วางขาย อาจใช้วิธีสอบถามลูกค้าของแบรนด์ใกล้เคียงที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน
โดยคำถามที่ใช้ในการศึกษากลุ่มเป้าหมาย เพื่อนำมาสร้าง Buyer Persona ประกอบด้วย 6 ประเภท ได้แก่
1. ข้อมูลส่วนตัว (Demographics)
สอบถามข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า เป็นข้อมูลที่ช่วยทำให้เราเข้าใจกลุ่มลูกค้าเป้าหมายมากขึ้น
โดยคำถามที่เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล เช่น อายุ, เพศ, ที่อยู่, สถานภาพสมรส และระดับการศึกษา
โดยคำถามที่เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล เช่น อายุ, เพศ, ที่อยู่, สถานภาพสมรส และระดับการศึกษา
2. อาชีพการทำงาน (Career Profile)
สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับหน้าที่การงานของลูกค้า จะช่วยทำให้รู้ว่า ลูกค้าของเรามีกำลังในการซื้อมากน้อยแค่ไหน
เช่น
- อยู่ในวัยทำงาน หรือกำลังศึกษาอยู่ ?
- ถ้าทำงานแล้ว ทำงานอะไร และตำแหน่งอะไร ?
- งานที่ทำอยู่ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมอะไร ?
- รายได้โดยเฉลี่ยต่อเดือน หรือต่อปี อยู่ที่เท่าไร ?
- อยู่ในวัยทำงาน หรือกำลังศึกษาอยู่ ?
- ถ้าทำงานแล้ว ทำงานอะไร และตำแหน่งอะไร ?
- งานที่ทำอยู่ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมอะไร ?
- รายได้โดยเฉลี่ยต่อเดือน หรือต่อปี อยู่ที่เท่าไร ?
3. ข้อมูลเชิงจิตวิทยา (Psychographics)
สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับความคิด ทัศนคติ และความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย ว่าเป็นอย่างไร
ซึ่งข้อมูลชุดนี้ จะช่วยทำให้รู้ได้ว่า เราต้องทำการตลาดอย่างไร ให้สอดคล้องไปกับความเชื่อ หรือความสนใจของลูกค้า
เช่น
- ค่านิยมและแนวคิด เป็นอย่างไร ? เช่น แนวคิดเรื่องเพศ แนวคิดเรื่องเสรีภาพ
- ความเชื่อในเรื่องต่าง ๆ เป็นอย่างไร ? เช่น ความเชื่อเรื่องดวง โชคชะตา
- ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของลูกค้าเป็นแบบไหน ? เช่น ชอบอยู่บ้าน ชอบออกไปท่องเที่ยว
- เป้าหมายในชีวิตคืออะไร ? เช่น อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง อยากมีฐานะมั่นคง
- ค่านิยมและแนวคิด เป็นอย่างไร ? เช่น แนวคิดเรื่องเพศ แนวคิดเรื่องเสรีภาพ
- ความเชื่อในเรื่องต่าง ๆ เป็นอย่างไร ? เช่น ความเชื่อเรื่องดวง โชคชะตา
- ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของลูกค้าเป็นแบบไหน ? เช่น ชอบอยู่บ้าน ชอบออกไปท่องเที่ยว
- เป้าหมายในชีวิตคืออะไร ? เช่น อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง อยากมีฐานะมั่นคง
4. สื่อที่ลูกค้าใช้ประจำ (Information Sources)
สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับประเภทของสื่อ
ซึ่งช่วยให้เรารู้ได้ว่า เราควรเน้นการทำการตลาดผ่านสื่อประเภทไหน เช่น
ซึ่งช่วยให้เรารู้ได้ว่า เราควรเน้นการทำการตลาดผ่านสื่อประเภทไหน เช่น
- เสพข้อมูลข่าวสารจากสื่อประเภทไหน และใช้เวลาอยู่กับสื่อไหนเยอะสุด ?
- ชอบใช้แอปโซเชียลมีเดียอะไร ? เช่น Facebook, Instagram, Line, Twitter, TikTok หรือ YouTube
- คอนเทนต์ที่ชอบ คือประเภทไหน ? เช่น วิดีโอสั้น, บทความ, คอนเทนต์รีวิว
- อินฟลูเอนเซอร์ที่ชอบ คือใคร ?
- ชอบใช้แอปโซเชียลมีเดียอะไร ? เช่น Facebook, Instagram, Line, Twitter, TikTok หรือ YouTube
- คอนเทนต์ที่ชอบ คือประเภทไหน ? เช่น วิดีโอสั้น, บทความ, คอนเทนต์รีวิว
- อินฟลูเอนเซอร์ที่ชอบ คือใคร ?
5. ปัญหาที่พบ (Pain Points)
สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาที่ลูกค้าพบ หรือสิ่งที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกหงุดหงิดหรือไม่สะดวกสบาย
เช่น
- ปัญหาที่พบในการซื้อสินค้า และใช้บริการ คืออะไร ?
- มีส่วนไหนที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกไม่พอใจหรือไม่ ?
- ปัญหาที่พบในการซื้อสินค้า และใช้บริการ คืออะไร ?
- มีส่วนไหนที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกไม่พอใจหรือไม่ ?
เพื่อที่ว่า แบรนด์ของเราจะสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ ไปปรับปรุงสินค้าหรือบริการ ให้เข้าไปแก้ Pain Points ของลูกค้าได้อย่างตรงจุด
6. การตัดสินใจซื้อของลูกค้า (Purchasing Process)
สอบถามเกี่ยวกับการตัดสินใจซื้อของลูกค้าว่า ลูกค้าซื้อสินค้าหรือบริการของเราเพราะอะไร เพื่อเพิ่มโอกาสในการขายสินค้าและบริการให้กับลูกค้าได้ในระยะยาว
เช่น
- เลือกซื้อสินค้าของเราเพราะอะไร หรืออะไรคือจุดที่ทำให้ตัดสินใจซื้อ ?
- ความถี่ในการซื้อสินค้าหรือบริการ บ่อยแค่ไหน ?
- อุปสรรคต่าง ๆ ที่ต้องพบเจอ ? เช่น ต้องเดินทางมาไกล
- เลือกซื้อสินค้าของเราเพราะอะไร หรืออะไรคือจุดที่ทำให้ตัดสินใจซื้อ ?
- ความถี่ในการซื้อสินค้าหรือบริการ บ่อยแค่ไหน ?
- อุปสรรคต่าง ๆ ที่ต้องพบเจอ ? เช่น ต้องเดินทางมาไกล
ในขั้นตอนนี้ นอกจากจะใช้วิธีสอบถามจากลูกค้าโดยตรง
เรายังสามารถค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ได้ด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น เก็บข้อมูลผ่านระบบสมาชิก, ให้ลูกค้าช่วยทำแบบสอบถาม รวมถึงค้นหาข้อมูลบนโซเชียลมีเดียได้อีกด้วย
เรายังสามารถค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ได้ด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น เก็บข้อมูลผ่านระบบสมาชิก, ให้ลูกค้าช่วยทำแบบสอบถาม รวมถึงค้นหาข้อมูลบนโซเชียลมีเดียได้อีกด้วย
- ขั้นตอนที่ 2 : สร้าง Buyer Persona
หลังจากที่รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ของกลุ่มลูกค้าเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถนำข้อมูลมาสรุป และนำมาสร้าง Buyer Persona ของแบรนด์ได้เลย
เมื่อรู้จักวิธีสร้าง Buyer Persona แล้ว
ทีนี้ลองมาดูตัวอย่างในโลกจริง ของแบรนด์ชาไทยพรีเมียม Karun
โดย คุณรัส ธัญย์ณภัคช์ ศิริประภาเจริญ CEO ของ Karun เคยพูดถึงตัวอย่าง Buyer Persona ของแบรนด์ไว้คร่าว ๆ ว่า
- เพศหญิง
- อายุ 28 ปี
- เงินเดือน 30,000-40,000 บาท
- มีไลฟ์สไตล์ ใช้ชีวิตใจกลางเมือง เช่น ย่านสุขุมวิท
- อายุ 28 ปี
- เงินเดือน 30,000-40,000 บาท
- มีไลฟ์สไตล์ ใช้ชีวิตใจกลางเมือง เช่น ย่านสุขุมวิท
เมื่อ Karun กำหนด Buyer Persona ได้อย่างชัดเจน
จึงทำให้แบรนด์สามารถกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ ทั้ง ภาพลักษณ์, ราคา และสถานที่ตั้งของแบรนด์ ได้อย่างเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด
จึงทำให้แบรนด์สามารถกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ ทั้ง ภาพลักษณ์, ราคา และสถานที่ตั้งของแบรนด์ ได้อย่างเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด
อย่างการออกแบบหน้าร้านสไตล์ยุโรปคลาสสิก ที่ให้ความเรียบหรู
หรือการเลือกตั้งร้านให้อยู่บนโลเคชันใจกลางเมือง ที่ลูกค้ามีกำลังซื้อสูง เช่น The EmQuartier, Gaysorn Village, Central Ladprao และ ICONSIAM
หรือการเลือกตั้งร้านให้อยู่บนโลเคชันใจกลางเมือง ที่ลูกค้ามีกำลังซื้อสูง เช่น The EmQuartier, Gaysorn Village, Central Ladprao และ ICONSIAM
สรุปแล้ว Buyer Persona คือเครื่องมือที่ช่วยให้แบรนด์รู้จักและเข้าใจลูกค้าของแบรนด์ได้มากขึ้น
ซึ่งเมื่อรู้จักและเข้าใจลูกค้าแล้ว ก็จะทำให้แบรนด์สามารถพัฒนากลยุทธ์การตลาด, ปรับปรุงวิธีการสื่อสาร หรือพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์ลูกค้าได้มากยิ่งขึ้นนั่นเอง..