วิเคราะห์ในมุมการตลาด ทำไม Apple เรียกฟีเชอร์ AI ของตัวเอง ว่า Apple Intelligence
11 มิ.ย. 2024
ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา คำว่า AI (Artificial Intelligence) กลายเป็นคำที่เราได้ยินกันบ่อย ๆ
ไม่ว่าจะเป็น Galaxy AI ในสมาร์ตโฟน Samsung Galaxy
แช็ตบอต AI อย่าง ChatGPT ของ OpenAI, Gemini ของ Google หรือ Copilot ของ Microsoft
แช็ตบอต AI อย่าง ChatGPT ของ OpenAI, Gemini ของ Google หรือ Copilot ของ Microsoft
ไปจนถึงฟีเชอร์ AI ในแอปแต่งรูป หรือแม้แต่ในเครื่องซักผ้า ยังมี AI ที่ช่วยให้เราซักผ้าได้สะอาดมากขึ้น
แต่ภายใต้ความฮิตของ AI ที่เกิดขึ้นนี้ มีอยู่แบรนด์หนึ่งที่แทบจะไม่เคยใช้คำว่า AI เลย แต่เลือกที่จะใช้คำอื่นแทน
แบรนด์นั้นก็คือ Apple
แบรนด์นั้นก็คือ Apple
ที่น่าสนใจคือ แม้แต่ในงาน WWDC 2024 ที่จัดขึ้นเมื่อคืนที่ผ่านมา ในช่วงการเปิดตัวซอฟต์แวร์ใหม่ ๆ Apple มีการใช้คำว่า AI เพียงแค่ 3 ครั้ง เท่านั้น..
ซึ่งถือว่าน้อยมาก ๆ เมื่อเทียบกับบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่อื่น ๆ
โดยเฉพาะ Google ที่ใช้คำว่า AI ในงาน Google I/O มากกว่า 120 ครั้ง ตลอดระยะเวลาไม่กี่ชั่วโมง
โดยเฉพาะ Google ที่ใช้คำว่า AI ในงาน Google I/O มากกว่า 120 ครั้ง ตลอดระยะเวลาไม่กี่ชั่วโมง
อย่างไรก็ตาม แม้ว่า Apple พยายามหลีกเลี่ยงไม่ใช้คำว่า AI ระหว่างการเปิดตัวซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ของตัวเอง
แต่ในความจริงแล้ว เราทุกคนต่างรู้กันดีว่า Apple Intelligence ที่ Apple พูดถึงอยู่ก็คือ AI ดี ๆ นั่นเอง
คำถามคือ แล้วทำไม Apple ต้องหลีกเลี่ยงการใช้คำว่า AI และหันไปใช้คำว่า Apple Intelligence แทน ? MarketThink ลองวิเคราะห์เรื่องนี้ ในมุมการตลาด..
จริง ๆ แล้ว เรื่องนี้ตอบได้ไม่ยากเลยว่า การที่ Apple เรียกฟีเชอร์ AI ของตัวเองว่า Apple Intelligence ก็เป็นเพราะ Apple ต้องการใช้ชื่อ “Apple Intelligence”
ซึ่งเป็นชื่อเฉพาะให้เป็นเหมือน “ชื่อแบรนด์” ด้าน AI ของตัวเอง
ซึ่งเป็นชื่อเฉพาะให้เป็นเหมือน “ชื่อแบรนด์” ด้าน AI ของตัวเอง
ซึ่งถ้าย้อนกลับไปในอดีต จะเห็นว่า Apple ถนัดมาก ในเรื่องการสร้างชื่อเฉพาะของตัวเอง
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ เช่น
หน้าจอ Retina Display ซึ่งก็คือ หน้าจอ IPS LCD
หน้าจอ Super Retina XDR ซึ่งก็คือ หน้าจอ OLED
เทคโนโลยี Deep Fusion ซึ่งจริง ๆ แล้วก็คือ เทคโนโลยีการประมวลผลภาพ ที่แบรนด์อื่น ๆ จะเรียกด้วยชื่อที่แตกต่างกันไป
หรือไฟล์ภาพถ่าย RAW ที่ Apple เรียกว่าไฟล์ ProRAW
หน้าจอ Retina Display ซึ่งก็คือ หน้าจอ IPS LCD
หน้าจอ Super Retina XDR ซึ่งก็คือ หน้าจอ OLED
เทคโนโลยี Deep Fusion ซึ่งจริง ๆ แล้วก็คือ เทคโนโลยีการประมวลผลภาพ ที่แบรนด์อื่น ๆ จะเรียกด้วยชื่อที่แตกต่างกันไป
หรือไฟล์ภาพถ่าย RAW ที่ Apple เรียกว่าไฟล์ ProRAW
รวมถึงยังชอบตั้งชื่อระบบปฏิบัติการในแต่ละเวอร์ชันของตัวเองให้ดูเท่
เช่น ระบบปฏิบัติการ macOS Monterey, Ventura, Sonoma และ macOS เวอร์ชันล่าสุด ที่เพิ่งเปิดตัวไป มีชื่อว่า Sequoia
เช่น ระบบปฏิบัติการ macOS Monterey, Ventura, Sonoma และ macOS เวอร์ชันล่าสุด ที่เพิ่งเปิดตัวไป มีชื่อว่า Sequoia
พอ Apple ทำแบบนี้ ก็น่าจะเป็นเรื่องของการสร้างความแตกต่าง ให้กับฟีเชอร์ AI ของ Apple โดยเฉพาะความแตกต่างทางด้านความรู้สึกของผู้บริโภค
เช่น ผู้บริโภคอาจมองว่า Apple Intelligence ทำงานได้ดีกว่า เร็วกว่า ล้ำกว่า ปลอดภัยกว่า โดยอ้างอิงจากประสบการณ์การใช้งานสินค้า Apple ที่ผ่าน ๆ มา
เมื่ออ่านมาจนถึงจุดนี้ น่าจะเห็นกันได้อย่างชัดเจนเลยว่า การที่ Apple เลือกใช้คำว่า Apple Intelligence แทนคำว่า AI เป็นเรื่องของการตลาด และมุมมองของผู้บริโภคแทบทั้งสิ้น
เพราะว่าในความจริงแล้ว ถ้าพูดกันตรง ๆ Apple Intelligence ก็คือการทำงานของ AI
และคำว่า Apple Intelligence ก็ย่อเป็นคำว่า AI เหมือนกันกับ Artificial Intelligence นั่นละ..