สรุปงาน “ESG to Capital for Tech Entrepreneurs” โดย AIS เรื่องที่สตาร์ตอัปไทย ต้องไม่พลาด

สรุปงาน “ESG to Capital for Tech Entrepreneurs” โดย AIS เรื่องที่สตาร์ตอัปไทย ต้องไม่พลาด

4 มิ.ย. 2024
ถ้าพูดถึงคำว่า “ESG” หลายคนน่าจะมีภาพจำในหัว คล้าย ๆ กันว่า เป็นการปลูกป่า, แยกขยะ, ช่วยเหลือสังคม หรืออะไรทำนองนั้น ซึ่งดูห่างไกลมากกับธุรกิจขนาดเล็ก อย่าง SME หรือ สตาร์ตอัปที่ส่วนใหญ่อาจจะโฟกัสไปที่รายได้และผลกำไรไว้ก่อน
อย่างไรก็ตาม แม้ ESG จะดูไกลกับธุรกิจขนาดเล็ก
แต่การละเลย หรือทำแล้วไม่ถูกจุด กลับกลายเป็นกับดักที่ทำให้ธุรกิจขนาดเล็ก ไม่สามารถ Scale Up ผ่านการระดมทุนได้อยู่บ่อยครั้ง
คำถามคือทำไม ? ก็ต้องอธิบายแบบนี้
การทำ “ESG” จริง ๆ แล้วไม่ใช่แค่การแยกขยะอย่างที่ใครหลายคนเข้าใจกัน แต่มันคือการบริหารองค์กรให้เติบโต “อย่างยั่งยืน” ภายใต้กรอบความเสี่ยง 3 ด้าน คือ
- E คือ Environmental การดำเนินธุรกิจอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- S คือ Social การดำเนินธุรกิจโดยรับผิดชอบต่อสังคม, ลูกค้า, คู่ค้า, ผู้ถือหุ้น
- G คือ Governance การกำกับดูแลกิจการ ภายใต้ความโปร่งใส และตรวจสอบได้
หมายความว่า ถ้าอยากเริ่มทำ ESG เราไม่จำเป็นจะต้องเป็นบริษัทใหญ่ หรือต้องไปเก็บขยะเสมอไปก็ได้
แค่เรื่องง่าย ๆ อย่างการแยกบัญชีของเจ้าของกิจการ กับบัญชีของบริษัทออกจากกัน ก็ถือเป็นการทำ ESG อย่างหนึ่งแล้ว ซึ่งในที่นี้คือเรื่องของ Governance (ความโปร่งใส)
ดังนั้นองค์กรที่บริหารตามหลัก ESG ได้อย่างถูกต้อง จะมีแนวโน้มประสบความสำเร็จได้มากกว่าในระยะยาว และมีโอกาสเข้าตานักลงทุนได้ง่ายกว่าตามไปด้วยนั่นเอง
พอเป็นแบบนี้ AIS หนึ่งในบริษัทผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลอันดับ 1 ของไทย ที่มีจุดยืนในการสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กมาโดยตลอด
เลยทำโครงการที่ชื่อว่า “ESG to Capital for Tech Entrepreneurs” ขึ้นมาเพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการชาวไทย มีความรู้ในเรื่องของ ESG อย่างถูกต้องมากกว่านี้
โครงการดังกล่าวมีจุดเด่น ก็คือ จะมีการเปิดรับผู้ประกอบการรายย่อยมาเข้ารับการฝึกอบรมแบบเข้มข้นพิเศษเกี่ยวกับ ESG เป็นระยะเวลา 3 เดือนเต็ม ๆ
ซึ่งไม่กี่วันที่ผ่านมาในโครงการ ESG to Capital for Tech Entrepreneurs ก็เพิ่งมี Session พิเศษเป็นการบรรยายความรู้เกี่ยวกับ ESG เป็นเวลา 3 วันติดต่อกัน
โดยในบทความนี้ MarketThink ก็ได้รวบรวม 3 ประเด็นที่น่าสนใจ มาให้เป็นข้อ ๆ
บทเรียนที่ 1 - อะไรบ้างที่ทำให้ ธุรกิจขนาดเล็กไม่สามารถทำ ESG ได้อย่างเต็มที่ ?
ปัญหาหลักที่ทำให้ธุรกิจขนาดเล็กไม่สามารถทำ ESG ได้ เรียกว่า “Problem Statement” สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 มิติ ดังนี้
1. Funding & Investments คือ ปัญหาเรื่องของเงินทุน รวมไปถึงความพร้อมเรื่องบุคลากร
2. Business Opportunity คือ ปัญหาเรื่องของการขาดโอกาสทางธุรกิจ เพราะการเปลี่ยนเป็น ESG จำเป็นต้องนำเทคโนโลยีบางอย่างมาช่วยให้ธุรกิจสามารถเติบโตไปพร้อม ๆ กับการทำ ESG ได้
3. Trend Ahead the Trends คือ ปัญหาที่ผู้ประกอบการรายย่อยส่วนใหญ่ยังมอง ESG ไม่ขาด เพราะ ESG ต้องไม่ใช่แค่รักโลก แต่ต้อง Win ทั้งกิจการและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
เรื่องนี้ถูกถ่ายทอดออกมาในวันแรกของการสัมมนา เพื่อปูพื้นฐานว่าทำไมธุรกิจขนาดเล็กควรเริ่มทำ ESG ไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ
โดยจะมี ดร.ศรีหทัย พราหมณี ผู้จัดการด้าน AIS The StartUp มาพูดในหัวข้อ “Why ESG for Tech Entrepreneurs ?”
และ คุณอนันตชัย ยูรประถม จาก Sustainable Business Development Institute มาพูดในหัวข้อ “ESG Principle Risk Assessment and Adaptation”
บทเรียนที่ 2 - มาตรฐาน ESG อะไรบ้าง ที่ธุรกิจควรใส่ใจ ?
แม้ปัจจุบันจะมีหน่วยวัดผลเกี่ยวกับ ESG อยู่หลายตัว แต่มาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากลจะมีอยู่หลัก ๆ 2 ตัว
อย่างแรกคือการวัดผลด้วย IMM (Impact Measurement and Management) ที่เป็นการวัดด้านการบริหารผลกระทบจากการดำเนินงานของบริษัท ต่อผู้คน, สังคม และสิ่งแวดล้อม ว่าสอดคล้องกับเป้าหมายของบริษัทแค่ไหน
และอีกอย่างก็คือ GRI (Global Reporting Initiative) ที่เป็นรายงานเกี่ยวกับผลกระทบของบริษัทต่อเศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม
โดยการนำตัวชี้วัดทั้งสองตัวมาปรับใช้ จะทำให้ธุรกิจขนาดเล็กมีมาตรฐานที่จับต้องได้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้ง่ายต่อการระดมทุน หรือแม้แต่เอาธุรกิจเข้าตลาดหลักทรัพย์ “IPO” ได้ง่ายขึ้นไปด้วย
เรื่องนี้ถูกถ่ายทอดออกมาในวันที่ 2 ของการสัมมนา เพื่อบอกแนวทาง ESG ที่ธุรกิจควรปรับใช้ โดยจะมี
ดร.เอื้อมพร ปัญญาใส มาพูดเรื่อง “ESG Vision & Execution”
คุณวินิตา กุลตังวัฒนา มาพูดเรื่อง “Applying IMM to One Report”
คุณมยุรี อรุณวรานนท์ มาพูดเรื่อง “Global Report Initiative (GRI)”
คุณฐิติรัตน์ สิทธัครเดช และ คุณศุภพงษ์ กิติวัฒนศักดิ์ มาพูดเรื่อง “Business and Capital Opportunity”
บทเรียนที่ 3 - เกณฑ์เกี่ยวกับ ESG ในการประเมินมูลค่าสำหรับธุรกิจขนาดเล็กมีอะไรบ้าง ?
การจะทำ ESG ให้ถูกหลักในมุมมองของนักลงทุน โมเดลของธุรกิจนั้น จะต้องใกล้เคียงกับคำว่า “Regenerative Business Model” ให้ได้มากที่สุด
ซึ่งโมเดลธุรกิจแบบนี้ ถ้าพูดให้เห็นภาพก็คือ ธุรกิจที่ใส่ใจเรื่องของ ESG ไปพร้อม ๆ กับผลประกอบการของบริษัทได้
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ เช่น ถ้ามีบริษัทอยู่ 2 แห่ง กำลังจะเลือกทำ ESG
บริษัท A เลือกทำ ESG ด้วยการแยกขยะในออฟฟิศ
บริษัท B เลือกทำ ESG ด้วยการงดแจกถุงพลาสติกให้ลูกค้า และเปลี่ยนมาขายถุงรักษ์โลกแทน
จะเห็นได้ว่า แม้บริษัท A จะทำ ESG ก็จริง แต่ไม่ได้เป็นการสร้างผลกระทบให้สังคม หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัทเท่าไรนัก
ผิดกับบริษัท B ที่มี Action ที่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคได้ แถมยังดีกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่จะได้ลดต้นทุน
ดังนั้น บริษัท B จึงเข้าใกล้คำว่า Regenerative Business Model มากกว่า และมีโอกาสจะถูกใจนักลงทุนมากกว่านั่นเอง..
เรื่องนี้อยู่ในเนื้อหาของการสัมมนาในวันสุดท้าย เพื่อบอกเล่าถึงมุมมองของ
นักลงทุนว่ามองเรื่องไหนบ้าง โดยเฉพาะการทำ ESG โดยจะมี
Dr. Krithpaka Boonfueng มาพูดเรื่อง “ESG กับการสร้างโอกาสในการทำธุรกิจ”
Ms. Saichon Submakudom มาพูดเรื่อง “Thailand Government Policy”
Ms. Minette Navarrete มาพูดเรื่อง “Fireside Chat: ESG in Corporate”
และ “Regional VC Investment Thesis” หรือหลักการในการตัดสินใจเลือกลงทุนของกองทุน VC
สรุปแล้ว นี่จัดเป็นอีกโครงการดี ๆ ที่ให้เนื้อหาและมุมมองครอบคลุมเกี่ยวกับบทบาทของ ESG กับผู้ประกอบการชนิดที่ว่าหาที่ไหนไม่ได้แล้ว
เพราะมีให้ตั้งแต่แนวคิด การประเมินความเสี่ยง การรายงาน โอกาสทางธุรกิจ นโยบายภาครัฐ รวมถึงแนวโน้มการลงทุนของนักลงทุน
ดังนั้น คนที่คนทำธุรกิจขนาดเล็กแต่ฝันใหญ่ ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง..
#AIS
#ESG
#ESGtoCapitalforTechEntrepreneurs
#Startup
Tag:AISESG
© 2024 Marketthink. All rights reserved. Privacy Policy.