อธิบาย การทำงานสมอง กับการจดจำแบรนด์ เหตุผลที่ Coca-Cola ทุ่มงบโฆษณา ปีละ 100,000 ล้าน
26 พ.ค. 2024
ปีที่แล้ว Coca-Cola ทุ่มงบโฆษณา 184,000 ล้านบาท
ปีที่แล้ว Apple ทุ่มงบโฆษณาขั้นต่ำ 36,700 ล้านบาท
ปีที่แล้ว Red Bull ทุ่มงบโฆษณาราว 3,600 ล้านบาท
ปีที่แล้ว Apple ทุ่มงบโฆษณาขั้นต่ำ 36,700 ล้านบาท
ปีที่แล้ว Red Bull ทุ่มงบโฆษณาราว 3,600 ล้านบาท
และข้อมูลจาก Gartner บริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาทางธุรกิจ ระบุว่า บริษัทยักษ์ใหญ่ส่วนใหญ่จะทุ่มเม็ดเงินการตลาดราว 13% ของรายได้ทั้งหมดต่อปี
แล้วทำไมแบรนด์ระดับโลก ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักอยู่แล้ว
ยังต้องทุ่มงบประมาณมหาศาล เพื่อทำ “การโฆษณา” และ “การตลาด” ปีละกว่าหมื่นล้าน แสนล้านบาท ?
ยังต้องทุ่มงบประมาณมหาศาล เพื่อทำ “การโฆษณา” และ “การตลาด” ปีละกว่าหมื่นล้าน แสนล้านบาท ?
เรื่องนี้สามารถอธิบายได้ด้วย “หลักการทำงานของสมอง” ควบคู่ไปกับ “การเชื่อมโยงแบรนด์”
แล้วทั้ง 2 อย่างนี้ ทำงานเกี่ยวข้องกันอย่างไร ?
MarketThink จะอธิบายให้ฟัง..
MarketThink จะอธิบายให้ฟัง..
หากพูดถึง สีเขียว หลายคนคงนึกถึง ใบไม้ ต้นไม้
หากพูดถึง ความรู้ หลายคนคงนึกถึง หนังสือ
หากพูดถึง เสียงไซเรน หลายคนคงนึกถึง รถดับเพลิง หรือรถพยาบาล
หากพูดถึง ความรู้ หลายคนคงนึกถึง หนังสือ
หากพูดถึง เสียงไซเรน หลายคนคงนึกถึง รถดับเพลิง หรือรถพยาบาล
การที่เราเชื่อมโยงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไว้กับอีกสิ่งหนึ่ง เกิดขึ้นจากการทำงานของสมอง
อธิบายง่าย ๆ เมื่อสมองได้รับข้อมูลมา ก็จะมีการเก็บข้อมูลต่าง ๆ ไว้ในรูปแบบเครือข่ายที่มีการเชื่อมโยงกัน
ยกตัวอย่างเช่น นก สมองจะมีการจัดเก็บโดยเชื่อมโยงกับข้อมูลอื่น ๆ อย่าง เป็นสิ่งมีชีวิต, มีปีก, บินได้, มีขน, มีหลายสายพันธุ์
รวมถึงอาจเชื่อมโยงไปกับอะไรที่ซับซ้อนกว่านั้น เช่น Twitter (หรือ X ตอนนี้) ที่เคยมีโลโกเป็นรูปนกสีฟ้า
ซึ่งการที่สมองของเราเชื่อมโยงแบบนี้ได้ ก็ไม่ได้มีมาตั้งแต่เกิด
แต่สมองของเราค่อย ๆ เรียนรู้และเชื่อมโยง ผ่านประสบการณ์ที่เราเจอในแต่ละวัน
แต่สมองของเราค่อย ๆ เรียนรู้และเชื่อมโยง ผ่านประสบการณ์ที่เราเจอในแต่ละวัน
การที่สมองของเราเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ ไว้อย่างเป็นระบบแบบนี้
นักประสาทวิทยาจะเรียกเครือข่ายข้อมูลเหล่านี้ว่า Semantic Networks
นักประสาทวิทยาจะเรียกเครือข่ายข้อมูลเหล่านี้ว่า Semantic Networks
โดยเครือข่ายข้อมูลนี้ จะถูกจัดเก็บอยู่ในสมองส่วนที่ชื่อว่า Temporal Lobe หรือสมองส่วนกลีบขมับ
ซึ่งมีหน้าที่สำคัญเกี่ยวกับ ความจำ รวมถึงเป็นสมองส่วนที่ช่วยในการแปลภาพที่มองเห็น หรือเสียงที่ได้ยิน ทำให้เราเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
ถ้าหากใครได้รับบาดเจ็บบริเวณสมองส่วนนี้ ก็จะประสบกับ ภาวะเสียการระลึกรู้
ทำให้เมื่อเห็นหรือได้ยินอะไร ก็จะไม่สามารถเชื่อมโยงสิ่งที่เห็น หรือสิ่งที่ได้ยิน กับชื่อของสิ่งนั้น ๆ ได้
ทำให้เมื่อเห็นหรือได้ยินอะไร ก็จะไม่สามารถเชื่อมโยงสิ่งที่เห็น หรือสิ่งที่ได้ยิน กับชื่อของสิ่งนั้น ๆ ได้
ยกตัวอย่างเช่น การที่ได้ยินคำว่า ต้นไม้ แต่ไม่สามารถนึกถึงภาพได้ว่า ต้นไม้เป็นอย่างไร นั่นเอง..
เล่ามาถึงตรงนี้ หลายคนคงสงสัยว่า แล้วสมองเกี่ยวข้องกับการที่แบรนด์ระดับโลก ทุ่มงบโฆษณาจำนวนมหาศาลต่อปีอย่างไร ?
ต้องบอกว่า ในทางการตลาดหรือการสร้างแบรนด์ สามารถใช้ประโยชน์จากการที่สมองสามารถเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ ได้
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าพูดถึงแบรนด์เหล่านี้ นอกจากตัวผลิตภัณฑ์แล้ว จะนึกถึงหรือเชื่อมโยงกับอะไรได้บ้าง ?
- Coca-Cola นึกถึง ความสุข เวลาที่ได้ดื่ม
- Apple นึกถึง ความทันสมัย และความแตกต่าง
- Red Bull นึกถึง ความเอ็กซ์ตรีม
- BMW นึกถึง ความหรูหรา และสปอร์ต
- Apple นึกถึง ความทันสมัย และความแตกต่าง
- Red Bull นึกถึง ความเอ็กซ์ตรีม
- BMW นึกถึง ความหรูหรา และสปอร์ต
อย่างที่กล่าวไปว่า การที่สมองของเราเชื่อมโยงแบบนี้ได้ ไม่ได้เกิดขึ้นมาตั้งแต่เกิด
แต่การที่เราเชื่อมโยงแบบนี้ได้ ก็เกิดจากการที่แบรนด์ค่อย ๆ ป้อนข้อมูลมาให้เรา ผ่านโฆษณาหรือแคมเปญต่าง ๆ
จนท้ายที่สุด สมองของเราก็สามารถเชื่อมโยงแบรนด์กับสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เข้าไว้ด้วยกัน..
อย่างกรณีของ Coca-Cola ทำแคมเปญที่เกี่ยวข้องกับความสุขมาตั้งแต่ปี 2009
โดยเริ่มจากการโปรโมตสโลแกนอย่าง “Open Happiness” หรือในไทยก็คือ “เปิดโค้กซ่า เปิดความสุข”
เพื่อสื่อถึงว่า ความสุขเกิดขึ้นง่าย ๆ ในชีวิต เพียงแค่ดื่มโค้กซ่า ๆ ก็ช่วยให้ผ่อนคลาย
เพื่อสื่อถึงว่า ความสุขเกิดขึ้นง่าย ๆ ในชีวิต เพียงแค่ดื่มโค้กซ่า ๆ ก็ช่วยให้ผ่อนคลาย
จนกระทั่งในปี 2016 ถึงปัจจุบัน
Coca-Cola ได้เปลี่ยนมาใช้สโลแกน “Taste the Feeling” หรือดื่มรสชาติของความรู้สึก เพื่อสื่อว่า ใคร ๆ ก็มีความสุขได้ ด้วยการดื่มเครื่องดื่มต่าง ๆ จาก Coca-Cola
Coca-Cola ได้เปลี่ยนมาใช้สโลแกน “Taste the Feeling” หรือดื่มรสชาติของความรู้สึก เพื่อสื่อว่า ใคร ๆ ก็มีความสุขได้ ด้วยการดื่มเครื่องดื่มต่าง ๆ จาก Coca-Cola
จะเห็นได้ว่า นับตั้งแต่ปี 2009 จนถึงปัจจุบัน หรือเป็นระยะเวลากว่า 15 ปี
Coca-Cola ทำแคมเปญและสร้างโฆษณา โดยเชื่อมโยง แบรนด์กับความสุข มาโดยตลอด
Coca-Cola ทำแคมเปญและสร้างโฆษณา โดยเชื่อมโยง แบรนด์กับความสุข มาโดยตลอด
ตรงจุดนี้เอง จึงเปรียบเสมือนการที่ Coca-Cola ค่อย ๆ ป้อนข้อมูล เพื่อให้สมองของเราเกิดการเชื่อมโยง
และท้ายที่สุดก็เป็นเหตุผลที่ทำให้เวลาเรานึกถึง Coca-Cola ก็จะนึกถึงความสุขตามมานั่นเอง..
มาถึงตรงนี้ คงเห็นแล้วว่า สมองเกี่ยวข้องกับการเชื่อมโยงแบรนด์ได้อย่างไร
ด้วยเหตุนี้ จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่แบรนด์ดังระดับโลก ยังคงกระหน่ำทุ่มงบโฆษณาหลักหมื่นล้าน จนถึงแสนล้านบาทต่อปี
แม้ว่าแบรนด์ตัวเองจะเป็นที่รู้จักระดับแมสอยู่แล้ว จนหลายคนคิดว่ายังจะโฆษณาเยอะ ๆ ไปทำไม
แม้ว่าแบรนด์ตัวเองจะเป็นที่รู้จักระดับแมสอยู่แล้ว จนหลายคนคิดว่ายังจะโฆษณาเยอะ ๆ ไปทำไม
ก็เพราะว่า ทำแบบนี้เพื่อฝังข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ ไว้ในสมองของลูกค้า
ทำให้ลูกค้าเกิดการเชื่อมโยงแบรนด์ และนึกถึงแบรนด์เป็นตัวเลือกแรก ๆ
เหมือนอย่าง Coca-Cola ที่เชื่อมโยงกับความสุข
ทำให้เวลาที่ลูกค้าอยากมีความสุข ตอนกินข้าว ตอนอากาศร้อน ตอนไปเที่ยว
ก็ต้องนึกถึง Coca-Cola ขึ้นมา นั่นเอง..
ทำให้เวลาที่ลูกค้าอยากมีความสุข ตอนกินข้าว ตอนอากาศร้อน ตอนไปเที่ยว
ก็ต้องนึกถึง Coca-Cola ขึ้นมา นั่นเอง..
อ้างอิง:
-https://mediamaxnetwork.com/industry-insights/how-successful-companies-spend-their-advertising-budget/
-https://www.statista.com/statistics/286526/coca-cola-advertising-spending-worldwide/
-https://techbehemoths.com/blog/how-apple-advertise
-https://en.wikipedia.org/wiki/Open_Happiness
-https://advertisers.mediaradar.com/red-bull-energy-drink-advertising-profile
-หนังสือ การตลาดใต้สำนึก ความลับที่นักช็อปไม่เคยรู้ โดย Matt Johnson และ Prince Ghuman
-https://mediamaxnetwork.com/industry-insights/how-successful-companies-spend-their-advertising-budget/
-https://www.statista.com/statistics/286526/coca-cola-advertising-spending-worldwide/
-https://techbehemoths.com/blog/how-apple-advertise
-https://en.wikipedia.org/wiki/Open_Happiness
-https://advertisers.mediaradar.com/red-bull-energy-drink-advertising-profile
-หนังสือ การตลาดใต้สำนึก ความลับที่นักช็อปไม่เคยรู้ โดย Matt Johnson และ Prince Ghuman