สรุปกลยุทธ์ BEARHOUSE ออกเมนูใหม่ “มะพร้าวหอมปั่นนุ่มมัทฉะ” ใช้ผลไม้ไทย เตรียมตีตลาดต่างประเทศ
25 มี.ค. 2024
ล่าสุด BEARHOUSE เปิดตัวเครื่องดื่มเมนูใหม่ “มะพร้าวหอมปั่นนุ่มมัทฉะ”
ซึ่งเป็น Product Line ตัวใหม่ที่นอกจากจะเพื่อขยายให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้นแล้ว ยังหวังให้เป็นตัวชูโรง ในการตีตลาดต่างประเทศด้วย
วันนี้ MarketThink มีโอกาสได้พูดคุยกับ คุณซารต์ และคุณกานต์ ผู้ก่อตั้ง BEARHOUSE ว่า ทำไมต้องเลือกใช้ มะพร้าว และมัทฉะ เป็นตัวชูโรงในการตีตลาดต่างประเทศ ?
คุณซารต์ และคุณกานต์ เล่าให้ฟังถึงจุดเริ่มต้นของเมนูใหม่ว่า มะพร้าวหอมปั่นนุ่มมัทฉะเป็นเมนูที่ได้รับแรงบันดาลใจจาก brayycoffee ในจังหวัดอุดรธานี
หลังจากคุณซารต์ และคุณกานต์ มีโอกาสได้ลิ้มลอง ก็เห็นว่า เมนูนี้น่าจะตอบโจทย์มิชชั่นของ BEARHOUSE ที่อยากให้เป็นร้านเครื่องดื่มปิดมื้อให้กับลูกค้าอย่างมีความสุข
ประกอบกับเดิมทั้ง 2 ผู้ก่อตั้งชื่นชอบน้ำมะพร้าวเป็นพิเศษอยู่แล้ว
เจ้าของ brayycoffee ในจังหวัดอุดรธานี จึงสอนวิธีการทำเมนูนี้ให้กับทั้ง 2 คน และได้กลายเป็นที่มาของเครื่องดื่มเมนูใหม่อย่าง มะพร้าวหอมปั่นนุ่มมัทฉะนั่นเอง..
ปัจจุบัน BEARHOUSE มีด้วยกัน 34 สาขาในกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่
คุณซารต์และคุณกานต์ เล่าว่า ในอนาคตมีแผนอยากขยายสาขาไปต่างประเทศ โดยเริ่มต้นจากประเทศใกล้ ๆ ก่อน
ซึ่งการออกเมนูใหม่อย่าง มะพร้าวหอมปั่นนุ่มมัทฉะ ก็น่าจะเป็นตัวชูโรง ในการตีตลาดต่างประเทศได้เป็นอย่างดี
โดยเหตุผลหลัก ๆ ที่เลือกเมนูนี้ เป็นตัวชูโรงในการตีตลาดต่างประเทศ
1. ชูวัตถุดิบไทย
ต้องบอกก่อนว่า BEARHOUSE เลือกใช้ “มะพร้าวน้ำหอม” จากชาวสวนอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี และมัทฉะ ที่นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น
ซึ่งมะพร้าวน้ำหอม นับเป็นหนึ่งในผลไม้เอกลักษณ์ของไทย ที่ชาวต่างชาติรู้จักและเป็นที่ชื่นชอบดีอยู่แล้ว
เช่นเดียวกับ เมนูซิกเนเชอร์ของแบรนด์อย่าง ชานมไข่มุก ที่ชาปลูกโดยเกษตรกรไทย จังหวัดเชียงราย และไข่มุกโมจิ ทำมาจากแป้งข้าวไทย
ซึ่งการชูวัตถุดิบไทย ๆ นี้เอง น่าจะเป็นกลยุทธ์ที่ช่วยให้แบรนด์ตีตลาดต่างประเทศได้ง่ายขึ้น
2. ดื่มง่าย และดื่มได้หมดแก้ว
หนึ่งในจุดเด่นของ BEARHOUSE คือ การออกแบบเครื่องดื่มที่ไม่หนักเกินไป เป็นรสชาติเบาสบาย ดื่มได้หมดแก้ว โดยไม่ทิ้งความมัน หรือความขมไว้ที่คอ
ซึ่งมะพร้าว นับเป็นหนึ่งในเครื่องดื่มที่ตอบโจทย์เรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี
อย่างไรก็ตาม คุณกานต์ เล่าว่า ขั้นตอนการพัฒนาสูตรก็ไม่ได้ง่าย
เพราะต้องตามหามะพร้าวจากซัพพลายเออร์จากทุกเจ้า แล้วนำมาทดลองว่า มะพร้าวเจ้าไหนเป็นรสชาติที่ตอบโจทย์มากที่สุด
เพราะต้องตามหามะพร้าวจากซัพพลายเออร์จากทุกเจ้า แล้วนำมาทดลองว่า มะพร้าวเจ้าไหนเป็นรสชาติที่ตอบโจทย์มากที่สุด
เพราะจริง ๆ แล้ว มะพร้าวก็มีหลากหลายรสชาติ ไม่ว่าจะเป็น มะพร้าวเปรี้ยว มะพร้าวที่มีความซ่า หรือมะพร้าวที่มีความหวาน
รวมถึงมัทฉะ ที่นำเข้าจากญี่ปุ่น ซึ่งสวนปลูกชาเขียวมัทฉะก็มีฤดูกาลปลูกและเก็บเกี่ยวที่แตกต่างกัน จึงต้องวางแผนและจองล่วงหน้า เพื่อให้มัทฉะมีรสชาติคงที่
ทั้งหมดนี้ ทำให้ใช้เวลานานพอสมควรในการพัฒนาสูตร กว่าจะออกเป็นเมนูมะพร้าวหอมปั่นนุ่มมัทฉะ ที่ดื่มได้คล่องจนหมดแก้ว
ซึ่งหากวางเมนูนี้แล้วได้รับเสียงตอบรับดี
คุณซารต์ บอกว่า มีแผนที่จะออกเมนูใหม่อย่าง “มะพร้าวปั่นรวมมิตร” ที่ใส่เจลลี่ และไข่มุก เพิ่มสัมผัสให้เคี้ยวหนุบหนับมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
คุณซารต์ บอกว่า มีแผนที่จะออกเมนูใหม่อย่าง “มะพร้าวปั่นรวมมิตร” ที่ใส่เจลลี่ และไข่มุก เพิ่มสัมผัสให้เคี้ยวหนุบหนับมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
ด้วย 2 เหตุผลที่ว่านี้อย่าง เป็นเมนูเครื่องดื่มที่ ชูวัตถุดิบไทย และดื่มง่าย ดื่มได้หมดแก้ว ก็น่าจะเป็นกลยุทธ์ที่ช่วยเพิ่มโอกาสให้ BEARHOUSE ตีตลาดต่างประเทศได้สำเร็จนั่นเอง..
นอกจากเมนูใหม่ที่เปิดตัวแล้ว
คุณซารต์และคุณกานต์ ยังเล่าถึงแผนการธุรกิจ และความท้าทายในการทำธุรกิจปีนี้ด้วย ได้แก่
คุณซารต์และคุณกานต์ ยังเล่าถึงแผนการธุรกิจ และความท้าทายในการทำธุรกิจปีนี้ด้วย ได้แก่
- แผนการออกเมนูใหม่
โดยปกติแล้ว BEARHOUSE มีแผนการออกเมนูทุก ๆ 2 เดือน
ซึ่งต้องหมายเหตุว่า ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในช่วงเวลานั้น ๆ ด้วย เช่น เทรนด์ เศรษฐกิจ และกำลังซื้อของลูกค้า
ซึ่งต้องหมายเหตุว่า ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในช่วงเวลานั้น ๆ ด้วย เช่น เทรนด์ เศรษฐกิจ และกำลังซื้อของลูกค้า
นอกจากเมนูใหม่อย่างน้ำมะพร้าวหอมปั่นนุ่มมัทฉะแล้ว
หลังจากนี้ BEARHOUSE ก็ยังมีแพลนออกเมนูใหม่ เน้นเพิ่ม Category “ชา” มากขึ้น เช่น ชานมมะลิ หรือชานมที่มีกลิ่นดอกไม้
หลังจากนี้ BEARHOUSE ก็ยังมีแพลนออกเมนูใหม่ เน้นเพิ่ม Category “ชา” มากขึ้น เช่น ชานมมะลิ หรือชานมที่มีกลิ่นดอกไม้
ปัจจุบัน 3 เมนูเครื่องดื่มยอดนิยมของ BEARHOUSE ได้แก่
1. ชานมไข่มุก
2. ชาผลไม้นุ่มชีส เช่น ชาพีชลิ้นจี่นุ่มชีส ชาเนื้อส้มนุ่มชีส
3. ชายูซุ
2. ชาผลไม้นุ่มชีส เช่น ชาพีชลิ้นจี่นุ่มชีส ชาเนื้อส้มนุ่มชีส
3. ชายูซุ
- ความท้าทาย
อย่างที่กล่าวไปตอนต้นว่า ปัจจุบัน BEARHOUSE มีด้วยกัน 34 สาขา
ซึ่งจากเดิม มีแผนจะขยายเพิ่มอีก 13 สาขาในปีนี้
ซึ่งจากเดิม มีแผนจะขยายเพิ่มอีก 13 สาขาในปีนี้
อย่างไรก็ตาม คุณชารต์ เล่าว่า ด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน
รวมถึงบริษัทก็ยังมีเรื่องหลังบ้าน เช่น การบริหารจัดการด้านซัพพลายเออร์ที่ยังไม่ลงตัว ทำให้เครื่องดื่มบางเมนูอย่าง ชาองุ่นสดปั่นนุ่มชีส และชาเก็นไมฉะ ต้องหยุดขายชั่วคราว
อีกทั้งยังต้องทุ่มงบประมาณไปกับการรีโนเวตสาขาเก่าที่เปิดมาแล้ว 2-3 ปี
จึงทำให้ในปีนี้อาจขยายสาขาได้ไม่ถึงเป้าที่วางไว้..
ส่วนในปีนี้ นับเป็นปีที่ 5 ของ BEARHOUSE ซึ่งคุณซารต์และคุณกานต์ ตั้งใจหันมาโฟกัสสร้างความ Professional ให้กับบริษัทมากขึ้น เพื่อลุยตลาดต่างประเทศ
ปัจจุบัน ทั้ง 2 คนจึงได้ผันตัวจากยูทูบเบอร์ช่อง Bearhug สู่ผู้บริหาร BEARHOUSE อย่างเต็มตัว
ปิดท้ายด้วยเรื่องที่น่าสนใจ
รู้หรือไม่ ? ชื่อแบรนด์ BEARHOUSE
คำว่า BEAR มาจากชื่อช่องยูทูบ Bearhug ที่ทั้ง 2 คนปลุกปั้นมา
ผสมกับคำว่า HOUSE เกิดจากความคิดที่อยากให้แบรนด์รู้สึกอบอุ่น
ผสมกับคำว่า HOUSE เกิดจากความคิดที่อยากให้แบรนด์รู้สึกอบอุ่น
ส่วนโลโกที่มีลักษณะเป็นวงกลม ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก “ไข่มุก” ก้อนกลม ๆ ที่ใช้วิธีปั้นเอง ทำให้มีรอยแตก
เมื่อนำมาออกแบบร่วมกับคำว่า BEAR
จึงได้ออกมาเป็นโลโกรูปหมี ที่โค้งตัวเป็นวงกลม อย่างที่ใช้ในทุกวันนี้นั่นเอง..
จึงได้ออกมาเป็นโลโกรูปหมี ที่โค้งตัวเป็นวงกลม อย่างที่ใช้ในทุกวันนี้นั่นเอง..