Turnover Contagion ปรากฏการณ์ “จับมือกันลาออก” ที่ผู้ประกอบการ ต้องระวัง
3 ม.ค. 2024
ไม่มีบริษัทไหนในโลกที่สามารถประสบความสำเร็จได้โดยไม่มี “พนักงาน”
ดังนั้น มันคงจะไม่เกินไปนัก ถ้าจะบอกว่า “พนักงาน” เป็นสิ่งที่คนทำธุรกิจ
ควรใส่ใจมากพอ ๆ กับตัวสินค้าและบริการ ที่จะนำเสนอไปสู่ลูกค้า
ควรใส่ใจมากพอ ๆ กับตัวสินค้าและบริการ ที่จะนำเสนอไปสู่ลูกค้า
รู้หรือไม่ ข้อมูลจาก Happily.ai แพลตฟอร์มเกี่ยวกับการสร้าง Employee Engagement
บอกว่า ถ้าพนักงานมีความสุขจะสามารถเพิ่ม Productivity ให้กับองค์กรได้อย่างน้อย 12%
บอกว่า ถ้าพนักงานมีความสุขจะสามารถเพิ่ม Productivity ให้กับองค์กรได้อย่างน้อย 12%
ในทางกลับกัน ถ้าพนักงานไม่มีความสุขจนถึงขั้นลาออก
การหาคนใหม่มาแทนที่ ก็จะต้องใช้ต้นทุนมากกว่า
การรักษาคนเก่าไว้ถึง 213% เลยทีเดียว..
การหาคนใหม่มาแทนที่ ก็จะต้องใช้ต้นทุนมากกว่า
การรักษาคนเก่าไว้ถึง 213% เลยทีเดียว..
อย่างไรก็ดี การลาออกของพนักงานแค่คนเดียวก็ว่าแย่แล้ว
ถ้าพนักงานจับมือกันลาออกพร้อม ๆ กัน
มันก็อาจแย่ถึงขั้นที่ธุรกิจไปต่อไม่ไหวได้เลย..
มันก็อาจแย่ถึงขั้นที่ธุรกิจไปต่อไม่ไหวได้เลย..
โดยในช่วงหลัง ๆ ก็มีปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ เกี่ยวกับการลาออกของพนักงาน
ที่เมื่อพนักงานหนึ่งคนลาออก พนักงานส่วนที่เหลือก็มีแนวโน้มลาออกตาม ๆ กันไปมากขึ้น
ที่เมื่อพนักงานหนึ่งคนลาออก พนักงานส่วนที่เหลือก็มีแนวโน้มลาออกตาม ๆ กันไปมากขึ้น
ปรากฏการณ์ดังกล่าวถูกเรียกว่า “Turnover Contagion”
แล้วปรากฏการณ์แบบนี้ เกิดขึ้นได้อย่างไร ?
ในมุมคนทำธุรกิจ เราจะป้องกันเหตุการณ์ไม่คาดฝันแบบนี้ อย่างไรได้บ้าง ?
ในมุมคนทำธุรกิจ เราจะป้องกันเหตุการณ์ไม่คาดฝันแบบนี้ อย่างไรได้บ้าง ?
บทความนี้ MarketThink ขออาสารวบรวมแนวทางรักษาพนักงาน ให้อยู่กับองค์กรนาน ๆ มาสรุปให้ฟัง..
- เรามาเริ่มกันจาก อะไรบ้างที่ทำให้พนักงานจับมือกันลาออก ?
Academy of Management Journal นิตยสารเกี่ยวกับการบริหารธุรกิจจากสหรัฐอเมริกา ได้บอกว่า
มนุษย์เราเป็นสัตว์สังคมที่มักมีพฤติกรรมชอบเลียนแบบกันเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
มนุษย์เราเป็นสัตว์สังคมที่มักมีพฤติกรรมชอบเลียนแบบกันเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
เมื่อคนรู้จักของเรามีความรู้สึกแบบใด เราก็มักเกิดความรู้สึกแบบเดียวกันตามไปด้วย
แม้เราอาจจะไม่ได้รู้สึกแบบนั้นตั้งแต่แรกก็ตาม
แม้เราอาจจะไม่ได้รู้สึกแบบนั้นตั้งแต่แรกก็ตาม
สังเกตง่าย ๆ ถ้าเพื่อนในออฟฟิศของเรากินข้าวกลางวันกันที่ร้านไหน
เราก็มักมีแนวโน้มที่จะกินร้านนั้นด้วยอยู่บ่อยครั้ง
เราก็มักมีแนวโน้มที่จะกินร้านนั้นด้วยอยู่บ่อยครั้ง
เช่นเดียวกับการลาออก ที่ถ้าพนักงานคนใดคนหนึ่งเริ่มลาออก
คนอื่น ๆ ในทีมก็มีแนวโน้มพิจารณาเรื่องการลาออกด้วยเช่นกัน
คนอื่น ๆ ในทีมก็มีแนวโน้มพิจารณาเรื่องการลาออกด้วยเช่นกัน
โดยสาเหตุที่ในช่วงหลัง ๆ พนักงานจับมือกันลาออกมากขึ้น
ก็เป็นเพราะว่าหลังจากการระบาดจบลง หลายบริษัทก็เปิดโอกาสให้พนักงานได้มีอิสระในการทำงานมากขึ้น
เช่น การจัดผังออฟฟิศให้เป็นอิสระ ไม่มีโต๊ะประจำ
ทำให้พนักงานสามารถเลือกไปนั่งกับคนที่สนิทได้ แม้จะเป็นเพื่อนต่างแผนก
ทำให้พนักงานสามารถเลือกไปนั่งกับคนที่สนิทได้ แม้จะเป็นเพื่อนต่างแผนก
หรือจะเป็นโครงสร้างองค์กรในยุคใหม่ ๆ ที่จะค่อนข้าง
มีการกระจายอำนาจกันมากขึ้น ทำให้ขนาดของทีมนั้นเล็กลง
มีการกระจายอำนาจกันมากขึ้น ทำให้ขนาดของทีมนั้นเล็กลง
จากที่ว่ามาทำให้พนักงานมีความสนิทสนมกันมากขึ้น.. ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ดีแล้ว
แต่ในทางกลับกัน ถ้าพนักงานคนใดคนหนึ่งลาออกไป ด้วยความสนิทกัน
ก็อาจทำให้คนที่เหลือมีแนวโน้มลาออกตาม ๆ กันได้ง่ายขึ้นเหมือนกัน
ก็อาจทำให้คนที่เหลือมีแนวโน้มลาออกตาม ๆ กันได้ง่ายขึ้นเหมือนกัน
โดยแพลตฟอร์ม LinkedIn ได้เคยทำการสำรวจเหตุผลในการลาออกของพนักงาน
แล้วพบว่า 59% ของคนที่ลาออก เป็นเพราะว่าเพื่อนร่วมงานลาออก ซึ่งนี่ถือเป็นข้อมูลที่น่าสนใจมาก..
ในเมื่อเป็นแบบนี้ แล้วมีทางไหนบ้างที่พอจะลดโอกาสที่พนักงานจะลาออกได้ ?
เอาเข้าจริงผู้เชี่ยวชาญจากหลาย ๆ ฝ่าย ก็มีการให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ไม่ค่อยตรงกัน
แต่ที่คล้ายกันจะมีอยู่หลัก ๆ 5 แนวทาง ได้แก่
แต่ที่คล้ายกันจะมีอยู่หลัก ๆ 5 แนวทาง ได้แก่
1. มีช่องทางในการรับ Feedback กับพนักงาน
เพราะการลาออกส่วนใหญ่ หลายครั้งก็ไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า
ดังนั้น บริษัทควรมีช่องทางให้พนักงานสามารถ Feedback เกี่ยวกับการทำงานกับผู้มีอำนาจได้โดยตรง
ดังนั้น บริษัทควรมีช่องทางให้พนักงานสามารถ Feedback เกี่ยวกับการทำงานกับผู้มีอำนาจได้โดยตรง
เช่น หาโอกาสพูดคุยกันแบบ One on One ให้บ่อยขึ้น เพื่อจะได้รู้ว่า
สถานการณ์ตอนนี้เป็นอย่างไร และมีปัญหาอะไรบ้างที่อาจลุกลามเป็นเรื่องใหญ่ได้ในอนาคต
สถานการณ์ตอนนี้เป็นอย่างไร และมีปัญหาอะไรบ้างที่อาจลุกลามเป็นเรื่องใหญ่ได้ในอนาคต
ซึ่งบริษัทก็ควรรับฟัง และควรนำ Feedback ดังกล่าวไปพัฒนาสภาพแวดล้อมการทำงานให้ดีขึ้นด้วย
2. พัฒนา Employee Engagement หรือก็คือ การมีส่วนร่วมของพนักงาน
บริษัทควรหาทางเพิ่มการมีส่วนร่วมกับพนักงานในองค์กรบ้าง
เพื่อสร้างความผูกพัน และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับองค์กร
เพื่อสร้างความผูกพัน และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับองค์กร
เช่น อาจจะมีการจัดกิจกรรมเล็ก ๆ ในออฟฟิศ
หรือจัดกิจกรรม Outing นอกสถานที่บ้างเป็นครั้งคราว
หรือจัดกิจกรรม Outing นอกสถานที่บ้างเป็นครั้งคราว
ซึ่งก็มีผลสำรวจที่น่าสนใจว่า
ครั้งหนึ่ง Google เคยมีแนวทางพัฒนาเรื่องของ Employee Engagement
ครั้งหนึ่ง Google เคยมีแนวทางพัฒนาเรื่องของ Employee Engagement
ผลลัพธ์ก็คือ พนักงานมีความพึงพอใจกับงานมากขึ้นถึง 37%
แสดงให้เห็นว่า พนักงานจะมีแนวโน้มอยู่กับ Google นานขึ้นนั่นเอง
แสดงให้เห็นว่า พนักงานจะมีแนวโน้มอยู่กับ Google นานขึ้นนั่นเอง
3. ลงทุนกับพนักงานบ้าง
27% ของพนักงานที่ลาออก เพราะรู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่า และไม่ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรมากพอ
ดังนั้น องค์กรควรใส่ใจกับพนักงานให้มากกว่าเรื่องของเงินเดือน
เช่น โอกาสในการพัฒนาทักษะของตัวเอง, ความยืดหยุ่นในการทำงาน
รวมไปถึงอุปกรณ์ในการทำงานให้เหมาะสมอยู่เสมอ
เช่น โอกาสในการพัฒนาทักษะของตัวเอง, ความยืดหยุ่นในการทำงาน
รวมไปถึงอุปกรณ์ในการทำงานให้เหมาะสมอยู่เสมอ
4. แสดง Career Path ให้ชัดเจน
มนุษย์ทุกคนชอบความ “ชัดเจน” ดังนั้น บริษัทก็ควรชัดเจนกับ Career Path ของพนักงาน
ว่าจะเติบโตไปทางไหน และต้องพัฒนาเรื่องไหนบ้างถึงจะเติบโต
ว่าจะเติบโตไปทางไหน และต้องพัฒนาเรื่องไหนบ้างถึงจะเติบโต
หากพนักงานทำงานไปเรื่อย ๆ โดยไม่รู้อะไรเลย และรู้สึกไม่เติบโต
ก็อาจทำให้พนักงานเริ่มมองหาองค์กรที่ให้ความชัดเจนในเรื่องนี้ ซึ่งอาจเป็นบริษัทคู่แข่งก็ได้..
ก็อาจทำให้พนักงานเริ่มมองหาองค์กรที่ให้ความชัดเจนในเรื่องนี้ ซึ่งอาจเป็นบริษัทคู่แข่งก็ได้..
5. แสดงทิศทางที่ชัดเจนของบริษัท ให้พนักงานรับรู้ไปพร้อม ๆ กัน
ทุกวันนี้ธุรกิจแทบจะถูก Disrupt กันได้ตลอดเวลา
มันจึงเป็นเรื่องธรรมดาที่พนักงานคนหนึ่ง จะอยากฝากชีวิตไว้กับองค์กรที่มีแผนการ และมีการแจ้งแผนการที่ชัดเจนกับพนักงานอยู่เป็นระยะด้วย
มันจึงเป็นเรื่องธรรมดาที่พนักงานคนหนึ่ง จะอยากฝากชีวิตไว้กับองค์กรที่มีแผนการ และมีการแจ้งแผนการที่ชัดเจนกับพนักงานอยู่เป็นระยะด้วย
ซึ่งบริษัทควรมีการแจ้งแผนธุรกิจให้ชัดเจนว่า ธุรกิจจะเป็นอย่างไร
และจะยิ่งดี ถ้าให้พนักงานในองค์กรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในบางเรื่อง ที่เกี่ยวกับอนาคตของบริษัทด้วย
และจะยิ่งดี ถ้าให้พนักงานในองค์กรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในบางเรื่อง ที่เกี่ยวกับอนาคตของบริษัทด้วย
สุดท้ายแล้ว ในเมื่อพนักงานนั้นเป็นส่วนสำคัญในการผลิตสินค้าและบริการให้กับองค์กร
ดังนั้น ถ้าองค์กรมีการดูแลพนักงานอย่างเหมาะสม และให้พนักงานในสิ่งที่ควรจะได้
ปรากฏการณ์ “Turnover Contagion” หรือการจูงมือกันลาออกนั้น จะลดลงอย่างแน่นอน
ปรากฏการณ์ “Turnover Contagion” หรือการจูงมือกันลาออกนั้น จะลดลงอย่างแน่นอน
และนอกจากนี้ ถ้าพนักงานมีความสุข..
ความสุขดังกล่าวก็จะสะท้อนออกมาให้เห็นผ่านผลงาน
ความสุขดังกล่าวก็จะสะท้อนออกมาให้เห็นผ่านผลงาน
ซึ่งคนที่ได้ประโยชน์ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน นอกจาก “ลูกค้า” ของธุรกิจ และตัว “ธุรกิจ” นั่นเอง..