Affiliate Marketing กลยุทธ์ดึงคนนอก มาช่วย “โปรโมตสินค้า” บนโลกออนไลน์ ให้กับแบรนด์
17 ต.ค. 2022
มีใครเคยเห็นประโยคเชิญชวนให้เสียเงินเหล่านี้บ้างหรือไม่
เช่น “เธรดรวมของดี ที่ควรซื้อในเวลานี้”
“เธรดรวมของที่ควรมี ก่อนอายุ 30”
“เธรดรวมของบำรุงสุขภาพหน้า ที่ควรมีติดไว้”
“เธรดรวมของที่ควรมี ก่อนอายุ 30”
“เธรดรวมของบำรุงสุขภาพหน้า ที่ควรมีติดไว้”
หรือเคยเห็นรูปสินค้าหน้าตาน่ารักต่าง ๆ พร้อมรีวิวประกอบ
ไม่ว่าจะเป็น ตุ๊กตา เสื้อผ้า กระเป๋า หรือของแต่งบ้านก็ตาม
ไม่ว่าจะเป็น ตุ๊กตา เสื้อผ้า กระเป๋า หรือของแต่งบ้านก็ตาม
รู้หรือไม่ว่า แม้กลุ่มคนเหล่านี้ที่ช่วยแบรนด์โปรโมตสินค้า บนโลกออนไลน์
จะไม่ใช่เจ้าของร้านค้า หรือไม่ได้รับเงินจากค่าโฆษณาโดยตรง
แต่ก็ได้รับประโยชน์จากการแนะนำสินค้าให้แบรนด์เช่นกัน โดยผ่านลิงก์ที่แปะไว้ใต้โพสต์นั่นเอง..
จะไม่ใช่เจ้าของร้านค้า หรือไม่ได้รับเงินจากค่าโฆษณาโดยตรง
แต่ก็ได้รับประโยชน์จากการแนะนำสินค้าให้แบรนด์เช่นกัน โดยผ่านลิงก์ที่แปะไว้ใต้โพสต์นั่นเอง..
แล้วพวกเขาได้ประโยชน์อย่างไร ?
เรามาทำความรู้จักกับโมเดลธุรกิจ Affiliate Marketing กัน
เรามาทำความรู้จักกับโมเดลธุรกิจ Affiliate Marketing กัน
โดยโมเดลธุรกิจนี้ จะประกอบด้วยผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ 3 ฝ่ายหลัก ๆ คือ
1. Advertiser : เจ้าของแบรนด์ที่ต้องการทำการตลาด
2. Publisher : เจ้าของสื่อ เช่น เว็บไซต์, เพจตามโซเชียลมีเดียต่าง ๆ หรืออินฟลูเอนเซอร์
3. Customer : ลูกค้า
2. Publisher : เจ้าของสื่อ เช่น เว็บไซต์, เพจตามโซเชียลมีเดียต่าง ๆ หรืออินฟลูเอนเซอร์
3. Customer : ลูกค้า
โมเดลธุรกิจนี้จะเกิดขึ้นได้เมื่อ Advertiser หรือบริษัทต่าง ๆ ต้องการขายสินค้า
แต่การโปรโมตอาจจะทำได้ยาก เพราะบริษัทยังมีฐานลูกค้าหรือเงินทุนที่น้อย
แต่การโปรโมตอาจจะทำได้ยาก เพราะบริษัทยังมีฐานลูกค้าหรือเงินทุนที่น้อย
นั่นทำให้พวกเขาต้องพึ่ง Publisher ในการช่วยโปรโมตสินค้า
และดึงดูดผู้คนให้กลายมาเป็น Customer โดยผ่านการแปะลิงก์ที่นำไปสู่การซื้อสินค้าของ Advertiser
และดึงดูดผู้คนให้กลายมาเป็น Customer โดยผ่านการแปะลิงก์ที่นำไปสู่การซื้อสินค้าของ Advertiser
ดังนั้น ผลตอบแทนที่ Publisher ได้รับ จะเกิดขึ้นเมื่อมีคนเห็น คลิกลิงก์ หรือกดซื้อ แล้วแต่เงื่อนไขที่แต่ละ Advertiser หรือบริษัทกำหนดไว้
โดยรูปแบบค่าตอบแทน จะมีหลัก ๆ ดังนี้
1. Pay per sale (PPS) คือ ส่วนแบ่งจากการขาย โดยจะกำหนดเป็นเปอร์เซ็นต์
เช่น หากเรานำลิงก์ของ Lazada และ Shopee มาแปะไว้ในโพสต์แนะนำหรือรีวิวสินค้า แล้วมีคนเข้ามากดลิงก์เพื่อซื้อสินค้า เราก็จะได้ค่าคอมมิชชันจากสินค้านั้น ๆ
นั่นหมายความว่า ยิ่งมีคนสนใจและเข้ามาซื้อสินค้ามาก เราก็จะยิ่งมีรายได้มากด้วยเช่นกัน
จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ ที่เราจะเห็นหลายคนรีวิวสินค้ากันเยอะทั้งใน Facebook และ Twitter
จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ ที่เราจะเห็นหลายคนรีวิวสินค้ากันเยอะทั้งใน Facebook และ Twitter
2. Cost per action (CPA) คือ การได้รับค่าตอบแทน เมื่อเกิดการซื้อสินค้าหรือการกระทำ 1 ครั้ง
เช่น การสมัครสมาชิก, ลงทะเบียน โดยค่าตอบแทนที่ได้รับ จะกำหนดเป็นเงินจำนวนหนึ่ง
3. Cost per click (CPC) คือ การได้รับค่าตอบแทน เมื่อเกิดการคลิกลิงก์ แม้ว่าคนกด จะซื้อหรือไม่ซื้อสินค้าก็ตาม
4. Cost per mille (CPM) คือ การได้รับค่าตอบแทน เมื่อมีคนเห็นโฆษณาครบเกณฑ์ที่กำหนด เช่น ทุก ๆ 1,000 ครั้ง
ดังนั้น เมื่อเรานำแบนเนอร์โฆษณามาวางไว้บนเว็บไซต์ของตนเอง
แล้วหากเว็บไซต์แจ้งว่ามีคนเยี่ยมชมครบ 1,000 ครั้ง เราก็จะได้รับเงินเป็นค่าตอบแทน
แล้วหากเว็บไซต์แจ้งว่ามีคนเยี่ยมชมครบ 1,000 ครั้ง เราก็จะได้รับเงินเป็นค่าตอบแทน
จากทั้งหมดจะเห็นได้ว่า Affiliate Marketing เป็นโมเดลธุรกิจที่แบรนด์ไม่จำเป็นต้องลงเงินจำนวนมาก หรือต้องมาคอยบริหารรายละเอียดปลีกย่อยต่าง ๆ เช่น คิดคอนเทนต์ในการโปรโมต เพื่อทำการตลาด
เพียงแต่ให้ส่วนแบ่งจากการขายสินค้าบางส่วน ก็ช่วยให้แบรนด์ขยายฐานลูกค้า และเร่งยอดขายได้
จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมหลายแบรนด์ ถึงชอบใช้โมเดลธุรกิจนี้ โดยเฉพาะแบรนด์ที่เพิ่งเริ่มทำการตลาด หรือ แบรนด์เล็ก ๆ
และช่วงนี้ เราถึงเห็นชาวโซเชียลจำนวนไม่น้อย แนะนำสินค้าในโซเชียลมีเดียกัน ทั้ง ๆ ที่ตัวเองไม่ใช่เจ้าของกิจการ นั่นเอง..
อ้างอิง:
-https://digitorystyle.com/article/onlinestory/affiliate-marketing/
-https://shopee.co.th/m/affiliate-program
-https://pages.lazada.co.th/wow/i/th/corp/affiliate-howitworks?hybrid=1&scm=1003.4.icms-zebra-5024305-2779893.OTHER_5293204778_2434807
-https://digitorystyle.com/article/onlinestory/affiliate-marketing/
-https://shopee.co.th/m/affiliate-program
-https://pages.lazada.co.th/wow/i/th/corp/affiliate-howitworks?hybrid=1&scm=1003.4.icms-zebra-5024305-2779893.OTHER_5293204778_2434807