SCB FM มองเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแม้กนง. ลดดอกเบี้ยในระยะต่อไปอาจอ่อนค่าน้อยลงเพราะตลาดเริ่มชินกับ Tariffs

SCB FM มองเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแม้กนง. ลดดอกเบี้ยในระยะต่อไปอาจอ่อนค่าน้อยลงเพราะตลาดเริ่มชินกับ Tariffs

27 ก.พ. 2025
กลุ่มงานตลาดการเงินธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB Financial Markets: SCB FM) เปิดเผยว่ากนง. ลดดอกเบี้ยมาที่ 2.00% แต่ยังไม่ส่งสัญญาณลดเพิ่มเติมเนื่องจากกนง. มองอัตราดอกเบี้ยที่ถูกปรับลดลงมานี้เหมาะสมกับแนวโน้มเศรษฐกิจแล้วด้านเงินบาทอ่อนค่าหลังกนง. ลดดอกเบี้ยแต่มี correction กลับมาที่ระดับใกล้เคียงเดิมในระยะต่อไปมองเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 33.50-34.00
เพราะตลาดเริ่มคุ้นชินกับมาตรการ Tariffs ทำให้มีการตอบสนองในตลาดเงินน้อยลงอย่างไรก็ดีหากสหรัฐฯดำเนินมาตรการภาษีนำเข้าเพิ่มเติมจากที่เคยประกาศเลื่อนออกไปอาจทำให้เงินบาทอ่อนค่าเหนือระดับ 34.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐได้
นายวชิรวัฒน์บานชื่นนักกลยุทธ์ตลาดการเงินอาวุโสสายงานตลาดการเงินธนาคารไทยพาณิชย์เปิดเผยว่ากนง. ลดดอกเบี้ยเหนือความคาดหมายของตลาดโดยมีมติ 6 ต่อ 1 ให้ลดดอกเบี้ยลง 25 bps มาอยู่ที่ 2.00% เนื่องจากเศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้ จากภาคการผลิตอุตสาหกรรมที่อ่อนแอกว่าคาด รวมทั้งมีความเสี่ยงสูงขึ้นจากนโยบายการค้าของประเทศเศรษฐกิจหลัก ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทรงตัวในระดับต่ำจากปัจจัยด้านอุปทาน ซึ่งการลดดอกเบี้ยในครั้งนี้จะช่วยบรรเทาภาระลูกหนี้ และทำให้ภาวะการเงินบางภาคส่วนที่ตึงตัวผ่อนคลายลงได้ โดยหลังผลการประชุม เงินบาทปรับอ่อนค่าเหนือ 34.80 ก่อนที่จะมี Correction กลับมาที่ระดับใกล้เคียงเดิม ด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย (Government bond yields) ปรับลดลง โดย yields ระยะ 2 ปี ลดลง 5 bps มาที่ราว 1.96% ส่วน yields ระยะ 10 ปี ลดลง 8 bps มาที่ราว 2.17%
นายวชิรวัฒน์มองว่ายังไม่เห็นการส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยลงต่อเนื่องจากคณะกรรมการฯ ประเมินว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.00% อยู่ในระดับที่สอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจที่ประเมินในครั้งนี้  และสามารถรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้าได้ อีกทั้ง เศรษฐกิจไทยและเงินเฟ้อที่อ่อนแอมาจากปัจจัยฝั่งอุปทานและปัจจัยเชิงโครงสร้าง ซึ่งต้องใช้เวลาในการแก้ไข และการลดดอกเบี้ยจะยังไม่ช่วยแก้ได้ตรงจุด ดังนั้น หาก GDP ไทยปีนี้โตที่ราว 2.5% ก็อาจจะไม่เห็นการลดดอกเบี้ยเพิ่มเติม อย่างไรก็ดี ตลาดมองว่า กนง. อาจลดดอกเบี้ยอีก 1 ครั้งปีนี้ โดยอาจลดในช่วงต้นไตรมาสที่ 4 
สำหรับมุมมองค่าเงินบาทในระยะต่อไปมองว่าในระยะ 1 เดือนนี้เงินบาทยังมีแนวโน้มทรงตัวในกรอบ 33.50-34.00 โดยพบว่าในช่วงที่ผ่านมา เงินบาทมักได้รับอิทธิพลจากผลของมาตรการ Tariffs เป็นหลัก โดยท่าทีของทรัมป์เริ่มผ่อนปรนลง ความไม่แน่นอนในการประกาศใช้จริง ทำให้ตลาด Price-in tariffs risk น้อยลงมาก สะท้อนจาก Market reaction ที่เบาลง ทำให้เงินบาทผันผวนน้อยลงและยังเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ นอกจากนี้ พบว่ามีช่วงที่เงินบาทแข็งค่าจากแรงหนุนของเงินยูโรและเงินเยนที่กลับมาแข็ง แต่บาทกลับมาอ่อนค่าเร็วจาก Sentiment ตลาดหุ้นที่แย่ลงทำให้เงินไหลออก และมุมมองการลดดอกเบี้ยของ กนง. ที่มีมากขึ้นในตลาด Swap
ทั้งนี้หากเงินบาทจะอ่อนค่าเหนือ 34.00 ได้ SCB FM มองว่าอาจต้องมีการขึ้นภาษีนำเข้าเพิ่มเติม เช่น ประกาศขึ้น Reciprocal tariffs ของสหรัฐฯ หรือขึ้นภาษีนำเข้าต่อสินค้ากลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ ยานยนต์ และยา ที่อัตรา 25% ซึ่งจะเป็นสิ่งที่อาจทำให้ตลาดมีการ Reprice tariffs risk ใหม่ ดันให้ดัชนีเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่า และบาทอ่อนค่าเร็วได้ ดังนั้น นายวชิรวัฒน์จึงแนะนำผู้นำเข้า/ส่งออกให้พิจารณาป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน (FX hedging) ในภาวะที่ความผันผวนในตลาดเงินที่อาจกลับมาสูงขึ้นได้
โดย :  นายวชิรวัฒน์บานชื่น
นักกลยุทธ์ตลาดการเงินอาวุโส สายงานตลาดการเงิน
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
Line : @scbfx
© 2025 Marketthink. All rights reserved. Privacy Policy.