สรุปสัมมนาสุดยิ่งใหญ่ Know The Markets Summit 2024 จัดพอร์ตการลงทุนรับเทรนด์โลก พร้อมสร้างผลตอบแทนในทุกสภาวะตลาด
1 พ.ย. 2024
ท่ามกลางประเด็นทางเศรษฐกิจ ที่นักลงทุนจากหลายประเทศทั่วโลกกำลังจับตามอง ไม่ว่าจะเป็น
- ผลการเลือกตั้งในประเทศสหรัฐอเมริกาจะเป็นอย่างไร ?
- การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา จะส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจมากแค่ไหน ?
- เศรษฐกิจประเทศไทยกำลังฟื้นตัวแล้ว จริงหรือไม่ ?
- บทบาทของ AI เข้ามาสร้างเอฟเฟกต์อย่างไรต่อเศรษฐกิจบ้าง ?
- การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา จะส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจมากแค่ไหน ?
- เศรษฐกิจประเทศไทยกำลังฟื้นตัวแล้ว จริงหรือไม่ ?
- บทบาทของ AI เข้ามาสร้างเอฟเฟกต์อย่างไรต่อเศรษฐกิจบ้าง ?
และประเด็นอื่น ๆ อีกมากมาย ที่นักลงทุนต่างกังวล และพยายามหาคำตอบให้กับประเด็นเหล่านี้
เพื่อหาช่องทางในการจัดการพอร์ตการลงทุนในอนาคตให้สอดคล้องกับตลาด และสร้างผลตอบแทนอย่างต่อเนื่อง
เพื่อหาช่องทางในการจัดการพอร์ตการลงทุนในอนาคตให้สอดคล้องกับตลาด และสร้างผลตอบแทนอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งประเด็นเหล่านี้ จึงเป็นที่มาของงานสัมมนาครั้งยิ่งใหญ่ “Know The Markets Summit 2024 : Shaping the Future”
งานสัมมนาที่เปิดมุมมองการลงทุนในอนาคต พร้อมแนะนำการจัดพอร์ตการลงทุนให้อยู่รอดทุกสภาวะตลาด
ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง KAsset และพันธมิตร J.P. Morgan Asset Management หรือ JPMAM ผู้นำระดับโลกด้านการจัดการลงทุน
ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง KAsset และพันธมิตร J.P. Morgan Asset Management หรือ JPMAM ผู้นำระดับโลกด้านการจัดการลงทุน
โดยนำเหล่า Speaker ผู้เชี่ยวชาญการลงทุนในด้านต่าง ๆ มาร่วมตอบคำถามในประเด็นที่นักลงทุนทั่วโลกต่างให้ความสนใจ
แล้วภายในงานสัมมนามีประเด็นอะไรที่น่าสนใจ และเป็นแนวทางให้นักลงทุนสามารถจัดสรรพอร์ตการลงทุนในอนาคตได้บ้าง ?
MarketThink สรุปออกมาให้เป็นข้อ ๆ
MarketThink สรุปออกมาให้เป็นข้อ ๆ
- เศรษฐกิจในประเทศจีนกำลังเติบโต จากแรงกระตุ้นโดยภาครัฐ
สรุปจากเซสชันของคุณ Tai Hui, Chief Market Strategist, Asia Pacific, J.P. Morgan Asset Management ได้ว่า
เศรษฐกิจในประเทศจีนยังคงมีความเสี่ยงจากภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ยังชะลอตัว ทำให้ภาครัฐต้องออกมาตรการกระตุ้นเพิ่มเติมทั้งในด้านการเงิน การคลัง และสนับสนุนภาคอสังหาริมทรัพย์ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง
และที่น่าสนใจคือ การเลือกลงทุนในประเทศจีน ไม่ใช่เพียงแค่การลงทุนในตลาดหุ้นโดยรวม
แต่ต้องเลือกลงทุนในหุ้น หรือธุรกิจที่เจาะจงเฉพาะส่วน
แต่ต้องเลือกลงทุนในหุ้น หรือธุรกิจที่เจาะจงเฉพาะส่วน
โดยจะสังเกตได้ว่า เมื่อเกิดวิกฤติขึ้น หุ้นจีนเกือบทั้งตลาดจะได้รับผลกระทบ เว้นแต่หุ้นกลุ่มธนาคาร
และโทรคมนาคม แม้จะได้รับเอฟเฟกต์ แต่ก็ยังคงเติบโตได้ดีอยู่
และโทรคมนาคม แม้จะได้รับเอฟเฟกต์ แต่ก็ยังคงเติบโตได้ดีอยู่
- เศรษฐกิจในประเทศสหรัฐอเมริกา แม้จะมีแนวโน้มเติบโตช้าลง แต่ยังคงโตเรื่อย ๆ
สรุปจากเซสชันของคุณวิน พรหมแพทย์, CFA ประธานกรรมการบริหาร, KAsset ได้ว่า
เศรษฐกิจในประเทศสหรัฐอเมริกา มีแนวโน้มขยายตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มเป็นขาลง จะส่งผลดีต่อตลาดหุ้นและตราสารหนี้
เนื่องจากเมื่ออัตราดอกเบี้ยลด ผู้คนจะเคลื่อนย้ายเงินทุนออกจากการฝากธนาคาร มาสู่ตลาดทุนในรูปแบบอื่น ๆ แทน ซึ่งก็หนีไม่พ้นตลาดหุ้น และตราสารหนี้ที่จะได้รับความสนใจมากขึ้นหลังจากมีการลดอัตราดอกเบี้ยลง
ในด้านโอกาสของตลาดเกิดใหม่ คุณวินมองว่าตลาดหุ้นอินเดีย เวียดนาม และไทย ยังคงขยายตัว
และให้ผลตอบแทนดี
และให้ผลตอบแทนดี
โดยมองว่าเศรษฐกิจในประเทศอินเดียมีแรงขับเคลื่อนหลักมาจากการบริโภคในประเทศ จากการเติบโตของประชากรภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น และบริษัทในอินเดียเองก็มีความสามารถในการทำกำไรสูง
ในด้านตลาดหุ้นเวียดนาม ก็ยังคงดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติอย่างต่อเนื่อง สามารถดูได้จากการเติบโตของสินเชื่อธุรกิจ และการบริโภคที่เพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ จะช่วยหนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
และการส่งออกให้เติบโตได้อย่างต่อเนื่อง
และการส่งออกให้เติบโตได้อย่างต่อเนื่อง
และสำหรับตลาดหุ้นไทย ยังคงมีมุมมองเชิงบวกจากการประเมินมูลค่าหุ้น ซึ่งอยู่ในระดับที่น่าสนใจเมื่อเทียบกับในอดีต ประกอบกับเม็ดเงินใหม่ ที่จะเข้าสู่ตลาดหุ้นจากการตั้งกองทุนวายุภักษ์
ประกอบกับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยที่คาดว่าจะฟื้นตัวได้จากการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาล
และการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวในช่วงปลายปีซึ่งเป็น High Season
และการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวในช่วงปลายปีซึ่งเป็น High Season
- AI ไม่ใช่ฟองสบู่ แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงสู่อนาคต
สรุปจากเซสชันของคุณ Eric Ghernati, Portfolio Manager, J.P. Morgan US Technology ได้ว่า
โลกของเราจะมีการเกิดนวัตกรรมทางเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในทุก 10 ปี ซึ่งตั้งแต่ปี 2020
การพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Al) เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว สังเกตได้จากความสามารถในการตอบสนองของ AI ที่ใช้ระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี ก็สามารถพัฒนาจนมาเป็นผู้ช่วยในชีวิตประจำวันของเราได้แล้ว
พร้อมทั้งช่วยสร้างผลผลิตให้กับภาคธุรกิจได้รวดเร็วมากขึ้น
การพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Al) เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว สังเกตได้จากความสามารถในการตอบสนองของ AI ที่ใช้ระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี ก็สามารถพัฒนาจนมาเป็นผู้ช่วยในชีวิตประจำวันของเราได้แล้ว
พร้อมทั้งช่วยสร้างผลผลิตให้กับภาคธุรกิจได้รวดเร็วมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม นักลงทุนหลายคนยังมีความกังวลว่า วัฏจักรการเติบโตของ GenAI จะเหมือนกับเหตุการณ์ Dot-Com Bubble ซึ่งเป็นวิกฤติที่นักลงทุนต่างให้ความหวังกับหุ้นเทคโนโลยีมากเกินไป จนทำให้ราคาหุ้นพุ่งสูงจนกำไรโตไม่ทัน และสุดท้ายก็จบด้วยฟองสบู่แตก ผลลัพธ์คือตลาดหุ้นตกจากจุดสูงสุด 78%
แต่วัฏจักรการเติบโตของ GenAI มีความแตกต่างจาก Dot-Com Bubble เนื่องจากมีภาวะทางการเงินที่แข็งแกร่งกว่า รวมถึงการเติบโตของ AI ก็เป็นผลมาจากการลงทุนของภาคธุรกิจ ไม่ใช่แค่เพียงความคาดหวังของนักลงทุนเพียงอย่างเดียว
สรุปง่าย ๆ ก็คือ การเติบโตของ AI ไม่ใช่เหตุการณ์ฟองสบู่อย่างที่นักลงทุนหลายท่านกังวล
แต่เป็นการเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยีสู่โลกยุคใหม่ ซึ่งอุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้นใหม่ในอนาคต ต่างต้องนำเงินเข้ามาลงทุนใน AI
แต่เป็นการเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยีสู่โลกยุคใหม่ ซึ่งอุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้นใหม่ในอนาคต ต่างต้องนำเงินเข้ามาลงทุนใน AI
- นโยบายการเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกา ที่แตกต่างอย่างสุดขั้ว คือตัวชี้ชะตากลุ่มธุรกิจ
สรุปจากเซสชันของคุณ Gabriela Santos, Chief Market Strategist, Americas, JPMAM ได้ว่า
จากพื้นฐานความเหลื่อมล้ำทางความมั่งคั่งและรายได้ที่สูงในสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้พรรคเดโมแครตมีแนวนโยบายที่มุ่งเน้นการจัดเก็บภาษีจากผู้มีรายได้สูงและบริษัทขนาดใหญ่
แต่ในทางกลับกัน พรรครีพับลิกันมีการชูนโยบายลดหย่อนภาษีบุคคล และนิติบุคคล รวมถึงเน้นนโยบายเข้มงวดต่อผู้อพยพ เนื่องจากการอพยพอาจส่งผลให้ชาวอเมริกันสูญเสียโอกาสในการทำงาน
และไม่ว่าผลลัพธ์จะออกมาเป็นเช่นไร ต่างก็สร้างเอฟเฟกต์ต่อประเทศอื่น ๆ เป็นลูกโซ่ เนื่องจากในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนย้ายเงินทุน การค้าระหว่างประเทศ รวมถึงฐานการผลิต ต่างก็เชื่อมโยงกันเป็นทอด ๆ
- การเพิ่มสินทรัพย์ทางเลือก จะช่วยลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุนได้
สรุปจากเซสชันของคุณ Kerry Craig, Global Market Strategist, JPMAM ได้ว่า
การเพิ่มสินทรัพย์ทางเลือก เข้ามาในพอร์ตการลงทุนเดิมที่มีเพียงหุ้น 60% เช่น
- Real Estate (อสังหาริมทรัพย์)
- Private Markets (การลงทุนในสินทรัพย์ที่ไม่ได้จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์)
- Infrastructure (การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ระบบขนส่งทางราง, ประปา, ไฟฟ้า, ถนน, สนามบิน)
- Hedge Funds (กองทุนที่ลงทุนในสินทรัพย์หรือหลักทรัพย์ที่หลากหลาย)
- Real Estate (อสังหาริมทรัพย์)
- Private Markets (การลงทุนในสินทรัพย์ที่ไม่ได้จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์)
- Infrastructure (การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ระบบขนส่งทางราง, ประปา, ไฟฟ้า, ถนน, สนามบิน)
- Hedge Funds (กองทุนที่ลงทุนในสินทรัพย์หรือหลักทรัพย์ที่หลากหลาย)
และเพิ่มตราสารหนี้อีก 40% จะสามารถช่วยลดความผันผวน และเพิ่มผลตอบแทนให้กับพอร์ตการลงทุนได้
- การลงทุนใน AI แม้ว่าจะแข็งแกร่ง แต่ก็ใช่ว่าจะสร้างผลตอบแทนเสมอไป
สรุปจากเซสชันของคุณ Leon Goldfeld, Head of Multi-Asset Solutions, Asia-Pacific ได้ว่า
แน่นอนว่าการมาของ AI สามารถช่วยเหลือในการทำงานและสร้างรายได้ให้กับหลายอุตสาหกรรม แต่การลงทุนใน AI ก็ไม่ได้หมายความว่าจะสร้างผลตอบแทนได้เพียงอย่างเดียว
หากเราลองสังเกตดูให้ดี จะพบว่าผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จากบทบาทของ AI จริง ๆ แล้วคือธุรกิจที่ดำเนินการเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานของ AI เช่น NVIDIA ซึ่งเป็นบริษัทผลิตชิปสำหรับ Generative AI
หรือธุรกิจที่พัฒนาผลิตภัณฑ์จาก AI เพื่อขายให้กับผู้ใช้งานทั่วไปโดยตรง เช่น บริษัทผลิตคอมพิวเตอร์อย่าง Intel, Dell เป็นต้น
ต่อมาคือ เรื่องปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์ ปัญหาสำคัญที่ส่งผลต่อการค้าระหว่างประเทศ
ซึ่งส่วนใหญ่มักสร้างผลกระทบในระยะสั้น และทุกอย่างจะค่อย ๆ ปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติในแบบที่ควรจะเป็น
เพราะฉะนั้นยังไม่มีประเด็นอะไรที่น่ากังวลมากนัก
แน่นอนว่าการมาของ AI สามารถช่วยเหลือในการทำงานและสร้างรายได้ให้กับหลายอุตสาหกรรม แต่การลงทุนใน AI ก็ไม่ได้หมายความว่าจะสร้างผลตอบแทนได้เพียงอย่างเดียว
หากเราลองสังเกตดูให้ดี จะพบว่าผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จากบทบาทของ AI จริง ๆ แล้วคือธุรกิจที่ดำเนินการเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานของ AI เช่น NVIDIA ซึ่งเป็นบริษัทผลิตชิปสำหรับ Generative AI
หรือธุรกิจที่พัฒนาผลิตภัณฑ์จาก AI เพื่อขายให้กับผู้ใช้งานทั่วไปโดยตรง เช่น บริษัทผลิตคอมพิวเตอร์อย่าง Intel, Dell เป็นต้น
ต่อมาคือ เรื่องปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์ ปัญหาสำคัญที่ส่งผลต่อการค้าระหว่างประเทศ
ซึ่งส่วนใหญ่มักสร้างผลกระทบในระยะสั้น และทุกอย่างจะค่อย ๆ ปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติในแบบที่ควรจะเป็น
เพราะฉะนั้นยังไม่มีประเด็นอะไรที่น่ากังวลมากนัก
ประเด็นสุดท้ายที่น่าสนใจคือ แนวโน้มเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกาที่ลดลง ทำให้การจัดพอร์ตการลงทุนที่มีทั้งหุ้นและตราสารหนี้ช่วยลดความเสี่ยงได้ดียิ่งขึ้น และหากลงทุนในระยะยาวจะช่วยลดความผันผวน และลดโอกาสในการขาดทุนได้
เพราะเราไม่สามารถคาดเดาได้ว่า การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจในอนาคต จะกระทบต่อภาคส่วนไหนบ้าง เพราะฉะนั้นควรกระจายความเสี่ยงไว้ในหลายสินทรัพย์ดีกว่า
- สรุปวิธีจัดพอร์ตด้วยกลยุทธ์ Core-Satellite เพิ่มโอกาสทำกำไรในอนาคต
สรุปจากเซสชันของคุณวจนะ วงศ์ศุภสวัสดิ์, Chief Investment Officer, KAsset ได้ว่า
ตลาดหุ้นในปีที่ผ่านมามีการเติบโตแบบกระจายตัวมากขึ้น ไม่ค่อยเติบโตแบบกระจุกตัว หรือเติบโตจากแรงบวกของหุ้นหลักในตลาดหุ้นเพียงไม่กี่ตัว
ซึ่งการเติบโตแบบกระจายตัว ส่งผลให้นักลงทุนสามารถหาโอกาสในการลงทุนได้มากขึ้น
โดยมองว่าอุตสาหกรรม Healthcare และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคในครัวเรือน
มีแนวโน้มจะเป็นเทรนด์การเติบโตในอนาคต
มีแนวโน้มจะเป็นเทรนด์การเติบโตในอนาคต
โดยสรุป ณ สถานการณ์ของเศรษฐกิจตอนนี้ยังไม่มีความน่ากังวลเกิดขึ้น และจะมีความชัดเจนมากขึ้น
หลังจากการเลือกตั้งในประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากนั้นจึงค่อยมาดูมาตรการภาครัฐเป็นข้อ ๆ
ว่าจะส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจส่วนไหน อย่างไรบ้าง
หลังจากการเลือกตั้งในประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากนั้นจึงค่อยมาดูมาตรการภาครัฐเป็นข้อ ๆ
ว่าจะส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจส่วนไหน อย่างไรบ้าง
แต่อย่างไรก็ตาม ความไม่แน่นอนของการเลือกตั้งในประเทศสหรัฐอเมริกา และความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ หรือก็คือปัญหาการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนที่ยังมีอยู่ จึงแนะนำให้จัดพอร์ตการลงทุนด้วยกลยุทธ์แบบ Core-Satellite
อธิบายง่าย ๆ ก็คือ
1. Core Portfolio 80% สินทรัพย์ที่มีความผันผวนต่ำ
เน้นลงทุนระยะยาวแบบ Asset Allocation หรือก็คือการกระจายการลงทุนในพอร์ตไปในหลายสินทรัพย์
โดยแนะนำกองทุน K-WealthPLUS Series ที่กระจายการลงทุนทั้งตราสารหนี้ หุ้น และสินทรัพย์ทางเลือก
โดยมีให้เลือกตามความเสี่ยงที่แตกต่างกัน
เน้นลงทุนระยะยาวแบบ Asset Allocation หรือก็คือการกระจายการลงทุนในพอร์ตไปในหลายสินทรัพย์
โดยแนะนำกองทุน K-WealthPLUS Series ที่กระจายการลงทุนทั้งตราสารหนี้ หุ้น และสินทรัพย์ทางเลือก
โดยมีให้เลือกตามความเสี่ยงที่แตกต่างกัน
- K-WPBALANCED มีความเสี่ยงน้อย มีสัดส่วนหุ้นประมาณ 30%
- K-WPSPEEDUP มีความเสี่ยงปานกลาง มีสัดส่วนหุ้นประมาณ 65%
- K-WPULTIMATE มีความเสี่ยงปานกลางถึงสูง มีสัดส่วนหุ้นทั่วโลกประมาณ 85%
2. Satellite Portfolio 20% สินทรัพย์ที่มีความผันผวนสูง
เน้นลงทุนระยะสั้นแบบจับจังหวะตลาด (Market Timing)
เน้นลงทุนระยะสั้นแบบจับจังหวะตลาด (Market Timing)
ซึ่งกลยุทธ์การจัดพอร์ตลงทุนแบบ Core-Satellite จะช่วยเพิ่มโอกาสในการทำกำไร ผ่านการลงทุนในธีมวัฏจักรดอกเบี้ยขาลง เศรษฐกิจยืดหยุ่นสูง กำไรยังคงเติบโต และโอกาสการเติบโตของตลาดเกิดใหม่
โดยแนะนำกองทุนที่น่าสนใจคือ
- K-FIXEDPLUS ลงทุนตราสารหนี้ภาครัฐ และภาคเอกชน รวมถึงเงินฝากทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- K-GSELECT ลงทุนหุ้นทั่วโลก โอกาสสร้างผลตอบแทนโดดเด่นได้ทุกช่วงเวลา
- K-INDIA ลงทุนหุ้นอินเดียคุณภาพดี โอกาสเติบโตสูง
- K-VIETNAM ลงทุนตรงในหุ้นเวียดนาม ที่ได้ผลประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนาม
- K-STAR ลงทุนในหุ้นไทยที่มีศักยภาพการเติบโตในระยะยาว
- K-PROPI ลงทุนในหลักทรัพย์หรือตราสารทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ หรือกลุ่มกิจการโครงสร้างพื้นฐาน
เพิ่มเติม https://www.kasikornbank.com/k_40jE20I
คำเตือน :
- โฆษณาของ บลจ.กสิกรไทย นี้อาจอ้างอิงข้อมูลที่ J.P. Morgan Asset Management เผยแพร่โดยทั่วไป มิได้จัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ หรือเป็นการให้คำแนะนำการลงทุน
- ผู้ลงทุนโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ข้อมูลเพิ่มเติม www.kasikornasset.com
- โฆษณาของ บลจ.กสิกรไทย นี้อาจอ้างอิงข้อมูลที่ J.P. Morgan Asset Management เผยแพร่โดยทั่วไป มิได้จัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ หรือเป็นการให้คำแนะนำการลงทุน
- ผู้ลงทุนโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ข้อมูลเพิ่มเติม www.kasikornasset.com