สรุปกลยุทธ์ บางกอกแอร์เวย์ส ปี 2567 ตั้งเป้าผู้โดยสาร 4.5 ล้านคน จัดหาเครื่องบินเพิ่ม 2 ลำ ในปีนี้
29 มี.ค. 2024
ในวันนี้ สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส ได้แถลงกลยุทธ์การทำธุรกิจประจำปี 2567
ส่วนจะมีอะไรน่าสนใจนั้น MarketThink สรุปให้อ่านกัน ในโพสต์นี้..
ส่วนจะมีอะไรน่าสนใจนั้น MarketThink สรุปให้อ่านกัน ในโพสต์นี้..
เริ่มต้นกันด้วยภาพรวมการทำธุรกิจของสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส ในปี 2566 กันก่อน
ในปี 2566 ที่ผ่านมา สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส มีรายได้รวมทั้งสิ้น 21,840 ล้านบาท
และกำไรสุทธิ 3,110 ล้านบาท
ในปี 2566 ที่ผ่านมา สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส มีรายได้รวมทั้งสิ้น 21,840 ล้านบาท
และกำไรสุทธิ 3,110 ล้านบาท
ส่วนในปี 2567 นี้ สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส ตั้งเป้าหมายไว้ว่า จะมีรายได้จากผู้โดยสารทั้งสิ้น 17,800 ล้านบาท
ด้วยจำนวนเที่ยวบินทั้งหมด 48,000 เที่ยวบิน
จำนวนผู้โดยสารทั้งหมด 4.5 ล้านคน
อัตราการบรรทุกผู้โดยสาร (Load Factor) 85%
และราคาบัตรโดยสารเฉลี่ย ต่อเที่ยวบินประมาณ 3,900 บาทต่อที่นั่ง
จำนวนผู้โดยสารทั้งหมด 4.5 ล้านคน
อัตราการบรรทุกผู้โดยสาร (Load Factor) 85%
และราคาบัตรโดยสารเฉลี่ย ต่อเที่ยวบินประมาณ 3,900 บาทต่อที่นั่ง
ในปัจจุบัน สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส มีจุดหมายปลายทางรวมทั้งสิ้น 20 แห่ง
แบ่งเป็น จุดหมายปลายทางภายในประเทศ 12 แห่ง
และต่างประเทศ 8 แห่ง
แบ่งเป็น จุดหมายปลายทางภายในประเทศ 12 แห่ง
และต่างประเทศ 8 แห่ง
หากเราเจาะลึกไปที่ กลยุทธ์ที่สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส จะใช้ในการขายบัตรโดยสาร จะพบว่า แบ่งออกเป็น 2 ช่องทาง ได้แก่
เว็บไซต์ของสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส ในสัดส่วน 30%
และอีก 70% มาจากช่องทางอื่น เช่น Online Agent ต่าง ๆ ทั้งภายใน และต่างประเทศ
และอีก 70% มาจากช่องทางอื่น เช่น Online Agent ต่าง ๆ ทั้งภายใน และต่างประเทศ
โดยทั้งสองช่องทางนั้น จะแบ่งได้เป็นตลาดต่าง ๆ ซึ่งมีสัดส่วน ดังนี้
ยุโรป 39.7%
เอเชีย (รวมประเทศไทย) 31.5%
เอเชียเหนือ 10%
อเมริกา 6.8%
เอเชียใต้ 4.8%
ออสเตรเลีย 4.5%
ตะวันออกกลาง 2.7%
ยุโรป 39.7%
เอเชีย (รวมประเทศไทย) 31.5%
เอเชียเหนือ 10%
อเมริกา 6.8%
เอเชียใต้ 4.8%
ออสเตรเลีย 4.5%
ตะวันออกกลาง 2.7%
โดยหากเจาะลึกไปที่ช่องทางการขายอื่น ที่เป็นช่องทางการขายหลัก คิดเป็นสัดส่วนกว่า 70% ของสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส
ที่น่าสนใจคือ ในปีนี้สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส จะให้ความสำคัญกับการขายบัตรโดยสาร ผ่าน Online Travel Agent ให้มากขึ้น เพื่อเข้าถึงฐานลูกค้าให้มากกว่าเดิม
เพราะในปัจจุบัน Online Travel Agent เป็นช่องทางที่ผู้โดยสาร และนักท่องเที่ยวนิยมใช้
โดยตัวอย่างของ Online Travel Agent ที่เราคุ้นเคยกัน ก็มีทั้ง Agoda, Trip.com, Expedia, Traveloka, Klook, Google และ Robinhood เป็นต้น
รวมถึงมีการวางแผนขยายการขายเชิงรุก สำหรับตลาดต่างประเทศ โดยการขยายตัวแทนขายของสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส ในต่างประเทศ หรือ GSA
เพื่อให้ครอบคลุมโอกาสการขาย ไปยังกลุ่มตลาดใหม่ เช่น เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ในประเทศซาอุดิอาระเบีย ละตินอเมริกา และตุรกี โดยปัจจุบันมี GSA รวมทั้งสิ้น 26 สำนักงานทั่วโลก
รวมถึงในปีนี้ จะมีการรุกตลาดขายบัตรโดยสาร ผ่านทางแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ให้มากขึ้น ทั้ง Facebook, Instagram, LINE และ TikTok
และจะมีการปรับปรุงเว็บไซต์ของสายการบินบางกอกแอร์เวย์สใหม่ เพื่อเพิ่มความสะดวกในการจองบัตรโดยสารให้มากกว่าเดิม อีกด้วย
ส่วนในด้านฝูงบินนั้น สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส มีเครื่องบินให้บริการอยู่ทั้งสิ้น 24 ลำ ณ สิ้นปี 2566
โดยภายในช่วงไตรมาส 3-4 ของปีนี้ มีแผนที่จะนำเครื่องบิน Airbus A319 เข้ามาให้บริการเพิ่มเติมอีก 2 ลำ
ทำให้สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส จะมีเครื่องบินที่ให้บริการทั้งหมด 25 ลำ ภายในปี 2567 นี้
แบ่งเป็น Airbus A320 จำนวน 2 ลำ (ลดลงจากปี 2566 จำนวน 1 ลำ)
Airbus A319 จำนวน 11 ลำ (เตรียมจัดหาเพิ่มอีก 2 ลำ)
และ ATR72-600 จำนวน 10 ลำ
Airbus A319 จำนวน 11 ลำ (เตรียมจัดหาเพิ่มอีก 2 ลำ)
และ ATR72-600 จำนวน 10 ลำ
ส่วนในด้านการสำรองที่นั่งล่วงหน้า ของสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส ในปีนี้นั้น สูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว 14%
ซึ่งเส้นทางที่มีการสำรองที่นั่งล่วงหน้ามากที่สุด คือ สมุย คิดเป็นสัดส่วน 63% ของการสำรองที่นั่งล่วงหน้าในทุกเส้นทาง
ตามมาด้วย กลุ่มเส้นทางภายในประเทศ ในสัดส่วน 28%
เส้นทางกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน (CLMV) ในสัดส่วน 8%
และเส้นทางต่างประเทศ 1%
เส้นทางกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน (CLMV) ในสัดส่วน 8%
และเส้นทางต่างประเทศ 1%