สรุปกลยุทธ์ ไปรษณีย์ไทย รายได้ 20,000 ล้าน พลิกกลับมากำไร ในตลาดที่ แข่งกันเลือดสาด
22 มี.ค. 2024
วันนี้ ไปรษณีย์ไทยจัดงานแถลงข่าวผลประกอบการของปี 2566
โดยไปรษณีย์ไทย จำกัด มีรายได้รวม 20,934.47 ล้านบาท เติบโตสูงขึ้น 7.40%
และมีกำไรสุทธิ 78.54 ล้านบาท
และมีกำไรสุทธิ 78.54 ล้านบาท
มีสัดส่วนรายได้จากกลุ่มงานต่าง ๆ ได้แก่
- กลุ่มบริการขนส่งและโลจิสติกส์ 45.56% เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ที่ 19.35%
- กลุ่มบริการไปรษณียภัณฑ์ 33.85%
- กลุ่มบริการระหว่างประเทศ 13.43%
- กลุ่มบริการค้าปลีกและการเงิน 4.90%
- กลุ่มธุรกิจอื่น ๆ 0.96%
- รายได้อื่น ๆ 1.30%
- กลุ่มบริการไปรษณียภัณฑ์ 33.85%
- กลุ่มบริการระหว่างประเทศ 13.43%
- กลุ่มบริการค้าปลีกและการเงิน 4.90%
- กลุ่มธุรกิจอื่น ๆ 0.96%
- รายได้อื่น ๆ 1.30%
ถ้าถามว่าทำไม ไปรษณีย์ไทยถึงพลิกมีกำไรได้ แต่ขนส่งรายอื่นยังวิกฤตอยู่ ?
ก็ต้องบอกว่า ไปรษณีย์ไทยมีการปรับตัวอยู่ตลอด ไม่ว่าจะเป็น
- การขยายธุรกิจไปในอุตสาหกรรมอื่นมากขึ้น เช่น บริการค้าปลีกและการเงิน
ไปรษณีย์ไทยมีการขายสินค้าอุปโภคบริโภค ได้แก่ ข้าว น้ำดื่ม และกาแฟ โดยใช้ชื่อแบรนด์ว่า “ตราไปร” และอาศัยความได้เปรียบของการเป็นธุรกิจขนส่งในการขนส่งสินค้าของตัวเอง
โดยไปรษณีย์ไทยมีค่าใช้จ่ายคงที่อยู่แล้วทุกวันคือ ค่าขนส่ง ไม่ว่าจะมีของมากหรือน้อยก็ตาม
แต่จะอาศัยขนส่งสินค้าของตัวเองในวันที่มีระวางขนส่งว่างเยอะ ๆ เช่น วันเสาร์ - อาทิตย์
ทำให้ช่วยประหยัดต้นทุนและสร้างความได้เปรียบในเรื่องราคาและการส่งสินค้าได้ถึงหน้าบ้าน
แม้ว่ารายได้ในส่วนนี้จะน้อยมาก ๆ เมื่อเทียบกับรายได้ทั้งหมด
แต่ก็เป็นการสร้างจุดขายใหม่ของไปรษณีย์ไทยที่ช่วยเพิ่มทั้งรายได้
และสร้างฐานลูกค้าเพิ่มในธุรกิจใหม่ ๆ ไปในเวลาเดียวกันอีกด้วย
แต่ก็เป็นการสร้างจุดขายใหม่ของไปรษณีย์ไทยที่ช่วยเพิ่มทั้งรายได้
และสร้างฐานลูกค้าเพิ่มในธุรกิจใหม่ ๆ ไปในเวลาเดียวกันอีกด้วย
- การควบคุมต้นทุน
เช่น ในปี 2567 ไปรษณีย์ไทยมีแผนที่จะเปลี่ยนรถขนส่งไปรษณียภัณฑ์เป็นรถไฟฟ้าจำนวน 250 คัน
และจะทำเช่นนี้ต่อเนื่องเป็นเวลา 5 ปี ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนค่าเชื้อเพลิงลงได้มากถึง 70%
หรือการลดระยะวิ่งรถให้สั้นลง แต่ยังครอบคลุมทุกพื้นที่เหมือนเดิม
ก็ทำให้ต้นทุนค่าขนส่งลดลงเช่นเดียวกัน
ก็ทำให้ต้นทุนค่าขนส่งลดลงเช่นเดียวกัน
นอกจากนี้ทางไปรษณีย์ไทยยังกระซิบบอกอีกว่า ตัวเองเห็นเทรนด์การใช้รถไฟฟ้าเติบโตขึ้น
จึงไม่อยากเป็นเพียงผู้ใช้เท่านั้น แต่อยากเป็นส่วนหนึ่งของ Ecosystem ของรถยนต์ไฟฟ้าอีกด้วย
ซึ่งก็ต้องรอดูกันต่อไปว่า ทางไปรษณีย์ไทยจะลงไปเล่นในธุรกิจไหนของรถยนต์ไฟฟ้า
และจะช่วยสร้างการเติบโตของไปรษณีย์ไทยอย่างไรต่อไป
และจะช่วยสร้างการเติบโตของไปรษณีย์ไทยอย่างไรต่อไป
- เน้นการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการมากขึ้น
ซึ่งก็ทำให้ไปรษณีย์ไทยควบคุมค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น และยังทราบพฤติกรรมของผู้บริโภค
ทำให้สามารถนำข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุงคุณภาพการให้บริการให้ดีขึ้นมากกว่าเดิม
และกลายเป็นแบรนด์ Top of Mind ในใจของใครหลาย ๆ คนเพิ่มอีกด้วย
ทำให้สามารถนำข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุงคุณภาพการให้บริการให้ดีขึ้นมากกว่าเดิม
และกลายเป็นแบรนด์ Top of Mind ในใจของใครหลาย ๆ คนเพิ่มอีกด้วย
ส่วนในปี 2567 ไปรษณีย์ไทยได้วางเป้าหมายรายได้รวม ไว้ที่ 22,802 ล้านบาท
และกำไรสุทธิ 350 ล้านบาท
และกำไรสุทธิ 350 ล้านบาท
ใน 3 ปีนี้ ไปรษณีย์ไทยตั้งเป้าเป็น Trusted Sustainable ASEAN Brand
ดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืนและเป็นแบรนด์ที่น่าเชื่อถือแห่งอาเซียน
ดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืนและเป็นแบรนด์ที่น่าเชื่อถือแห่งอาเซียน
โดยในปี 2567 ได้ปรับวิสัยทัศน์เป็น ส่งมอบการเติบโตอย่างยั่งยืนผ่านเครือข่ายไปรษณีย์
พร้อมวางกลยุทธ์และการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เช่น
พร้อมวางกลยุทธ์และการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เช่น
- การมุ่งเน้นคุณภาพ หลีกเลี่ยงสงครามราคา
- การปรับภาพจำของแนวทางการดำเนินงานแบบรัฐวิสาหกิจไปสู่เอกชน
- พัฒนา Logistics Company ให้ก้าวสู่ Information Logistics Company
นำข้อมูลมาปรับปรุงต่อยอดบริการให้ตรงใจ
- การขยายฟังก์ชันการทำงานของบุรุษไปรษณีย์ หรือ Postman
สู่ Post – Gentleman as a service ที่ให้บริการในหลากหลายด้าน
- การปรับภาพจำของแนวทางการดำเนินงานแบบรัฐวิสาหกิจไปสู่เอกชน
- พัฒนา Logistics Company ให้ก้าวสู่ Information Logistics Company
นำข้อมูลมาปรับปรุงต่อยอดบริการให้ตรงใจ
- การขยายฟังก์ชันการทำงานของบุรุษไปรษณีย์ หรือ Postman
สู่ Post – Gentleman as a service ที่ให้บริการในหลากหลายด้าน
ด้วยผลจากการวางกลยุทธ์ทั้งหมดนี้เอง ก็ทำให้ไปรษณีย์ไทยพลิกกลับมามีกำไรในปี 2566 ได้
ท่ามกลางสงครามการแข่งขันอย่างดุเดือดของธุรกิจขนส่งหลายเจ้านั่นเอง…