การตลาดเจ้าของ PR BigBag ขนมฮิตใน 7-Eleven ขายซองละ 20 บาท รายได้ 1,000 ล้าน
12 ธ.ค. 2024
- ในรูปนี้คือ “PR BigBag” ขนมข้าวเกรียบรูปวงกลม วางขายตามร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven
PR BigBag มีกลยุทธ์เรียบง่าย คือเน้นให้เยอะ และขายไม่แพง แค่ห่อละ 20 บาท
แต่ได้ผลดี จนขึ้นแท่นเป็นแบรนด์ขนม 1,000 ล้านบาท เมื่อปีที่แล้ว
แต่ได้ผลดี จนขึ้นแท่นเป็นแบรนด์ขนม 1,000 ล้านบาท เมื่อปีที่แล้ว
- ผลประกอบการ 3 ปีล่าสุด ของ บริษัท พี.อาร์.ฟู้ดแลนด์ จำกัด เจ้าของขนม PR BigBag
ปี 2564 รายได้ 265 ล้านบาท ขาดทุน 67 ล้านบาท
ปี 2565 รายได้ 512 ล้านบาท กำไร 32 ล้านบาท
ปี 2566 รายได้ 1,032 ล้านบาท กำไร 148 ล้านบาท
ปี 2565 รายได้ 512 ล้านบาท กำไร 32 ล้านบาท
ปี 2566 รายได้ 1,032 ล้านบาท กำไร 148 ล้านบาท
นอกจากรายได้โตระเบิดทุกปีแล้ว ถ้าลองคิดเล่น ๆ ว่ารายได้ระดับ 1,000 ล้านบาท มาจากการขาย
PR BigBag ซองละ 20 บาท เพียงอย่างเดียว
PR BigBag ซองละ 20 บาท เพียงอย่างเดียว
บริษัทต้องขายขนมให้ได้มากถึง 50 ล้านซอง ถึงจะได้ตัวเลขระดับนี้
(แต่ต้องหมายเหตุว่า บริษัทอาจจะมีรายได้จากส่วนอื่น นอกจากขายขนมแบรนด์นี้อย่างเดียว)
(แต่ต้องหมายเหตุว่า บริษัทอาจจะมีรายได้จากส่วนอื่น นอกจากขายขนมแบรนด์นี้อย่างเดียว)
- จริง ๆ แล้ว PR BigBag ไม่ใช่แบรนด์ใหม่ที่ไหน แต่ก่อนหน้านี้ ขนมแบรนด์ PR จะวางขายอยู่ตามร้านขายของชำ และร้านค้าส่งทั่วไป
โดย PR BigBag เพิ่งเข้ามาวางขายใน 7-Eleven เป็นครั้งแรกเมื่อปี 2564 หรือเมื่อ 3 ปีที่แล้วนี่เอง เลยไม่แปลกที่หลายคนจะไม่รู้จักขนมแบรนด์นี้มาก่อน
- ถ้าลองวิเคราะห์แบบง่าย ๆ กลยุทธ์ของ PR BigBag คือการทำ Mass Marketing
Mass Marketing คือการทำอย่างไรก็ได้ให้สินค้าเป็นที่รู้จักให้ได้มากที่สุด และขายสินค้าให้ได้มากที่สุด
โดยไม่เจาะจงว่ากลุ่มเป้าหมายหลักเป็นใคร ถือเป็นท่าคลาสสิกมาก ๆ ในตำราการตลาด
โดยไม่เจาะจงว่ากลุ่มเป้าหมายหลักเป็นใคร ถือเป็นท่าคลาสสิกมาก ๆ ในตำราการตลาด
โดยส่วนใหญ่แล้วแบรนด์ที่ใช้กลยุทธ์แบบนี้ จะเน้นขายสินค้าราคาถูก เพื่อให้เข้าถึงคนได้เยอะ ๆ
ตามความหมายของคำว่า “Mass” ที่สื่อความหมายถึง “คนจำนวนมาก”
ตามความหมายของคำว่า “Mass” ที่สื่อความหมายถึง “คนจำนวนมาก”
- PR BigBag วางตัวเองไว้ให้เป็นแบรนด์ที่เน้น “ความคุ้มค่า” ขายราคาเดียวคือ 20 บาท
ให้ปริมาณขนม 80 กรัม พูดง่าย ๆ คือ ขายไม่แพงและให้เยอะ
ให้ปริมาณขนม 80 กรัม พูดง่าย ๆ คือ ขายไม่แพงและให้เยอะ
เรามาดูตัวอย่างแบรนด์ขนมที่ขายราคา 20 บาท ใน 7-Eleven ว่ามีปริมาณเท่าไรบ้าง ?
- ขนม คอนเน่ ราคา 20 บาท ขนาด 48 กรัม
- ขนม ชีโตส ราคา 20 บาท ขนาด 64 กรัม
- ขนม ปาปริก้า ราคา 20 บาท ขนาด 56 กรัม
- ขนม โปเต้ ราคา 20 บาท ขนาด 56 กรัม
- ขนม PR BigBag ราคา 20 บาท ขนาด 80 กรัม
- ขนม ชีโตส ราคา 20 บาท ขนาด 64 กรัม
- ขนม ปาปริก้า ราคา 20 บาท ขนาด 56 กรัม
- ขนม โปเต้ ราคา 20 บาท ขนาด 56 กรัม
- ขนม PR BigBag ราคา 20 บาท ขนาด 80 กรัม
ถ้าเอาแค่เรื่องปริมาณ จะเห็นว่า PR BigBag ในราคา 20 บาท ได้ปริมาณ 80 กรัม
จะมากเป็นอันดับต้น ๆ ถ้าเทียบกับขนมแบรนด์อื่น ๆ ที่ขายในราคาเท่ากัน
จะมากเป็นอันดับต้น ๆ ถ้าเทียบกับขนมแบรนด์อื่น ๆ ที่ขายในราคาเท่ากัน
ดังนั้นต่อให้จะเป็นแบรนด์น้องใหม่ในร้านสะดวกซื้อ แต่ด้วยจุดเด่นตรงนี้ มันก็น่าจะเพียงพอ
ที่จะสร้างความแตกต่างให้หลายคนเปิดใจให้ขนม PR BigBag ได้ไม่ยาก
ที่จะสร้างความแตกต่างให้หลายคนเปิดใจให้ขนม PR BigBag ได้ไม่ยาก
- อีกอย่างที่น่าสนใจคือ วิธีที่ PR BigBag ใช้สร้างการรับรู้ให้ตัวเองคือ การโฆษณาแบบ “ปูพรม”
เน้นให้คนเห็นเยอะ ๆ ไว้ก่อน โดยไม่สนว่าคนกลุ่มไหนจะเห็นโฆษณาบ้าง ยกตัวอย่างเช่น
เน้นให้คนเห็นเยอะ ๆ ไว้ก่อน โดยไม่สนว่าคนกลุ่มไหนจะเห็นโฆษณาบ้าง ยกตัวอย่างเช่น
โฆษณาบนป้ายขนาดใหญ่ เช่น ตามข้างทาง หรือตามตึกสูง ที่คนสามารถเห็นได้เยอะ ๆ
โฆษณาผ่าน KOL (Key Opinion Leader) หรือ อินฟลูเอนเซอร์ ที่มีผู้ติดตามเยอะ ๆ ในช่องทางต่าง ๆ
เช่น ร่วมมือกับ “บอลพาเที่ยว” อินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังบน TikTok ที่ชอบทำคลิปขับรถมอเตอร์ไซค์เที่ยว เจ้าของวลีฮิต.. “ไปกันต่อ” ให้มา Tie-in ขนม PR BigBag ระหว่างการเดินทาง
โฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์ เช่น การ Tie-in สินค้าในรายการข่าว หรือรายการกีฬาต่าง ๆ
โฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์ เช่น การ Tie-in สินค้าในรายการข่าว หรือรายการกีฬาต่าง ๆ
จะเห็นได้ว่ารูปแบบการโฆษณาของ PR BigBag ไม่ได้เน้นสื่อสารไปที่คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นพิเศษ
แต่เน้นสื่อสารให้คนจดจำแบรนด์ PR BigBag ให้ได้มากที่สุด
แต่เน้นสื่อสารให้คนจดจำแบรนด์ PR BigBag ให้ได้มากที่สุด
ซึ่งเหมาะมากกับสินค้าที่มีช่องทางการวางจำหน่ายเยอะ ๆ โดย PR BigBag วางขายตามร้านสะดวกซื้ออย่าง 7-Eleven ที่มีสาขามากกว่า 14,000 แห่งทั่วประเทศไทย
และลูกค้าส่วนใหญ่ที่เดินเข้าร้านสะดวกซื้อจะเป็นใครก็ได้อยู่แล้ว ดังนั้นการสื่อสารให้กว้างที่สุด
น่าจะเป็นผลดีกับแบรนด์มากกว่า
น่าจะเป็นผลดีกับแบรนด์มากกว่า
- อ่านมาถึงตรงนี้ เรื่องราวของ PR BigBag ถือเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจเลยทีเดียว
ว่าบางครั้งกลยุทธ์ง่าย ๆ อย่างการขายของ “ราคาถูกแต่ให้ปริมาณเยอะ” และเน้นโปรโมตกว้าง ๆ เน้นให้คนเห็นเยอะ ๆ ก็เป็นท่าที่ใช้สร้างรายได้เป็นร้อยเป็นพันล้านบาทได้เหมือนกัน
แม้ตอนนี้เราจะอยู่ในยุคที่มีเครื่องมือการตลาดให้เลือกใช้มากมาย ซึ่งบางชนิดก็ล้ำแบบว่าแทบจะ Personalized รูปแบบของโฆษณาให้เหมาะกับลูกค้าเป็นรายบุคคลได้ด้วยซ้ำไป..