อธิบายกลไก ตั้งราคาตั๋วเครื่องบิน ทำไมตั๋วไปภูเก็ต แพงได้ถึงหลัก 10,000 บาท
28 ก.พ. 2024
ไม่กี่วันที่ผ่านมา หลายคนน่าจะเห็นประเด็นดรามาเรื่องของ ราคาตั๋วเครื่องบินไป-กลับ กรุงเทพฯ (สุวรรณภูมิ) - ภูเก็ต ของสายการบิน Low-Cost เจ้าหนึ่ง ที่มีราคาสูงถึง 14,588 บาท ซึ่งแพงกว่าเส้นทางบินไปต่างประเทศ ในบางเส้นทางเสียอีก
เรื่องนี้หลายคนน่าจะอดสงสัยไม่ได้ว่า
ทำไมตั๋วเครื่องบินเส้นทางในประเทศของสายการบิน Low-Cost มันถึงแพงได้ขนาดนี้ ?
ทำไมตั๋วเครื่องบินเส้นทางในประเทศของสายการบิน Low-Cost มันถึงแพงได้ขนาดนี้ ?
เรื่องนี้มันมีเหตุมีผลในตัวของมัน ซึ่งจะเป็นอย่างไร เราลองมาดูกลไกการตั้งราคาตั๋วเครื่องบินกัน
ก่อนอื่นต้องทำใจก่อนว่า เพดานของราคาตั๋วเครื่องบินในประเทศไทย จะถูกกำหนดโดย CAAT หรือ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
ก่อนอื่นต้องทำใจก่อนว่า เพดานของราคาตั๋วเครื่องบินในประเทศไทย จะถูกกำหนดโดย CAAT หรือ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
- สายการบิน Full-Service (เช่น การบินไทย และ Bangkok Airways) จะคิดค่าโดยสารแพงสุดได้ที่ 13 บาทต่อกิโลเมตร
- สายการบิน Low-Cost (เช่น AirAsia, Thai Vietjet และ Lion Air) จะคิดค่าโดยสารแพงสุดได้ที่ 9.40 บาทต่อกิโลเมตร
ดังนั้นถ้าซื้อตั๋วเครื่องบิน กรุงเทพฯ-ภูเก็ต แบบไป-กลับ ของสายการบิน Low-Cost รวมระยะทางที่ 1,396 กิโลเมตร
ก็จะเท่ากับว่าเราจะสามารถซื้อตั๋วแพงสุดได้ที่ 13,122 บาท แบบยังไม่รวม ภาษีสนามบิน, ค่าน้ำหนักกระเป๋า หรือค่าบริการอื่น ๆ ที่จะตามมาอีก
ทำให้การจะนั่งเครื่องบินไป-กลับ กรุงเทพฯ-ภูเก็ต สามารถมีราคาเป็นหมื่น ๆ แพงกว่าบินไปบางประเทศได้ โดยไม่ผิดกฎหมายอะไร
ทีนี้ แล้วสายการบินใช้อะไรมากำหนดว่าเส้นทางไหนควรแพง หรือไม่แพง ?
สายการบินส่วนใหญ่จะชอบตั้งราคาแบบ “Fare Class”
หรือก็คือการขายตั๋วของ “เที่ยวบินเดียวกัน” ในราคาที่ “ต่างกัน”
หรือก็คือการขายตั๋วของ “เที่ยวบินเดียวกัน” ในราคาที่ “ต่างกัน”
สมมติว่า เครื่องบินมี 100 ที่นั่ง ถ้าสายการบินอยากได้เงิน 1,000,000 บาทต่อเที่ยว
แทนที่จะขายราคาเดียวกันหมดคือ 10,000 บาท เท่ากัน 100 ที่นั่ง เพื่อให้ได้เงิน 1,000,000 บาท
ก็เปลี่ยนมาเป็นขายตั๋ว 6,000 บาท 50 ที่นั่ง, 10,000 บาท 40 ที่นั่ง และ 30,000 บาท 10 ที่นั่ง เพื่อให้ได้เงิน 1,000,000 บาทแทน
เป็นการกระจายความเสี่ยงของสายการบิน
ให้ตั๋วเครื่องบินมีราคาเริ่มต้นที่ถูกลง
ให้ตั๋วเครื่องบินมีราคาเริ่มต้นที่ถูกลง
เพื่อจะได้เข้าถึงคนได้หลายกลุ่มมากขึ้น ช่วยลดโอกาสที่สายการบินจะขาดทุนจากการขายตั๋วไม่ออก หรือให้เที่ยวบินนั้น ๆ ไปถึงจุดคุ้มทุนเร็วขึ้นนั่นเอง
โดยสายการบินจะเลือกขายตั๋วที่มี Fare Class ต่ำ ๆ ให้หมดก่อน และจะขยับมาขายตั๋วที่มี Fare Class สูงขึ้นไปเรื่อย ๆ ตามลำดับ
เช่น ขายตั๋ว 6,000 บาทหมด ก็จะขยับขึ้นไปขายตั๋ว 10,000 บาท
และขยับขึ้นไปเรื่อย ๆ จนถึง Fare Class ขั้นสุดท้าย
และขยับขึ้นไปเรื่อย ๆ จนถึง Fare Class ขั้นสุดท้าย
จนเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ว่า ทำไมยิ่งเราซื้อตั๋วเครื่องบินใกล้วันเดินทางมากเท่าไร จะยิ่งได้ตั๋วที่ราคาแพงขึ้นมากเท่านั้น
ซึ่งในกรณีที่ตั๋วเครื่องบินไปภูเก็ตมีราคาแพง ก็อาจจะเป็นเพราะ
ในเที่ยวบินดังกล่าว ตั๋วในระดับ Fare Class แรก ๆ อาจจะถูกขายไปหมดแล้ว
ในเที่ยวบินดังกล่าว ตั๋วในระดับ Fare Class แรก ๆ อาจจะถูกขายไปหมดแล้ว
ทำให้เหลือแต่ Fare Class ในลำดับท้าย ๆ ที่มีราคาสูงอย่างที่เราเห็นกันในดรามา
ซึ่งเรื่องราคา Fare Class ที่ว่ามานี้ มันอาจจะไม่แพงได้ถึงระดับ 10,000 บาท
ถ้าไม่ได้มาถูกบวกด้วยอีกตัวแปรสำคัญ
ถ้าไม่ได้มาถูกบวกด้วยอีกตัวแปรสำคัญ
นั่นก็คือ เรื่องของความต้องการซื้อ กับความต้องการขาย หรือที่ภาษาเศรษฐศาสตร์เรียกว่า Demand-Supply
Supply หรือความต้องการขาย ตั๋วเครื่องบิน แต่ละเที่ยวบินจะมีจำนวนจำกัดอยู่แล้ว
เช่น เที่ยวละ 150 ที่นั่ง หรือเที่ยวละ 200 ที่นั่ง
เช่น เที่ยวละ 150 ที่นั่ง หรือเที่ยวละ 200 ที่นั่ง
ส่วนฝั่ง Demand หรือความต้องการซื้อ แต่ละช่วงจะมีมากน้อยแตกต่างกันไป
แต่ถ้าเราลองดูช่วงเทศกาล เช่น วันสงกรานต์, วันปีใหม่ หรือวันหยุดยาว Demand ของตั๋วเครื่องบินจะมีเยอะมาก
แต่ถ้าเราลองดูช่วงเทศกาล เช่น วันสงกรานต์, วันปีใหม่ หรือวันหยุดยาว Demand ของตั๋วเครื่องบินจะมีเยอะมาก
ทีนี้ก็เข้าทฤษฎีเศรษฐศาสตร์.. เพราะถ้าของที่ขายมีน้อย แต่คนอยากซื้อมีเยอะ
ฝั่งคนขาย หรือ Supply จะรู้ว่า ขายราคาสูงขึ้นอีก ก็ยังมีคนรอซื้ออยู่ดี
ฝั่งคนขาย หรือ Supply จะรู้ว่า ขายราคาสูงขึ้นอีก ก็ยังมีคนรอซื้ออยู่ดี
อธิบายให้เห็นภาพ ด้วย 3 กรณี เช่น
1. ราคาตั๋วเครื่องบิน กรุงเทพฯ-ภูเก็ต ช่วงปีใหม่ 5 ที่นั่งสุดท้าย ขายราคา 5,000 บาท มีคนพร้อมซื้อทั้งหมด 10 คน
1. ราคาตั๋วเครื่องบิน กรุงเทพฯ-ภูเก็ต ช่วงปีใหม่ 5 ที่นั่งสุดท้าย ขายราคา 5,000 บาท มีคนพร้อมซื้อทั้งหมด 10 คน
2. ราคาตั๋วเครื่องบิน กรุงเทพฯ-ภูเก็ต ช่วงปีใหม่ 5 ที่นั่งสุดท้าย ขายราคา 8,000 บาท มีคนพร้อมซื้อทั้งหมด 7 คน
3. ราคาตั๋วเครื่องบิน กรุงเทพฯ-ภูเก็ต ช่วงปีใหม่ 5 ที่นั่งสุดท้าย ขายราคา 10,000 บาท มีคนพร้อมซื้อทั้งหมด 5 คน
จากตัวอย่างนี้ จะเห็นว่าต่อให้ตั้งราคา 10,000 บาท ใน 5 ที่นั่งสุดท้าย สายการบินก็ยังขายตั๋วได้แบบหมดเกลี้ยงพอดี..
หลายสายการบิน เลยนิยมที่จะใช้โอกาสนี้ในการ Mark-Up ราคาขึ้นมา เพื่อเฉลี่ยรายได้ของธุรกิจกับช่วง Low Season ที่ไม่ค่อยมีคนเดินทาง
ซึ่งในกรณีที่เป็นดรามาจะเห็นได้ว่า ตั๋วเครื่องบินไป-กลับ กรุงเทพฯ-ภูเก็ต ที่ราคาเป็นหมื่น ๆ ก็จะอยู่ในช่วงวันวาเลนไทน์พอดี
สายการบินก็อาจจะคาดการณ์ไว้ก่อนว่า ช่วงเวลาดังกล่าวมีความต้องการซื้อตั๋วเยอะมาก จากความต้องการเดินทางของคู่รักที่ต้องการไปฮันนีมูนกัน
ซึ่งทั้งหมดนี้ ก็คือกลไกที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ ตั๋วเครื่องบิน กรุงเทพฯ-ภูเก็ต มีราคาแพงได้เป็นหมื่น ๆ
ไม่ต่างจากการเดินทางไปต่างประเทศ
ไม่ต่างจากการเดินทางไปต่างประเทศ
ส่วนการตั้งราคาตั๋วเครื่องบิน กรุงเทพฯ-ภูเก็ต ในระดับ 14,000 บาท สายการบินคงวิเคราะห์แล้วว่า สุดท้ายก็คงมีคนยอมจ่าย และขายได้หมดทุกที่นั่ง
แต่เรื่องนี้ก็กลายเป็นกระแสสังคมไปแล้วว่า ราคาระดับนี้ มันโหดสุด ๆ ไปเลย..