รู้จัก Impulsive Buying พฤติกรรมที่ทำให้แม่ค้าสาวชาวจีนคนนี้ ไลฟ์จนกวาดยอดขาย 300 ล้าน ใน 3 วัน
20 ต.ค. 2023
เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ถ้าใครได้เล่น TikTok น่าจะเห็นไวรัล ของผู้หญิงที่ชื่อว่า “เจิ้งเซียงเซียง”
เธอเป็นแม่ค้าสาวชาวจีน หน้าตาดี ใส่ชุดเดรสสีดำ ไลฟ์ขายสินค้าบนแพลตฟอร์ม Douyin (TikTok ในประเทศจีน) ด้วยวิธีการที่แปลกใหม่
เธอหยิบสินค้าออกมาจากกล่องสีส้ม ยกขึ้นมาโชว์อย่างรวดเร็ว พร้อมกับบอกราคาสินค้า แต่ไม่ได้แจ้งรายละเอียดอื่น ๆ เพิ่มเติม เสร็จแล้ววางสินค้าลง แล้วสไลด์กล่องออกไปจากมุมกล้องอย่างรวดเร็ว
หากจับเวลาแล้ว จะเห็นว่าเธอใช้เวลาไปกับการขายสินค้าแต่ละชิ้น เพียงแค่ 2-3 วินาที เท่านั้น..
แต่เชื่อหรือไม่ว่า ด้วยวิธีนี้ ภายในระยะเวลาเพียง 3 วัน เธอสร้างยอดขายไปได้แล้วกว่า 300 ล้านบาท จากผู้ชมไลฟ์ของเธอในประเทศจีน รวมกว่า 100 ล้านคน
แถมวิธีการขายสินค้าของเธอ ยังกลายเป็นไวรัล มาถึงประเทศไทย จนแม่ค้าออนไลน์ชาวไทยหลาย ๆ คน นำเอาวิธีการขายสินค้าของเธอ มาใช้เป็น “กิมมิก” เรียกลูกค้า ตามกระแสไวรัลที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
วิธีการไลฟ์ขายสินค้าของ เจิ้งเซียงเซียง ทำให้เกิดคำถามที่น่าคิดตามมาว่า
ทำไม การไลฟ์ขายสินค้าที่ไม่เปิดช่องว่าง ให้ผู้ชมได้คิด และรู้รายละเอียดของสินค้าก่อน กลับสร้างยอดขายได้อย่างมหาศาล..
ทำไม การไลฟ์ขายสินค้าที่ไม่เปิดช่องว่าง ให้ผู้ชมได้คิด และรู้รายละเอียดของสินค้าก่อน กลับสร้างยอดขายได้อย่างมหาศาล..
เรื่องนี้ MarketThink จะอธิบายให้ฟังแบบง่าย ๆ
ก่อนอื่น ต้องบอกก่อนว่า สิ่งที่เกิดขึ้นกับวิธีการไลฟ์ขายสินค้าของ เจิ้งเซียงเซียง สามารถอธิบายได้ไม่ยาก ผ่านทฤษฎีพฤติกรรมของผู้บริโภค นั่นคือ “Impulsive Buying”
หรือก็คือ พฤติกรรมการซื้อสินค้า โดยไม่ได้วางแผนมาก่อน แต่เป็นการตัดสินใจซื้ออย่างกะทันหัน
ซึ่งพฤติกรรมการซื้อสินค้า โดยไม่ได้วางแผนมาก่อนนี้ ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ทุกคน น่าจะเคยทำมาก่อนแล้วทั้งสิ้น
ตัวอย่างเช่น..
เราเดินเข้าซูเปอร์มาร์เก็ต ด้วยความตั้งใจที่จะไปซื้อของใช้จำเป็นเพียง 2-3 ชิ้น แต่กลับเดินออกมา พร้อมกับตะกร้า ที่เต็มไปด้วยสินค้านับสิบชิ้น
หรือเราเปิดแอปพลิเคชันอีคอมเมิร์ซเล่น ๆ และพบกับสินค้าที่น่าสนใจเป็นจำนวนมาก จนลงเอยที่การซื้อสินค้าชิ้นนั้น ทั้งที่ไม่ได้มีความจำเป็น และไม่ได้วางแผนล่วงหน้ามาก่อนเลยแม้แต่น้อย ว่าคิดอยากจะได้สินค้าชิ้นนั้น ๆ
ซึ่งพฤติกรรม Impulsive Buying นี้เกิดขึ้น เพราะมีปัจจัยหลาย ๆ อย่าง เข้ามาเป็นสิ่งกระตุ้น เช่น
- การจัดโปรโมชันพิเศษ
เช่น การลดราคาสินค้า 50%, ซื้อ 1 แถม 1 หรือการให้ Gift Voucher เพื่อนำมาเป็นส่วนลดในการซื้อสินค้าครั้งถัดไป
เช่น การลดราคาสินค้า 50%, ซื้อ 1 แถม 1 หรือการให้ Gift Voucher เพื่อนำมาเป็นส่วนลดในการซื้อสินค้าครั้งถัดไป
- อารมณ์ และความรู้สึก
ที่กระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อสินค้า เช่น อารมณ์กลัว ว่าสินค้าจะมีจำนวนจำกัด จนพลาดโอกาสที่จะซื้อ
ที่กระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อสินค้า เช่น อารมณ์กลัว ว่าสินค้าจะมีจำนวนจำกัด จนพลาดโอกาสที่จะซื้อ
หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้น เมื่อเห็นคนรอบตัวใช้สินค้าชนิดหนึ่ง แล้วเกิดความรู้สึกอยากได้สินค้าชิ้นนั้นตาม
- การจัดสิ่งแวดล้อมภายในร้านค้า
เช่น เสียงเพลง การโน้มน้าวใจของพนักงานขาย การจัดวางสินค้าภายในร้าน และป้ายแสดงข้อมูลต่าง ๆ
เช่น เสียงเพลง การโน้มน้าวใจของพนักงานขาย การจัดวางสินค้าภายในร้าน และป้ายแสดงข้อมูลต่าง ๆ
- โฆษณาบนแพลตฟอร์มออนไลน์
ที่เลือกใช้คำโฆษณา ที่ดึงดูดให้คนทั่วไป อ่านแล้วเกิดความรู้สึกอยากได้สินค้าชิ้นนั้นขึ้นมา
ที่เลือกใช้คำโฆษณา ที่ดึงดูดให้คนทั่วไป อ่านแล้วเกิดความรู้สึกอยากได้สินค้าชิ้นนั้นขึ้นมา
ที่น่าสนใจไปมากกว่านั้นก็คือ เคยมีการวิจัย และพบว่า การตัดสินใจซื้อสินค้า ในสัดส่วน 40-80% เป็นการตัดสินใจซื้อ โดยไม่ได้วางแผนมาก่อน
โดยสินค้าที่คนทั่วโลก มีการตัดสินใจซื้อด้วยพฤติกรรม Impulsive Buying มากที่สุด 5 อันดับแรก ก็คือ
- อาหาร และของสด
- เสื้อผ้า
- ยานพาหนะ
- ของใช้ภายในบ้าน
- กาแฟ
- เสื้อผ้า
- ยานพาหนะ
- ของใช้ภายในบ้าน
- กาแฟ
ทีนี้ย้อนกลับมาที่วิธีการไลฟ์ขายสินค้า ของเจิ้งเซียงเซียง จะเห็นว่ามีอิทธิพลกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรม Impulsive Buying จากหลายปัจจัยด้วยกัน
เริ่มจาก ความรวดเร็วในการไลฟ์ขายสินค้า ที่ยกสินค้าแต่ละชิ้นขึ้นมาโชว์ให้เห็น เพียงแค่ 2-3 วินาที เท่านั้น
นั่นทำให้ผู้ชม ไม่มีเวลาให้คิด และไตร่ตรองเลยว่าอยากได้สินค้าชิ้นใดจริง ๆ
นั่นทำให้ผู้ชม ไม่มีเวลาให้คิด และไตร่ตรองเลยว่าอยากได้สินค้าชิ้นใดจริง ๆ
เมื่อเห็นสินค้าที่ดูแล้วน่าสนใจ จึงรีบตัดสินใจซื้อในทันที แม้ว่าจะยังไม่ทราบรายละเอียดของสินค้าเลย นอกจากลักษณะภายนอกที่เห็น และราคาของสินค้าชิ้นนั้น
นอกจากนี้ การไลฟ์ขายสินค้าของเจิ้งเซียงเซียง ยังมีผู้ชมเป็นจำนวนมาก แต่ในขณะที่สินค้าอาจมีจำนวนจำกัด
นั่นหมายความว่า สินค้าที่มีอยู่ คงไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ชมทุกคน
ทำให้ผู้ชมจำนวนไม่น้อย เกิดความรู้สึกกลัว “ความขาดแคลน” ซึ่งก็จะกระตุ้นให้ผู้ชม เกิดการตัดสินใจซื้อสินค้า ในเวลาอันรวดเร็ว
เพื่อที่ตนเองจะได้ไม่พลาดของชิ้นนั้น และต้องมานั่งเสียดายทีหลัง..
ทำให้ผู้ชมจำนวนไม่น้อย เกิดความรู้สึกกลัว “ความขาดแคลน” ซึ่งก็จะกระตุ้นให้ผู้ชม เกิดการตัดสินใจซื้อสินค้า ในเวลาอันรวดเร็ว
เพื่อที่ตนเองจะได้ไม่พลาดของชิ้นนั้น และต้องมานั่งเสียดายทีหลัง..
แถมความรู้สึกกลัวความขาดแคลนนี้ ยังเป็นการกระตุ้นให้ผู้ชม เกิดความรู้สึก “อยากแข่งขัน” กันเพื่อซื้อสินค้าอีกด้วย
โดยผู้ชมที่ซื้อสินค้าได้ ก็จะมีความรู้สึกว่าตัวเองเป็นผู้ชนะในการแข่งขันครั้งนี้ ตามหลักจิตวิทยาพื้นฐานของมนุษย์
ยังไม่นับรวมกับ “ไวรัล” ที่เกิดขึ้นกับการไลฟ์ขายสินค้าของ เจิ้งเซียงเซียง ที่กระตุ้นให้คนอยากมีส่วนร่วม ด้วยการเข้ามาอุดหนุนสินค้าในไลฟ์ โดยอาจไม่ได้มีความจำเป็น ที่จะต้องซื้อสินค้าชิ้นนั้นเลย
แต่เป็นเพราะเมื่อมีกระแสเกิดขึ้น และมีผู้ชมที่ซื้อสินค้าเป็นจำนวนมาก
หลาย ๆ คน ก็อาจไม่อยากพลาดโอกาส ที่จะได้มีประสบการณ์ใน “ไวรัล” ครั้งนี้ ร่วมกับผู้อื่น
หลาย ๆ คน ก็อาจไม่อยากพลาดโอกาส ที่จะได้มีประสบการณ์ใน “ไวรัล” ครั้งนี้ ร่วมกับผู้อื่น
หรืออาจเรียกได้ในอีกทางหนึ่งว่า เป็นการซื้อสินค้าเพื่อความบันเทิง นั่นเอง..
ซึ่งแน่นอนว่า สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการซื้อสินค้า โดยที่ไม่ได้วางแผนล่วงหน้า (Impulsive Buying) ทั้งสิ้น
สิ่งที่น่าสังเกตเพิ่มเติมก็คือ การไลฟ์ขายสินค้าในลักษณะนี้ อาจไม่ได้เหมาะกับการขายสินค้าทุกชนิด..
แต่เหมาะกับการขายสินค้าชิ้นเล็ก ๆ ที่มีราคาไม่แพง อย่างเช่น เสื้อผ้า และของใช้ภายในบ้านชิ้นเล็ก ๆ เท่านั้น
แต่หากเป็นสินค้าที่มีขนาดใหญ่ มีราคาแพง คงมีคนจำนวนไม่มาก ที่ตัดสินใจซื้อ โดยที่ไม่ทราบรายละเอียดอื่น ๆ ของสินค้าเพิ่มเติม ในเชิงลึกเลย..