Grab ประเทศไทย รุกธุรกิจโฆษณาเต็มสูบ ดัน GrabAds เจาะลูกค้า FMCG รถยนต์ และการเงิน
7 ก.ย. 2023
Grab ประเทศไทย เริ่มเข้าสู่ธุรกิจโฆษณาเป็นครั้งแรก เมื่อปี 2018 โดยเริ่มจากสื่อโฆษณาภายในรถยนต์
ก่อนที่จะพัฒนาจนกลายเป็น สื่อโฆษณาบนแพลตฟอร์มค้าปลีก ครบวงจร ภายใต้ชื่อ GrabAds
ก่อนที่จะพัฒนาจนกลายเป็น สื่อโฆษณาบนแพลตฟอร์มค้าปลีก ครบวงจร ภายใต้ชื่อ GrabAds
และเริ่มทำการตลาดอย่างจริงจัง ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยมีกลุ่มลูกค้าหลัก ๆ คือ ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม (F&B) เป็นหลัก
ล่าสุด Grab ประเทศไทย ประกาศรุกธุรกิจโฆษณา อย่างจริงจัง โดยผลักดัน GrabAds สื่อโฆษณาบนแพลตฟอร์มค้าปลีก ขยายฐานลูกค้า ในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค (FMCG) กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ (Automotive) และกลุ่มสถาบันการเงินและธนาคาร (Financial & Banking)
ซึ่งถือเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีการเติบโต และใช้งบเพื่อทำตลาดกับกลุ่มผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง
พร้อมตั้งเป้าเป็นสื่อโฆษณาบนแพลตฟอร์มค้าปลีก อันดับต้น ๆ ในไทย..
พร้อมตั้งเป้าเป็นสื่อโฆษณาบนแพลตฟอร์มค้าปลีก อันดับต้น ๆ ในไทย..
คุณจันต์สุดา ธนานิตยะอุดม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานพาณิชย์และการตลาด Grab ประเทศไทย ให้ข้อมูลว่า
ในปัจจุบัน สื่อโฆษณาบนแพลตฟอร์มค้าปลีก (Retail Media Network) กำลังมาแรงในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา และถือเป็นช่องทางใหม่ที่ช่วยให้แบรนด์ต่าง ๆ สามารถเข้าถึงผู้บริโภค ที่กำลังซื้อสินค้าออนไลน์ หรือหน้าร้าน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยอาศัยจุดแข็งของการมีฐานข้อมูลที่มีคุณภาพ ทั้งในด้านพฤติกรรมการจับจ่าย ความชอบ และประวัติการซื้อสินค้าและบริการ
สำหรับจุดแข็งสำคัญของ GrabAds ที่จะใช้ในการขยายฐานลูกค้า ไปยังกลุ่มธุรกิจอื่น ๆ เพิ่มเติม ก็คือ
1. การเชื่อมโยงโลกออฟไลน์ และออนไลน์ อย่างไร้รอยต่อ
ตั้งแต่การสร้างแบรนด์ ไปจนถึงการปิดการขาย (Awareness to Conversion) ด้วยรูปแบบของสื่อที่มีกลไกหลากหลาย
ตั้งแต่การสร้างแบรนด์ ไปจนถึงการปิดการขาย (Awareness to Conversion) ด้วยรูปแบบของสื่อที่มีกลไกหลากหลาย
ทั้งบนแอปพลิเคชันออนไลน์ เช่น ตำแหน่ง Masthead, Native Banner และ Search ที่ผู้ใช้บริการสามารถสั่งซื้อสินค้าได้
และผ่านทางการให้บริการออฟไลน์ เช่น สื่อโฆษณาบนรถโดยสาร และกระเป๋าส่งของ ของพาร์ตเนอร์คนขับ ทำให้แบรนด์ สามารถเข้าถึงผู้บริโภค ได้ตรงตามเป้าหมายที่ต้องการ
2. การจับกลุ่มลูกค้าคุณภาพ ที่มีกำลังซื้อสูง
โดยจากสถิติพบว่า กว่า 60% ของผู้ใช้งานในประเทศไทย ที่เปิดแอปพลิเคชัน Grab มีการใช้จ่ายบนแอปพลิเคชันในเดือนนั้น จึงทำให้อัตราการคลิกโฆษณา (Click Through Rate หรือ CTR) สูงกว่าแพลตฟอร์มอื่น ๆ ในประเทศไทย 3 - 5 เท่า
โดยจากสถิติพบว่า กว่า 60% ของผู้ใช้งานในประเทศไทย ที่เปิดแอปพลิเคชัน Grab มีการใช้จ่ายบนแอปพลิเคชันในเดือนนั้น จึงทำให้อัตราการคลิกโฆษณา (Click Through Rate หรือ CTR) สูงกว่าแพลตฟอร์มอื่น ๆ ในประเทศไทย 3 - 5 เท่า
และพบว่า 77% ของผู้ใช้บริการ ในประเทศไทย รับรู้และเข้าใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่โฆษณาอยู่บนแพลตฟอร์ม Grab
3. การเข้าถึงข้อมูลการใช้จ่ายจริงของผู้บริโภค
ด้วยฐานข้อมูล ที่รวบรวมพฤติกรรมการใช้จ่าย ที่เกิดขึ้นจริง ของผู้ใช้บริการบนแอปพลิเคชัน Grab ที่ครอบคลุมหลายมิติ ของชีวิตประจำวัน
ด้วยฐานข้อมูล ที่รวบรวมพฤติกรรมการใช้จ่าย ที่เกิดขึ้นจริง ของผู้ใช้บริการบนแอปพลิเคชัน Grab ที่ครอบคลุมหลายมิติ ของชีวิตประจำวัน
โดยเฉพาะไลฟ์สไตล์ และพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น เมนูอาหารที่ชอบ ประเภทของสินค้าที่สั่งเป็นประจำ สถานที่ที่มักเดินทางไปบ่อย ๆ และวิธีการเดินทาง
ทำให้แบรนด์ต่าง ๆ สามารถเข้าใจอินไซต์ และเจาะกลุ่มเป้าหมาย ได้อย่างแม่นยำมากกว่า