เปิดตัว “ขายหัวเราะ ฉบับ AI” การ์ตูนแก๊กเล่มแรกในวงการการ์ตูนไทย ที่ใช้ AI สร้างสรรค์เรื่องและภาพทั้งเล่ม
29 มี.ค. 2023
AI มีอารมณ์ขัน หรือเปล่า ?
นี้เป็นคำถามที่ทีมงาน “ขายหัวเราะ” แบรนด์การ์ตูนความฮาสามัญประจำบ้านของชาวไทย ได้ตั้งคำถามขึ้น
นี้เป็นคำถามที่ทีมงาน “ขายหัวเราะ” แบรนด์การ์ตูนความฮาสามัญประจำบ้านของชาวไทย ได้ตั้งคำถามขึ้น
จึงเป็นที่มาของโปรเจ็กต์ล่าสุดอย่าง “ขายหัวเราะ ฉบับ AI < VER 1.2023 Beta >”
การ์ตูนแก๊กเล่มแรก ในวงการการ์ตูนไทย ที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ในการสร้างสรรค์เรื่องและภาพทั้งเล่ม
การ์ตูนแก๊กเล่มแรก ในวงการการ์ตูนไทย ที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ในการสร้างสรรค์เรื่องและภาพทั้งเล่ม
ดังนั้น “ขายหัวเราะ ฉบับ AI < VER 1.2023 Beta >” นี้ จึงเป็นการตีความสร้างสรรค์คอนเทนต์ ขายหัวเราะที่แฟน ๆ คุ้นเคย เช่น แก๊กการ์ตูน ขำขัน เรื่องสั้น ขึ้นใหม่โดย AI
ซึ่งนอกจากการคิดและวาดการ์ตูนแก๊กแล้ว สิ่งที่น่าสนใจเป็นพิเศษคือ “อารมณ์ขันของ AI”
เพราะในโปรเจ็กต์นี้ ทีมขายหัวเราะ เปลี่ยนบทบาทจาก “ผู้สร้างสรรค์อารมณ์ขันและการ์ตูน” มาเป็น “ผู้ prompt (ป้อนคำสั่ง) อารมณ์ขันและการ์ตูน” แทน
นับเป็นความร่วมมือมิติใหม่ของมนุษย์และ AI ในวงการคอนเทนต์การ์ตูนไทย
เพราะในโปรเจ็กต์นี้ ทีมขายหัวเราะ เปลี่ยนบทบาทจาก “ผู้สร้างสรรค์อารมณ์ขันและการ์ตูน” มาเป็น “ผู้ prompt (ป้อนคำสั่ง) อารมณ์ขันและการ์ตูน” แทน
นับเป็นความร่วมมือมิติใหม่ของมนุษย์และ AI ในวงการคอนเทนต์การ์ตูนไทย
ทั้งนี้ ขายหัวเราะ ฉบับ AI < VER 1.2023 Beta > ไซส์พิเศษ จำนวน 32 หน้า (ไม่รวมปก) พิมพ์สี่สีทั้งเล่ม ผลิตจำนวนจำกัด Limited Edition สำหรับงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ระหว่างวันที่ 30 มี.ค. - 9 เม.ย.
โดยแจกฟรีเฉพาะที่บูธขายหัวเราะ (บูธ i30) สำหรับผู้ที่ซื้อของในบูธครบ 555 บาท
หรือหากแฟน ๆ อยากสะสม ก็สามารถซื้อแยกได้ในราคา 55 บาท
หรือหากแฟน ๆ อยากสะสม ก็สามารถซื้อแยกได้ในราคา 55 บาท
คุณพิมพ์พิชา อุตสาหจิต ตัวแทนทีมขายหัวเราะ กล่าวว่า
“เราพยายามให้เนื้อหาขายหัวเราะ ฉบับ AI เล่มแรกนี้ เป็นไปตามธรรมชาติที่แท้จริงของ AI มากที่สุด โดยทีมขายหัวเราะ เปลี่ยนบทบาทมาเป็นผู้ป้อนคำสั่ง รวบรวม และเชื่อมต่อในส่วนที่ AI เวอร์ชันปัจจุบันยังไม่ครอบคลุม รวมถึงงานบรรณาธิการผ่านมุมมองความเชี่ยวชาญของทีม
“เราพยายามให้เนื้อหาขายหัวเราะ ฉบับ AI เล่มแรกนี้ เป็นไปตามธรรมชาติที่แท้จริงของ AI มากที่สุด โดยทีมขายหัวเราะ เปลี่ยนบทบาทมาเป็นผู้ป้อนคำสั่ง รวบรวม และเชื่อมต่อในส่วนที่ AI เวอร์ชันปัจจุบันยังไม่ครอบคลุม รวมถึงงานบรรณาธิการผ่านมุมมองความเชี่ยวชาญของทีม
เพราะฉะนั้น แฟน ๆ การ์ตูนจะได้เห็นความสามารถที่แท้จริงของ AI ปัจจุบัน ซึ่งโปรเจ็กต์ดังกล่าวเกิดจากการตั้งคำถามของทีมงานว่า ในเมื่อ AI สามารถตอบคำถามได้มากมาย แล้ว AI จะมีอารมณ์ขันหรือเปล่า ?
จึงได้เริ่มทำโปรเจกต์ในรูปแบบเป็น Sandbox เพื่อถ่ายทอดอารมณ์ขันของ AI ซึ่งเราคงได้เรียนรู้การปรับตัวแบบใหม่ ๆ ของทั้งเทคโนโลยีและมนุษย์อีกมากมายในอนาคต”
ซึ่งปัจจุบันบทบาท AI ในฐานะผู้สร้างสรรค์กำลังเป็นปรากฏการณ์ในวงการต่าง ๆ ทั่วโลก โดยวงการการ์ตูนญี่ปุ่น ก็เพิ่งเปิดตัววางจำหน่ายการ์ตูนมังงะเล่มแรก ที่ใช้ AI วาดภาพประกอบทั้งเล่ม (Cyberpunk: Peach John) เช่นกัน เมื่อวันที่ 9 มีนาคมที่ผ่านมา